สาขาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ ม. บูรพา

การท่องเที่ยวและการโรงแรม - หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (บธ.บ.) สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการ กลุ่มการจัดการการท่องเที่ยว ภาคพิเศษ สาขาวิชา กลุ่มการจัดการการท่องเที่ยว ภาคปกติ (ภาษาไทย พิเศษ)
  • การท่องเที่ยวและการโรงแรม - หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (บธ.บ.) สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการ กลุ่มการจัดการการโรงแรม ภาคพิเศษ สาขาวิชา กลุ่มการจัดการการโรงแรม ภาคปกติ (ภาษาไทย พิเศษ)
  • การท่องเที่ยวและการโรงแรม - หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (บธ.บ.) สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการ ภาคปกติ (ภาษาไทย ปกติ)
  • การท่องเที่ยวและการโรงแรม - หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (บธ.บ.) สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการ ภาคพิเศษ (ภาษาไทย พิเศษ)
  • การท่องเที่ยวและการโรงแรม - หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (บธ.บ.) สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการ กลุ่มการจัดการการท่องเที่ยว ภาคปกติ สาขาวิชา กลุ่มการจัดการการท่องเที่ยว ภาคปกติ (ภาษาไทย ปกติ)
  • การท่องเที่ยวและการโรงแรม - หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (บธ.บ.) สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการ กลุ่มการจัดการการโรงแรม ภาคปกติ สาขาวิชา กลุ่มการจัดการการโรงแรม ภาคปกติ (ภาษาไทย ปกติ)
  • การบัญชี - หลักสูตรบัญชีบัณฑิต (บช.บ.) ภาคพิเศษ (ภาษาไทย พิเศษ)
  • การบัญชี - หลักสูตรบัญชีบัณฑิต (บช.บ.) ภาคปกติ (ภาษาไทย ปกติ)
  • บริหารธุรกิจ - หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (บธ.บ.) กลุ่มวิชาการตลาด ภาคปกติ สาขาวิชา กลุ่มวิชาการตลาด ภาคปกติ (ภาษาไทย ปกติ)
    บัณฑิตสาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่พึงประสงค์ ต้องเป็นผู้นำที่มีสมรรถนะในการจัดการทรัพยากรมนุษย์อย่างมีคุณธรรมและจริยธรรม

    สาระสำคัญของหลักสูตร

         หลักสูตรบริหารธุรกิจสาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ เป็นหลักสูตรที่มีการจัดการเรียนรู้เกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรมนุษย์แนวใหม่ และมุ่งเสริมสร้างให้นักศึกษาได้เรียนรู้บทบาทของสมรรถนะนักจัดการ และนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สมัยใหม่ ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานในปัจจุบัน โดยเน้นทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ เพื่อให้มีความเชี่ยวชาญ สามารถยกระดับเพื่อเข้าสู่มาตรฐานอาชีพ และคุณวุฒิวิชาชีพทรัพยากรมนุษย์ได้

    จุดเด่นของหลักสูตร

    1. วิสัยทัศน์ “ พัฒนาหลักสูตรให้มีคุณภาพและมาตรฐาน ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับ
    อุดมศึกษาแห่งชาติ (Thai Qualifications Register : TQR) ”
    2. เรียน 121 หน่วยกิต อย่างมีคุณภาพ
    3. เรียนจบ มีโอกาสทำงานในฐานะผู้บริหารนิติบุคคล ตามนโยบายจังหวัดฉะเชิงเทราเป็นเขตที่พักอาศัย ตามโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก EEC

    วัตถุประสงค์หลักสูตร

    1. เป็นผู้มีวิสัยทัศน์กว้างไกล (Worldwide Perspective) มีสมรรถนะ มีความสามารถในการบูรณาการองค์ความรู้ในระดับสากลกับภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อนำไปแก้ปัญหาในระดับองค์การและระดับสังคม
    2. เป็นผู้เปิดใจรับ (Receptive Mind) มีความสามารถออกแบบแนวทางการปฏิบัติบนพื้นฐานความรู้ในมิติที่ซับซ้อนและบริบทที่มีความหลากหลาย
    3. เป็นผู้นำอย่างยั่งยืน (Sustainable Leadership) มีความสามารถนำความรู้และทักษะระดับมืออาชีพ เพื่อขับเคลื่อนองค์กรหรือสังคมด้วยการยึดหลักความถูกต้องทางวิชาชีพ
    4. เป็นผู้มีคุณธรรมและจริยธรรม (Ethics and Morality) มีความสามารถแสดงให้เห็นถึงการใช้ประเด็นหลักและหลักการทางจริยธรรมที่สำคัญในการดำเนินงานในวิชาชีพทรัพยากรมนุษย์
    5. เป็นผู้มีความเข้าใจในมนุษย์ (Human Intelligence) มีความสามารถใช้ทักษะสังคมและการสื่อสารในการปฏิบัติงานแบบมืออาชีพด้านทรัพยากรมนุษย์
    6. เป็นผู้มีทักษะการคิดแบบบูรณาการ (Ability to Think Integratively) มีความสามารถบูรณาการแนวปฏิบัติ แนวความคิด และทฤษฎีต่างๆ ของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การอย่างเป็นระบบ ให้สามารถแก้ปัญหาเกี่ยวกับงานการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การเพื่อสร้างประสิทธิภาพขององค์กร
    7. เป็นผู้นำแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การประยุกต์ใช้ให้เป็นจริง (Enable HROD Concept) มีความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้ด้านการจัดการทรัพยากรมนุษย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างโอกาสในการเข้าสู่มาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพทรัพยากรมนุษย์

    แนวทางประกอบอาชีพ

    1. นักวิชาการด้านการจัดการทรัพยากรมนุษย์
    2. นักพัฒนาและฝึกอบรมทรัพยากรมนุษย์
    3. พนักงานฝ่ายบุคคล
    4. พนักงานบริหารทรัพยากรมนุษย์
    5. พนักงานแรงงานสัมพันธ์
    6. พนักงานสรรหาว่าจ้างและบริหารอัตรากำลัง
    7. ผู้จัดการนิติบุคคล
    8. ผู้ประกอบการ

    อาจารย์ประจำหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต  สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์  (ฉบับปรับปรุง 2564)

    ลำดับ

    ชื่อ – สกุล

    คุณวุฒิ

    สถาบันการศึกษา

    1

    ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปรีดาพร อารักษ์สมบูรณ์

    บธ.ด. (การตลาด)

    มหาวิทยาลัยสยาม

    บธ.ม. (การบริหารองค์การและการจัดการ)

    มหาวิทยาลัยศรีปทุม

    ศศ.บ. (การบริหารทรัพยากรมนุษย์) (เกียรตินิยมอันดับ 2)

    สถาบันราชภัฏราชนครินทร์

    2

    ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิพรรธน์ พิเชฐศิรประภา

    บธ.ด. (บริหารธุรกิจ)

    มหาวิทยาลัยรามคำแหง

    กจก.ม. (การจัดการ)

    มหาวิทยาลัยมหิดล

    บช.บ. (การบัญชี)

    วิทยาลัยภาคกลาง

    3

    อาจารย์ ดร.ชุติมา นุตยะสกุล

    ปร.ด. (การจัดการ)

    มหาวิทยาลัยศิลปากร

    บธ.ม. (บริหารธุรกิจ)

    มหาวิทยาลัยบูรพา

    บธ.บ. (การจัดการทั่วไป)

    มหาวิทยาลัยแม่โจ้

    4

    อาจารย์ ดร.นิชชิชญา เกิดช่วย

    บธ.ด. (บริหารธุรกิจ)

    มหาวิทยาลัยปทุมธานี

    นศ.ม. (นิเทศศาสตร์ประชาสัมพันธ์)

    มหาวิทยาลัยศรีปทุม

    ศศ.บ. (นาฏศิลป์และการละคร)

    สถาบันราชภัฏจันทรเกษม

    5

    อาจารย์วัฒนา พิลาจันทร์

    บธ.ม. (การบริหารองค์การและการจัดการ)

    มหาวิทยาลัยศรีปทุม

    บธ.บ. (การบริหาร)

    มหาวิทยาลัยศรีปทุม

    โครงสร้างหลักสูตร

    1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 30 หน่วยกิต

    (1) กลุ่มวิชาคุณค่าแห่งชีวิตและวิถีสังคม 6 หน่วยกิต
    – วิชาบังคับ 3 หน่วยกิต
    – วิชาเลือก 3 หน่วยกิต
    (2) กลุ่มวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรม 6 หน่วยกิต
    – วิชาบังคับ 3 หน่วยกิต
    – วิชาเลือก 3 หน่วยกิต
    (3) กลุ่มวิชาภาษาและการสื่อสาร 12 หน่วยกิต
    – วิชาบังคับ 9 หน่วยกิต
    – วิชาเลือก 3 หน่วยกิต
    (4) กลุ่มวิชาศาสตร์แห่งการคิด 3 หน่วยกิต
    – วิชาบังคับ 3 หน่วยกิต
    (5) กลุ่มวิชาศาสตร์ของผู้ประกอบการ 3 หน่วยกิต
    – วิชาบังคับ 3 หน่วยกิต

    2) หมวดวิชาเฉพาะด้าน 85 หน่วยกิต

    (1) กลุ่มวิชาแกน 30 หน่วยกิต
    (2) กลุ่มวิชาเอก 48 หน่วยกิต
    ก. เอกบังคับ 30 หน่วยกิต
    ข. เอกเลือก 18 หน่วยกิต
    (3) กลุ่มวิชาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ หรือ สหกิจศึกษา 7 หน่วยกิต
    ก. กลุ่มวิชาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ 7 หน่วยกิต
    ข. กลุ่มวิชาสหกิจศึกษา 7 หน่วยกิต

    3) หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต

    คุณสมบัติผู้เข้าศึกษา

    1. ต้องสำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเท่า
    2. ผ่านการคัดเลือกตามเกณฑ์ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และ/ หรือเป็นไปตามระเบียบข้อบังคับการคัดเลือกของคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ และข้อบังคับของมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ว่าด้วยการจัดการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2558
    3. การคัดเลือกผู้เข้าศึกษา
    1) นักเรียนที่เข้าศึกษาโดยระบบคัดเลือกของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
    2) นักเรียนที่มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ เป็นผู้ดำเนินการคัดเลือกเอง
    3) การคัดเลือกโดยคณาจารย์ประจำหลักสูตรบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ด้วยวิธีการสอบข้อเขียน และ/หรือการสัมภาษณ์