การบริหารงานคุณภาพในองค์การ บทที่2 เฉลย

นายฉลองชัย  อรรถานิทธิ์                     รหัสนักศึกษา  75079072

ป.บัณฑิต     การบริหารการศึกษา     ปีการศึกษา  2551

คำถามท้ายบทที่ 2

การจัดการคุณภาพการศึกษา

1. แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการคุณภาพ เริ่มต้นจากแนวคิดเกี่ยวกับอะไร?

          เกิดจากปรัชญา ที่เน้นการบริหารงานที่มีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง และสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้าที่มีต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์และบริการ ขณะเดียวกันก็จะเน้นประสิทธิภาพของการปฏิบัติงานและลดความสูญเสียอันเกิดจากการดำเนินงาน

2. ให้สรุปวิวัฒนาการเกี่ยวกับการบริหารคุณภาพแบบมุ่งทั้งองค์การโดยสังเขป

            เป็นการบริหารคุณภาพแบบมุ่งทั้งองค์การ ระบบนี้มีลักษณะเป็นการทำให้ถูกต้องอย่างเสมอ คำนึงถึงความผิดเป็นศูนย์ในทุกครั้งที่ปฏิบัติ  เป็นการประหยัดทรัพยากรที่จะต้องนำมาใช้ในการบริหารงานและสร้างความมั่นใจให้กับผู้รับบริการ

3. รางวัล Malcolm Baldrige National Quality Award หมายถึงอะไร?

            Malcolm Baldrige National Quality Award เป็นรางวัลคุณภาพระดับชาติของสหรัฐอเมริกา หรือรางวัล มัลคัม บัลดริจ อะวอร์ด

4. หลักการสำคัญของระบบการบริหารคุณภาพแบบมุ่งคุณภาพทั้งองค์การมีอะไรบ้าง?

            มี 3 ประการ ได้แก่

1.      มุ่งเน้นให้ความสำคัญกับลูกค้า

2.      การปรับปรุงกระบวนการทำงาน

3.      การให้ทุกคนมีส่วนร่วม

5. จงเติมชื่อผู้แต่งหนังสือ พร้อมระบุปี ค.ศ. ในตารางข้างล่างนี้

ชื่อหนังสือ

ชื่อผู้แต่ง

ปีที่เผยแพร่

Introduction to total Quality

โกสท์และเดวิส

ปี ค.ศ. 1994

Quality is Free

ครอสบี (Crosby)

ปี ค.ศ. 1976

Quality Productivity and Competitive Position

Edward deming

ปี ค.ศ. 1982

Quality Without Tear : the Art of Hassle-Free Management

Philip Corsby

ปี ค.ศ. 1984

Total Quality Management in Education

แซลลิส (Sallis)

ปี ค.ศ. 1992

6. การจัดการคุณภาพการศึกษามีความสำคัญอย่างไร?

            จัดเป็นการนำเอาหลักการและแนวความคิดในการบริหารคุณภาพทั้งองค์กรและแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับการจัดการคุณภาพ  มาประยุกต์ใช้ในการจัดการคุณภาพทางการศึกษาให้มีคุณภาพเป็นที่พึงพอใจของผู้บริหาร เช่น การเทียบมาตรฐานการทำงาน การประกันคุณภาพ การนำแนวความคิดการทำงานที่ดีมาปฏิบัติ  ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการพัฒนาระบบการบริหารการศึกษาของผู้บริหารให้มีศักยภาพสูง

7. คุณภาพหมายถึงอะไร?

            คุณภาพ หมายถึง ระดับมาตรฐานในการผลิตและระดับมาตรฐานของผลงานตามการรับรู้ของผู้ใช้บริการที่ต้องการและคาดหวังไว้  และมีคุณภาพเป็นไปตามข้อกำหนด  เหมาะกับการนำไปใช้ประโยชน์และถูกต้องอย่างถูกวัตถุประสงค์

8. การจัดการคุณภาพ หมายถึงอะไร?

            การจัดการคุณภาพ หมายถึง แนวทางในการบริหารงานทั้งองค์กรที่มุ่งเน้นเรื่องคุณภาพ  โดยสมาชิกทุกคนขององค์กรมีส่วนร่วมและมุ่งหวังผลกำไรระยะยาว  โดยสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้า  รวมทั้งสร้างผลประโยชน์ให้แก่หมู่สมาชิกขององค์กรและสังคม

9. การบริหารคุณภาพแบบมุ่งทั้งองค์การ (TQM) มีองค์ประกอบอะไรบ้าง?

            1. เน้นผลผลิตและการบริการที่มีคุณภาพ

            2. มีวิธีการตอบสนองความต้องการของลูกค้า

            3. มีความยืดหยุ่นและปรับตามความต้องการของลูกค้า

            4. มีการปรับปรุงคุณภาพและขจัดสิ่งที่ไม่ต้องการในการทำงาน

10. จงสรุปว่าระบบบริหารแบบ TQM มีองค์ประกอบอะไรบ้าง

            เป็นกิจกรรมและกระบวนการที่เน้นความต่อเนื่องในการเน้นคุณภาพและปรับปรุงคุณภาพของการทำงานทุกส่วนทุกกิจกรรม  ตลอดทั้งวงจรและทุกขั้นตอนของการทำงานเป็นกระบวนการบริหารที่เน้นคุณภาพในทุกๆ ด้านขององค์กร  กิจกรรมทุกอย่างต้องมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล  โดยมีเป้าหมายที่สำคัญที่สุด คือ มุ่งเน้นความพึงพอใจทั้งภายใน และภายนอกขององค์กร

11. แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการคุณภาพการศึกษา สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการบริหารงานศึกษาให้มีคุณภาพได้อย่างไร? จงอธิบายและยกตัวอย่างพอสังเขป?

            การนำมาประยุกต์ใช้  จะต้องยึดหลักการสำคัญ 3 ประการ คือ การให้ความสำคัญกับผู้บริหาร  การปรับปรุงกระบวนการทำงาน  และการให้ทุกคนมีส่วนร่วม  การบริหารงานโรงเรียนให้มีคุณภาพ  ควรให้บุคลากรทุกคนมีส่วนร่วม  โดยผู้บริหารต้องมีภาวะผู้นำ  มีการสร้างขวัญและกำลังใจ  มีการวัดผลการทำงาน  รวมถึงการส่งเสริมการทำงานเป็นทีม เป็นต้น

12. นโยบายคุณภาพ (Quality Policy) ของเดมมิ่ง 14 ประการ (Deming’s 14 point) สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในสถานศึกษาได้อย่างไรบ้าง?

            เป็นการทำงานที่ควรทำงานเป็นทีม  เน้นการกระตุ้นให้ทุกคนมีแรงจูงใจในการทำงาน  กระตุ้นให้ทุกคนสามารถทำงานได้อย่างเต็มศักยภาพ  เอาใจใส่ทุกคนเท่าเทียมกัน  สนับสนุนให้บุคลากรได้รับการศึกษาอบรม  เพื่อเพิ่มพูนความรู้ที่เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงาน  ให้มีประสิทธิภาพ รวมทั้งเพื่อปรับปรุงการทำงานอย่างสม่ำเสมอ

13. ประเด็นอภิปราย

            1) การบริหารการศึกษาโดยใช้ PDCA ทำอย่างไร?

                        ประกอบด้วยการทำงาน 4 ขั้นตอน คือ

1.      การเตรียมการทำงาน  หรือการวางแผนก่อนการทำงาน

2.      การดำเนินงานตามแผน

3.      การประเมินผลการทำงาน

4.      สรุปผลการทำงาน

            2) จากคำกล่าวที่ว่า การป้องกันดีกว่าแก้ปัญหาท่านเห็นด้วยหรือไม่? จงยกตัวอย่างประกอบ

                        เห็นด้วย เพราะ เป็นการเตรียมวางแผนเพื่อกำหนดทิศทางในการทำงาน  ดีกว่าคอยแก้ปัญหาที่จะเกิดขึ้น  จะทำให้เสียเวลา  เสียงบประมาณ  งานก็จะไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้

            3) การบริหารโดยข้อมูลจริง (Management by Fact) มีประโยชน์ในการแก้ปัญหา และการตัดสินใจหรือไม่? อย่างไร?

                        เป็นการทำงานโดยศึกษาข้อมูลที่มีอยู่จริง  แล้วทำให้ถูกต้องตั้งแต่แรก  เพื่อลดความจำเป็นในการตรวจสอบ  ป้องกันไม่ให้เกิดความผิดพลาดตั้งแต่แรก  เป็นการหลีกเลี่ยงการเสียเวลา  เสียทรัพยากร  และเสียงบประมาณ

            4) บทบาทของผู้บริหารในการจัดการคุณภาพการศึกษาควรเป็นอย่างไรบ้าง?

            ต้องมีภาวะผู้นำ  มีผลต่อการมีส่วนร่วมขององค์กรหรือบุคคลในองค์กร  ในทิศทางของกระบวนการตัดสินใจ  เพราะการมีแรงจูงใจให้ปฏิบัติหรือการมีส่วนร่วมให้ปฏิบัติใดๆ  หากกระบวนการตัดสินใจไม่เป็นผลแล้ว  ยังส่งผลต่อการที่ไม่บรรลุความสำเร็จได้  การตัดสินใจในระดับผู้นำขึ้นอยู่กับความเชี่ยวชาญ  คือการยอมรับและให้ความร่วมมือในการทำงานของบุคลากรในองค์กร

            5) ผู้มีส่วนร่วมในการจัดการคุณภาพทางการศึกษา (Stakeholders) ประกอบด้วยใครบ้าง? และมีบทบาทอย่างไร?

            ประกอบด้วย 3 ฝ่าย  ได้แก่

1.      ครู  มีบทบาทวางแผนการเรียนรู้  จัดการเนื้อหาสาระ  และเลือกใช้รูปแบบการสอนที่เหมาะสมกับธรรมชาติของวิชา  และสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในการพัฒนาคุณลักษณะของนักเรียน  จัดทำแผนการเรียนรู้ที่ดี  มีสาระ  และสามารถพัฒนาผู้เรียนให้บรรลุวัตถุประสงค์ของรายวิชา  และเป้าหมายของโรงเรียน

2.      นักเรียน  มีบทบาทเรียนหนังสือ  ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมด้วยตนเองนอกห้องเรียน  พัฒนาทักษะต่างๆ อย่างเต็มประสิทธิภาพ  ผลการเรียนจึงจะมีคุณภาพ

3.      ชุมชน  มีบทบาทให้ความร่วมมือกับสถานศึกษาในการส่งเสริมสนับสนุนเพื่อสร้างโอกาสในการเรียนรู้ของผู้เรียนให้เพิ่มมากขึ้น