การป้องกันอุบัติภัยในโรงงานซ่อมรถยนต์มีกี่วิธี อะไรบ้าง

ความปลอดภัยในการทำงาน


การป้องกันอุบัติภัยในโรงงานซ่อมรถยนต์มีกี่วิธี อะไรบ้าง

" ความปลอดภัยในการทำงาน "

         ความปลอดภัยในการทำงานเป็นสิ่งสำคัญที่พนักงาน ต้องตระหนักและพึงระลึกถึงตลอดเวลาที่ปฏิบัติงาน เพราะหากเกิดอุบัติเหตุจะนำมาซึ่งความสูญเสียทั้งต่อชีวิตและทรัพย์สิน
 


ความปลอดภัย หมายถึง การที่ร่างกายปราศจากอุบัติภัยหรือทรัพย์สินปราศจากความเสียหายใดๆ เป็นสิ่งที่มนุษย์หรือสัตว์ต้องการความปลอดภัยทั้งสิ้น ความปลอดภัยจะเป็นประโยชน์มากหรือน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับการปฏิบัติหรือการกระทําของตนเอง


ความปลอดภัยในโรงงาน คือ สภาพที่ปลอดภัยจากอุบัติภัยต่าง ๆ อันจะเกิดแก่ร่างกายชีวิต หรือ ทรัพย์สินในขณะปฏิบัติงานในโรงงาน ซึ่งก็คือสภาพการทํางานที่ถูกต้องโดยปราศจาก อุบัติเหตุในขณะทํางานนั่นเอง
อุบัติเหตุ อาจนิยามได้ว่า คือเหตุการณ์ที่เกิด ขึ้นอย่างไม่พึงประสงค์ในระหว่างการทํางานและมีผลไปขัดขวางหรือก่อผลเสียหายแก่การทํางานนั้นในโรงงานต่าง ๆ นั้น ย่อมจะเกิดอุบัติเหตุกับระบบต่าง ๆ ได้มาก อาทิ เครื่องจักรเครื่องกล , ระบบไฟฟ้า , ระบบขนส่งหรือขนถ่ายวัสดุ , เครื่องมือกล , วัตถุดิบ, สารเคมี, สารไวไฟ ฯลฯ
อุบัติเหตุที่เกิดแก่ชีวิตร่างกาย จากสถิติที่ประเมินมาพบว่า อุบัติเหตุที่เกิดแก่ร่างกายของคนงานคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ความถี่บ่อย ๆ ครั้งในการเกิดดังนี้ พบว่า

สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ สาเหตุจากการกระทําที่ไม่ปลอดภัย ได้แก่
• การกระทําไม่ถูกวิธีหรือไม่ถูกขั้นตอน
• ความประมาท พลั้งเผลอ เหม่อลอย
• การมีนิสัยชอบเสี่ยง
• การไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบความปลอดภัยในการทํางาน
• การทํางานโดยไม่มีอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล
• การแต่งกายไม่เหมาะสม
• การทํางานโดยสภาพร่างกายและจิตใจไม่ปกติ เช่น เมาค้าง ป่วย


สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ สาเหตุจากสภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัย ได้แก่
• ส่วนที่เป็นอันตรายหรือส่วนที่เคลื่อนไหวไม่มีอุปกรณ์ป้องกันอันตราย
• การวางผังไม่ถูกต้อง วางสิ่งของไม่เป็นระเบียบ
• พื้นโรงงานขรุขระเป็นหลุมบ่อ
• พื้นโรงงานมีเศษวัสดุ น้ำมัน น้ำบนพื้น
• สภาพการทํางานไม่ปลอดภัย เช่น เสียงดัง อากาศร้อน ฝุ่นละออง
• เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์ชํารุด
• ระบบไฟฟ้า อุปกรณ์ไฟฟ้าชํารุด


การป้องกันอุบัติเหตุ มีหลักการหรือวิธีโดยแบ่งออกเป็น 3 สถานการณ์คือ  
1. การป้องกันก่อนการเกิดอุบัติเหตุ คือ การป้องกันหรือมีการเตรียมการล่วงหน้า เพื่อไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ โดยมีหลักการต่างๆ เช่น

        หลักการ 5 ส. สู่การป้องกันอุบัติเหตุ เช่น
          • สะสาง หมายถึงการแยกแยะงานดี-งานเสีย ใช้-ไม่ใช้
          • สะดวก หมายถึงการจัดการ จัดเก็บให้เป็นระเบียบเป็นหมวดหมู่
          • สะอาด หมายถึงการทำความสะอาดเครื่องมือ เครื่องจักรอุปกรณ์ สถานที่ก่อนและหลังการใช้งาน
          • สุขลักษณะ หมายถึงผู้ปฎิบัติงานต้องรักษาสุขอนามัยของตัวเอง เครื่องมือ และสถานที่
          • สร้างนิสัย หมายถึงการสร้างนิสัยที่ดี

        กฎ 5 รู้         
          • รู้ งานที่ปฏิบัติว่ามีอันตรายอย่างไร มีขั้นตอนการทำงานอย่างไร
          • รู้ การเลือกใช้เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์
          • รู้ วิธีการใช้เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์
          • รู้ ข้อจำกัดการใช้เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์
          • รู้ วิธีการบำรุงรักษาเครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์

        ปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับ

                                    

การป้องกันอุบัติภัยในโรงงานซ่อมรถยนต์มีกี่วิธี อะไรบ้าง

เครดิต : http://www.m2j.co.th/index.php?lay=show&ac=article&Id=539969476


กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในการทำงานกับเครื่องจักร

กฎหมายการทํางานเกี่ยวกับ เครื่องจักร ปั้นจั่น และ หม้อน้ำ 2564

บ่อยครั้งที่พนักงานที่ปฏิบัติงานกับเครื่องจักรชนิดต่างๆ นั้นเกิดอุบัติเหตุระหว่างทำงานโดยสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุนั้นมีหลายปัจจัยเช่น เกิดจาก สภาพการณ์เครื่องมือ หรือ อุปกรณ์ไม่ปลอดภัย (Hardware) เกิดจากวิธีการทำงานไม่ปลอดภัย (Software) และ ความประมาทของตัวบุคคล (Hunman ware) ซึ่งส่วนใหญ่มักเกิดจากความประมาทของผู้ปฏิบัติงานเองเป็นส่วนมาก

ในกฎหมายเกี่ยวกับเครื่องจักร ได้ให้ความหมายไว้ดังนี้

“เครื่องจักร”  หมายความว่า  สิ่งที่ประกอบด้วยชิ้นส่วนหลายชิ้นสำหรับก่อกำเนิดพลังงาน เปลี่ยนหรือแปลงสภาพพลังงาน หรือส่งพลังงาน ทั้งนี้ ด้วยกำลังน้ำ ไอน้ำ เชื้อเพลิง ลม ก๊าซ ไฟฟ้า หรือพลังงานอื่น และหมายความรวมถึงเครื่องอุปกรณ์ ล้อตุนกำลัง รอก สายพาน เพลา เฟือง หรือสิ่งอื่นที่ทำงานสัมพันธ์กัน รวมทั้งเครื่องมือกล

เรียกได้ว่าครอบจักรวาลกันเลยทีเดียวไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือหรืออุปกรณ์ใดก็ตามที่มีส่วนประกอบ หรือกลไกเหล่านี้เข้าใจตรงกันว่าอยู่ในการบังคับใช้ตามกฎหมายฉบับนี้นะครับไปกันต่อ..

“เครื่องป้องกันอันตรายจากเครื่องจักร” หมายความว่าส่วนประกอบหรืออุปกรณ์ที่ออกแบบหรือติดตั้งไว้บริเวณที่อาจเป็นอันตรายของเครื่องจักรเพื่อช่วยป้องกันอันตรายแก่บุคคลที่ควบคุมหรืออยู่ในบริเวณใกล้เคียง

การป้องกันอุบัติภัยในโรงงานซ่อมรถยนต์มีกี่วิธี อะไรบ้าง

หากพูดตามเจตนารมณ์ของกฎหมายสรุปได้ดังนี้

ข้อ 6 นายจ้างต้องดูแลให้ลูกจ้างซึ่งทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรปฏิบัติ คำว่านายจ้างก็ไม่ใช่แต่เพียงเจ้าของเพราะในที่นี้คนที่ดูแลพนักงาน หรือ เรียกอีกชื่อคือตัวแทนนายจ้างก็ได้แก้ จป.บริหาร จป.หัวหน้างานนี่เอง จะต้องช่วยกันควบคุมดูแลให้พนักงานต้องปฏิบัติดังนี้

  1. สวมใส่เครื่องนุ่งห่มให้เรียบร้อยรัดกุม (จำทำเป็น WI การแต่งตัวเลยจะเยี่ยมยอดมาก)
  2. ไม่สวมใส่เครื่องประดับที่อาจเกี่ยวโยงกับสิ่งหนึ่งสิ่งใดได้ (ควรกำหนดในกฎระเบียบการทำงาน)
  3. รวบผมที่ปล่อยยาวเกินสมควรหรือทำอย่างหนึ่งอย่างใดให้อยู่ในลักษณะที่ปลอดภัย (กฎหมายไม่ได้บอกว่าห้ามคนผมยาวทำงานนะแต่บอกว่าให้รวบผมให้เรียบร้อย)

จากข้อกำหนดของกฎกระทรวงข้างต้น บริษัทหรือนายจ้างควร กำหนดเป็นกฎระเบียบขึ้นมา จัดทำ WI ให้ชัดเจน และกำหนดให้พนักงานต้องปฏิบัติตาม เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการทำงาน

ข้อ 7 บริเวณที่มีการติดตั้ง ซ่อมแซม หรือการตรวจสอบเครื่องจักร หรือเครื่องป้องกันอันตรายจากเครื่องจักร นายจ้างต้องติดป้ายแสดงการดำเนินการดังกล่าวโดยใช้เครื่องหมายหรือข้อความที่เข้าใจง่ายและเห็นได้ชัดเจน รวมทั้งใช้ระบบ วิธีการ หรืออุปกรณ์ป้องกัน ไม่ให้เครื่องจักรนั้นทำงาน และแขวนป้ายแสดงเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ห้ามเปิดสวิตช์ไว้ที่สวิตช์ของเครื่องจักรด้วย

จากข้อกำหนดข้างต้น ควรจัดให้มีระบบการขออนุญาตทำงาน (Workpermit) รวมไปถึงการทำระบบ Logout Tagout (LOTO) เข้ามาใช้ ในการทำงานกับเครื่องจักร พร้อมติดป้ายเตือนให้เรียบร้อยเป็นอันจบ

การป้องกันอุบัติภัยในโรงงานซ่อมรถยนต์มีกี่วิธี อะไรบ้าง

ข้อ 8 การประกอบ การติดตั้ง การทดสอบ การใช้ และ การซ่อมแซม การบำรุงรักษา การตรวจสอบ การรื้อถอน หรือการเคลื่อนย้ายเครื่องจักร รถยก ลิฟต์ เครื่องจักรที่ใช้ยกคนขึ้นทำงานบนที่สูง จะต้องปฏิบัติตามคู่มือที่ผู้ผลิตกำหนดเอาไว้ หากไม่มีรายละเอียดหรือคู่มือในการใช้งานเครื่องจักร นายจ้างต้องจัดให้มีวิศวกรเป็นผู้จัดทำรายละเอียดคุณษณะและคู่มือการใช้งานเป็นหนังสือ และต้องมีสำเนาเก็บไว้ให้ราชการสามารถตรวจสอบภายหลังได้อีกด้วย

ข้อ 9 นายจ้างต้องดูแลให้ลูกจ้างที่ทำงานกับเครื่องจักร ตรวจสอบเครื่องจักรให้อยู่ในสภาพดีและปลอดภัยก่อนการใช้งาน ตามระยะเวลาการใช้งานที่เหมาะสม และจัดให้มีการตรวจรับรองประจำปีตามชนิดและประเภทที่อธิบดีประกาศกำหนด

และนี่คือเหตุผลว่า ทำไมต้องกำหนดให้มีการตรวจสอบเครื่องจักรตามการใช้งาน เช่น การตรวจสอบเครื่องจักรประจำวัน (Machine daily check) ก่อนการใช้งาน โดยผู้ใช้งานเอง หรือการตรวจสอบตามรอบที่กำหนด เช่น การตรวจสอบปั้นจั่น ลิฟต์ เป็นต้น

ข้อ 7 ห้ามมิให้นายจ้างใช้หรือยินยอมให้ลูกจ้างใช้เครื่องจักรทำงานเกินพิกัดหรือขีดความสามารถที่ผู้ผลิตกำหนด

จะเห็นว่า ปั้นจั่น รถยก ลิฟต์ หรืออุปกรณ์การยกอื่น จะติดป้ายพิกัดน้ำหนักไว้ อย่างชัดเจน เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานเห็นพิกัดนำหนักที่กำหนดไว้