เศรษฐกิจ แบบ นี้ ควร ลงทุน อะไร ดี

… ผลกระทบเงินเฟ้ออยู่รอบตัวเรานี่เอง อัตราเงินเฟ้อของไทยเมื่อเดือนมีนาคม 2565 อยู่ที่ 5.73% สูงที่สุดในรอบ 13 ปี โดยธนาคารแห่งประเทศไทยยอมรับว่า “อัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะเพิ่มสูงขึ้นมากในปี 2565” ส่วนสหรัฐอเมริกาแซงเราไปแล้วด้วยอัตราเงินเฟ้อ 8.5% นักวิเคราะห์คาดว่าเงินเฟ้อปีนี้ในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วจะทำสถิติสูงสุดในรอบ 38 ปีด้วยตัวเลข 5.7%เมื่อเงินเฟ้อทำให้มูลค่าเงินในกระเป๋าเราลดลงแบบนี้ จะเอาเงินไปไว้ที่ไหนกันดี สภาพเศรษฐกิจก็ชวนหวั่นใจ ไหนจะต้องพิจารณาความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ย แต่จะเก็บเงินไว้ในธนาคารเฉย ๆ มูลค่าก็มีแต่จะลดลงเรื่อย ๆ วันนี้เพียร์ พาวเวอร์มีคำแนะนำ

เงิน(เฟ้อ)ติดดอย

นักวิเคราะห์หลายคนเรียกสถานการณ์เงินเฟ้อในสหรัฐเมื่อเดือนมีนาคมว่าเป็น ‘Peak Inflation’ หรือจุดที่เงินเฟ้อพุ่งขึ้น “สูงสุด” เมื่ออัตราเงินเฟ้อของสหรัฐกระโจนขึ้นไปถึง 8.5% ต่อปี แต่ตอนนี้ดูท่าว่าจากจุด “สูงสุด” ที่ว่ามานั้นอัตราเงินเฟ้ออาจจะไม่ยอมลงมาง่าย ๆ ผลกระทบจากสงครามในยูเครนคงยังยืดเยื้อ และปัญหาคอขวดในห่วงโซ่อุปทานก็จะยังส่งผลต่อเนื่องเช่นกันทั้งด้วยการปิด ๆ เปิด ๆ เมืองของจีน การคว่ำบาตรรัสเซีย ฯลฯ จน IMF ยังมีความเห็นว่าเงินเฟ้อจะสูงต่อเนื่องนานกว่าที่คาดไว้

ลดอายุเฉลี่ยของตราสารหนี้ที่ลงทุน… แต่อย่าลดมากไป

ในสถานการณ์ที่อัตราดอกเบี้ยขาขึ้นเช่นนี้ นักลงทุนที่ไม่พร้อมรับความเสี่ยงสูงควรหาวิธี “จำกัด” แต่ไม่ใช่ “กำจัด” ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยการลด duration หรืออายุเฉลี่ยของตราสารหนี้และหุ้นกู้ที่เราลงทุนเป็นหนทางหนึ่งในการลดผลกระทบจากตลาดที่ผันผวนและมูลค่าที่ลดลงเนื่องจากอัตราดอกเบี้ยเพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้การลด duration อย่างเหมาะสมยังเป็นการลดความเสี่ยงต่อเงินเฟ้อได้ทางหนึ่งด้วยแต่อย่าเพิ่งรีบร้อนเปลี่ยนสินทรัพย์ทุกอย่างให้กลายเป็นเงินสด เพราะภาวะเงินเฟ้อหมายความว่ามูลค่าที่แท้จริงของเงินสดที่คุณจะเอาไปซื้ออะไรได้ก็ลดลงเช่นกัน คำแนะนำของเราคือให้หันไปลงทุนในหุ้นกู้บริษัทระยะสั้นผลตอบแทนสูงที่มักทำผลประกอบการได้ดีในสถานการณ์ดอกเบี้ยสูงเช่นนี้ นับเป็นช่องทางลงทุนระยะสั้นที่ดีระหว่างที่รอติดตามสถานการณ์ต่อไป

กลยุทธ์ลงทุนแบบ Defensive ยังน่าสนใจ

แม้ว่าภาวะที่อัตราเงินเฟ้อขึ้นสูงและตลาดชะลอตัวเช่นนี้จะทำให้การลงทุนดูไม่น่าสนใจเท่าไหร่ แต่เราเชื่อว่ายังมีโอกาสการลงทุนแบบ “เชิงรับ” (defensive) ในกิจการที่เกี่ยวกับสาธารณูปโภค สินค้าจำเป็น สินค้าการเกษตร และการแพทย์

*การลงทุนแบบ defensive สามารถทำได้ในหลายรูปแบบ หากเป็นการลงทุนประเภทหุ้น defensive stock ก็คือหุ้นที่ไม่แปรผันตามวัฏจักรเศรษฐกิจ ราคาผันผวนน้อย ดังนั้นไม่ว่าตลาดจะดีหรือแย่ ผลประกอบการในธุรกิจเหล่านี้ก็จะไม่ต่างไปมากนัก ข้อเสียคือในเวลาที่ตลาดเติบโตมาก ธุรกิจกลุ่มนี้อาจไม่ได้ทำกำไรหวือหวาเท่ากลุ่มอื่น ๆ แต่ข้อดีก็คือในเวลาที่ตลาดชะงักงันหรือมีความผันผวนสูง ธุรกิจกลุ่มนี้มักไม่ได้รับผลกระทบรุนแรง จึงเหมาะจะเป็นที่พักเงินในยามตลาดผันผวน
เศรษฐกิจ แบบ นี้ ควร ลงทุน อะไร ดี

อีกกลุ่มธุรกิจที่น่าลงทุนคือกลุ่มธุรกิจที่ “ยังไงก็มา” ตามทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลก เช่น การก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างไปสู่การใช้พลังงานทางเลือกและพลังงานหมุนเวียน เป็นต้นเพียงแค่ปรับกลยุทธ์การลงทุนให้เหมาะสมกับทิศทางในอนาคต นักลงทุนก็สามารถเตรียมพร้อมรับมือกับภาวะเงินเฟ้อที่อาจลากยาว และปรับพอร์ตของเราให้พร้อมเติบโตเมื่อเศรษฐกิจโลกฟื้นตัวจากวิกฤติโควิด-19 ขึ้นเรื่อย ๆ นักลงทุนที่สนใจสามารถเปิดบัญชีนักลงทุนกับแพลตฟอร์มเพียร์ พาวเวอร์ได้แล้ววันนี้ โดยไม่มีค่าใช้จ่ายในการเปิดบัญชี

ในช่วงภาวะวิกฤต จะดูเหมือนว่ามีข่าวร้ายอยู่เต็มไปหมด จนทำให้นักลงทุนเกิดความกลัว ผลจากความกลัวก็อาจทำให้ขายสินทรัพย์การลงทุนออกมาอย่างไม่ยั้งคิด (Panic Sell) เพื่อต้องการที่จะถือเงินสดให้มากที่สุด เพราะเราเองก็ไม่รู้ว่าจุดต่ำสุด หรือ bottom ของราคาสินทรัพย์นั้นจะอยู่ที่ไหน


แม้ว่าจะมีคำกล่าว ‘ในทุกวิกฤตจะมีโอกาสซ่อนอยู่เสมอ’ แต่ด้วยภาวการณ์เช่นนี้ หลายคนอาจจะไม่แน่ใจว่า เราควรจะกลับเข้าไปลงทุนที่จุดไหน บทความนี้มีคำตอบ


ในการวิเคราะห์การลงทุน เราต้องพิจารณาให้ได้ก่อนว่าตอนนี้ เราอยู่ในวัฏจักรเศรษฐกิจระยะไหน เพราะเราควรจะลงทุนในแต่ละสินทรัพย์ให้สอดคล้องกับวัฏจักรเศรษฐกิจนั่นเอง ในการพิจารณาว่าตอนนี้เราอยู่ในวัฏจักรเศรษฐกิจระยะไหน เราจะพิจารณาจาก เครื่องชี้วัดทางเศรษฐกิจต่างๆ ซึ่งตัวเลขทางเศรษฐกิจที่สำคัญที่เราควรรู้จัก คือ 

เศรษฐกิจ แบบ นี้ ควร ลงทุน อะไร ดี

1. การขยายตัวของเศรษฐกิจ หรือตัวเลขการขยายตัวของจีดีพี (Gross Domestic Product: GDP) เป็นตัวเลขที่แทบจะนำตัวเลขเศรษฐกิจทุกตัวมาสะท้อนรวมกัน ไม่ว่าจะเป็นการบริโภค การลงทุน การใช้จ่ายภาครัฐ การส่งออก และการ นำเข้า


2.อัตราเงินเฟ้อ (Inflation) เป็นดัชนีชี้วัดราคาสินค้าทั้งอุปโภคและบริโภคว่าปรับเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยมากน้อยเพียงใด เช่น เงินเฟ้ออยู่ที่ 3% ก็หมายถึง ราคาสินค้าแพงขึ้นเฉลี่ย 3% ซึ่งกรอบเงินเฟ้อของประเทศไทยอยู่ระหว่าง 0 - 3.5%


โดยปกติตัวเลขทั้ง 2 ตัวนี้มักจะไปด้วยกัน กล่าวคือ เงินเฟ้อจะเพิ่มขึ้นตามการขยายตัวทางเศรษฐกิจ หากเศรษฐกิจมีการขยายตัว เงินเฟ้อก็จะปรับตัวเพิ่มขึ้นและหากเศรษฐกิจหดตัว เงินเฟ้อก็ปรับลดลงตามวัฎจักรเศรษฐกิจ โดยการขึ้นลงของเศรษฐกิจนั้นจะถูกแบ่งเป็น 4 ระยะด้วยกัน คือ ระยะฟื้นตัว (Recovery) ระยะเฟื่องฟู (Peak) ระยะถดถอย (Recession) และระยะตกต่ำ (Trough) ซึ่งแต่ละวัฎจักรเศรษฐกิจมีลักษณะดังนี้


1. ระยะฟื้นตัว (Recovery) เป็นช่วงที่เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว หลังจากเผชิญภาวะตกต่ำถึงขีดสุด เงินเฟ้อยังอยู่ในระดับต่ำ สินค้าที่เหลือค้างสต็อกค่อยๆ ทยอยขายออก ราคาสินค้าเริ่มมีแนวโน้มสูงขึ้น ผลประกอบการของธุรกิจดีขึ้น การผลิตเพิ่มขึ้น การจ้างงานสูงขึ้น ประชาชนมีรายได้ดี ทิศทางการลงทุนมีแนวโน้มดีขึ้น โดยสังเกตจาก GDP Growth ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง 2 ไตรมาสติดต่อกัน ซึ่งตัวอย่างของระยะฟื้นตัว คือ การฟื้นตัวหลังวิกฤตเศรษฐกิจ เช่น หลังวิกฤตต้มยำกุ้ง วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ โดยที่หาก GDP Growth ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง 2 ไตรมาสติดต่อกันเราจะนับว่าเข้าสู่ระยะฟื้นตัว


แล้วเราควรลงทุนอย่างไร?

ช่วงเวลานี้เหมาะกับการลงทุนใน “หุ้น” มากที่สุด เพราะหุ้นจะได้ผลบวกโดยตรงจากอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำ และเศรษฐกิจที่ขยายตัว ในขณะที่ตราสารหนี้และเงินฝากจะได้ผลตอบแทนที่ต่ำกว่า


2. ระยะเฟื่องฟู (Peak) เป็นช่วงที่เศรษฐกิจผ่านช่วงฟื้นตัว และก้าวเข้าสู่ช่วงขยายตัว เงินเฟ้อเริ่มปรับตัวเพิ่มขึ้นตามเศรษฐกิจที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น แต่เศรษฐกิจยังคงขยายตัวได้มากกว่าเงินเฟ้อ การเติบโตของ GDP จะเริ่มช้าลงจาก  ไตรมาสก่อนหน้า หลังจากมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง การผลิตอยู่ในระดับสูง เช่นเดียวกับระดับการจ้างงาน แต่การเติบโตค่อนข้างทรงตัว ประชาชนมีรายได้สูงขึ้น มีการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น ราคาสินค้าและบริการมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นจนอาจก่อให้เกิดเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น


แล้วเราควรลงทุนอย่างไร?

การลงทุนในช่วงเศรษฐกิจระยะเฟื่องฟู จะเน้นลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ เช่น ทองคำ อาหาร และน้ำมัน เพราะราคาปรับตัวดีขึ้นจากการเติบโตของธุรกิจที่ทำให้ความต้องการสินค้าโภคภัณฑ์สูงขึ้น หุ้นที่เกี่ยวกับโภคภัณฑ์ก็จะได้ประโยชน์เช่นกัน อย่างไรก็ตามการลงทุนในหุ้นอาจจะลดความน่าสนใจลง (ยกเว้นหุ้นโภคภัณฑ์) เพราะในช่วงเวลานี้ ดอกเบี้ยจะค่อยๆ ขยับสูงขึ้นส่งผลให้ต้นทุนธุรกิจค่อยๆ ปรับตัวสูงขึ้น กำไรของกิจการจึงลดลงลง ราคาหุ้นจึงมีโอกาสปรับตัวลดลงบ้าง

เศรษฐกิจ แบบ นี้ ควร ลงทุน อะไร ดี

3. ระยะถดถอย (Recession) เป็นช่วงที่เศรษฐกิจเริ่มส่งสัญญาณการชะลอการขยายตัว สามารถสังเกตเห็นได้ผ่านตัวเลขทางเศรษฐกิจ เช่น อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจที่ติดลบต่อเนื่องมากกว่า 2 ไตรมาส เงินเฟ้ออยู่ในระดับสูงกว่าช่วงที่ผ่านมาอย่างมีนัยยะสำคัญ ต้นทุนการผลิตโดยรวมสูงขึ้น ตัวเลขการผลิตและจ้างงานเริ่มลดลง เช่น วิกฤตจากโรคระบาด COVID-19 ที่เกิดประมาณไตรมาส 1 ของปี 2020 จะส่งผลให้ GDP Growth ในไตรมาส 1 และ 2 จะติดลบ 2 ไตรมาสติดกันและอาจจะเห็นการฟื้นตัวได้ในไตรมาส 3 และ 4 หากควบคุมโรคระบาดได้ดี และไม่มีการระบาดซ้ำ เป็นต้น อย่างไรก็ตามหากผลกระทบของโรคระบาดต่อระบบเศรษฐกิจรุนแรงกว่าที่คาดการณ์ จะส่งผลให้เราเข้าสู่ระยะตกต่ำได้ ผลของโรคระบาดทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจหยุดชะงัก อีกทั้งยังมีผลกระทบจากสงครามราคาน้ำมันระหว่างซาอุฯ และรัสเซียทำให้ราคาน้ำมันตกต่ำ เราจึงไม่เห็นอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น นอกจากนี้เพื่อเป็นการป้องกันผลกระทบต่อเศรษฐกิจ รัฐบาลและธนาคารแห่งประเทศไทยจึงได้ออกนโยบายและมาตรการต่างๆ เพื่อช่วยเหลือประชาชน เพื่อไม่ให้เศรษฐกิจเข้าสู่ระยะตกต่ำนั่นเอง


แล้วเราควรลงทุนอย่างไร?

ลดสัดส่วนการลงทุนใน “หุ้น” เนื่องจากกำไรของบริษัทจะเริ่มค่อยๆ ลดลงตามสภาวะเศรษฐกิจ ส่วน “ตราสารหนี้ระยะยาว” ก็ไม่น่าสนใจ เพราะดอกเบี้ยมีแนวโน้มจะขยับสูงขึ้นตามเงินเฟ้อ ทำให้มูลค่าของตราสารหนี้ระยะยาวปรับตัวต่ำลง นอกจากนี้ความสามารถในการชำระหนี้ของผู้ออกตราสารหนี้มีแนวโน้มลดลง ทำให้การลงทุนในตราสารหนี้ระยะยาว โดยเฉพาะที่มีอันดับเครดิตเรตติ้งค่อนข้างต่ำ มีความเสี่ยงมากขึ้น “เงินฝาก” จึงเป็นทางเลือกที่ดีสุด

 

4. ระยะตกต่ำ (Trough) เป็นช่วงที่เศรษฐกิจหดตัวอย่างเต็มตัว GDP Growth หดตัว จนทำจุดต่ำสุดใหม่และมีอัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้อย่างชัดเจน ประชาชนไม่ค่อยมีกำลังซื้อ เพราะรายได้ลดลงมาก เงินเฟ้อปรับตัวลดลง ผู้ประกอบการลดอัตราการผลิตลง ธนาคารแห่งประเทศไทยจะเริ่มเข้ามามีบทบาทโดยจะลดดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ


แล้วเราควรลงทุนอย่างไร?

ผลตอบแทนของหุ้นอาจจะยังไม่ดีขึ้นมากจากช่วงระยะถดถอย ยังคงแนะนำให้ลดสัดส่วนหุ้นในพอร์ตลง ถ้าจะลงทุนจำเป็นต้องเลือกอย่างระมัดระวังมากๆ โดยแนะนำหุ้นที่มีราคาไม่แพง และกิจการควรมีกระแสเงินสดที่สม่ำเสมอ เช่น หุ้นสาธารณูปโภค (ไฟฟ้า ประปา) เพิ่มสัดส่วนการลงทุน “ตราสารหนี้ระยะยาว” เนื่องจากการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยลดดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ จะทำให้มูลค่าของตราสารหนี้ระยะยาวเพิ่มสูงขึ้น (ราคาตราสารหนี้ระยะยาวจะวิ่งสวนทางกับอัตราดอกเบี้ย) โดยควรเลือกตัวที่มีอัตราเครดิตเรตติ้งที่ดี เพื่อลดความเสี่ยงที่บริษัทที่ออกตราสารจะล้มละลาย

เศรษฐกิจแบบนี้ขายอะไรดี 2566

เปิด 10 เทรนด์สินค้าฮิต ยอดขายพุ่งแรงในปี 2566.
สุขภาพและไลฟ์สไตล์ ... .
แฟชั่น ... .
ผลิตภัณฑ์ดูแลร่างกายและความงาม ... .
อุปกรณ์ในครัว ... .
ของแต่งบ้าน ... .
การดูแลเด็ก ... .
ผลิตภัณฑ์สำหรับสัตว์เลี้ยง ... .
อุปกรณ์สำนักงาน.

การลงทุนแบบไหนดีที่สุด

มีเงิน 10,000 บาท ลงทุนอะไรดี.
1. ฝากเงินในบัญชีดอกเบี้ยสูง ... .
2. สลากออมทรัพย์ ... .
3. พันธบัตรรัฐบาล หรือพันธบัตรออมทรัพย์ ... .
4. หุ้นกู้ ... .
5. กองทุนรวม ... .
6. ลงทุนในหุ้น ... .
7. ออมทอง ... .
8. ลงทุนขายของ หรือเปิดธุรกิจ.

ลงทุนทำธุรกิจอะไรดี 2023

สินทรัพย์ที่แนะนำให้เก็บเข้าพอร์ตในปี 2023 ได้แก่ หุ้นจีน ธุรกิจ Healthcare ตราสารหนี้ระยะสั้น และกองทุนรวมผสม และไม่ลืมที่จะกระจายการลงทุน เพื่อลดความเสี่ยงของพอร์ตยามเศรษฐกิจผันผวน​​

เศรษฐกิจแบบนี้ขายอะไรดี 2565

10 กลุ่มสินค้าขายดีมาแรงปี 2022/2565.
1. สินค้ากลุ่มสุขภาพ ... .
2. สินค้ากลุ่มแฟชั่น ... .
3. Gadget และสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ... .
4. สินค้าสำหรับทารกและเด็ก ... .
5. สินค้าสำหรับสัตว์เลี้ยง ... .
6. ไอเทมเพื่อความผ่อนคลาย ... .
7. เครื่องใช้ในบ้านและนอกบ้าน ... .
8. เครื่องใช้ในครัว.