การประชาสัมพันธ์เป็นหน้าที่ใดของการตลาด

งานประชาสัมพันธ์เป็นงานที่ค่อนข้างมีลักษณะการทำงานที่หลากหลาย และค่อนข้างกว้าง สามารถนิยามได้ว่า นักประชาสัมพันธ์ (Public Relations Officer) คือ ผู้ดำเนินงานเพื่อสร้างสรรค์ และดำรงความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างหน่วยงาน สถาบัน องค์กร สถาบัน และประชาชน แล้วนัก ประชาสัมพันธ์ ทำอะไร บ้างล่ะ

การประชาสัมพันธ์เป็นหน้าที่ใดของการตลาด

การทำงานของนักประชาสัมพันธ์
นักประชาสัมพันธ์ มีหน้าที่วางแผน และดำเนินการประชาสัมพันธ์ ทั้งภายใน และภายนอก องค์กร เพื่อเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กร ด้วยการเผยแพร่ข้อมูลผ่านสื่อต่างๆ และจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ เช่น ข่าวสารประชาสัมพันธ์ บทความ ภาพถ่าย วิดีโอ และสไลด์ รวมถึงบทความสัมภาษณ์ผู้บริหาร หรือบุคคลพิเศษในโอกาสพิเศษ ซึ่งรวมถึงการเผยแพร่กิจกรรมพิเศษเพื่อสังคมต่างๆ
หน้าที่ความรับผิดชอบของนักประชาสัมพันธ์
– จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ภายนอก และภายใน
– ศึกษานโยบาย เป้าหมาย และพันธกิจของหน่วยงาน เพื่อนำข้อมูลมาใช้ในการวางแผน และดำเนินงาน
– จัดทำสื่อที่เหมาะสม ประกอบข้อมูลที่ถูกต้อง และน่าสนใจเพื่อสร้างความน่าสนใจให้กับการประชาสัมพันธ์
– ประชาสัมพันธ์ให้ไปถึงกลุ่มเป้าหมาย อาจด้วยแผ่นพับ ใบปลิว ติดบอร์ด หรือผ่าน สื่อมวลชนต่าง ๆ
– จัดเก็บข้อมูลจากการประชาสัมพันธ์ที่ผ่านมา
– พิจารณา ประเมินผลการทำงาน และรายงานผลสรุปข้อมูล
– หากเป็นฝ่ายประชาสัมพันธ์ของสถานที่นั้นๆ อาจจะต้องเตรียมข้อมูลสำหรับการสอบถามจากลูกค้า

หางานได้ง่ายกว่าเดิมผ่าน application บนมือถือจาก jobsDB ทั้ง iOS และ Android โหลดเลย

ตำแหน่งต่างๆ ของนักประชาสัมพันธ์
ในการทำงานประชาสัมพันธ์ก็มีหลากหลายตำแหน่งที่รองรับนักประชาสัมพันธ์ โดยมีลักษณะหน้าที่ในการทำงานที่แตกต่างกันไป ตัวอย่างตำแหน่งงานนักประชาสัมพันธ์ เช่น
– เจ้าหน้าที่ฝ่ายงานประชาสัมพันธ์ (Public Relation Officer)
– เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์อาวุโส (Senior Public Relation Executive)
– Marketing Communication Officer
– พนักงานสื่อสารองค์กร
– เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ต้อนรับ (Information Officer/ Receptionist)
– Customer Service Receptionist
นี่เป็นเพียงตัวอย่างลักษณะการทำงานของนักประชาสัมพันธ์ ซึ่งมีหลากหลายหน้าที่ อาจดูเหมือนเนื้องานที่ทำจะหลากหลายจนจับทางได้อยาก แต่ทั้งหมดก็เป็นไปเพื่อนำเสนอ และรักษาภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กร ไปจนถึงการประชาสัมพันธ์ให้องค์กร หรือบริษัทเป็นที่รู้จักกับคนทั่วไปมากขึ้นนั่นเอง


มองหางานนักประชาสัมพันธ์ คลิก jobsDB

#icanbebetter

การประชาสัมพันธ์เป็นหน้าที่ใดของการตลาด

การประชาสัมพันธ์เป็นหน้าที่ใดของการตลาด

          หน้าที่ทางการตลาด  หมายถึง  กิจกรรมที่เกิดการเคลื่อนย้ายสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ของบริษัทไปยังลูกค้าหรือผู้บริโภค  เพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์ในสินค้าหรือผลิตภัณฑ์

           เมื่อใดก็ตามที่การตลาดเป็นระบบที่มีคุณภาพ  ย่อมส่งผลให้ประชาชน  สังคมและชุมชนมีคุณภาพไปด้วย  ดังนั้นในระบบของการตลาดโดยทั่วไปแล้วจะมีหน้าที่สำคัญดังต่อไปนี้

           1. หน้าที่การจัดการเกี่ยวกับสินค้าและบริการ คือ การดำเนินการเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์ในสินค้าและบริการ เพื่อให้เกิดความพอใจและตรงกับความต้องการของผู้บริโภคหรือลูกค้ามากที่สุด ซึ่งวิธีที่จะจัดการในเรื่องนี้มีดังต่อไปนี้

                      1.1 การพัฒนาและกำหนดมาตรฐานสินค้าและบริการ  (Development  and  Standard Goods) หรือที่เรียกว่า  “ดีเวลลอบเมนท์  แอนด์  แสตนดาร์ด  กู๊ด”   หน้าที่โดยตรงของการตลาด คือ การจัดหาสินค้าและบริการให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค โดยการพัฒนาและกำหนดสินค้าให้ทันสมัย  กำหนดรายละเอียดของสินค้าและบริการ ไม่ว่าจะเป็น คุณภาพ  ปริมาณ  ลักษณะ รูปร่างและมาตรฐานตามกำหนด  ซึ่งจะต้องมีการศึกษาหาข้อมูล  เพื่อกำหนดสินค้าที่จะผลิตออกมาตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค

                      1.2 การขาย (Selling ) หรือที่เรียกว่า “เซลล์ลิ่ง”  หน้าที่โดยตรงของการตลาด คือ  การจัดให้มีการถ่ายโอน  หรือเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์อันจำเป็นต่อการหมุนเวียนสินค้าและบริการ  ทำให้เกิดความคล่องตัวด้านธุรกิจ ที่ดำเนินการอยู่ ซึ่งอาจจะมีเจ้าหน้าที่ฝ่ายขายติดต่อโดยตรง หรืออาจจะมีการประสานงานกันทางโทรศัพท์หรือระบบสารสนเทศต่าง ๆ

                       1.3 การซื้อ (Buying) หรือที่เรียกว่า  “บายอิ้ง”  กิจกรรมในส่วนของการซื้อก็คือการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าที่ต้องการ ซื้อให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก  โดยในการซื้อสินค้านั้นจะต้องศึกษาหาข้อมูลก่อนว่ามีคุณภาพหรือมาตรฐานมากน้อยเพียงใด    

           2. หน้าที่เกี่ยวกับแจกจ่ายสินค้าและบริการ สินค้าที่ผลิตขึ้นมาแล้วจำเป็นต้องมีการจัดส่งไปยังผู้บริโภค ซึ่งการเคลื่อนย้ายสินค้าดังกล่าวต้องอาศัยกิจกรรมต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

                        2.1 การขนส่ง (Transportation)  หรือที่เรียกว่า  “ทรานสปอตเตชั่น” สินค้าจะไปถึงมือผู้บริโภคหรือลูกค้าที่อยู่ห่างไกล ซึ่งกระจายกันในแต่ละท้องถิ่นได้ จะต้องอาศัยการ ขนส่ง โดยจะต้องเลือกวิธีการให้เหมาะสมกับสภาพของสินค้า ผลิตภัณฑ์ ระยะเวลาและสภาพของท้องถิ่น รวมทั้งความเหมาะสมของค่าใช้จ่ายในการขนส่ง  เช่นสินค้าที่มีน้ำหนักและปริมาณมาก  ควรจะเลือกการขนส่งโดยทางรถยนต์

                        2.2 การเก็บรักษาสินค้า  (Storage)  หรือที่เรียกว่า  “สตอเรจ”  เป็นกิจกรรมเพื่อตอบสนองความต้องการให้แก่ลูกค้า ด้วยการเก็บรักษาสินค้าไว้  เพื่อให้สินค้ามีคุณค่า  คุณภาพดีสม่ำเสมอ  หรือรอโอกาสที่เหมาะสมในการจำหน่ายให้แก่ลูกค้า  ซึ่งการเก็บรักษาสินค้าของตลาดนั้นเป็นไปใน  2  ลักษณะ  ดังนี้

                                       1. เก็บรักษาเพื่อเพิ่มคุณภาพ สินค้าและบริการบางอย่างหากเก็บรักษาไว้นานจะทำให้มีราคาสูงขึ้น เช่น ที่ดิน บ้าน เป็นต้น

                                        2. เก็บรักษาเพื่อคาดหวังผลกำไร เช่น กรณีสินค้าราคาตกต่ำ หน้าที่การตลาด (ผู้ขายจะเก็บสินค้านั้น ๆ ไว้ก่อนจนกว่าสินค้าจะมีราคาสูงขึ้นจึงจะนำออกมาจำหน่าย    

            3. หน้าที่การบริการให้ความสะดวก  เพื่อให้ธุรกิจต่าง ๆ สามารถดำเนินต่อไปได้อย่างมั่นคง  และถาวร  การตลาดจึงต้องให้การบริการและอำนวยความสะดวกให้กับธุรกิจต่าง ๆ ได้แก่  ด้านการเงิน  โดยมีสถาบันการเงิน  คือ  ธนาคารเข้ามาจัดบริการด้านสินเชื่อเพื่อให้มีการกู้ยืมเงินมาใช้ในการลงทุน  นอกจากนี้ยังจัดให้มีการบริการอำนวยความสะดวก  เพื่อลดความเสี่ยงของธุรกิจ  เช่น  บริการด้านการประกันต่าง ๆ เช่น  การประกันราคาสินค้า  การประกันอุบัติภัย  และการให้บริการซ่อมแซม  เป็นต้น     

             4.  หน้าที่การสื่อสารข้อมูลทางการตลาด  เจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาด  เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลทางการตลาดได้แล้วจะต้องนำข้อมูลความต้องการสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ใหม่ให้แก่ผู้ผลิต  เพื่อผู้ผลิต จะได้นำข้อมูลที่ได้ไปปรับปรุงสินค้าและบริการขึ้นมาใหม่ ให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าหรือผู้ผลิต จะมีฝ่ายการผลิตเป็นผู้ดำเนินการปรับปรุงสินค้า และฝ่ายประชาสัมพันธ์ภายในบริษัทจะทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์สินค้าตัวใหม่ไปยังลูกค้าและผู้อุปโภค  บริโภค  เพื่อให้ผู้บริโภคหรือลูกค้าได้ทราบถึงสินค้าหรือบริการใหม่ ผู้ผลิตต้องทราบความเคลื่อนไหวทางการตลาดได้ถูกต้อง  เพื่อเป็นข้อมูลที่จะนำไปสู่การผลิตสินค้าและบริการมาสนองให้ตรงกับความต้องการของประชาชนได้อย่างแท้จริง     

            5. หน้าที่ในการวิเคราะห์ตลาด การวิเคราะห์ตลาดเป็นกระบวนการที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา เพื่อทราบข้อมูลเกี่ยวกับความต้องการของตลาด อันจะทำให้ผู้ผลิตสามารถผลิตสินค้าและบริการได้ตรงความต้องการของลูกค้าได้ตลอดเวลา และการวิเคราะห์ตลาดยังเป็นการช่วยแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจของประเทศได้ เพราะผู้ผลิตและผู้บริโภคสามารถทราบข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน และคาดคะเนผลที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้ ทำให้มีการเตรียมแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้องและถูกวิธีด้วย     

            6. หน้าที่ในการทำให้สินค้าต่างกัน เมื่อได้รับข้อมูลจากการวิเคราะห์แล้ว หน้าที่ของตลาดก็จะต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลงสินค้าและบริการขึ้นใหม่ เพื่อสนองความต้องการและสร้างความพึงพอใจให้แก่ผู้ซื้อ ซึ่งการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงทำได้ดังรายละเอียดต่อไปนี้

                        6.1 เปลี่ยนแปลงตัวสินค้าใหม่แทนสินค้าตัวเดิม

                        6.2 เปลี่ยนแปลงราคาสินค้าหรือผลิตภัณฑ์

                        6.3 เปลี่ยนแปลงทัศนคติของผู้บริโภค เช่น ซื้อสินค้าเพราะของแถมหรือการออกสลากรางวัลนำโชค

                        6.4 เปลี่ยนแปลงข้อมูลให้ผู้ซื้อได้รับรู้

                        6.5 เปลี่ยนแปลงการบรรจุหีบห่อ หรือตรายี่ห้อใหม่    

          7. หน้าที่ในการตีราคาการตีราคาจะช่วยในการพิจารณาจุดคุ้มทุนว่าการซื้อขายแลกเปลี่ยนที่เกิดขึ้น ทางการตลาดนั้นมีประโยชน์คุ้มค่าหรือไม่ หรือสร้างความพอใจให้กับผู้ซื้อ-ขายหรือไม่หรือหากต้นทุนสูงกว่าผลประโยชน์ของสังคมก็ควรจะต้องมี การปรับปรุงคุณภาพของสินค้าหรือผลิตภัณฑ์และการตลาดให้เหมาะสม   

           8. หน้าที่ในการแบ่งส่วนตลาด เป็นการทำให้ตลาดมีขนาดเล็กลง เพื่อสะดวกในการแลกเปลี่ยน ซื้อขายสินค้า เนื่องจากผู้ผลิตสามารถเจาะจงลูกค้าได้ ในขณะที่ผู้บริโภคเองก็สามารถเลือกสินค้าและบริการเฉพาะอย่างได้มากขึ้น ทำให้เกิดการประหยัดทั้งการผลิตและบริโภคด้วย