วิธี ดู เครื่องชั่งน้ำหนัก

เส้นจำนวนบอกพิกัดน้ำหนัก

           เส้นจำนวนบอกพิกัดน้ำหนัก เป็นการนำสิ่งที่ผู้เรียนเห็นเป็นประจำในชีวิตประจำวัน นั้นคือ เครื่องชั่งสปริง และเครื่องชั่งแบบตุ้มถ่วง แบบมีเข็มชี้น้ำหนัก ซึ่งมี “ขีด” และ “ตัวเลข” ที่หน้าปัดเป็นตัวบอกน้ำหนักของสิ่งที่ชั่ง  จึงเป็นที่มาของเส้นจำนวนบอกพิกัดน้ำหนัก

วิธี ดู เครื่องชั่งน้ำหนัก

ภาพที่ 1 เส้นจำนวนบอกน้ำหนัก
ที่มา : ปิยวดี เอ่งฉ้วน

           เส้นจำนวนบอกพิกัดน้ำหนัก เป็นภาพที่แสดงลำดับของจำนวนบนเส้นตรง ที่บอกพิกัดน้ำหนักเป็น ขีด, กรัม และกิโลกรัม ซึ่งแสดงความสัมพันธ์ของหน่วยการชั่ง ซึ่งเป็นการสื่อสารและการสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ที่มีลักษณะพิเศษมาช่วยในการสื่อความหมายแก่ผู้เรียน และจะส่งเสริมให้ผู้เรียนเห็นความสัมพันธ์ของเนื้อหาในเรื่องน้ำหนัก พร้อมทั้งเป็นการกระตุ้นความคิด ดึงดูดความสนใจในวิธีการแก้ปัญหาที่หลากหลายในวิชาคณิตศาสตร์

ตัวอย่างเส้นจำนวนบอกพิกัดน้ำหนัก

          เป็นการแสดงให้เห็นว่า เส้นจำนวนพิกัดน้ำหนักสามารถนำไปใช้งานได้ในหลายลักษณะ และเพื่อเป็นการจุดประกายความสนใจและใฝ่รู้แก่ผู้เรียน

  1. เส้นจำนวนบอกพิกัดน้ำหนักตั้งแต่ 0 – 3 กิโลกรัม

        เป็นการแสดงให้เห็นพิกัดน้ำหนัก ตั้งแต่ 0 – 3 กิโลกรัม พร้อมทั้งแสดงถึงความสัมพันธ์ของหน่วยน้ำหนัก ขีด, กรัม และกิโลกรัม

วิธี ดู เครื่องชั่งน้ำหนัก

ภาพที่ 2 เส้นจำนวนบอกพิกัดน้ำหนัก ตั้งแต่ 0 – 3 กิโลกรัม

  1. เส้นจำนวนบอกพิกัดน้ำหนักตั้งแต่ 0 – 3 เมตริกตัน (ตัน) และ 0 – 30 เมตริกตัน (ตัน)

            เป็นการแสดงให้เห็นพิกัดน้ำหนัก ตั้งแต่ 0 – 3 เมตริกตัน (ตัน) และ 0 – 30 เมตริกตัน (ตัน)  พร้อมทั้งแสดงถึงความสัมพันธ์ของหน่วยน้ำหนัก กิโลกรัม และเมตริกตัน (ตัน)

วิธี ดู เครื่องชั่งน้ำหนัก

ภาพที่ 3 เส้นจำนวนบอกพิกัดน้ำหนัก ตั้งแต่ 0 – 3 เมตริกตัน (ตัน)
ที่มา : ปิยวดี  เอ่งฉ้วน

การนำเส้นจำนวนบอกพิกัดน้ำหนักไปใช้งาน

          ตัวอย่าง ส้มหนัก 2 กิโลกรัม 5 ขีด แสดงความสัมพันธ์ของน้ำหนักได้ ดังนี้

          1. วาดภาพเส้นบอกพิกัดจำนวนน้ำหนัก

              

วิธี ดู เครื่องชั่งน้ำหนัก

ภาพที่ 4 เส้นจำนวนบอกพิกัดน้ำหนัก ตั้งแต่ 0 – 3 กิโลกรัม
ที่มา : ปิยวดี  เอ่งฉ้วน

             จากภาพที่ 4 เมื่อทำการวาดภาพเส้นบอกพิกัดจำนวน 0 – 3 กิโลกรัม ในการวาดเส้นบอกพิกัดน้ำหนักให้ผู้เรียนเป็นผู้กำหนดพิกัดของช่วงน้ำหนักเอง โดยอาจจะเริ่มจากพิกัดน้ำหนักจาก 0 – 3 กิโลกรัม หรือเริ่มจากพิกัดน้ำหนักจาก 1 – 3 กิโลกรัม ขึ้นอยู่กับผู้เรียนเป็นผู้ออกแบบ

              พิกัดน้ำหนัก

              1 ขีดเท่ากับ 100 กรัม

              1 กิโลกรัม เท่ากับ 10 ขีด และเท่ากับ 100 กรัม (โดยการนับเส้นจำนวนพิกัดน้ำหนัก)

               ดังนั้น เมื่อต้องการทราบว่า ส้มหนัก 2 กิโลกรัม 5 ขีด เมื่อทำการเปลี่ยนหน่วยน้ำหนักจะได้ดังนี้

                         ส้มหนัก 2 กิโลกรัม 5 ขีด เท่ากับ  ส้มหนัก 2 กิโลกรัม 500 กรัม

                                                                            ส้มหนัก 2 กิโลกรัมครึ่ง

                                                                            ส้มหนัก 2,500 กรัม  

                                                                            ส้มหนัก 25 ขีด

          เส้นจำนวนบอกพิกัดน้ำหนัก เป็นการเชื่อมโยงคณิตศาสตร์ในเรื่องน้ำหนัก ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของหน่วยน้ำหนัก และการเปลี่ยนหน่วยน้ำหนัก เพื่อให้ผู้เรียนนำไปใช้ในการแก้ไขปัญหาในเรื่องน้ำหนัก โดยวิธีการแก้ไขปัญหาขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของผู้เรียน

          การเรียนรู้แนวคิดใหม่ ๆ เพื่อจุดประกายแก่ผู้เรียน สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันในการแก้ไขปัญหา เมื่อการแก้ไขปัญหานั้นไม่บรรลุผล ผู้เรียนต้องรู้จักหาวิธีการแก้ไขปัญหารูปแบบใหม่ที่เหมาะสมแก่ปัญหาที่  ประสบนั้น โดยการยึดหลักคำตอบที่ถูกเป็นที่ตั้ง แล้วหาวิธีแก้ปัญหาที่จะนำไปสู่คำตอบนั้น ๆ

แหล่งที่มา

เส้นจำนวน.สืบค้นเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2562.จาก https://th.wikipedia.org/wiki/เส้นจำนวน

เส้นจำนวน.สืบค้นเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2562.จาก http://www.tutormathphysics.com/index.php/component/content/article/143-math-m1-1-no2/1030-math-m1-1-no2-2.html

หัวเรื่อง และคำสำคัญ

เส้น,จำนวน,พิกัด,น้ำหนัก

ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.

บทความ

รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.

สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล

ลิขสิทธิ์

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)

วันที่เสร็จ

วันพฤหัสบดี, 20 มิถุนายน 2562

สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา

คณิตศาสตร์

ช่วงชั้น

ประถมศึกษาตอนปลาย

กลุ่มเป้าหมาย

ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป

ดูเพิ่มเติม