โครงการ แก้ไข ปัญหา ภัย แล้ง หลักการ และ เหตุผล

โครงการปี 2552 >> โครงการศึกษาแก้ไขปัญหาน้ำท่วมและภัยแล้ง โดยการ เติมน้ำลงสู่ชั้นน้ำบาดาล พื้นที่แอ่งเจ้าพระยาตอนบน >> หลักการและเหตุผล

โครงการศึกษาแก้ไขปัญหาน้ำท่วมและภัยแล้ง โดยการ เติมน้ำลงสู่ชั้นน้ำบาดาล

พื้นที่แอ่งเจ้าพระยาตอนบน

ในพื้นที่ลุ่มน้ำหลักของประเทศไทย โดยเฉพาะทางตอนกลางของประเทศ อันได้แก่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ลุ่มน้ำ ปิง วัง ยม น่านในภาคเหนือตอนล่างและ ลุ่มน้ำชี-มูลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มักประสบปัญหาอุทกภัยในฤดูน้ำ หลากอยู่ทุกๆ ปี ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายต่อสภาพเศรษฐกิจและวิถีการ ดำเนินชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนให้ได้รับความเดือดร้อนเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะพื้นที่ส่วนใหญ่ที่เกิดอุทกภัยนั้นเป็นพื้นที่เกษตรกรรม เป็นอู่ข้าว อู่น้ำหลักของประเทศ เมื่อเกิดภัยน้ำท่วมขึ้นพืชผลทางการเกษตรต่างๆ ได้รับความเสียหายเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะนาข้าวซึ่งเป็นพืชเกษตรกรรม หลักของประเทศ น้ำฝนที่ไหลล้นบนพื้นดินเมื่อเกิดสภาพอุทกภัยมีปริมาณ น้ำมาก การซึมลงสู่ใต้ดินเป็นไปในปริมาณที่ต่ำเนื่องจากความเร็วของกระแส น้ำมีมาก ตลอดจนมีช่วงระยะเวลาจำกัด ส่วนในฤดูแล้งพื้นที่ส่วนใหญ่ของ ประเทศไทยต้องประสบกับปัญหาภัยแล้ง ขาดแคลนน้ำในการอุปโภค อันเป็นปัญหาเรื้อรังประจำทุกปีเรื่อยมาเป็นระยะเวลายาวนานหลายทศวรรษ รัฐบาลต้องใช้งบประมาณจำนวนมากในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเหล่านี้เป็น ประจำทุกปี ประกอบกับประชาชนได้ขยายพื้นที่และเพิ่มปริมาณในการทำ การเกษตรกรรม เช่นการทำนาปีละ 2 ครั้ง โดยได้มีการเจาะและสูบนำน้ำ ใต้ดิน มาใช้ในการทำนาเป็นบริเวณกว้าง โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคกลาง ทำให้ระดับน้ำใต้ดินมีการลดระดับลงอย่างมาก

โดยทั่วไปแล้วเราสามารถทำการเก็บกักน้ำฝนที่ไหลหลากท่วมท้นในฤดู ฝนโดยการผันน้ำลงไปกักเก็บไว้ใต้ดินในชั้นน้ำบาดาล เพื่อที่จะสามารถ เจาะบ่อบาดาลสูบนำมาใช้ได้ในฤดูแล้งหรือยามขาดแคลนน้ำ เป็นการบรร เทาและแก้ไขปัญหาภัยแล้งได้ในระยะยาว โดยระบบที่จะทำการผันน้ำจาก อุทกภัยไปกักเก็บในชั้นน้ำบาดาลสามารถทำได้หลายวิธี เช่นการเติมน้ำลง สู่ใต้ดินโดยตรงจากน้ำฝน และวิธีที่เติมผ่านสระและบ่อเติมน้ำเป็นต้น  กรมทรัพยากรน้ำบาดาล ในฐานะองค์กรหลักทางวิชาการที่รับผิดชอบ ดูแลทรัพยากร น้ำบาดาลของประเทศ ได้ตระหนักดีถึงความจำเป็นที่จะ ต้องสร้างระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำบาดาล ในพื้นที่แอ่งภาคกลาง ที่กำลังประสบปัญหาระดับน้ำบาดาลลดต่ำลง และเพื่อปลุกจิตสำนึกของ ประชาชนจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำบา ดาลอย่างบูรณาการ  โดยคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholders) ทุกภาคส่วน