วิศวะโลจิสติกส์

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมโลจิสติกส์ ถูกออกแบบขึ้นเพื่อมุ่งเน้น ให้บัณฑิตที่จบสามารถเป็นวิศวกรที่ทำงานได้ทั้งในภาคอุตสาหกรรมและการบริการ หรือผู้ประกอบการได้ ซึ่งส่วนที่สนับสนุนที่สำคัญคือ การที่เราได้มีห้องปฏิบัติการที่ทันสมัยและพัฒนาอยู่เสมอ รวมทั้งบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งทำให้บัณฑิตที่จบการศึกษาได้รับการถ่ายทอดและมีความเชี่ยวชาญในวิชาชีพมากขึ้น และพร้อมในการทำงานในสถานประกอบการ เพราะในการเรียนจะมีการเข้าไปทดลองการทำงานจริงในสถานประกอบการ (ในวิชาสหกิจศึกษา) เพื่อให้ผู้เรียนมีโอกาสในการใช้วิชาความรู้ในที่ทำงานจริง อีกทั้งเป็นการสร้างโอกาสในการได้งานทำของนักศึกษา

โอกาสทางวิชาชีพ

1. การออกแบบระบบขนส่ง ทางน้ำ ทางบก ทางอากาศ

2. การเลือกกระบวนการ และวิธีการประกอบชิ้นส่วนสินค้า การเลือกใช้และการออกแบบเครื่องมือและอุปกรณ์

3. การออกแบบและการวางผังอาคารโรงงาน การวางผังติดตั้งเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่างๆ การออกแบบอุปกรณ์ขนย้ายวัสดุ อุปกรณ์เก็บวัตถุดิบ หรือเก็บสินค้า

4. การออกระบบกระจายสินค้า หรือการวางแผนและควบคุมการจ่ายสินค้า หรือบริการการผลิต การเก็บสินค้าในคลัง การควบคุมคุณภาพ การซ่อมบำรุงรักษาและควบคุมโรงงานและหน้าที่อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในด้านนี้

5. การพัฒนาระบบความคุ้มต้นทุน เช่น การควบคุมงบประมาณ การวิเคราะห์ต้นทุน การจัดตั้งระบบต้นทุนมาตรฐาน

6. ปรับปรุงประสิทธิภาพในกระบวนการผลิต

7. การออกแบบและจัดตั้งระบบคำนวณคุณค่าการใช้งานและ ระบบวิเคราะห์ทางวิศวกรรม

8. การออกแบบและจัดตั้งระบบข่าวสารเพื่อการบริการ

วิศวะโลจิสติกส์

วิศวะโลจิสติกส์

วศ.บ. วิศวกรรมโลจิสติกส์ (4 ปี)

ค่าธรรมเนียมการขึ้นทะเบียนนักศึกษา 1,000 บาท (เก็บครั้งเดียว)

ค่าธรรมเนียมการศึกษา (ค่าเทอม)  แบบเหมาจ่าย

ภาคการศึกษาปกติ 10,150 บาท/เทอม

ภาคการศึกษาฤดูร้อน 3,500 บาท/เทอม

รวมตลอดหลักสูตร 81,200 บาท

อัตราการเก็บค่าธรรมเนียมการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2560

หลักสูตร 4 ปี

>>>แผนการเรียน<<<

หลักสูตร 3 ปี

>>>แผนการเรียน<<<

กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ทุนสำหรับนักศึกษาที่มีการผลเรียนดี

รู้จักโลจิสติกส์

เราอาจจะได้ยินคำว่าโลจิสติกส์ (Logistics) มาหลายครั้ง และเนื่องจากคำว่าโลจิสติกส์ เป็นศัพท์ที่ไม่สื่อถึงความหมาย เป็นการทับศัพท์คำในภาษาอังกฤษจึงทำให้คนทั่วไปมองไม่เห็นภาพว่า โลจิสติกส์คืออะไร โลจิสติกส์เกี่ยวข้องกับงานใดบ้าง ทั้งที่ๆ เราได้ยินคำนี้บ่อยๆ ดังนั้นในส่วนรู้จักโลจิสติกส์ นี้จะนำเสนอคำนิยาม คำจำกัดความ รวมทั้งบทบาทต่างๆ ของการจัดการโลจิสติกส์ให้รับทราบ รวมทั้งบทสัมภาษณ์จากผู้บริหารในด้านการจัดการโลจิสติกส์

คำจำกัดความ

โลจิสติกส์ (Logistics) เป็นคำที่มาจากภาษากรีกแปลว่า “ศิลปะในการคำนวณ” ในสมัยโบราณ รวมทั้งในสมัยปัจจุบัน มีการกล่าวถึง การส่งกำลังบำรุงทางทหาร และการประสบชัยชนะ หรือความพ่ายแพ้ในสงครามโดยอาศัยความเข้มแข็ง หรือความอ่อนแอของสมรรถนะในเชิงโลจิสติกส์  ( เพราะใช้คณิตศาสตร์ในการคำนวนเยอะ เลยใช้วิศวะในการคำนวน จะดีกว่า คนเรียนทางด้านบริหาร นั่นเอง

คำนิยามที่ใช้นิยามการจัดการโลจิสติกส์ในระดับสากลนั้นจะเป็นคำนิยามจาก The Council of Logistics Management (CLM) ซึ่งได้ให้คำนิยามการจัดการด้านโลจิสติกส์ไว้ว่า

“กระบวนการในการวางแผน ดำเนินการ และควบคุมประสิทธิภาพ และประสิทธิผลในการไหล การจัดเก็บวัตถุดิบ สินค้าคงคลังในกระบวนการ สินค้าสำเร็จรูป และสารสนเทศที่เกี่ยวข้องจากจุดเริ่มต้นไปยังจุดที่มีการใช้งาน โดยมีเป้าหมายเพื่อสอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค”

..............................................................................................................................................................

ประเทศไทยในปัจจุบันต้องเผชิญกับภาวะการแข่งขันจากทั้งตลาดภายใน และภายนอกประเทศอันเป็นผลมาจากการพัฒนาความรู้ และเทคโนโลยีใหม่ๆ รวมถึงความต้องการของลูกค้าที่มากขึ้นอย่างไม่มีที่สิ้นสุด

อย่างไรก็ตามประเทศไทยยังคงประสบกับปัญหาการขาดประสิทธิภาพของระบบการดำเนินงานในส่วนต่างๆ ทำให้การจัดส่งสินค้าและบริการไปถึงมือลูกค้าเป็นไปอย่างล่าช้า และไม่สามารถตอบสนองความต้องการ ของลูกค้าได้อย่างเต็มที่ ดังนั้นเพื่อรับมือกับปัญหาดังกล่าว ธุรกิจในประเทศไทยจึงต้องการแนวทางใหม่ ในการบริหารงานเพื่อให้สามารถที่จะจัดหาทรัพยากร ที่เป็นองค์ประกอบทางการดำเนินงานได้อย่างรวดเร็ว ทันต่อการใช้งาน รวมทั้งสามารถกระจายสินค้าไปถึงมือลูกค้าให้ได้มากที่สุด ซึ่งจะส่งผลให้ธุรกิจนั้นสามารถดำรงอยู่ได้

วิศวกรที่สำคัญอีกสาขาหนึ่งที่รองรับการเจริญเติบโตของตลาด คือ วิศวกรทางด้านโลจิสติกส์ที่มีหน้าที่หลักในการออกแบบ และจัดการระบบต่างๆ เช่น ระบบคลังสินค้า ระบบการผลิต ระบบการบรรจุภัณฑ์ ระบบการกระจายสินค้า รวมถึงการนำเข้าและส่งออกสินค้าระหว่างประเทศ

............................................................................................................................

ตัวอย่างวิชาที่จะต้องเรียน
1. ความรู้พื้นฐานฐานด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
2. การออกแบบระบบขนส่งสำหรับโลจิสติกส์
3. ระบบและเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับโลจิสติกส์
4. กฎหมายการค้าและพิธีการทางศุลกากร
5. ระบบขนถ่ายวัสดุ
6. การออกแบบระบบคลังสินค้าและศูนย์กระจายสินค้า
7. ระบบจัดซื้อและพัสดุคงคลัง
8. การจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้า
9. การวางแผนเชิงกลยุทธ์สำหรับโลจิสติกส์
10. สัมมนาวิศวกรรมโลจิสติกส์

.............................................................................................................................

บทสัมภาษณ์ ผู้บริหาร ( UniGang Talk อันนี้จะตอบโจทย์ที่ว่าเรียนไปทำงานอะไรได้บ้าง  รู้สึกศัพท์วิชาการจะเยอะไปนิด 555 )

คุณชูศิลป์ จิราวงศ์ศรี

Assistant Vice President
C.P. Seven Eleven Public Co., Ltd.

“ตลาดงานด้านโลจิสติกส์ยังขยายอีกมาก ความต้องการด้านบุคลากรด้านโลจิสติกส์มีอยู่แล้ว แต่ผลิตคนไม่ทัน โลจิสติกส์เป็นเรื่องใหม่เมื่อก่อนยังไม่มีสถาบันใดสอน แม้แต่ในเครือของซีพีเอง ทั้งที่ทั่วประเทศ ยังมีความต้องการอยู่”

โลจิสติกส์และซัพพลายเชนคืออะไร
ผมอ้างคำนิยามจาก Council Logistics management (CLM) ว่าโลจิสติกส์ เป็นส่วนหนึ่งของซัพพลายเชน ที่เกี่ยวข้องกับการเก็บรักษา เคลื่อนย้าย การวางแผน การนำไปปฏิบัติ ทั้งไปและกลับของสินค้า และบริการตลอดจนข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้อง อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล จากจุดเริ่มต้นแรกสุด จากวัตถุดิบไปยังมือผู้บริโภค เพื่อสนองตอบความต้องการของผู้บริโภค

กิจกรรมทางด้านโลจิสติกส์ประกอบด้วยอะไรบ้าง
กิจกรรมทางโลจิสติกส์กว้างมาก แต่พึ่งจะมีคนพูดถึงกันมากๆ ใน 10 ปีที่ผ่านมานี้เอง โลจิสติกส์เองไม่ใช่เรื่องใหม่ มีการพูดถึงมาเกือบประมาณ 100 ปีที่แล้ว เริ่มจากผู้พันเบเกอร์ที่ได้พูดเกี่ยวกับ โลจิสติกส์ไว้ว่าเป็นการเคลื่อนย้าย และส่งกำลังบำรุงทหาร เป็นศิลปะเกี่ยวกับการรบ การทำสงคราม พัฒนามาจากการสงคราม ในสงครามแม้ว่าฝ่ายใดจะมีทรัพยากรมากเพียงใด ว่ามากเพียงพอหรือไม่ พอไม่รู้ว่าสงครามยุติเมื่อไหร่ ถ้ามีรี้พลเป็นล้านคนทรัพยากรก็อาจจะยังไม่พอ มียุทธปัจจัยมาก มีอาหารเพียงพอที่รองรับรี้พลล้านคนไว้สะสมสี่ห้าปี ก็อาจจะไม่พอ ในการทำสงครามจึงต้องใช้ทรัพยการในแต่ละหน่วยให้มีประสิทธิภาพสูงสุด การนำไปไว้ในตำแหน่งไหน ต้องคำนึงว่าเกิดประโยชน์สูงสุดต่อภาพการรบโดยรวมหรือเปล่า ไม่ได้หมายความว่าเราต้องชนะทุกสนามรบ บางสนามอาจยอมให้อีกฝ่ายชนะ เรามาทุ่มกำลังลงในสนามที่สำคัญส่งผลให้ชนะสงคราม อันนี้คือที่มาโลจิสติกส์ ว่าใช้ประสิทธิภาพสูงสุด

ทรัพยากร นอกจาก รี้พล ยุทธปัจจัย ยานพาหนะ อาวุธ น้ำมันเชื้อเพลิง เรื่องเวลา ถ้าเราส่งกำลังไปไม่ทันก็แพ้ เรื่องเวลาก็สำคัญ เรามีเวลาแค่นี้จะใช้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดอย่างไร เพื่อให้การันตีว่าอาวุธเรามีประสิทธิภาพสูงกว่าและชนะ เช่น โซนี่ จะผลิตกล้องดิจิตอล ลงทุน R&D ทำให้ผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาดเร็วขึ้น เทคโนโลยีที่เรียนรู้ได้เร็วขึ้นส่งผลให้ Product Life Cycle สั้นลง เพื่อให้การพัฒนาสินค้าใหม่ให้ได้รวดเร็ว Sony จึงจ้างทีม R&D ทำงาน 3 กะ เวลาการพัฒนา ใช้เท่ากับบริษัทอื่น แต่ใช้กะมากกว่า ทำ 24 ชั่วโมงได้สินค้าใหม่เร็วขึ้น Time to Market สั้นลง สินค้าก้าวล้ำกว่าคนอื่น สินค้านั้นขายในราคาแพงได้ ถ้าปรากฎว่าคนอื่นสามารถเลียนแบบเทคโนโลยีได้ทันแล้ว ก็ต้องออกผลิตภัณฑ์ใหม่ขึ้นมา การที่จะประกอบกล้องดิจิตอลของโซนี่ในเมืองจีนมีข้อจำกัด ในการส่งสินค้าเข้าออก พิธีการศุลกากรและโลจิสติกส์ โซนี่คำนึงถึงเรื่องของเวลามากกว่าต้นทุน แม้ว่าต้นทุนถูกกว่าแต่ไม่ทันการ โซนี่จึงปิดโรงงานที่เมืองจีน และกลับไปประกอบในญี่ปุ่น ดูปัจจัยต่างๆ แล้วว่าในญี่ปุ่น Time to Market จะสั้นลง เรื่องโลจิสติกส์ไม่มีสูตรตายตัวว่า ต้นทุนต่ำสุดอย่างเดียว อาจ Maximize บางเรื่อง แต่สิ่งที่โลจิสติกส์สอนคือเรื่อง optimize = effective +efficiency

โลจิสติกส์และซัพพลายเชนแตกต่างกันอย่างไร
ความแตกต่างระหว่างโลจิสติกส์ กับซัพพลายเชน โลจิสติกส์มีมานานแล้ว มีกิจกรรมด้านการผลิต การวางแผนการผลิต การจัดหาวัตถุดิบ บรรจุภัณฑ์ การผลิตหรือการซื้อ คลังสินค้า การกระจายสินค้า ล้วนเป็นองค์ประกอบในโลจิสติกส์ ที่มีอยู่แล้วแต่ไม่ได้บูรณาการมาเป็นโลจิสติกส์ ต่างคนต่างทำ

ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ทางทหารชนะกันด้วยเรื่องโลจิสติกส์ อย่าง อเมริกันสามารถฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากการส่งกำลังบำรุงได้อย่างรวดเร็ว พอหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 โลจิสติกส์แพร่กระจายสู่ภาคเอกชน ส่วนซัพพลายเชนเป็นแนวคิดใหม่ เกิดได้ไม่นาน ซัพพลายเชนหมายถึง Network เป็นใยแมงมุม เครือข่ายของผู้ที่เกี่ยวข้อง เชื่อมโยงไปถึงวัตถุดิบขั้นปฐม ในขณะเดียวกันเชื่อมโยงไปยังลูกค้า จนถึงผู้ใช้ปลายทาง เพราะบางทีเราต้องไปให้ความรู้ลูกค้าปลายทาง ซัพพลายเชนโลจิสติกส์เชื่อมโยงเครือข่ายทั้งหมด เชื่อมโยงกระบวนการขนส่ง พาหนะการขนส่ง ระบบข้อมูล นี่คือ ซัพพลายเชน

งานโลจิสติกส์ในเซเว่น ทำอะไรบ้าง รวมถึงบทบาทของหน่วยงานต่อบริษัท
กิจกรรมโลจิสติกส์ของเซเว่นนั้นทำเอง เนื่องจากเป็นลักษณะเฉพาะและมีสาขาทั่วไประเทศ ให้ซัพพลายเออร์ ส่งตรงไปแต่ละร้าน จะทำให้ค่าใช้จ่ายสูง การมีกิจกรรมโลจิสติกส์ เองทำให้สามารถส่งสินค้าไปยังร้านได้ทั่วประเทศ และส่งได้บ่อยๆ ถ้าซัพพลายเออร์ส่งตรงจะไม่สามารถส่งได้บ่อย ทำให้ต้องเก็บสต๊อกสินค้ามาก และค่าใช้จ่ายสูงมาก การมีศูนย์กระจายสินค้าของตนเอง ทำให้รวบรวมสินค้าซัพพลายเออร์จากร้อยรายมาไว้ที่เดียวกัน และไปส่งไปยังสาขาพร้อมกัน ไม่จำเป็นว่าเซเว่นทำศูนย์กระจายสินค้ากลางเท่านั้น ใครก็ตามที่ทำกิจกรรม ด้านศูนย์กระจายสินค้า ทำให้ความสามารถเชิงแข่งขันของประเทศดีขึ้น และประสิทธิภาพการผลิต และผลิตภาพดีขึ้นในภาพรวม ต้นทุนถูกลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคการส่งออก ความสามารถเชิงแข่งขันดีขึ้น ถ้าต้นทุนด้านโลจิสติกส์เราลดลง

โลจิสติกส์ต่อการพัฒนาประเทศไทยเป็นอย่างไร

โลจิสติกส์มีบทบาทต่อการพัฒนาประเทศทางด้านต้นทุน ความสามารถเชิงแข่งขัน คุณภาพ เช่น นโยบายการ ที่จะเป็นครัวของโลก โลจิสติกส์มีส่วนช่วยให้สินค้าทางการเกษตร และปศุสัตว์ มีคุณภาพดีขึ้น ทุกวันนี้ Facility ต่างๆ ยังพัฒนาได้อีกมาก ยังช่วยให้ผลิตผลการเกษตรที่ได้มา สามารถส่งไปดำเนินต่อได้คุณภาพที่ดีขึ้น ข้อสำคัญสินค้า ทางการเกษตรคือ ความสด อย่างเช่น ผัก โดยทั่วไป เก็บใส่ชะลอม ใส่รถไปส่งตลาด ตากแดดมาตลอดทาง ถ้าเรามีการจัดการโลจิสติกส์ที่ดีเราอาจมีการตั้งห้องเย็น แม้ว่าค่าใช้จ่ายสูงแต่มีผลผลิตที่ดีขึ้น เปรียบเทียบแล้วต้นทุนต่อกิโลกรัมถูกกว่า

ตลาดงานด้านโลจิสติกส์เป็นอย่างไร

ตลาดงานด้านโลจิสติกส์ยังขยายอีกมาก ไม่เพียงแต่ในประเทศไทย ในประเทศอเมริกาเองที่มีระบบโลจิสติกส์ค่อนข้างดี การผลิตบุคลากรของคนที่ทำงานด้านโลจิสติกส์ไม่พอต่อความต้องการ ความต้องการด้านบุคลากรด้านโลจิสติกส์มีอยู่แล้ว แต่ผลิตคนไม่ทัน โลจิสติกส์เป็นเรื่องใหม่เมื่อก่อนยังไม่มีสถาบันใดสอน แม้แต่ในเครือของซีพีเอง ทั้งที่ทั่วประเทศ ยังมีความต้องการอยู่ ในอนาคตการทำงานด้านโลจิสติกส์จะมุ่งสู่ Third Party Logistics มากขึ้น เป็น real time และ visibility สูง สั่งสินค้าไปแล้วสามารถติดตามได้ว่าตอนนี้สินค้าอยู่ตำแหน่งไหน

ข้อมูลจาก  หอการค้า

Credit  http://www.9engineer.com/index.php?m=article&a=print&article_id=2289

วิศวกรรมโลจิสติกส์ คืออะไร

วิศวกรรมโลจิสติกส์ เป็นงานที่เกี่ยวกับเทคนิคทางด้านการออกแบบ และควบคุม สำหรับการขนส่ง จัดเก็บ เคลื่อนย้าย สินค้าและบริการ การวิเคราะห์ วิจัยปัญหาในภาคอุตสาหกรรม ตลอดจนส่วนที่ เกี่ยวข้องในระบบโซ่อุปทาน และการประยุกต์ทางด้านเทคนิคต่างๆ ที่จะนำไปใช้ในการแก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์ในการจัดการ การ ...

วิศวะโลจิสติกส์ เรียนกี่ปี

วิศวกรรมโลจิสติกส์ เปิดรับนักเรียน นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาในระบบ ม.6 ปวช. ทุกสาขาวิชา ในภาคปกติ หลักสูตร 4 ปี และ ปวส. ในหลักสูตรเทียบโอนภาคปกติ 3 ปี และภาคพิเศษ เรียนเฉพาะวันอาทิตย์ เข้าศึกษาต่อในระบดับปริญญาตรี สามารถกู้ กรอ. และยศ. ได้ (สำหรับผู้กู้รายเก่ามอบตัวไม่ต้องสำรองจ่าย ผู้กู้รายใหม่มอบตัวชำระ 2,000 บาท ...

วิศวกรรมโลจิสติกส์เรียนเกี่ยวกับอะไรบ้าง

แนะนำสาขา วิศวกรรมโลจิสติกส์ เรียนอะไร ทำงานอะไร.
ความรู้พื้นฐานฐานด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน.
การออกแบบระบบขนส่งสำหรับโลจิสติกส์.
ระบบและเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับโลจิสติกส์.
กฎหมายการค้าและพิธีการทางศุลกากร.
ระบบขนถ่ายวัสดุ.
การออกแบบระบบคลังสินค้าและศูนย์กระจายสินค้า.
ระบบจัดซื้อและพัสดุคงคลัง.

วิศวกรรมขนส่ง ทํา งาน อะไร

จัดการการวางแผน, การออกแบบ, การก่อสร้าง, และการดำเนินงานของทางหลวง, ถนน, และสิ่งอำนวยความสะดวกด้านยานพาหนะอื่นๆ รวมทั้งจักรยานที่เกี่ยวข้องของกับพวกเขาและอาณาจักรคนเดินเท้า ประเมินความต้องการด้านการขนส่งของประชาชนและจัดหาเงินทุนสำหรับโครงการ