องค์ประกอบของผลิตภัณฑ์ โทรศัพท์

ส่วนประสมของผลิตภัณฑ์ คือ การแบ่งประเภทของผลิตภัณฑ์โดยการอ้างอิงตามรูปแบบของการผลิต หรือ ประเภทของผลิตภัณฑ์ ภายใต้การดำเนินธุรกิจ ประกอบไปด้วย 4 องค์ประกอบ ดังนี้

1)ความกว้าง คือ จำนวนของสายผลิตภัณฑ์ต่างๆที่บริษัททำการขาย เช่น ภายใต้แบรนด์ของ Apple จะมีสินค้าทั้งสิ้น 7 ประเภทหลัก (อ้างอิงตามเวบไซต์ของ Apple) อันได้แก่ คอมพิวเตอร์ (Mac) แทบแลต (iPad) โทรศัพท์เคลื่อนที่ (iPhone) นาฬิกาข้อมือ (iWatch) กล่องท๊อปบ๊อกซ์ (Apple TV) บริการดนตรีออนไลน์และแอปพลิเคชั่น (iTunes & App Store) และ บริการหลังการขาย (Apple insurance)


2)ความลึก คือ จำนวนรุ่น รสชาติ รูปแบบของสายผลิตภัณฑ์ที่ทำการบริการเสนอขาย เช่นในกรณีของเครื่องดื่ม EST นั้น สามารถแบ่งตามความลึก (ข้อมูลจากเวบไซต์เสริมสุข) ได้ดังนี้

    1. รสชาติ 7 รสชาติได้แก่ โคล่า ลิ้นจี่+แพร้ ส้ม เลมอนไลม์ สตรอเบอรี่ ครีมโซดา โคล่าซูการ์ฟรี
    2. รูปแบบบรรจุ 11 รูปแบบ ได้แก่ ขวดแก้ว 12 ออนซ์ ขวดแก้ว 16 ออนซ์ กระป๋อง 850 ซีซี กระป๋อง 250 มิลลิลิตร ขวดPET 325 มิลลิลิตร ขวดPET 390 มิลลิลิตร ขวดPET 490 มิลลิลิตร ขวดPET 512 มิลลิลิตร ขวดPET 1 ลิตร ขวดPET 1.35 ลิตร ขวดPET 1.6 ลิตร

3)ความยาวของผลิตภัณฑ์ คือ จำนวนรายการทั้งหมดของทุกสายของผลิตภัณ์ที่บริษัทนั้นๆทำการเสนอขาย ดังตารางต่อไปนี้ 


ส่วนประสมของผลิตภัณฑ์บริษัทเนสเล่

ความกว้าง  4 สาย

นมพาสเจอร์ไรส์

นมเปรี้ยว

เครื่องดื่ม

เครื่องปรุงอาหาร

รสจืด

รสส้ม

น้ำส้ม

ซอสปรุงรส

พร่องมันเนย

รสบลูเบอรี่

กาแฟ

ซอสพริก

รสช๊อคโกแลต

รสผลไม้รวม

ชา

ซอสหอยนางรม

รสหวาน

รสราสเบอรี่

น้ำแร่


รสสตรอบเบอรี่


น้ำผึ้ง


ความลึก 5 แบบ

ความลึก 4 แบบ

ความลึก 5 แบบ

ความลึก 3 แบบ

ความยาว 17 แบบ


ความสอดคล้องของผลิตภัณฑ์ คือ ความสัมพันธ์ในแง่มุมต่างๆของการผลิต ไม่ว่าจะเป็น วัตถุดิบ กรรมวิธีการผลิต ช่องทางการจัดจำหน่าย ฯลฯ ทั้งนี้ เมื่อในการผลิตหรือการให้บริการมีความสอดคล้องของผลิตภัณฑ์ที่สูงก็ส่งผลต่อความกว้างและความลึกของสินค้าได้ ตัวอย่างเช่น ร้านขายผัดไท ก็มักจะมีการขายหอยทอดและขนมผักกาดควบคู่ไปด้วยเนื่องจากมีวัตถุดิบที่เหมือนกัน หรือตามร้านนวดไทยก็มักจะมีการให้บริการนวดน้ำมัน ขัดผิว หรือบริการสปาอยู่ เนื่องจากเจ้าของกิจการต้องทำการจ้างนักบำบัดหรือ Therapist ไว้อยู่แล้ว


วงจรผลิตภัณฑ์ คือ การเปลี่ยนแปลงของผลิตภัณฑ์ไปตามอายุตลาดของสินค้าหรือบริการนั้นๆ ซึ่งต้องมีการปรับเปลี่ยนส่วนประสมทางการตลาดด้านต่างๆให้แตกต่างกันไป แบ่งออกเป็น 4 ขั้นใหญ่ ดังนี้

  1. ขั้นแนะนำ (Introduction) มียอดขายที่ต่ำ เพราะสินค้ายังไม่เป็นที่รู้จัก อีกทั้งกำไรในช่วงนี้จะอยู่ในเกณฑ์ต่ำเนื่องจากต้นทุนในการผลิตยังสูงอยู่เพราะมีการผลิตสินค้าในจำนวนน้อยชิ้น มีขอบเขตการขายน้อยเพราะสินค้าจะเป็นที่รู้จักในกลุ่มลูกค้าเป้าหมายเท่านั้น
  2. ขั้นเจริญเติบโต (Growth) เป็นช่วงที่สินค้าเริ้่มเป็นที่รู้จัก มีกำไรสูงงขึ้น แต่ก็จะเริ่มคู่แข่งเกิดขึ้นตามเพราะเป็นสินค้าที่มีแนวโน้มได้รับความนิยม
  3. ขั้นเจริญเติบโตเต็มที่ (Maturity) เป็นช่วงที่สินค้าจะสร้างกำไรให้กับเจ้าของกิจการสูงสุด เพราะมียอดการผลิตมากส่งผลให้ต้นทุนต่อชิ้นลดลง ทั้งนี้ เจ้าของกิจการควรให้ความสำคัญต่อการเพิ่มช่องทางการกระจายสินค้า รวมถึงการพัฒนาสินค้าเพื่อให้สินค้ามีอายุตลาดที่ยาวนานขึ้น
  4. ขั้นตกต่ำ (Decline) ยอดขายของสินค้าและกำไรจะลดลง รวมถึงอัตราการแข่งขันจะไม่สูงมาก เพราะสินค้าไม่ได้รับความนิยมอีกแล้ว ผู้ดำเนินกิจการควรมองหาทางออกของการทำธุรกิจไม่ว่าจะเป็น เลิกกิจการ เปลี่ยนตลาด หรือปรับปรุงส่วนประสมผลิตให้เหมาะสมยิ่งขึ้น

"Brand" หรือ "ตราสัญลักษณ์" American Marketing Associationได้ให้ความหมายไว้ ดังนี้ "ชื่อ คำศัพท์ เครื่องหมาย สัญลักษณ์ การออกแบบหีบห่อ หรือคุณสมบัติโดยรวมอื่นๆ ที่สร้างเอกลักษณ์ให้กับสินค้าหรือบริการของผู้ขายและสร้างความแตกต่างจากคู่แข่งรายอื่น"

โดยมีความสำคัญ คือ ทำให้ลูกค้เรียกชื่อได้อย่างสะดวก ถูกต้อง สะดวกในการซื้ซ้ำ สร้างความน่าเชื่อถือต่อธุรกิจ แสดงคุณลักษณะของสินค้า สะดวกในการขาย ช่วยในการกำหนดราคา ช่วยในการกำหนดตำแหน่งทางการตลาด

องค์ประกอบผลิตภัณฑ์
  1. ผลิตภัณฑ์หลัก (Core Product) ประโยชน์ที่ได้รับจากตัวสินค้า
  2. รูปลักษณ์ผลิตภัณฑ์ (Formal Product) 
  3. ผลิตภัณฑ์คาดหวัง (Expected Product) ให้เกิดจากตัวผลิตภัณฑ์ เท่านั้น
  4. ผลิตภัณฑ์ควบ (Augmented Product)
  5. ศักยภาพผลิตภัณฑ์ (Potential Product)
องค์ประกอบผลิตภัณฑ์  (Product   Component)  หรือสิ่งที่ต้องพิจารณาตัวผลิตภัณฑ์   เป็นการพิจารณาถึงคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ที่นักการตลาดต้องนำมากำหนดลักษณะผลิตภัณฑ์ในการตอบสนองความต้องการของตลาด   โดยสามารถแบ่งได้  ดัง

1. ผลิตภัณฑ์หลัก (Core  Product)   ต้องมีความรู้ว่าอะไรเป็นสิ่งที่ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้

2. คุณสมบัติผลิตภัณฑ์  (Product  Attribute)  เราต้องทราบว่าผลิตภัณฑ์นั้นผลิตมาจากอะไร  มีคุณสมบัติอย่างไร   ลักษณะทางกายภาพ  ขนาด  จุดเด่น  ความงาม  ความคงทน  ด้านรูปร่าง  รูปแบบของผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ในตัวของมันเอง

3. จุดเด่นของผลิตภัณฑ์ (Product   Feature)  เราต้องรู้ว่าสินค้าของเรามีอะไรเด่นเป็นพิเศษ  (Differentiation)  กว่าสินค้าอื่น  เพื่อดึงดูดลูกค้าให้ใช้สินค้าของเรา

4. ผลประโยชน์ที่ได้รับจากผลิตภัณฑ์  (Product  Benefit)  ลูกค้าส่วนใหญ่มักจะสับสนระหว่างจุดเด่นผลิตภัณฑ์  และผลประโยชน์ที่ได้รับจากผลิตภัณฑ์  ซึ่งจะแตกต่างกัน
จุดเด่นผลิตภัณฑ์  คือ  สิ่งที่อยู่ในตัวสินค้า  ส่วนสิ่งที่เป็นผลประโยชน์แก่ลูกค้าที่เกิดขึ้นในความรู้สึกของลูกค้า  เรียกว่า  ผลประโยชน์ที่ได้รับจากผลิตภัณฑ์ตัวอย่าง

ผลประโยชน์ของผลิตภัณฑ์สามารถแบ่งออกเป็น  3  ประเภท  คือ

4.1 ผลประโยชน์ที่ผลิตภัณฑ์พึงมี (Defensive  Benefit)  หรือผลิตภัณฑ์หลัก (Core  product)  หมายถึง  ประโยชน์หลัก (Core  benefit)   หรือประโยชน์พื้นฐานที่ผู้ซื้อจะได้รับจากสินค้าแต่ละชนิด  ซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่ผู้ซื้อใช้ในการพิจารณาตัดสินใจซื้อ  เช่น  ลิปสติก
นอกจากจะมีสีสวยแล้วต้องสร้างความหวัง (สวย)  ให้แก่ผู้ซื้อด้วย  นาฬิกาต้องบอกเวลาที่เที่ยงตรง  โรงแรมต้องสามารถให้ประโยชน์สำหรับการพักผ่อนนอนหลับระหว่างการเดินทางแทนการนอนในบ้าน    รถยนต์ต้องเป็นพาหนะในการเดินทาง  ซึ่งมีความปลอดภัยและความสะดวกสบายตามสมควร   สบู่ต้องสามารถทำความสะอาดให้ร่างกายได้

4.2 ผลประโยชน์พิเศษ (Extra  Benefit)  ที่ทำให้เหนือกว่าคู่แข่งขัน  เพื่อทำให้ชนะคู่แข่งขัน  เช่น  ส่วนผสม (Raw  Design)  สี (Color)  การหีบห่อ (Packaging)  ตรา (Brand)  รส (Taste)  กลิ่น (Smell)  และอุปกรณ์เพิ่มเติม (Accessories)  เป็นต้น  คุณสมบัติเหล่านี้มีขึ้นเพื่อให้ผลิตภัณฑ์มีความสมบูรณ์   สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ซื้อได้ครบถ้วนมากขึ้นตามลักษณะของสินค้าแต่ละชนิด  นาฬิกา   นอกจากจะบอกเวลาที่เที่ยงตรงแล้วยังควรจะผลิตจากวัสดุอย่างดี  มีรูปแบบดี   มีการบรรจุกล่องอย่างสวยงาม  เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป   ห้องพักที่โรงแรมต้องมีหมอน  เตียง  ผ้าเช็ดตัว  ห้องอาบน้ำ  และตู้เสื้อผ้าในห้อง  เป็นต้น

4.3  ผลประโยชน์เสริม (Fringe  Benefit)  ที่ทำให้สินค้าแตกต่างไปจากคู่แข่งขัน   หรือหมายถึง  ประโยชน์เพิ่มเติมที่ผู้ซื้อได้รับนอกเหนือจากสินค้าปกติ  เช่น  การบริการหลังการขาย  (After  Sales  Service)  การรับประกันความเสียหาย (Guarantees)  การซ่อม (Repairs)  การขนส่ง  (Delivery)  การให้สินเชื่อ (Credit)  การมีอะไหล่  (Spare   Parts)  การซื้อคืน  (Trade – In)  ชื่อเสียงและคุณธรรมของบริษัท (Corporate  Image  and  Ethics)  และการมีตราสินค้าที่มีชื่อเสียง  (Well – know  Brand  Name)  เป็นต้น

องค์ประกอบของผลิตภัณฑ์เป็นส่วนที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่ม  (Value  Added)  ให้กับสินค้าได้อย่างมหาศาล   ซึ่งนักการตลาดต้องพยายามศึกษาเพื่อเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบให้ทันสมัยอยู่เสมอ  ด้วยการใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ เข้าช่วย  พร้อมทั้งสร้างการยอมรับองค์ประกอบต่าง ๆ ด้วยการโฆษณาและการประชาสัมพันธ์

องค์ประกอบของผลิตภัณฑ์ โทรศัพท์


องค์ประกอบของผลิตภัณฑ์ เป็นอย่างไร

องค์ประกอบของผลิตภัณฑ์ (Product component) - ผลิตภัณฑ์หลัก(Core Product) - รูปร่างของผลิตภัณฑ์(Tangible Product) - ผลิตภัณฑ์ที่คาดหวัง(Expect product) - ผลิตภัณฑ์ควบ(Augmented product) - ศักยภาพที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ (Potential product)

องค์ประกอบของผลิตภัณท์ที่มีตัวตน มีอะไรบ้าง

องค์ประกอบผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ที่มีตัวตน ส่วนสาคัญที่ทาให้ผู้บริโภคพิจารณาตัดสินใจเลือกซื้อ ผลิตภัณฑ์หนึ่งๆ ได้แก่ – คุณภาพ เช่น คงทน สะอาด – รูปร่างลักษณะ เช่น ทรงกลม ทรงกระบอก – รูปแบบ เช่น ใช้งานง่าย ทันสมัย พกพาสะดวก – การบรรจุหีบห่อ เช่น บรรจุในกล่องพลาสติก ลังไม้ – ตราสินค้า

Augmented Product มีอะไรบ้าง

1.2.3 ผลิตภัณฑ์ควบ (Augmented Product) หมายถึงประโยชน์เพิ่มเติม หรือ บริการที่ผู้ซื้อจะได้รับควบคู่ไปกับการซื้อสินค้า ประกอบด้วยบริการก่อนและหลังการขาย เช่น การ ขนส่ง การให้สินเชื่อ

ผลิตภัณฑ์หลักคืออะไร

1. ผลิตภัณฑ์หลัก (Core Product) = ประโยชน์หลัก/ประโยชน์พืนฐานทีผู้ซือจะได้รับ 2. ผลิตภัณฑ์พืนฐาน (Basic Product) = ประโยชน์ทีเพิมคุณค่ากับสินค้า/บริการ (รับรู้/สัมผัสได้)