คำสั่งสำนัก นายกรัฐมนตรี ที่ 85 2564

คำสั่งสำนัก นายกรัฐมนตรี ที่ 85 2564

Advertisement

นายกฯ ฉีกคำสั่งตั้ง รมต.คุมพื้นที่จังหวัด หลังพรรคร่วมรัฐบาลขัดแย้งหนัก อ้างโควิด-19 ระบาดรุนแรง เกิดปัญหาและอุปสรรคต่อการดำเนินงาน จำเป็นต้องชะลอจนกว่าสถานการณ์จะดีขึ้น

วันที่ 30 เม.ย. 2564 สำหรับการมอบหมายรัฐมนตรีรับผิดชอบแนวคิดการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกันระดับพื้นที่จังหวัด ซึ่งเกิดความขัดแย้งขึ้นในพรรคร่วมรัฐบาลด้วยกัน ทำให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม มอบหมายให้นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ทบทวนคำสั่งการมอบหมายให้รัฐมนตรีรับผิดชอบแนวคิดการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกันระดับพื้นที่จังหวัด  โดยให้รัฐมนตรีจากทุกพรรคร่วมรัฐบาลมาแจ้งถึงปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นนั้น แต่ล่าสุดก็ยังไม่สามารถเคลียร์ปัญหาความขัดแย้งได้ โดยมีทั้งการขอเปลี่ยนจังหวัด และการขอสลับจังหวัดกันเองของรัฐมนตรี จนทำให้ถึงขณะนี้ก็ยังไม่ลงตัว ทั้งนี้ พล.อ.ประยุทธ์จึงลงนามในคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ยกเลิกคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 85/2564 เรื่องมอบหมายให้รัฐมนตรีรับผิดชอบแนวคิดการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกันระดับพื้นที่จังหวัด ที่จะมีผลตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค. 2564 เป็นต้นไป

สำหรับสาระสำคัญของคำสั่งดังกล่าวนั้นระบุว่า ตามที่มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 85/2564 เรื่องมอบหมายให้รัฐมนตรีรับผิดชอบแนวคิดการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกันระดับพื้นที่จังหวัด ลงวันที่ 9 เม.ย. 2564 นั้น โดยที่ได้เกิดสถานการณ์ระบาดโควิด-19 รุนแรงขึ้นในเกือบทุกจังหวัดของประเทศ ทำให้การติดตาม รับฟัง และแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่จังหวัดที่ได้มอบหมายให้รัฐมนตรีแต่ละคนช่วยกันรับผิดชอบ และประสานการขับเคลื่อนการพัฒนา ยังไม่สามารถดำเนินการได้เต็มรูปแบบอย่างมีประสิทธิภาพ แม้แต่การขับเคลื่อนของคณะกรรมในระดับจังหวัดก็ยังประสบปัญหาและอุปสรรค เพราะจำเป็นต้องใช้ทรัพยากรบุคคล และทรัพยากรอื่นๆ เพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้าดังกล่าวเป็นเรื่องเร่งด่วน

ส่วนการยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน และการเสริมสร้างศักยภาพในการพัฒนาประเทศ เป็นเรื่องที่หน่วยงานของรัฐมีหน้าที่และอำนาจโดยตรง และรัฐมนตรีผู้รับผิดชอบหน่วยงานนั้นสามารถกระทำไปตามภารกิจปกติได้อยู่แล้ว ดังนั้น จึงควรชะลอการดำเนินการของรัฐมนตรีในระดับพื้นที่จังหวัดตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรีไว้ก่อนเป็นการชั่วคราว จนกว่าสถานการณ์โควิด-19 เปลี่ยนแปลงไป และคณะกรรมการอำนวยการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกันจะเห็นควรให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่จะได้กำหนดต่อไป อย่างไรก็ตาม ระหว่างนี้ให้เป็นหน้าที่และอำนาจของรองนายกรัฐมนตรีในระดับพื้นที่เขตตรวจราชการแต่ละเขตที่ได้มอบหมายไว้ก่อนแล้ว เป็นผู้กำกับดูแล โดยประสานกับคณะกรรมการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกันระดับจังหวัด และอาจประสานงานหรือมอบหมายให้รัฐมนตรีที่รับผิดชอบงานพัฒนาและการแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้อง ไปดำเนินการเป็นการเฉพาะเรื่อง และเป็นครั้งคราว

podcast

กำลังโหลดบทความถัดไป...

เผยแพร่: 6 พ.ค. 2564 13:21   ปรับปรุง: 6 พ.ค. 2564 13:21   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


ฉีกคำสั่งอ้างโควิดระบาด “สลน.” เวียนคำสั่ง ยกเลิกคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 85/2564 มอบหมายให้ 29 รัฐมนตรีรับผิดชอบแนวคิดการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกันระดับพื้นที่จังหวัด พ่วงใช้งบฟื้นฟูท้องถิ่น 4.5 หมื่นล้าน ตัดปัญหารัฐมนตรีต่างพรรค แย่งคุมพื้นที่จังหวัด ใช้คำสั่งเดิมพื้นที่ 18 เขตตรวจราชการ “รองนายกฯ”

วันนี้ (6 พ.ค. 64) มีรายงานจากทำเนียบรัฐบาลเปิดเผยว่า สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (สลน.) เวียนหนังสือ คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 99/2564 ยกเลิกคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 85/2564 เรื่องมอบหมายให้รัฐมนตรีรับผิดชอบแนวคิดการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกันระดับพื้นที่จังหวัด ซึ่งจะมีผลตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค. 2564 เป็นต้นไป โดยในคำสั่งระบุว่า

ตามที่มีคำสั่งสำนักนายกฯ ที่ 85/2564 ดังกล่าว ลงวันที่ 9 เม.ย. 2564 นั้น ได้เกิดสถานการณ์ระบาดโควิด-19 รุนแรงขึ้นในเกือบทุกจังหวัดของประเทศ ทำให้การติดตาม รับฟัง และแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่จังหวัดที่ได้มอบหมายให้รัฐมนตรีแต่ละคนช่วยกันรับผิดชอบ และประสานการขับเคลื่อนการพัฒนายังไม่สามารถดำเนินการได้เต็มรูปแบบอย่างมีประสิทธิภาพ

แม้แต่การขับเคลื่อนของคณะกรรมการในระดับจังหวัดก็ยังประสบปัญหาและอุปสรรค เพราะจำเป็นต้องใช้ทรัพยากรบุคคล และทรัพยากรอื่นๆ เพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้าดังกล่าวเป็นเรื่องเร่งด่วน ส่วนการยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน และการเสริมสร้างศักยภาพในการพัฒนาประเทศ เป็นเรื่องที่หน่วยงานของรัฐมีหน้าที่และอำนาจโดยตรง และรัฐมนตรีผู้รับผิดชอบหน่วยงานนั้นสามารถกระทำไปตามภารกิจปกติได้อยู่แล้ว

ดังนั้น จึงควรชะลอการดำเนินการของรัฐมนตรีในระดับพื้นที่จังหวัดตามข้อ 3 ของคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 242/2563 เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกัน ลงวันที่ 13 ส.ค. 2563 ไว้ก่อนเป็นการชั่วคราวจนกว่าสถานการณ์โควิด-19 เปลี่ยนแปลงไป และคณะกรรมการอำนวยการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกันจะเห็นควรให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่จะได้กำหนดต่อไป

“และระหว่างนี้จึงให้เป็นหน้าที่และอำนาจของรองนายกรัฐมนตรีในระดับพื้นที่เขตตรวจราชการแต่ละเขตที่ได้มอบหมายไว้ก่อนแล้วเป็นผู้กำกับดูแล โดยประสานกับคณะกรรมการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกันระดับจังหวัด และอาจประสานงานหรือมอบหมายให้รัฐมนตรีที่รับผิดชอบงานพัฒนาและการแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องไปดำเนินการเป็นการเฉพาะเรื่อง และเป็นครั้งคราว”

คำสั่งดังกล่าวเกิดจากกรณีที่เกิดปัญหาความขัดแย้งในการมอบหมายรัฐมนตรีให้รับผิดชอบโครงการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกันระดับพื้นที่จังหวัด เพื่อกำกับการใช้งบประมาณ "โครงการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก" ภายใต้กลุ่มแผนงาน/โครงการฟื้นฟูเศรษฐกิจท้องถิ่นและชุมชนบนพื้นฐานของโอกาสและศักยภาพของท้องถิ่น : ระดับพื้นที่ วงเงิน 45,000 ล้านบาท

ภายหลังจากที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม มอบหมายให้ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ทบทวนคำสั่งการมอบหมายให้รัฐมนตรีรับผิดชอบแนวคิดการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกันระดับพื้นที่จังหวัด โดยให้ประสานไปยังรัฐมนตรีทุกพรรคที่ร่วมรัฐบาล พบว่ายังไม่สามารถเคลียร์ปัญหาความขัดแย้งได้ เนื่องจากมีการขอเปลี่ยนจังหวัด และสลับจังหวัดกันเองแต่ยังไม่ลงตัว ดังนั้นเพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้งระหว่างพรรคร่วมรัฐบาล

สำหรับคำสั่งเดิม ให้รองนายกรัฐมนตรีกำกับ 18 เขตตรวจราชการ ยังมีอำนาจในการใช้งบประมาณ งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ตามอำนาจนายกรัฐมนตรี ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ใน 18 เขตตรวจราชการ วงเงิน 900 ล้านบาทต่อปี

โดยเป็นงบกลางจัดสรรให้ พล.อ.ประวิตร 4 เขตตรวจราชการ 17 จังหวัด วงเงิน 210 ล้านบาท นายวิษณุ เครืองาม 3 เขตตรวจราชการ 13 จังหวัด วงเงิน 150 ล้านบาท นายอนุทิน ชาญวีรกูล 3 เขตตรวจราชการ 10 จังหวัด วงเงิน 130 ล้านบาท นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ 3 เขตตรวจราชการ 15 จังหวัด วงเงิน 170 ล้านบาท นายดอน ปรมัตถ์วินัย 2 เขตตรวจราชการ 9 จังหวัด วงเงิน 100 ล้านบาท และ นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ 3 เขตตรวจราชการ 12 จังหวัด วงเงิน 140 ล้านบาท