เครือข่ายคอมพิวเตอร์ด้านการตลาดและการขาย หมายถึง

9.5 รูปแบบการทำธุรกิจของ E-Commerce


1. ธุรกิจกับธุรกิจ (Business to Business: B2B) หมายถึง ธุรกิจที่มุ่งเน้นการให้บริการแก่ผู้ประกอบการด้วยกัน ตัวอย่างเช่นผู้ประกอบการในระดับเดียวกัน หรือต่างระดับกันก็ได้ หรือผู้ผลิตกับผู้ผลิต ผู้ผลิตกับผู้ส่งออก ผู้ผลิตกับผู้นำเข้าผู้ผลิตกับผู้ค้าส่งและค้าปลีก เป็นต้น ซึ่งในปัจจุบันพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ประเภทนี้มีความสำคัญมากที่สุด ตัวอย่าง Website เช่น
บริษัทไมโครซอฟต์เป็นบริษัทซอฟต์แวร์ผู้ผลิตซอฟต์แวร์ (www.micorsoft.com) บริษัทซิสโกเป็นบริษัทขายอุปกรณ์เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต และอุปกรณ์ทางด้านเครือข่ายอื่นๆ โดยขายผ่านเว็บแบบธุรกิจต่อธุรกิจ (www.cisco.com) ขายส่งสินค้าอุปโภคบริโภค (http://www.tesco.co.th/th/index.html) ขายสินค้าทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ(http://www.value.co.th/th/main.asp) และ ตลาดซื้อขายออนไลน์ (http://www.b2bthai.com/) เป็นต้น


2. ธุรกิจกับผู้บริโภค (Business to Consumer: B2C) หมายถึง ธุรกิจที่มุ่งเน้นการบริการกับลูกค้าหรือผู้บริโภค ตัวอย่างเช่น การค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์ (electronic retailing) เราสามารถแบ่งระดับของกิจกรรมของ คือ การค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์ออกเป็น 5 ระดับดังต่อไปนี้คือ การโฆษณาและแสดงสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic showcase) เพียงอย่างเดียว, การสั่งซื้อสินค้าทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic ordering) สามารถสั่งซื้อได้, การชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic payment) สามารถชำระเงินได้, การจัดส่งและบริการหลังการขายด้วยอินเทอร์เน็ต (Electronic delivery and service) สามารถจัดส่งและบริการหลังการขายได้ และ การทำธุรกรรมและการแลกเปลี่ยนทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic transaction) สามารถทำการแลกเปลี่ยนได้ ตัวอย่าง Website เช่น
บริการผู้ขายปลีกสินค้าผ่านเว็บไซต์โดยทำการขายหนังสือไปทั่วโลก (www.amazon.com) บริการการจองตั๋วเครื่องบินของบริษัทการบินไทยผ่านเว็บไซต์ (www.thaiair.com) ขายเครื่องประดับ (http://www.abcjewelry.com/) และ ขายอาหาร(http://www.pizza.co.th/) ขายหนังสือ (http://www.se-ed.com)เป็นต้น


3. ธุรกิจกับรัฐบาล (Business to Government: B2G) หมายถึง ธุรกิจการบริหารการค้าของประเทศเพื่อเน้นการบริหารการจัดการที่ดีของรัฐบาล ตัวอย่างเช่น การเผยแพร่ข้อมูลเพื่อการเปิดประมูลผ่านทางเครือข่ายเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างของรัฐ (government procurement), การจดทะเบียนการค้า, การรายงานผลการประกอบการประจำปี, การสืบค้นเครื่องหมายการค้า หรือสิทธิบัตรผ่านทางเครือข่าย เป็นต้น ตัวอย่าง Website เช่น
การประกาศจัดจ้างของภาครัฐในเว็บไซต์ (www.mahadthai.com) และ ระบบอีดีไอในพิธีการกรมศุลกากร (www.customs.go.th)


4. ผู้บริโภคกับผู้บริโภค (Consumer to Consumer: C2C) หมายถึง ธุรกิจระหว่างผู้บริโภคกับผู้บริโภค ซึ่งเป็นการค้ารายย่อย อาทิ การขายของเก่าให้กับบุคคลอื่นๆ ผ่านทางอินเตอร์เน็ต ตัวอย่าง Website เช่น
เป็นแหล่งที่ผู้ขายมาเสนอขายและผู้ซื้อประมูลซื้อแข่งกันผู้ซื้อและผู้ขายติดต่อกันผ่านอีเมล์ (www.ebay.com) ประกาศขายสินค้าเกี่ยวกับอุปกรณ์ทางด้านคอมพิวเตอร์ มีการลงทะเบียนเป็นสมาชิก สามารถจัดส่งสินค้าได้ (www.pantipmarket.com) และขายของมือสอง (http://www.thaisecondhand.com) เป็นต้น

บทที่  5  

ช่องทางจัดจำหน่ายอิเลคทรอนิคส์

Electronic Channels

ความหมายของ ช่องทางการตลาดอิเลคโทรนิคส์

ช่องทางการตลาดอิเลคโทรนิคส์ หมายถึง ช่องทางการตลาดบนเครือข่ายอินเตอร์เนต ซึ่งคำว่า อินเตอร์เนต นิยามได้ว่าหมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลก ที่เชื่อมโยงเข้าหากัน และสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสารกัน  ซึ่งด้วยเทคโนโลยีปัจจุบัน ทำให้ช่องทางการตลาดอิเลคโทรนิคส์ สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในรูปเวบไซต์บนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (E-channel)  และ การเชื่อมต่ออินเตอร์เนตบนโทรศัพท์มือถือ หรือ Mobile channel (M-channel)

รูปแบบพื้นฐานของธุรกิจทางอินเตอร์เน็ต

  1. รูปแบบธุรกิจแบบองค์การธุรกิจถึงผู้บริโภค (B2C) ได้แก่ การขายปลีก
  2. รูปแบบธุรกิจแบบองค์การธุรกิจถึงองค์การธุรกิจ (B2B) ได้แก่ การขายส่ง การขายแก่องค์กร
  3. รูปแบบธุรกิจแบบผู้บริโภคถึงผู้บริโภค (C2C) ได้แก่ การขายสินค้ามือสอง ของสะสม ของนำเข้าส่วนบุคคล เป็นต้น

ความได้เปรียบของช่องทางการตลาดอิเลคโทรนิคส์

  1. เพิ่มความได้เปรียบในการแข่งขัน (Competitive advantage) : เพิ่มโอกาสและช่องทางในการเข้าถึงผู้บริโภค ได้โดยไม่มีข้อจำกัดด้านระยะทาง
  2. ลดต้นทุนในเงินลงทุน และ ค่าใช้จ่ายดำเนินงาน (Reducing in expenses) : ช่องทางการตลาดอิเลคโทรนิคส์ เป็นหน้าร้านเสมือน สามารถออกแบบสร้างสรรค์ให้ปรากฏหรูหราใหญ่โตเพียงใดก็ได้ โดยไม่ต้องใช้เงินลงทุนในที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง รวมถึงค่าตกแต่งต่างๆเช่นหน้าร้านทั่วไป นอกจากนี้ยังสามารถเปิดขายได้24 ชั่วโมง ทั้ง7วัน โดยไม่มีค่าใช้จ่ายด้านค่าน้ำไฟ สาธารณูปโภค และค่าพนักงานขายอีกด้วย
  3. การลดลง /ไม่จำเป็นต้องมีสต๊อกสินค้า (Reduced inventory) ช่องทางการตลาดอิเลคโทรนิคส์เป็นการเสนอขาย จัดแสดงเพียงรูปภาพของสินค้า โดยไม่จำเป็นต้องถือสต๊อก ทำให้แม้แต่ผู้ประกอบการรายย่อยที่ไม่มีเงินทุนหมุนเวียนพอ หรือ ไม่มีสินค้าของตนเองในมือ ก็สามารถถ่ายภาพสินค้ามาจัดแสดง และเปิดจำหน่าย โดยเรียกเก็บเงินก่อนไปจัดหาสินค้าจริงได้

กิจกรรมการตลาดบนช่องทางการตลาดอิเลคโทรนิคส์

นอกจากการจัดจำหน่ายสินค้าแล้ว  นักการตลาดยังสามารถใช้ประโยชน์จากช่องทางการตลาดอิเลคโทรนิคส์ ในกิจกรรมการตลาดอีกมากมายหลายด้าน ได้แก่

  1. การโฆษณา เช่น ในรูป Banner, Button หรือ Pop-up ในเวปไซด์ต่างๆ
  2. บริการลูกค้า เช่น FAQ ,การเปิดให้ถามปัญหาที่ต้องการคำตอบ การติชมบริการ ส่งข้อมูลต่างๆที่ลูกค้าสนใจไปให้ทางอีเมล์ เป็นต้น
  3. การวิจัยตลาด ทั้งข้อมูลทุติยภูมิที่สามารถสืบค้นจากอินเตอร์เนตจำนวนมาก และการเก็บข้อมูลพฤติกรรม/ความพึงพอใจจากผู้ที่เข้ามาชมเวปไซด์ การทำวิจัยแบบปฐมภูมิมีเทคนิคที่ช่วยการทำงานง่ายขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถทำวิจัยกลุ่ม โดยให้คนเข้ามา chat กันในห้องสนทนา และยังสามารถใช้ติดตามข้อมูลของคู่แข่งขันเพื่อนำมาพัฒนาเวปไซด์ของตนได้
  4. ดำเนินธุรกรรมการขาย การรับชำระเงิน เทคโนโลยีในช่องทางการตลาดอิเลคโทรนิคส์สามารถเชื่อมโยงกับระบบเรียกเก็บเงิน หักบัญชีชำระ ระหว่างกันได้ในตัวด้วย
  5. สามารถส่งมอบสินค้าบางชนิดได้ เช่น สินค้าประเภทcontentต่างๆ
  6. รวบรวมข้อมูล ทดสอบแนวคิด ในการพัฒนาและวิจัยผลิตภัณฑ์ใหม่

องค์ประกอบของแผนการตลาดทางอินเตอร์เน็ต

1.วิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางการตลาดบนอินเตอร์เน็ต เช่น สภาพคู่แข่งขันในตลาด

2.กำหนดกลยุทธ์ของบริษัทในการใช้ช่องทางออนไลน์ว่า จะปรากฏ และ ใช้เพื่องานด้านใดบ้าง

3.การกำหนดวัตถุประสงค์ และ กลยุทธ์การตลาด สำหรับช่องทางอินเตอร์เนต

กลุ่มคนและแนวโน้มของคนใช้อินเตอร์เน็ต

ลักษณะทางประชากรศาสตร์ และแนวโน้มการยอมรับเทคโนโลยีของกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย เป็นปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อออนไลน์ของลูกค้า เช่น ทัศนคติที่มีต่อเทคโนโลยีทำให้ผู้บริโภคบางกลุ่มปฏิเสธที่จะทำการซื้อขายผ่านทางอินเตอร์เน็ต รวมถึงปัจจัยด้านรายได้ อายุ ระดับการศึกษา รวมถึงค่าใช้จ่ายในการออนไลน์ของตลาดนั้นๆ และ สิ่งจูงใจสนับสนุนของภาครัฐในการใช้เทคโนโลยี ล้วนมีผลต่อความสำเร็จของช่องทางออนไลน์

ทั่วไปในแต่ละกลุ่มผู้บริโภค สามารถแบ่งพฤติกรรมการยอมรับนวัตกรรมหรือเทคโนโลยี ออกได้เป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มพวกที่ชอบลองสิ่งใหม่ๆ มักเป็นกลุ่มเล็กๆ(Early adopters) กลุ่มที่สอง เป็นคนส่วนใหญ่ ที่รอดูให้แน่ใจก่อนจึงตัดสินใจตามมา (Mainstreamers) และ สุดท้าย เป็นกลุ่มคนที่ไม่ชอบความแปลกใหม่หรือพวกล้าหลัง ยากที่จะเปลี่ยนแปลงยอมรับเทคโนโลยีหรือนวัตกรรม (Laggards)  การทำการตลาดบนเวบไซต์จึงต้องพิจารณากลุ่มเป้าหมายว่า ณเวลานั้น กลุ่มลูกค้าเหล่านั้น เป็นกลุ่มประเภทใด มีโอกาสในการเข้าถึงมากน้อยเพียงใด

กลยุทธ์ในการใช้ช่องทางการตลาดออนไลน์

สินค้าที่ผู้บริโภคมีความต้องการ ประกอบกับ ความสะดวก รวดเร็วกว่าในการซื้อผ่านทางเวปไซด์ รวมทั้งราคารวมค่าจัดส่งที่เหมาะสม รายการส่งเสริมการขายเพื่อจูงใจ การให้บริการตอบข้อสงสัยหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม การบริการทดลองฟรี และ การมีสินค้าหรือบริการในทุกขณะตามหน้าเวบ ล้วนเป็นจุดดึงดูดสำคัญอันทำให้ธุรกิจออนไลน์ดำรงอยู่ได้

ตัวอย่างกลยุทธ์ในการใช้ช่องทางการตลาดออนไลน์ เพื่อวัตถุประสงค์ทางการตลาด

  1. เพื่อเพิ่มการเข้าถึงลูกค้าเป้าหมาย หรือ เพิ่มศักยภาพในช่องทางการจัดจำหน่ายเดิม
  2. เพื่อเพิ่มคุณภาพการให้บริการลูกค้า
  3. เพื่อนำเสนอสินค้า หรือ บริการใหม่ๆ
  4. เพื่อเพิ่มคุณค่า และ ความพอใจแก่สินค้า/บริการเดิม
  5. เพื่อลดต้นทุนในการดำเนินงานของบริษัท
  6. เพื่อสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าแบบตัวต่อตัว

การวางตำแหน่งสินค้าหรือบริการการออนไลน์ ให้โดดเด่น และมีชัยในตลาด

  1. ต้องระบุตลาดเป้าหมายหลักให้แน่ชัด
  2. ระบุได้ว่าตลาดแบบออนไลน์นี้ต้องการสินค้าหรือบริการอะไร
  3. พิจารณาวิธีที่ช่องทางออนไลน์ของบริษัทจะสามารถสอบสนองความต้องการนั้น
  4. กำหนดวิธีที่จะสร้างช่องทางออนไลน์ได้เหนือกว่าคู่แข่งขัน

เทคนิควิธีการของการทำการตลาดทางอินเตอร์เน็ต มี 3 ลักษณะใหญ่ๆ คือ

  1. การส่งอีเมล์ (E-mail marketing) ไปยังกลุ่มเป้าหมาย เพื่อเสนอขายสินค้าหรือให้ข้อมูลที่สร้างความสัมพันธ์
  2. การทำเวปข้อมูลของบริษัท (Corporate website) แม้ไม่มีระบบตะกร้าที่จะใช้ซื้อขายได้หน้าเวบ แต่สามารถเป็นช่องทางในการให้ข้อมูล รายละเอียดเกี่ยวกับบริษัท สินค้า/บริการ ช่องทางการเข้าถึงหรือติดต่อระหว่างลูกค้ากับบริษัท รวมทั้งข้อมูลอันเป็นประโยชน์แก่นักลงทุน และยังเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีแก่บริษัทอีกด้วย
  3. การใช้เวปไซด์ที่สามารถโต้ตอบทำธุรกรรมได้ (Interactive website) เป็นเวบไซต์ที่มีโปรแกรมสามารถทำรายการซื้อขายกันได้ผ่านคอมพิวเตอร์ มีระบบตะกร้าและการชำระเงิน อีกทั้งสามารถนำส่งสินค้าหรือบริการที่เป็นเนื้อหาอิเลคโทรนิคส์ได้ เก็บข้อมูลลูกค้าและพฤติกรรมการซื้อได้อีกด้วย

การเปลี่ยนจากช่องทางเดิม หันมาใช้ช่องทางขายทางอินเตอร์เน็ต มีข้อที่ต้องพิจารณาดังนี้

  1. ประโยชน์
  1. ช่วยตัดคนกลาง ขจัดปัญหาและต้นทุนด้านคนกลาง
  2. ลดต้นทุนค่าใช้จ่ายอื่นๆต่างๆ
  3. ช่วยเพิ่มการติดต่อระหว่างผู้ขายกับลูกค้าโดยตรงอีกด้วย
  1. ข้อจำกัด
  1. บริษัทจะต้องทำการบริหารกิจกรรมต่างๆทุกช่องทางเองทั้งหมด เช่นระบบการเก็บเงิน ระบบการขนส่ง การให้ข้อมูล และ ติดต่อสื่อสารกับลูกค้า ที่เคยช่วยปฏิบัติโดยคนกลาง เป็นต้น

ข้อเปรียบเทียบ การขายปลีกผ่านอินเตอร์เนต กับ การซื้อขายผ่านหน้าร้านค้า

การทำ E-Market place หรือซื้อขายผ่านอินเตอร์เน็ต เป็นการทำการตลาดในโลกเสมือน ซึ่งจะนำผู้ซื้อและผู้ขายมาเจอกันและทำการซื้อขายกันได้เสมือนตลาดจริง แต่ก็จะยังมีข้อเปรียบเทียบที่แตกต่างระหว่างการซื้อขายผ่านอินเตอร์เน็ต กับ การซื้อขายผ่านหน้าร้านจริง ได้แก่

  1. โดยทั่วไป การซื้อผ่านอินเตอร์เน็ต เป็นช่องทางที่สะดวกกว่าและ ราคาสินค้าถูกกว่าการซื้อที่ร้านค้า
  2. การซื้อผ่านหน้าร้านค้า ลูกค้าสามารถใช้ประสาทสัมผัสกับตัวสินค้า และคุณภาพของสินค้าได้มากกว่า เช่น กลิ่น และลักษณะต่างๆทางผิวสัมผัส เป็นต้น
  3. การซื้อผ่านอินเตอร์เน็ต เป็นการซื้อเพื่อซื้อ กล่าวคือเปลี่ยนการชอปปิ้งให้เป็นงาน ที่ไร้ความบันเทิงและขาดการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับผู้คน

ตัวอย่างกลยุทธ และกิจกรรมทางการตลาด เพื่อความสำเร็จในธุรกิจออนไลน์ ได้แก่

  1. กำหนดวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายของการตลาดบนอินเตอร์เน็ต โดยแยกจากช่องทางจำหน่ายอื่นๆอย่างชัดเจน เช่น ส่วนครองตลาดออนไลน์ ระดับยอดขาย เปอร์เซ็นต์การซื้อซ้ำ ตำแหน่งในใจ ภาพลักษณ์ และการรับรู้ในตราสินค้าของผู้บริโภค เป็นต้น
  2. ใช้กลยุทธ์ด้านผลิตภัณฑ์ ที่จะช่วยให้ชนะคู่แข่งขันในตลาดออนไลน์ ได้แก่
    1. การเสนอสินค้า/บริการเฉพาะตัวลูกค้ารายคน (Personalised service)
    2. การสร้างตรา หรือ จำหน่ายสินค้าที่มีตรายี่ห้ออันเป็นที่รู้จักและยอมรับ (Branding) เพื่อความไว้วางใจ และ ลดความเสี่ยงแก่ผู้ซื้อมากขึ้น
    3. การให้ทดลองสินค้าออนไลน์ก่อนการซื้อถ้าทำได้(Virtual online product trials)
  3. ใช้ประโยชน์ทำCRM และ การส่งเสริมการตลาดผ่านทางอินเตอร์เน็ต เช่น การโฆษณารูปแบบต่างๆ ทำ POP UP และ เก็บข้อมูลและส่งอีเมล์ไปยังลูกค้าที่เคยใช้บริการ
  4. ทำเงินเพิ่มจากเวบไซต์ นอกเหนือจากการขายสินค้าหรือบริการ ในรูป E-ZINE ที่มีเนื้อหาสาระในประเด็นเฉพาะด้าน ที่มีกลุ่มผู้สนใจเพียงพอ และสื่อสารเผยแพร่โดยเจาะจงไปยังกลุ่มเป้าหมาย ในรูปของข่าวสาร ข้อมูล บทความ บทวิเคราะห์ การแจ้งสินค้าใหม่ อันจะเป็นประโยชน์และน่าสนใจติดตาม เพื่อสร้างรายได้จากการขายพื้นที่โฆษณา
  5. การตั้งราคาผ่านทางอินเตอร์เน็ตปกติจะราคาเดียวกับช่องทางอื่นของบริษัท แต่ทั้งนี้ สามารถใช้กลยุทธ์ราคาที่เแตกต่างจากราคาจำหน่ายในช่องทางอื่นได้และเกิดผลดี ถ้าแต่ละช่องทางมีกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างกัน หรือ บริษัทมีวัตถุประสงค์กระตุ้นให้เกิดการใช้ช่องทางหนึ่งมากกว่าอีกช่องทางหนึ่ง
  6. ใช้ประโยชน์จากข้อมูลประเมินผลของระบบออนไลน์ เพื่อดูสถิติต่างๆจากการขายและพฟติกรรมผู้บริโภค เช่น ความถี่จากหน้าเวปไซด์ที่ถูกเรียกดู ความนิยมในสินค้าแต่ละรายการ ลำดับที่ผู้เข้าชมแต่ละหน้า และ ระยะเวลาในการเรียกดู เป็นต้น

ข้อดี และ ข้อเสีย ของช่องทางจัดจำหน่ายอิเลคโทรนิคส์

ข้อดี คือ

1.มีประสิทธิภาพมากในเรื่องของต้นทุนและเวลา

2.สามารถโต้ตอบได้ในทันทีและ ปรับเปลี่ยนง่าย มีความยืดหยุ่น

3.สามารถทำการค้าขายได้ตลอดเวลา ไม่มีเวลาปิดเปิดร้าน

4.สามารถเข้าถึงลูกค้าได้ทั่วโลก

5.เป็นช่องทางการค้าขายที่สั้นลง เข้าถึงผู้บริโภคได้โดยตรง

6.สามารถนำสถิติของผู้ที่เข้าเยี่ยมชมเวปไซด์ ไปทำแผนการตลาดต่อไป

ข้อเสีย คือ

1.ต้นทุนการออนไลน์สูงในบางประเทศ หรือบางตลาด

2.อาจจะเกิดการทุจริต ฉ้อโกงได้ ในขั้นตอนการชำระเงิน

3.ปัญหาด้านวัฒนธรรมและความเป็นชนชาติต่างๆทั่วโลกที่แตกต่างกัน

4.ความพร้อมในทรัพยากรด้านการจัดส่งสินค้าที่มักไม่เพียงพอ

5.เกิดความขัดแย้งของช่องทางการจำหน่ายเดิม หรือ ร้านค้าจริงกับเวปไซด์

6.สถิติผู้ที่เข้าชมจะเป็นผู้ชายมากกว่าผู้หญิง

7.เป็นกระบวนการที่กำจัดคนกลางออกไปช่วยให้ช่องทางการจัดจำหน่ายสั้นลง

8.ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ซื้อ-ผู้ขายลดลงหรือทำไม่ได้ในบางอย่างเช่นหมอไม่สามารถตรวจคนไข้ทางอินเตอร์เน็ตได้

9 ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตแต่ละกลุ่ม มีความรู้ ความสามารถที่ต่างกันไป

การสร้างความสัมพันธ์ในช่องทางการจัดจำหน่ายออนไลน์ ได้แก่

1.Supplier relationships เป็นความสัมพันธ์ระหว่างผู้ขายปัจจัยการผลิต เช่นผู้ขายส่งกับผู้ขายปลีก ผู้ขายวัตถุดิบการผลิตกับโรงงานผลิต เป็นต้น

2.Customer relationships เป็นความสัมพันธ์ระหว่างผู้บริโภคคนสุดท้ายกับผู้ค้าปลีก

3.Lateral relationships เป็นความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างสมาชิกในช่องทางการจำหน่ายระดับเดียวกัน เช่นผู้ค้าปลีกกับผู้ค้าปลีก ผู้ค้าส่งกับผู้ค้าส่ง เป็นต้น

แนวทางการบริหารเวบไซต์ เพื่อเป็นช่องทางการจัดจำหน่ายที่มีประสิทธิภาพ มีดังนี้

  1. มีการดูแล ปรับปรุง และนำเสนอสิ่งใหม่ๆตลอดเวลา
  2. ทำให้มั่นใจเสมอว่าข้อมูลสินค้า และ อื่นๆบนหน้าเวบ เป็นจริงและเป็นปัจจุบัน
  3. แสดงสัญลักษณ์ บ่งชี้ สินค้า  บริการ หรือข่าวสารใหม่ เพื่อง่ายต่อการติดตาม
  4. ลบทิ้งสินค้า/บริการ ที่เลิกจำหน่ายหรือหมดสต๊อก มิให้ผู้ซื้อเสียเวลาเลือกและผิดหวัง
  5. ปรับปรุงซอฟท์แวร์ที่จำเป็นในการทำธุรกรรมให้ทันสมัย เทียบเคียงคู่แข่ง
  6. ติดตาม ประเมินต้นทุน และ รายได้ จากการจัดจำหน่ายผ่านช่องทางออนไลน์
  7. โต้ตอบ กับทุกการติดต่อ สอบถามของลูกค้าบนเวบไซต์
  8. มีระบบควบคุมดูแล ลบทิ้งคำถาม หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม ของผู้ไม่ประสงค์ดี ที่จะถูกเผยแพร่หน้าเวบไซต์ของตน

เอกสารอ้างอิง

  1. Coughlan.T,Anne and Anderson, Eric, Marketing Channels,7th edition, Pearson Prentice Hall , 2006
  2. Pelton, E; Strutton,D; and Lumpkin,J.R ,  Marketing Channels : A Relationship Management Approach , McGraw Hill  ,2 nd edition,  2002
  3. Rosenbloom, Bert (2004). Marketing Channels - A Management View (7th Edition), Toronto: Thomson/South-Western
  4.  มร.รี- tell , Distribution Channels , บจ.ทิปปิ้งพอยท์, 2545

____________________________________________________________________