คำถาม ที่ไม่ควรถาม ตอน สัมภาษณ์งาน

หมายเหตุ: Designil ทำงานกันอย่างเต็มที่เพื่อสร้างคอนเทนต์ดีๆ มีสาระประโยชน์ให้กับทางผู้อ่าน สิ่งที่ทีมงานแนะนำทั้งหมดมาจากความเห็นของทีมงาน เราแนะนำเฉพาะของดีที่เราเห็นว่ามีประโยชน์จริงเท่านั้นครับ หากคุณชอบเนื้อหาแบบนี้และอยากสนับสนุนให้ทีมงานมีแรงสร้างคอนเทนต์ดีๆ เพิ่มในอนาคต สามารถซื้อสินค้าหรือบริการผ่านลิงก์บนบทความของเราได้นะครับ บางลิงก์ทางทีมงานจะได้รับส่วนแบ่งเล็กน้อยโดยจะไม่เป็นการเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายให้กับทางผู้อ่าน ขอบคุณสำหรับการติดตามนะครับ

กาลเทศะและมารยาทถือเป็นอีกหนึ่งเรื่องที่สำคัญในการสัมภาษณ์งานที่ผู้สมัครไม่ควรละเลย เพราะเป็นการแสดงให้เห็นถึงความมีวุฒิภาวะและการให้เกียรติผู้สัมภาษณ์ นอกจากมารยาทพื้นฐาน เช่น การแต่งกายสุภาพ การนั่งตัวตรง สบตากับผู้สัมภาษณ์ พูดจาสุภาพ แล้ว อเด็คโก้ขอแนะนำเพิ่มเติมถึงคำพูดที่ไม่ควรใช้ในระหว่างการสัมภาษณ์งาน ไว้ดังนี้


5 สิ่งที่ไม่ควรพูดตอนสัมภาษณ์งาน

  1. "บริษัทนี้ทำงานเกี่ยวกับอะไรคะ?"

คำถามนี้เป็นสิ่งที่ไม่ควรถามเพราะแสดงให้เห็นว่า ผู้สมัครไม่ได้ศึกษาข้อมูลของบริษัทที่สมัครมาก่อนเลย ทั้งที่ปัจจุบันผู้สมัครสามารถเสิร์ชหาข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตได้อย่างง่ายดาย แต่กรณีที่หาข้อมูลมาแล้วแต่ยังไม่เคลียร์ ก็สามารถถามเพิ่มเติมได้ โดยเกริ่นนำถึงข้อมูลบริษัทก่อนถาม เพื่อแสดงว่าเราหาข้อมูลมาแล้ว แต่อยากเข้าใจเพิ่มเติม

ถึงแม้ว่าสิ่งที่ผู้สัมภาษณ์ถามจะมีอยู่ในเรซูเม่แล้ว แต่ตามมารยาทแล้วเราไม่ควรที่จะบอกให้ผู้สัมภาษณ์อ่านในเรซูเม่ เพราะผู้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่มักใช้คำถามนี้เป็นคำถามนำ เพื่อให้ผู้สมัครเล่ารายละเอียดเพิ่มเติมที่ไม่มีในเรซูเม่ อย่างเมื่อถูกถามให้แนะนำตัว หรือ เล่าเกี่ยวกับตัวเองให้ฟัง เราควรให้รายละเอียดเพิ่มเติมจากเรซูเม่ เช่น เมื่อเล่าประสบการณ์ถึงประวัติการศึกษาหรือการทำงาน อาจให้รายละเอียดเพิ่มเติมว่าทำไมถึงเลือกเรียนคณะหรือทำงานตำแหน่งนี้ หรือส่วนงานไหนที่เราชอบหรือถนัดเป็นพิเศษ เป็นต้น

  1. "หัวหน้างานเก่านิสัยแย่มาก ที่ทำงานเก่าไม่เวิร์คอย่างแรง"

การพูดถึงที่ทำงานเก่าในทางเสียหาย หลายครั้งอาจส่งผลลบต่อภาพลักษณ์ผู้สมัครมากกว่าตัวบริษัทเก่าเอง เพราะผู้สัมภาษณ์จะมองว่าอนาคตก็อาจถูกตำหนิลับหลังแบบนี้ก็เป็นได้ ทั้งยังแสดงถึงความไม่มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ของผู้สมัครอีกด้วย แต่หากเป็นเหตุผลในการลาออกจริงๆ ของผู้สมัคร ผู้สมัครควรพูดในเชิงที่ไม่พาดพิงบุคคลที่สาม แต่เล่าถึงปัญหาที่ประสบอย่างเป็นเหตุเป็นผลและไม่ใส่อารมณ์ เลือกใช้คำพูดที่ดูซอฟท์ลง และกล่าวถึงสิ่งที่ผู้สมัครพยายามทำเพื่อแก้ไขปัญหานั้นแทน

  1. "ขออนุญาตรับสาย / ตอบไลน์ก่อนนะคะ"

การคุยโทรศัพท์ หรือตอบไลน์ ถือเป็นสิ่งไม่ควรทำอย่างยิ่งในการสัมภาษณ์งาน เพราะแสดงให้เห็นว่าผู้สมัครไม่ได้ให้ความสำคัญกับการสัมภาษณ์นี้ และเป็นการไม่ให้เกียรติผู้สัมภาษณ์ ทางที่ดีควรปิดโทรศัพท์ก่อนสัมภาษณ์งาน

  1. "เงินเดือนและสวัสดิการของที่นี่เป็นอย่างไรบ้างคะ?"

ตามมารยาทแล้วระหว่างการสัมภาษณ์งานผู้สมัครไม่ควรเป็นฝ่ายถามเรื่องเงินเดือนก่อน เพราะจะทำให้ผู้สมัครดูไม่ดี ผู้สมัครควรรอให้ผู้สัมภาษณ์เป็นฝ่ายถามก่อน เพราะโดยส่วนใหญ่ผู้สัมภาษณ์จะเป็นฝ่ายถามในช่วงท้ายการสัมภาษณ์อยู่แล้ว หรือหากผู้สมัครกลัวว่าจะเสียเวลาไปสัมภาษณ์งานทั้งที่เงินเดือนไม่ตรงใจ ผู้สมัครควรระบุเงินเดือนที่คาดหวังในเรซูเม่ให้ชัดเจน และเมื่อ HR โทรมาสกรีนครั้งแรก ควรสอบถามถึงเนื้องานก่อนแล้วค่อยเลียบเคียงถามว่าเงินเดือนที่ระบุไว้ในเรซูเม่อยู่ในโครงสร้างของบริษัทหรือไม่

          แม้ว่าจะดูเป็นเรื่องที่เล็กน้อย แต่เชื่อไหมว่ามันมีผลมาก ชี้ผลได้เลยว่าเราจะได้หรือไม่ได้งาน เพราะฉะนั้นเวลาไปสัมภาษณ์งานอย่าพูดคำพวกนี้ออกไป เตรียมตัวเยอะๆ ขอให้ทุกคนโชคดี ทุกคนสามารถติดตามเทคนิคดีๆแบบนี้ได้ที่

หลายๆ ครั้งที่ฝ่ายบุคคลถามคำถามลงลึกถึงเรื่องส่วนตัว เพราะต้องการมั่นใจว่าคนที่เลือกเข้ามาทำงาน จะสามารถเข้ากับคนอื่นๆ ในที่ทำงานได้ดี ทำให้บรรยากาศในการทำงานดีไปด้วย แต่บางครั้งก็เป็นการละเมิด หรือไม่เกี่ยวกับลักษณะเนื้องาน ประสบการณ์ และความสามารถ

คำถามที่ HR ไม่ควรถาม ระหว่างการสัมภาษณ์งาน

จากกรมแรงงาน ประเทศญี่ปุ่น

ดังนั้นกรมแรงงานของประเทศญี่ปุ่น ออกมาประกาศ ลิสต์คำถามที่ไม่ควรถามในระหว่างการสัมภาษณ์ เพราะคิดว่าการเลือกเข้าทำงานควรเลือกจากความสามารถ ประสบการณ์ ไม่เกี่ยวกับความเชื่อ แนวคิดเกี่ยวกับการเมือง และบางคำถามยังเป็นคำถามที่เป็นส่วนตัวจนเกินไป ควรจะเป็นคำถามที่ถามเมื่อสนิทกันแล้ว

คำถาม – ส่วนตัว

1. เกิดที่ไหน

2. พ่อแม่ทำงานอะไร

3. เป็นลูกคนเดียวหรือไม่

4. ขับรถอะไร รุ่นไหน ยี่ห้ออะไร

5. นับถือศาสนาพุทธหรือไม่

คำถาม ที่ไม่ควรถาม ตอน สัมภาษณ์งาน

6. พรรคการเมืองพรรคไหนที่มีแนวความคิดตรงกับคุณมากที่สุด

7. มีความคิดอยากจะแต่งงานไหม

8. คนสำคัญในประวัติศาสตร์คนไหนที่ชอบ

9. คุณคิดยังไงกับลัทธิมาร์ก

10. คุณเป็นสมาชิกของกลุ่ม หรือองค์กรไหนหรือไม่

11. อ่านข่าวจากสำนักข่าวอะไร

เกร็ดความรู้ :

ลัทธิมากซ์ หรือมักใช้ทับศัพท์ว่า มาร์กซิสต์ เป็นแนวคิดที่เกิดจากนักปรัชญา 2 คน คือ  Karl Marx และ Friedrich Engels ซึ่งวิเคราะห์สังคมและเศรษฐกิจ โดยวิพากษ์ทุนนิยมผ่านกระบวนทัศน์การขูดรีด วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างชนชั้นและความขัดแย้งทางสังคมโดยใช้การตีความพัฒนาการประวัติศาสตร์แบบวัสดุนิยม และทัศนะวิภาษวิธีการแปลงสังคม

คำถาม ที่ไม่ควรถาม ตอน สัมภาษณ์งาน

Knowledge Sharing

วิธีรับมืออาการเบื่องาน เมื่อ… วันหยุดยาวหมด

April 17, 2019

คำถาม ที่ไม่ควรถาม ตอน สัมภาษณ์งาน

Knowledge Sharing

องค์ประกอบของผู้นำที่ดีในมุมมองของ Peter Bregman

November 12, 2019

คำถาม ที่ไม่ควรถาม ตอน สัมภาษณ์งาน

โดนใส่ร้าย จัดการความรู้สึกอย่างไรดี

March 23, 2017

เวลาสัมภาษณ์งาน ควรถามอะไร

10 คำถามสุดเจ๋งที่คุณควรถามเมื่อไปสัมภาษณ์งาน.
1.วัฒนธรรมขององค์กรเป็นอย่างไร?.
2. แนวทางการทำงานของผู้นำองค์กรเป็นแบบไหน?.
3. อะไรคือนิยามความสำเร็จในองค์กร และวัดผลอย่างไร?.
4. องค์กรนี้ให้คุณค่ากับพนักงานมากน้อยแค่ไหน?.
5. ฉันจะสามารถช่วยเหลือทีมให้ดีที่สุดได้อย่างไร?.
6. อะไรคือปัญหาของการทำงานในทีมที่ต้องการการแก้ไข?.

ข้อใดไม่ควรปฏิบัติในขณะสัมภาษณ์

1. ไม่ซ้อมการสัมภาษณ์มาก่อน ... .
2. ถ่อมตัวในความสามารถของตัวเองมากเกินไป ... .
3. พูดมากเกินไป ... .
4. เล่นกับผมตัวเอง แคะเล็บ นั่งกระดิกขา ... .
5. ไม่รู้จักถามคำถาม ... .
6. การบอกว่าตัวเองไม่มีจุดอ่อน หรือไม่เคยทำอะไรผิดพลาดมาก่อนเลย ... .
7. ไม่สบตาผู้สัมภาษณ์ ... .
8. มัวแต่มองมือถือ.

คำตอบใดที่ไม่ควรใช้ในการตอบสัมภาษณ์สมัครงาน

และคำตอบที่ไม่ควรพูดออกไปนั่นคือ การเอาตัวของเราไปเปรียบเทียบกับคนอื่น เราไม่ควรที่จะวิจารณ์หรือพาดพิงถึงผู้สมัครงานคนอื่น ซึ่งอาจจะทำให้หัวหน้างานมองเราในแง่ลบได้ จงเน้นไปที่ด้านบวกที่ไม่เหมือนใครของตัวเองดีกว่าครับ และด้านบวกนั้นต้องไม่ไปพาดพิงหรือโจมตีคนอื่นด้วยนะ ตัวอย่าง

จะรู้ได้ยังไงว่าผ่านสัมภาษณ์

สัญญาณที่บ่งบอกว่าคุณกำลังไปได้สวยในการสัมภาษณ์.
เราอยู่ในห้องสัมภาษณ์นานกว่าที่คิดไว้.
การสัมภาษณ์เริ่มมีความสบาย ๆ เป็นกันเอง.
ผู้สัมภาษณ์เล่าสิ่งที่ต้องทำอย่างละเอียด (มาก).
ผู้สัมภาษณ์ดูแสดงความสนใจผ่านภาษากาย.
เราได้เจอสมาชิกในทีมและคนสำคัญระหว่างการสัมภาษณ์.
เราได้รู้รายละเอียดเกี่ยวกับขั้นตอนต่อไป.