หมายเหตุประกอบงบการเงิน หมายถึง

สำหรับท่านใดที่สนใจเรียนหลักสูตรที่เกี่ยวกับงบการเงิน ช่วงนี้มีโปรโมชั่นดีๆเพียง 1,000 บาท มีด้วยกัน 2 หลักสูตร ดูรายละเอียดได้ดังนี้

  1. การอ่านงบการเงินพื้นฐาน
  2. การวิเคราะห์งบการเงิน

เราปูพื้นฐานให้ตั้งแต่เริ่มต้น เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่มีพื้นฐานทางด้านบัญชี หรือผู้ที่มีพื้นฐานแล้วแต่ต้องการต่อยอดไปในเรื่องการวิเคราะห์งบการเงินก็สามารถเรียนได้

มันคืออะไร และเข้ามาเกี่ยวข้องในรายงานทางการเงินของบริษัทต่าง ๆ ที่มีสถานะเป็นบริษัทนิติบุคคลได้อย่างไร ในวันนี้เราจะมาค้นหาคำตอบกันว่าหมายเหตุที่ปรากฏในงบการเงินนั้น จะบอกอะไรกับผู้ที่กำลังอ่านงบการเงินอยู่ ? อีกทั้งข้อมูลต่าง ๆ ที่ปรากฏอยู่ในงบการเงินก็ค่อนข้างมีความชัดเจนจนแสดงออกมาเป็นตัวเลข แล้วหมายเหตุในงบการเงินนั้นจะยังจำเป็นหรือยังมีความสำคัญต่อรายงานงบการเงินของบริษัทนั้น ๆ อยู่หรือไม่ ? สำหรับท่านที่สงสัยสามารถเข้ามาค้นหาคำตอบเกี่ยวกับหมายเหตุงบการเงินในบทความนี้ได้เลย

สารบัญ

Add a header to begin generating the table of contents

หมายเหตุประกอบงบการเงิน อยู่ส่วนใดของรายงานกันนะ

ในเรื่องหมายเหตุประกอบงบการเงิน กฎหมายได้กำหนดเอาไว้อย่างชัดเจนว่าทุกบริษัทที่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลนั้น จะต้องจัดทำรายงานทางการเงินยื่นส่งต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้าและกรมสรรพากรตามกำหนดที่ได้มีประกาศเอาไว้อย่างละเอียดถี่ถ้วน ซึ่งรายงานทางการเงินที่บริษัทเหล่านั้นจะต้องจัดทำขึ้นมีองค์ประกอบที่สำคัญรวมกัน ดังนี้

  1. งบแสดงฐานะทางการเงิน รายงานในส่วนนี้จะบ่งบอกถึงสถานะทางการเงินของกิจการนั้น ๆ ว่ามีลักษณะของกิจการเป็นอย่างไร โดยจะเปิดเผยข้อมูลตั้งแต่วันแรกของการเปิดกิจการจนถึงปัจจุบันว่า สินทรัพย์หรือหนี้สินที่มีอยู่เป็นอย่างไรบ้าง โดยผู้ที่กำลังอ่านงบรายงานทางการเงินอยู่ สามารถประเมินความมั่งคั่งของกิจการได้ง่าย ๆ จากส่วนนี้ ฉะนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากในการที่จะเริ่มทำธุรกิจใด ๆ ก็ตาม
  2. งบกำไรขาดทุน โดยปกติแล้วรายงานในส่วนนี้ มักจะจัดทำเป็นช่วง 12 เดือน แต่สำหรับบริษัทมหาชนอาจจะมีการจัดทำรายงานเป็นระยะ 3 เดือนหรือที่เรียกว่าไตรมาสก็ได้ โดยงบกำไรขาดทุนนี้จะอธิบายถึงการดำเนินงานของกิจการที่ทำอยู่ ในระหว่าง 3 เดือนหรือ 12 เดือน ว่าเป็นไปตามเป้าหมายที่กิจการได้วางแผนเอาไว้ไหม ซึ่งหากรายได้ของกิจการมีมากกว่าค่าใช้จ่ายก็จะแสดงว่ากิจการนั้น ๆ มีกำไรจากการดำเนินการ ซึ่งเมื่อนำมาเทียบจากปีต่อปี จะทำให้ผู้ที่กำลังอ่านงบการเงินอยู่เห็นแนวโน้มของกิจการนั้น ๆ ว่ามีท่าทีเป็นอย่างไรในอนาคตได้
  3. งบการแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของ 
  4. งบกระแสเงินสด ซึ่งจะแสดงถึงสภาพคล่องของเงินสดที่มีอยู่ในกิจการนั้น ๆ  

หมายเหตุประกอบงบการเงิน จะเป็นข้อมูลที่ระบุในส่วนท้าย ๆ ของรายงานทางการเงิน ซึ่งจะแสดงถึงรายละเอียดต่าง ๆ ที่จะต้องชี้แจง และมีผลต่องบการเงินทั้งทางตรงรวมถึงทางอ้อม ซึ่งบางกิจการที่มีขนาดเล็กอาจจะไม่มีการใส่ข้อมูลหมายเหตุนี้ก็ได้ แต่สำหรับกิจการที่มีขนาดใหญ่ มักจะมีการใส่ข้อมูลในหมายเหตุงบการเงิน เพื่ออธิบายและชี้แจงถึงที่มาที่ไปในตัวเลขของรายงานทั้งหมดเสมอ อันจะทำให้ผู้ที่กำลังอ่านงบการเงินอยู่นั้น เข้าใจถึงสถานการณ์ในปัจจุบันของกิจการ ตลอดจนสามารถวิเคราะห์หรือประมวลผลอนาคตของกิจการนั้น ๆ ได้มากพอสมควร

หมายเหตุประกอบงบการเงิน คืออะไร

‘หมายเหตุประกอบ’ คือข้อความหรือหลักฐาน ที่จะนำมาชี้แจง เพื่อทำให้เกิดความเข้าใจต่อสิ่งที่กำลังอ่านหรือศึกษาอยู่มากขึ้นกว่าเดิม ซึ่งหมายเหตุประกอบนี้ สามารถนำไปใช้ในงานอื่น ๆ ได้ทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นการศึกษา การเงิน หรือใช้แสดงในข้อพิพาทอื่น ๆ ได้เช่นเดียวกัน

‘งบการเงิน’ ในที่นี้หมายถึงรายงานทางการเงินที่บริษัทต่าง ๆ จะต้องจัดทำขึ้นในทุก ๆ ปีเพื่อยื่นต่อหน่วยงานที่มีหน้าที่ตรวจสอบเป็นการเฉพาะ ซึ่งหากบริษัทเหล่านั้นเพิกเฉย หรือไม่ดำเนินการตามที่กฎหมายกำหนด ก็จะทำให้เกิดความผิดตามมาอย่างเลี่ยงไม่ได้

เมื่อนำคำว่า ‘หมายเหตุประกอบ’ มารวมกันกับคำว่า ‘งบการเงิน’ ก็จะได้ใจความง่าย ๆ ของมันว่า เป็นส่วนขยายความจากงบการเงินที่ปรากฏใน งบแสดงฐานะทางการเงิน , งบกำไรขาดทุน , งบการแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของ และงบกระแสเงินสดอย่างละเอียด โดยเป็นความจริงแท้เท่าที่องค์กรนั้น ๆ จะสามารถเปิดเผยได้ โดยเนื้อหาในส่วนนี้ จะชี้แจงว่าตัวเลขที่ปรากฏของบการเงินนั้น ๆ มาจากไหน มีที่มาที่ไปเป็นอย่างไร ซึ่งผู้ที่กำลังอ่านงบการเงินสามารถเข้าไปดูรายละเอียดได้ในข้อมูลของหมายเหตุงบการเงินทั้งหมด

ความสำคัญของ หมายเหตุประกอบงบการเงิน

แม้ว่าการแสดงหมายเหตุงบการเงินจะมีขึ้นอยู่ในช่วงท้าย ๆ ของรายงาน แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่ามันจะไร้ซึ่งความสำคัญและไม่มีประโยชน์เลย เพราะในมุมมองของผู้ที่อ่านรายงานทางการเงินเป็น จะรู้กันดีว่าข้อมูลในส่วนนี้มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่างบในส่วนอื่น ๆ ของรายงาน เมื่อใดก็ตามที่ผู้อ่านต้องการทราบหรือสงสัยถึงรายละเอียดที่ปรากฏอยู่ในตัวเลขของงบนั้น ๆ ก็จะสามารถเข้าไปดูข้อมูลเชิงลึกของตัวเลขเหล่านั้น จากหมายเหตุงบการเงินได้นั่นเอง  ซึ่งข้อมูลทั้งหมดสามารถเชื่อถือ และนำไปวิเคราะห์ถึงสถานการณ์ต่าง ๆ ของกิจการได้อย่างเป็นเหตุเป็นผล เพราะนี่เป็นข้อเท็จจริงที่ผู้สอบบัญชีได้นำมาใส่เอาไว้ เพื่อให้ผู้ที่กำลังอ่านรายงานอยู่ ได้ศึกษาและวิเคราะห์ถึงเงื่อนไขต่าง ๆ ของกิจการได้อย่างลึกซึ้ง 

อย่างไรก็ตามแม้ว่า หมายเหตุประกอบงบการเงิน จะถูกรวมเป็น 1 ใน 5 ขององค์ประกอบรายงานทางการเงิน แต่สำหรับบางกิจการเล็ก ๆ หรือ SME ก็อาจจะไม่มีข้อมูลนี้ออกมาแสดงก็เป็นได้ เพราะเป็นเพียงการดำเนินการทางการค้าเล็ก ๆ ที่ไม่มีความซับซ้อน หรืออาจจะเป็นลักษณะของการซื้อมาขายไป จึงสามารถอ่านรายงานทางการเงินได้อย่างง่ายดาย และไร้ซึ่งข้อสงสัยที่ผู้สอบบัญชีเห็นว่าไม่จำเป็นต้องใส่ข้อมูลในส่วนนี้เพิ่มเติมเข้าไปก็ได้

การมีหมายเหตุประกอบงบการเงินดีอย่างไร

อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วในข้อมูลข้างต้นว่าหมายเหตุประกอบงบการเงินนั้น ค่อนข้างสำคัญมากสำหรับองค์กรหรือกิจการ ที่มีการดำเนินการเกี่ยวพันกับกิจการอื่น หรือมีความสลับซับซ้อนในการดำเนินกิจการ เช่น รายละเอียดของลูกหนี้ , รายละเอียดต่าง ๆ ที่จะต้องแสดงของสินค้าคงเหลือ , รายละเอียดของที่ดินอาคารและอุปกรณ์ต่าง ๆ ของกิจการที่อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงมูลค่าขึ้นได้ นอกจากนี้อาจจะเป็นเรื่องของกรณีพิพาท หรือการมีคดีความฟ้องร้องซึ่งจำเป็นอย่างมากที่จะต้องแสดงในหมายเหตุงบการเงินอย่างละเอียด เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นต่อกิจการในอนาคตได้ โดยการศึกษาหมายเหตุงบการเงินอย่างละเอียดควบคู่กับงบในส่วนอื่น ๆ จะเกิดข้อดีต่อผู้ศึกษาอย่างชัดเจนดังนี้ 

  • สามารถนำไปพิจารณาเป็นเงื่อนไขทางการลงทุนได้ดี เพราะรายละเอียดต่าง ๆ ที่ปรากฏอยู่ในหมายเหตุงบการเงิน จะทำให้นักลงทุนทราบว่าหากเลือกลงทุนกับกิจการนี้จะขาดทุนหรือได้กำไร เพราะในบางครั้งการพิจารณาเพียงงบแสดงฐานะทางการเงิน (งบดุล) หรืองบกำไรขาดทุนอย่างได้อย่างหนึ่งอาจจะไม่ใช่คำตอบที่แน่ชัดเสมอไป 
  • ช่วยให้เกิดการวางแผนงบการเงินที่เหมาะสมต่อกิจการนั้น ๆ ได้ เช่นบางกรณีที่ตัวเลขในงบกำไรขาดทุนมีจำนวนมาก บางคนอาจจะมองว่าเป็นกำไร ใน หมายเหตุประกอบงบการเงิน ได้ระบุเอาไว้ในตอนท้ายว่าเป็นเพียงเงินที่ค้างชำระจากลูกค้าหรือยังไม่ถึงกำหนดชำระ  ผู้ลงทุนหรือผู้ประกอบการอาจจะนำข้อมูลในส่วนนี้ไปปรับปรุงหรือวิเคราะห์การวางแผนงบการเงินใหม่ได้ 
  • สามารถใช้ในการประเมินมูลค่ากิจการ อันจะทำให้ทราบได้ว่า แต่ละกิจการที่กำลังดำเนินการอยู่นั้นมีมูลค่าทางเศรษฐกิจมากน้อยเท่าไหร่ 
  • สามารถใช้ข้อมูลที่มีอยู่ในหมายเหตุงบการเงินเป็นหลักฐานในการควบคุม หรือตรวจสอบภายในเพื่อแก้ไขข้อเสียของกิจการนั้น ๆ ได้ ซึ่งจะทำให้จุดเสี่ยงต่าง ๆ ที่มีอยู่ ไม่สามารถส่งผลกระทบต่อกิจการจนเกิดภาวะขาดทุนในอนาคตได้

บทสรุป

เมื่อกล่าวโดยสรุป จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า หมายเหตุประกอบงบการเงิน นั้น เป็นอีกหนึ่งส่วนประกอบที่จะต้องมีอยู่ในรายงานทางการเงินเสมอ เพื่ออธิบายหรือชี้แจงรายละเอียดของตัวเลขของงบอื่น ๆ ซึ่งบริษัทหรือผู้ประกอบการจะต้องจัดทำขึ้นเพื่อส่งให้กรมสรรพากรและกรมพัฒนาธุรกิจการค้าอย่างต่อเนื่องตามที่กฎหมายกำหนด

หมายเหตุประกอบงบการเงิน คืออะไร

คำตอบคือ หมายเหตุประกอบงบการเงิน คือ ส่วนที่จะต้องใช้อธิบายภาพรวมของที่มาที่ไปของตัวเลขในงบการเงินทั้งหมด รวมทั้งแจงรายละเอียดส่วนต่างๆ ที่ถูกรวมกันเป็นก้อนใหญ่ๆ ของงบการเงิน พูดง่ายๆ คือ มันเป็นส่วนที่บอกว่า สินทรัพย์ถาวรที่เห็นในทางบัญชีนั้น มันเป็นที่ดินเท่าไร?

หมายเหตุประกอบงบการเงินบอกอะไรแก่กิจการ

4. หมายเหตุประกอบงบการเงิน เป็นส่วนที่แสดงรายละเอียดของรายการในงบการเงิน นโยบายการบัญชีที่กิจการใช้ ได้แก่ วิธีการรับรู้รายได้ วิธีการคิดค่าเสื่อมราคา รวมทั้ง ภาระผูกพันในอนาคต ความคืบหน้าคดีความฟ้องร้อง เป็นต้น

หมายเหตุประกอบงบการเงินมีประโยชน์อย่างไร

ประโยชน์ของหมายเหตุประกอบงบการเงิน -ใช้ดูการตัดค่าเสื่อมราคา เพราะบางทีอาจมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายการตัดค่าเสื่อมราคาทำให้กิจการมีกำไรโตขึ้นมากในรอบบัญชีนั้น ทำให้นักลงทุนเข้าใจผิดว่ากำไรที่ได้นั้นมาจากการดำเนินงาน

หมายเหตุประกอบงบการเงินแบ่งเป็นกี่ส่วน

หมายเหตุประกอบงบการเงิน มี 2 ส่วน ได้แก่ หลักเกณฑ์และสรุปนโยบายการบัญชีที่สำคัญ ข้อมูลเพิ่มเติม