อิทธิบาท 4 เป็นธรรมที่สอนในเรื่องใด

การศึกษาไทยจะเปลี่ยนแปลงให้เห็นทันตา ต้องใช้ อิทธิบาท 4 โดยกระทรวงศึกษาธิการไม่ต้องเสียเวลา นำรูปแบบหรือตัวอย่างจากต่างประเทศมาใช้กับคนไทย เพราะคนต่างวัฒนธรรมต่างพื้นทีย่อมมีวิธีการเรียนรู้เฉพาะตน จึงมีวิธีการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน อิทธิบาท 4 เป็นหลักธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงค้นพบและสั่งสอนชาวพุทธให้เป็นคนดี

อิทธิบาท 4 จึงเป็นฐานแห่งความสำเร็จในการเรียนรู้ของคนไทย ถือเป็น “ Innovation “ นวัตกรรมสุดยอด ยุคไทยแลนด์ 4.0 เพราะได้มีการทดลองใช้และพัฒนาต่อเนื่องมา 2560 ปี ผู้ใช้ทุกคน( ชาวพุทธ) ต่างให้ความเห็นว่าเป็นสิ่งซึ่งมีคุณธรรม เป็นเครื่องให้บรรลุถึงความสำเร็จตามที่ตนประสงค์ ผู้หวังความสำเร็จในสิ่งใด ถ้าทำตนให้สมบูรณ์ ด้วยสิ่งที่เรียกว่า อิทธิบาท 4 คือ 1 ฉันทะ ความพอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น 2 วิริยะ ความพากเพียรในสิ่งนั้น 3 จิตตะ ความเอาใจใส่ฝักใฝ่ในสิ่งนั้น 4 วิมังสา ความหมั่นสอดส่องในเหตุผลของสิ่งนั้น จะทำให้ทุกสิ่งสำเร็จได้ตามเป้าหมาย

“อิทธิบาท 4”  อันประกอบด้วยแนวปฏิบัติ 4 ข้อ คือ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา เป็นแนวทางสำหรับการใช้ชีวิตให้ประสบความสำเร็จ โดยเฉพาะในการทำงาน หากสามารถเชื่อมโยงกระบวนการทั้ง 4 ข้อได้ ผลสำเร็จก็อยู่ไม่ไกลเกินเอื้อม

อิทธิบาท 4 เป็นธรรมที่สอนในเรื่องใด

1.ฉันทะ | การมีใจรัก ศรัทธาและเชื่อมั่นต่อสิ่งที่ทำ

หลายคนคงเคยได้ยินประโยคที่ว่า  Where there is the will, there is the way.  ที่ใดมีความปรารถนาอันแรงกล้า ที่นั่นย่อมมีหนทางเสมอ

การสร้างฉันทะ เราต้องเลือกที่จะศรัทธาบางอย่าง ที่สำคัญคือต้องหมั่นตรวจสอบศรัทธานั้น ว่าดีต่อตัวเองและต่อผู้อื่นหรือไม่  หากดีทั้งสองอย่างจึงมุ่งมั่นทำด้วยความตั้งใจ การทำงานด้วยความเชื่อมั่นศรัทธาที่ดี ย่อมเกิดผลสำเร็จที่ดีทั้งต่อตนเอง และสังคม

อิทธิบาท 4 เป็นธรรมที่สอนในเรื่องใด

2.วิริยะ | ความเพียร ความมุ่งมั่นทุ่มเท 

หมายถึงความเพียรพยายามอย่างสูง ที่จะทำตามฉันทะหรือศรัทธาของตัวเอง หากเราไม่มีความเพียร อาจอนุมานได้ว่าเรามีฉันทะหลอกๆ หรือศรัทธาหลอกๆ ทั้งโกหกตัวเองและหลอกผู้อื่น

วิริยะนี้มาคู่กับความอดทนอดกลั้น เป็นความรู้สึกไม่ย่อท้อต่อปัญหาและมีความหวังที่จะเอาชนะอุปสรรคทั้งปวง โดยมีศรัทธาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ นำใจ และเตือนใจ ความวิริยะอุสาหะ จึงเป็นวิถีทางของบุคคลที่กล้าท้าทายต่ออุปสรรคทั้งปวง เพื่อเป้าหมายคือ ความสำเร็จนั่นเอง

อิทธิบาท 4 เป็นธรรมที่สอนในเรื่องใด

3.จิตตะ | ใจที่จดจ่อและรับผิดชอบ

เมื่อมีใจที่จดจ่อแล้วก็จะเกิดความรอบคอบตาม คำนี้สำคัญมากในปัจจุบัน เพราะสังคมซับซ้อน มีสิ่งใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมาย ทำให้บางคนไม่รู้จะทำอะไรก่อน ไม่สามารถมีจิตจดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้นาน ผลคือ ทำอะไรก็ไม่ดีสักอย่าง ทำผิดๆ ถูกๆ อยู่อย่างนั้น

อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญคือ ความรับผิดชอบ เมื่อกระทำการสิ่งใดด้วยจิตจดจ่อแล้ว ต้องรับผิดชอบในสิ่งที่ทำด้วย จึงเรียกว่าเป็นผลสำเร็จดีงามตามแบบอย่างของคุณธรรม ตามหลักศาสนาและจริยธรรมของสังคม

อิทธิบาท 4 เป็นธรรมที่สอนในเรื่องใด

4.วิมังสา | การทบทวนในสิ่งที่ได้คิดได้ทำมา

สิ่งที่ทำอันเกิดจากการมีใจรัก (ฉันทะ) แล้วทำด้วยความมุ่งมั่น (วิริยะ) อย่างใจจดใจจ่อและรับผิดชอบ (จิตตะ) โดยใช้วิจารณญาณอย่างรอบรู้และรอบคอบ จะต้องมีกระบวนการสุดท้ายคือ การทบทวนตัวเอง และองค์กร ว่าสิ่งที่ได้คิดได้ทำเกิดผลดีผลเสียอย่างไร ทั้งที่เป็นเรื่องส่วนตัวของเราเองและเป็นเรื่องที่ร่วมคิดร่วมทำกับคนอื่น เพื่อปรับปรุงปรับแก้ไขให้ดียิ่งขึ้น

การสรุปบทเรียนนั้น คนส่วนใหญ่ยังเข้าใจว่า สรุปเมื่องานเดินทางมาได้ครึ่งทางหรือสิ้นสุดการทำงาน หรือการทำแผนงานรายไตรมาส คือทุก 3 เดือน แต่จริงๆ แล้วการสรุปบทเรียนควรจะทำให้อย่างสม่ำเสมอ อาจเป็นการพูดคุยกันหลังเสร็จสิ้นการทำกิจกรรมทุกครั้ง หรือหลังเลิกงานแต่ละวัน หรือใช้วิธีการแบบไม่เป็นทางการ เพื่อสรุปบทเรียนของแต่ละคนให้ได้มากที่สุด

ดังนั้น “อิทธิบาท 4” จึงมีความหมายกับคนรุ่นใหม่ที่ต้องการจะเดินทางไปในสู่ความสำเร็จในชีวิตและการงาน โดยเฉพาะในโลกปัจจุบันเป็นโลกที่ฉาบฉวยและวุ่นวาย ทำให้เราต้องฝึกฝนตนเอง เพื่อจะเข้าใจและเข้าถึงหลักธรรมที่ก่อกำเนิดการพัฒนาตนเองอย่างแท้จริง เพื่อพัฒนาองค์กรตลอดจนประเทศชาติให้เจิญก้าวหน้า

ตกลงมีสมาธิ ๔ แบบ อันนี้อาจจะเป็นคำที่แปลก ที่จริงพระไตรปิฎก มีคำตรัสถึงเรื่องสมาธิตามหลักอิทธิบาทนี้บ่อยๆ

การสร้างสมาธิโดยเอาหลักอิทธิบาทมาใช้นี่เราจะเห็นว่ามันช่วยให้ได้ผลดี แล้วไม่จำเป็นจะต้องเป็นไปตามลำดับที่ว่า คือแต่ละข้อนี่ทำให้เกิดสมาธิได้ทั้งนั้น แล้วมันจะสัมพันธ์กับนิสัยของคน สมาธิในแบบอิทธิบาทนี่มันเกื้อกูลแก่การทำงานมาก สำหรับข้อฉันทะนั้นได้พูดมาแล้วว่า เมื่อมีใจรักแล้วเราก็เกิดความแน่วแน่ เกิดสมาธิในการทำงาน อันนี้เป็นเรื่องแน่นอน

แต่ทีนี้สำหรับคนบางคน ถ้าเราต้องการที่จะนำหรือกระตุ้นให้เกิดสมาธิ ลักษณะจิตใจของเขาเหมาะแก่การกระตุ้นวิริยะมากกว่า วิริยะนี่มาจากคำว่า วีระ ตามหลักภาษา วีระกับภาวะ รวมกันแล้วก็เป็นวิริยะ แปลว่า วีรภาวะ ภาวะของผู้แกล้วกล้า วิริยะที่แปลว่า ความเพียรพยายาม นี่แปลตามศัพท์ว่า ความเป็นผู้แกล้วกล้า แกล้วกล้า คือ ใจสู้ ไม่ยอมท้อ ถ้าเห็นอะไรเป็นอุปสรรคหรืองานที่มาอยู่ข้างหน้าแล้วจะต้องเอาชนะทำให้สำเร็จ คนที่มีลักษณะอย่างนี้ จะทำอะไรต้องให้มีลักษณะท้าทาย ถ้าอะไรเป็นเรื่องท้าทายแล้วใจสู้จะทำให้ได้ คนที่มีลักษณะอย่างนี้ ท่านว่าให้ปลูกฝังสมาธิด้วยวิริยะ คือสร้าง วิริยสมาธิ ถ้าเราใช้จิตวิทยาก็หมายความว่า คนลักษณะนี้จะต้องทำงานให้เป็นเรื่องที่ท้าทาย ถ้าทำงานหรือสิ่งที่เรียนให้เป็นเรื่องที่ท้าทายแล้ว คนแบบนี้จะสู้และจะพยายามทำให้สำเร็จ แล้วสมาธิที่เป็นตัวแกนให้งานสำเร็จจะตามมา

คนบางคนเป็นคนแบบมีจิตตะ ลักษณะเป็นคนเอาใจจดจ่อ ถ้ามีอะไรที่เข้าเกี่ยวข้องกับตัวเขา เรียกว่าเป็นเรื่องของเขาแล้ว เอาใจจดจ่อไม่ทอดทิ้ง อย่างนี้เป็นลักษณะของคนมีความรับผิดชอบ คนแบบนี้ ถ้าทำให้เรื่องนั้นเป็นเรื่องเกี่ยวกับตัวเขา อยู่ในความรับผิดชอบ เป็นเรื่องของเขาขึ้นมาแล้วเขาจะทำ เรียกว่าสร้างสมาธิด้วยวิธีของจิตตอิทธิบาท ข้อที่ ๓

คนอีกพวกหนึ่งเป็นพวกชอบสงสัย ชอบค้นคว้า ชอบทดลอง ถ้าทำอะไรให้เขาเกิดความรู้สึกสงสัย อยากรู้ อยากเข้าใจขึ้นมาละก็พวกนี้เอา เพราะฉะนั้น ถ้ารู้จิตวิทยาดีในแบบนี้ ก็หมายความว่าทำเรื่องนั้นให้เป็นเรื่องที่น่าค้นคว้า น่าศึกษา น่าสงสัย น่าทดลอง พออยากลองคราวนี้คนนั้นเอาจริงๆ ไม่ทิ้ง ไม่ไปไหน วุ่นอยู่นั่นเอง พยายามทำให้ได้ให้สำเร็จ

อิทธิบาทแต่ละข้อนี่เป็นวิธีสร้างสมาธิทั้งนั้น เป็นทางนำไปสู่ความสำเร็จ ไม่จำเป็นจะต้องเริ่มที่ข้อใดตายตัว ตามปกตินั้นเริ่มที่ฉันทะมาก ถ้าเริ่มตัวหนึ่งแล้ว ตัวอื่นจะมาหนุนทันที เพราะฉะนั้นถ้าคนมีนิสัยใจรักชอบอะไรแล้วก็ทำละก็ คนนั้นก็ต้องยุในแง่ฉันทะ คนไหนชอบสิ่งที่ท้าทายก็ต้องทำงานให้เป็นเรื่องท้าทาย จึงจะเอาจริง ใจสู้ คนไหนมีลักษณะเป็นคนมีความใฝ่ใจรับผิดชอบ เรื่องของตัวเองเกี่ยวข้องจึงทำ ก็ใช้วิธีจิตตะ ส่วนคนที่ชอบทดลองค้นคว้า ก็ทำงานให้เป็นเรื่องที่น่าอยากรู้อยากเห็น อยากเข้าใจ น่าสงสัยสอบสวนไป มันก็จะได้งานขึ้นมา คือว่าทุกอย่างจะนำไปสู่การเกิดสมาธิ เมื่อเกิดสมาธิแล้วเขาจะทำงานด้วยความพอใจ มีความสุข เมื่อทำด้วยความตั้งใจจริง ทำด้วยสมาธิ งานนั้นก็สำเร็จอย่างดี