พระอานนท์ ข้อคิด แบบอย่าง การ ดำเนิน ชีวิต

สำหรับเหตุผลที่ท่านขอพร 8 ประการนั้น ได้แก่ พรที่ 1-4 เพื่อแสดงให้เห็นว่า ที่ท่านรับตำแหน่งพุทธอุปัฏฐาก มิใช่เพื่อลาภสักการะ และพรที่ 5 –7 เพื่อแสดงว่าท่านเป็นผู้มีความปรารถนาจะปฏิบัติหน้าที่พุทธอุปัฏฐากอย่างอุทิศและให้เกิดประสิทธิภาพเป็นที่ยอมรับของพระพุทธเจ้าและพุทธบริษัท พระอานนท์ได้ทำหน้าที่พุทธอุปัฏฐากได้เป็นอย่างดียิ่ง จนได้รับการยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่าเป็นเอตทัคคะ (ความเป็นเลิศกว่าผู้อื่น) 5 ประการ ได้แก่

เมื่อเทียบกับพระสาวกองค์อื่น พระอานนท์ดูจะเป็นสาวกที่ใกล้ชิดกับพระพุทธเจ้ามากที่สุด ด้วยความที่พระอานนท์มีศักดิ์เป็นน้องชายร่วมตระกูลกับพระพุทธเจ้า อีกทั้งยังเป็นสหชาติ คือเกิดในวันเวลาเดียวกัน ทำให้การที่พระอานนท์บรรลุเป็นพระอรหันต์ช้ากว่าพระสาวกรูปอื่นๆ กลายเป็นข้อครหาของใครหลายคนว่าใกล้เกลือกินด่าง แต่ใครเล่าจะรู้ความนัยที่ซ่อนอยู่เบื้องหลัง

แรงจูงใจให้เสียสละเช่นนี้ จะเป็นเพราะเหตุใดไปไม่ได้ นอกเสียจากความยึดมั่นในประโยชน์ของชาวโลกมากกว่าประโยชน์ส่วนตน เห็นได้จาก พรทั้งแปดข้อ ที่ท่านทูลขอจากพระพุทธองค์ นับเป็นพรที่แสดงให้เห็นถึงการมองการณ์ไกลและความมุ่งหวังแต่ประโยชน์แก่พระพุทธศาสนาทั้งสิ้น

พรแปดข้อที่พระอานนท์ทูลขอ คือ

 

ข้อ1.ขออย่าให้พระพุทธเจ้าประทานจีวรอันประณีตแก่ท่าน

ข้อ2.ขออย่าให้พระพุทธเจ้าประทานอาหารอันประณีตแก่ท่าน

ข้อ3.ขออย่าให้ท่านอยู่ในที่ประทับของพระพุทธเจ้า

ข้อ4.คือ ขออย่าให้พระพุทธเจ้าพาท่านไปยังที่นิมนต์ด้วย พรสี่ข้อแรกนี้เป็นเครื่องยืนยันเป็นอย่างดีว่า ท่านไม่ต้องการอภิสิทธิ์และลาภสักการะใดๆจากตำแหน่งพระอุปัฏฐากแม้แต่น้อย

ข้อ5.ที่พระอานนท์ขอคือหากท่านรับนิมนต์ที่ไหนไว้ก็ขอให้พระพุทธเจ้าเสด็จไปตามนั้น

ข้อ6.เมื่อมีผู้ใดต้องการมาเฝ้าพระพุทธเจ้าก็ขอให้ท่านมีโอกาสนำคนเหล่านั้นเข้าเฝ้า

ข้อ7.เมื่อพระอานนท์สงสัยในเรื่องใด ขอให้ท่านมีโอกาสได้กราบทูลถามปัญหาได้ทุกเมื่อ

และข้อสุดท้าย 8. ขอให้พระพุทธองค์นำหลักธรรมที่ไปเทศน์ที่อื่นกลับมาเทศน์ให้ท่านฟังทุกครั้ง

 

เหตุที่พระอานนท์ขอพรดังกล่าวก็เพื่อให้ตนเองมีภูมิธรรม อันจะสามารถช่วยแบ่งเบาภาระขององค์พระศาสดาได้ในกาลต่อไปนั่นเอง พระอานนท์ทำหน้าที่พระอุปัฏฐากดูแลพระพุทธเจ้าอย่างไม่ขาดตกบกพร่อง ถึงขนาดยอมเอาตัวเข้าขวางช้างนาฬาคีรีที่คลุ้มคลั่งมุ่งจะมาทำร้ายพระพุทธองค์ การเสียสละในครั้งนั้นทำให้เห็นได้ชัดเจนว่า พระอานนท์ไม่ลังเลเลยที่จะเอาชีวิตของตนปกป้องชีวิตพระศาสดาผู้เป็นที่รักและบูชา

แม้หลังพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานไปแล้ว พระอานนท์ก็ยังคงแบกรับภารกิจต่างๆ แทนพระพุทธองค์จนแทบไม่เหลือเวลาส่วนตัวให้ปฏิบัติธรรม ทำให้สภาวธรรมของท่านไม่ก้าวหน้า

แต่กระนั้นเหล่าพุทธสาวกก็มิได้มองข้ามความสำคัญของท่าน เพราะผลจากพรข้อสุดท้ายที่พระอานนท์ทูลขอ
จากองค์พระศาสดา ทำให้ท่านสามารถจดจำพระธรรมได้ อย่างครบถ้วนเหนือสาวกรูปอื่น และได้รับคัดเลือกเป็น
กรณีพิเศษ ให้เข้าร่วมการสังคายนาพระไตรปิฎก แม้จะยังไม่สำเร็จเป็นพระอรหันต์เช่นสาวกอื่นๆอีก 499 รูป

การได้รับเกียรติอันสูงสุดเช่นนี้ทำให้พระอานนท์ ลำบากใจยิ่งนักว่าภูมิธรรมอันน้อยนิดของตนอาจทำให้พุทธศาสนิกชนทั่วไปเสื่อมศรัทธาในองค์สังคายนาได้ ท่านจึงยอมสละความสุขส่วนตนเพื่อเร่งปฏิบัติอย่างหนัก เพื่อให้เข้าถึงความเป็นอรหันต์ก่อนที่การสังคายนาจะเริ่มขึ้น และแล้วในคืนก่อนการสังคายนาพระไตรปิฎกนั้นเอง จิตของท่านก็หลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวง และบรรลุเป็นพระอรหันต์ได้ทันเวลา ในขณะที่กำลังเอนกายลงนอน ซึ่งเป็นอิริยาบถที่แปลกกว่าพระสาวกองค์อื่นๆ

นับตั้งแต่บัดนั้น พระอานนท์ในความรับรู้ของพุทธศาสนิกชนจึงมิใช่เป็นเพียงภิกษุผู้อุปัฏฐากพระพุทธเจ้าเท่านั้น หากยังเป็นต้นแบบของผู้เสียสละที่อุทิศชีวิตเพื่อส่วนรวมอย่างแท้จริง

          6. เป็นผู้มองการณ์ไกล  พระอานนท์  เป็นผู้กราบทูลถามพระพุทธเจ้าในข้อปฏิบัติเกี่ยวกับการแสดงความเคารพและการระลึกถึงพระพุทธองค์ภายหลังเสด็จดับขันธปรินิพพาน  ซึ่งพระพุทธองค์ตรัสว่าให้พุทธบริษัททั้ง 4  กราบไหว้บูชา  “สังเวชนียสถานสี่ตำบล”  คือ  สถานที่ประสูติ  ตรัสรู้  แสดงปฐมเทศนาและปรินิพพาน