หลักธรรม พระ มหา กษัตริย์ ใช้ปกครองประเทศ

หลักธรรม พระ มหา กษัตริย์ ใช้ปกครองประเทศ

        พระเจ้าอยู่หัวผู้ทรงธรรมอันประเสริฐ ของแผ่นดินไทย พระองค์คือแบบอย่างแห่งผู้ดำรงธรรม ให้พสกนิกรเห็นประจักษ์ ว่าสิ่งทั้ง

 หลายที่พระองค์ทรงทำ คือ การทำเพื่อประโยชน์สุขของเหล่าอาณาราษฎรอย่างแท้จริงเนื่องในวาระมหามงคล คล้ายวัน

เฉลิม พระชนมพรรษาข้าพระพุทธเจ้า ขอเรียบเรียงเรื่องของ "ทศพิธราชธรรม" เพื่อแสดงให้ประจักษ์ถึง "ธรรมแห่งพระราชา" ไว้เพื่อ

เทอดพระเกียรติคุณแห่งพระองค์ผู้ทรงธรรมขอพระองค์ทรงพระเจริญ

หลักธรรม พระ มหา กษัตริย์ ใช้ปกครองประเทศ

พระผู้ทรงทศพิธราชธรรม

        พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงขึ้นครองราชย์ เป็นพระเจ้าแผ่นดินองค์ที่ ๙ แห่งราชวงศ์จักรี เมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน ๒๔๘๙ 

ต่อมาได้ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก  เมื่อวันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๔๙๓ ในวันมหามงคลนี้ พระองค์ได้ทรงกล่าวเป็นพระปฐม

ราชโองการ อันเปรียบได้ดั่งพระราชสัตยาธิษฐานว่า "เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม"

        การครองแผ่นดินโดยธรรมนี้ นับเป็นพระราชธรรมอย่างหนึ่งของกษัตริย์ ที่มีมาตั้งแต่อดีต ซึ่งท่านกล่าวหมายถึง "ทศพิธราช

ธรรม" อันเป็นพระธรรมแห่งพระราชา ๑๐ ประการ ถ้ากษัตริย์องค์ใดนำเอาธรรม ๑๐ ประการนี้ มาเป็นหลักในการปกครองแว่นแคว้น

 เหล่าอาณาราษฎรจะอยู่เย็นเป็นสุข  พระราชาจะได้คำยกย่องสรรเสริญ พระเกียรติคุณขจรขจายไปทั่วทิศานุทิศ

หลักธรรม พระ มหา กษัตริย์ ใช้ปกครองประเทศ

        หลักธรรมทั้ง ๑๐ ประการ จึงมีมาตั้งแต่อดีตแล้ว ในชาดกหลายแห่งก็มีการกล่าวถึงหลักธรรมทั้ง ๑๐ ประการนี้ ความเป็นพระ

ราชาแห่งกษัตริย์ในอดีต จะยิ่งใหญ่หรือไม่ ส่วนหนึ่งนั้นก็เพราะพระองค์ทรงยึดมั่นในหลักธรรมทั้ง ๑๐ ประการนี้ด้วยเช่นกัน มิใช่ว่าจะ

ยิ่งใหญ่ด้วยกองทัพและรี้พลอันทรงอานุภาพส่วนเดียว

        แม้ว่าในอดีตนั้น กษัตริย์คือผู้นำทางทหาร การปกครองบ้านเมืองเป็นอำนาจเด็ดขาดของพระราชา รวมถึงการกรีฑาทัพไปรบ

และแย่งชิงดินแดนของแว่นแคว้นอื่นๆ ก็เป็นการประกาศความเกรียงไกรของกษัตริย์ทางหนึ่งด้วย

        สำหรับกษัตริย์ของแผ่นดินไทยนั้น พระองค์ได้ประกาศตนเป็นพระธรรมิกราช หรือพระราชาผู้ทรงธรรม อันเป็นพระนามที่มีมา

ตั้งแต่ยุคสุโขทัย เรื่อยมาจนถึงยุครัตนโกสินทร์ ดังมีคำกล่าวว่า "ทรงตั้งอยู่ในราชธรรม ๑๐ ประการ ทรงเบญจางคิกศีล และอัษฎางคิก

ศีลเป็นอุโบสถศีล" หมายถึงว่า พระราชาทรงตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรม ทรงรักษาศีล ๕ ในวันปกติ และทรงรักษาศีล ๘ ในวันพระ ด้วย

        นับตั้งแต่พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ทรงขึ้นครองราชย์ พระองค์ได้ทรงยึดแนวทางแห่งธรรมิกราชนี้มาเป็นแบบอย่างในการ

ครองแผ่นดิน เราจะเห็นได้จากพระราชกรณียกิจมากมายของพระองค์ พระองค์เป็นกษัตริย์ที่ทรงตรากตรำทรงงานเพื่อสร้างความเจริญ

รุ่งเรืองแก่บ้านเมือง พระองค์ทรงมุ่งหวังให้พสกนิกรภายใต้การปกครองของพระองค์อยู่กันอย่างมีความสุข มีศีลและมีธรรม

หลักธรรม พระ มหา กษัตริย์ ใช้ปกครองประเทศ

        ทศพิธราชธรรม ๑๐ ประการ คือ 

(๑) ทาน คือ การให้ ตามนัยแห่งทศพิธราชธรรม หมายถึงการให้สิ่งของและวิชาความรู้ ที่มุ่งเพื่อประโยชน์สุขของผู้อื่น พระองค์ได้

ทรงบำเพ็ญทานอย่างต่อเนื่อง ทั้งอามิสทาน (การให้สิ่งของ) และธรรมทาน (การให้ธรรมะและความรู้) เพราะสิ่งที่พระองค์ทรงปฏิบัติ

นั้น พระองค์มุ่งไปที่ประโยชน์ของประชาชนไทยทั้งหมด ไม่มีการแบ่งฝักฝ่าย แบ่งภาคเป็นเหนือใต้ และไม่แบ่งว่าใครนับถือศาสนาใด

อีกด้วย การให้ของพระองค์เป็นไปย่างทั่วถึงทั้งแผ่นดิน

(๒) ศีล คือ ความประพฤติดีงาม  การสำรวมระวังกายและวาจา การรักษาศีลก็เหมือนกัน ศีลที่พระองค์ทรงรักษานั้น มีความซื่อสัตย์

สุจริต เป็นแบบอย่างที่ดีของคนทั้งหลาย ทรงมุ่งหมายไปยังมหาชนส่วนใหญ่ มุ่งไปที่การไม่ก่อให้เกิดความเบียดเบียนและความร่มเย็น

ของประชาชนทั้งหลาย

(๓) บริจาค การเสียสละ  พระเจ้าอยู่หัวของเราได้ทรงเสียสละความสุขส่วนพระองค์ หรือประโยชน์ส่วนพระองค์ เพื่อทรงบำเพ็ญ

ประโยชน์แก่พสกนิกรทั้งหลาย เราจะเห็นถึงพระราชภารกิจมากมายของพระองค์ ทุกๆ อย่างนั้น พระองค์ทรงทำเพื่อประชาชนส่วนใหญ่

 ทุกครั้งที่เกิดเภทภัยในแผ่นดิน พระองค์จะทรงสละเวลาและแสดงความเป็นห่วงต่อสิ่งที่ประชาชนได้รับ พระองค์ไม่เคยที่จะปล่อยให้

ประชาชนต้องรับเคราะห์กรรมโดยที่พระองค์ไม่เคยช่วยเหลืออะไรเลย พระองค์จะทรงสละทั้งทรัพย์สินส่วนพระองค์และทรงหาร

ทางอื่นๆ มาเยียวยาความเดือดร้อนของพสกนิกรทุกครั้ง

หลักธรรม พระ มหา กษัตริย์ ใช้ปกครองประเทศ

(๔) อาชชวะ ความซื่อตรง หรือความสุจริต พระองค์เป็นแบบอย่างที่ดีของความซื่อสัตย์ และพระองค์จะทรงประทานพระบรม

ราโชวาทแก่ข้าราชการและคณะรัฐมนตรี ให้ปฏิบัติราชการแผ่นดินด้วยความซื่อสัตย์สุจริต

(๕)  มัททวะ คือ ความอ่อนโยน ความสุภาพเรียบร้อย ความไม่เย่อหยิ่ง ความไม่หลงตัวเอง  ข้อนี้เราจะเห็นได้จากภาพต่างๆ ทางสื่อ

มวลทั้งหลาย พระองค์ทรงตรัสถามและทักทายผู้ที่เข้าเฝ้าด้วยอ่อนโยน ให้เกียรติผู้อื่น และไม่ทรงถือว่าพระองค์เป็นพระเจ้าอยู่หัว

(๖) ตบะ คือความเพียรเผากิเลส  ข้อนี้เป็นหลักธรรมอันลึกซึ้ง แต่ก็เห็นได้เสมอในจริยาวัตรของพระเจ้าอยู่หัว นั่นคือ การที่พระองค์

เป็นแบบอย่างที่ดีในการปฏิบัติอย่างพอเพียง ทรงเป็นแบบอย่างของความมักน้อย ไม่หลงระเริงกับสิ่งปรนเปรอความสุขทั้งหลาย การใช้

จ่ายอย่างประหยัด เป็นต้น

(๗) อักโกธะ คือ  ความไม่โกรธ คือการไม่ตกอยู่ในอำนาจของความโกรธ คือ ความมีเมตตาต่อผู้อื่น พระเจ้าอยู่หัวจะมีพระเมตตาต่อ

พสกนิกรของพระองค์อย่างหาที่จำกัดขอบเขตไม่ได้ ไม่ว่าคนผู้นั้นจะเป็นใคร หากพระองค์ทรงทราบความเดือดร้อนของเขา พระองค์

ต้องทรงสอบถามถึงและให้ความช่วยเหลือด้วยความเมตตาเสมอ

(๘) อวิหิงสา คือ ความไม่เบียดเบียน คือ ความกรุณา ที่พระเจ้าอยู่ทรงมีต่อประชาชนทั้งหลาย หลักธรรมข้อนี้ พระองค์ทรงบำเพ็ญ

มาด้วยความต่อเนื่อง  เช่นเดียวกันกับความเมตตาของพระองค์

(๙) ขันติ คือ ความอดทน ธรรมะข้อนี้ หมายถึงความอดทนต่อทุกสิ่งทุกอย่าง ทั้งทางพระวรกายและทางพระทัย พระเจ้าอยู่หัวทรงมี

ความอดทนอย่างสูงยิ่ง ทุกครั้งที่พระองค์ทรงเสด็จเยี่ยมราษฎรในต่างจังหวัด พระองค์จะทรงอดทนต่อความเหนื่อยล้าทรงวรกาย  บาง

ครั้งองค์ทรงเสด็จพระราชดำเนินเป็นระยะทางไกลๆ แม้ท่ามกลางความทุระกันดาร พระองค์ก็ไม่ทรงย่อท้อ นอกจากนี้ พระองค์ยังมี

ความอดกลั้นทางจิตใจสูง ภาพต่างๆ ที่ชาวไทยได้เห็น ในเวลาที่พระองค์เสด็จไปในงานพระราชพิธีต่างๆ พระองค์จะทรงนิ่งสงบเป็น

เวลานานนับชั่วโมง แสดงถึงความอดทนทางจิตของพระองค์ ที่ทรงผ่านการฝึกจิตสมาธิมาอย่างดีแล้ว

(๑๐) อวิโรธนะ ความไม่คลาดจากธรรม นั่นคือ การยึดมั่นในหลักการปกครองที่พระองค์ได้ทรงตั้งปณิธานไว้แล้ว  ด้วยพระสติปัญญา

ของพระองค์ที่ทรงบำเพ็ญมาอย่างสม่ำเสมอ ทำให้พระองค์ทรงยึดมั่นในพระธรรมทั้งหลายอย่างดี ไม่ทรงหวั่นไหวต่อแรงกระทบอื่นใด

        ท่ามกลางความผันผวนและความรุนแรงทางการเมือง ตลอดระยะเวลากว่า ๖๐ ปี ที่พระองค์ทรงครองราชย์มา แสดงให้เราเห็น

ถึงพระปณิธานอันมั่งคงของพระองค์ พระองค์จะยึดมั่นในกฎ กติกา ทั้งทางจารีตประเพณีและทางกฎหมายอย่างเคร่งครัด พระองค์ยัง

ดำรงพระองค์ด้วยความเป็นกลางทางการเมือง เสมอมา

        พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ จึงทรงเป็นแบบอย่างอันดีงามของพระมหากษัตริย์ ผู้ทรงครองแผ่นดินโดยธรรมอย่างแท้จริง กาลเวลา

 กว่า ๖๐ ปี ที่พระองค์ทรงครองราชย์ พระองค์ได้ทรงบำเพ็ญประโยชน์เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม

        นอกเหนือไปจากทศพิธราชธรรม ๑๐ ประการแล้ว พระองค์ยังทรงธรรมะด้านอื่นๆ อีกมากมาย จนยากจะเขียนถึงพระราชธรรม

ของพระมหาราชผู้ทรงธรรมได้หมด พระองค์จึงเป็นที่รักของประชาชนชาวไทยทุกหมู่เหล่า ทุกเชื้อชาติ ทุกชนชั้น ทุกภาค และทุกๆ 

อาชีพ เพราะพระองค์ทรงประกอบกิจทุกอย่าง เพื่อประชาชนในแผ่นดิน

จัดทำโดย

นางสาว สุพรรษา ปีสวัสดิ์ ชั้นมัธยมศึกษาที่ 6/8 

โรงเรียนสระแก้ว 

หลักธรรมที่พระมหากษัตริย์ใช้ในการปกครองคือหลักธรรมใด

ทศพิธราชธรรม หรือ ราชธรรม 10 คือจริยวัตร 10 ประการที่พระเจ้าแผ่นดินทรงประพฤติเป็น หลักธรรม ประจำพระองค์ หรือเป็นคุณธรรมประจำตนของผู้ปกครองบ้านเมือง ให้มีความเป็นไปโดยธรรมและยังประโยชน์สุขให้เกิดแก่ประชาชนจนเกิดความชื่นชมยินดี ซึ่งความจริงแล้วไม่ได้จำเพาะเจาะจงสำหรับพระเจ้าแผ่นดินหรือผู้ปกครองแผ่นดินเท่านั้น บุคคลธรรมดา ...

พระมหากษัตริย์ควรยึดหลักธรรมใดในการปกครองประเทศ

ทศพิธราชธรรม หรือธรรมของพระราชา 10 ประการ สถาบันพระมหากษัตริย์ไทยยึดมั่น ในทศพิธราชธรรมอันมีคุณค่ายิ่ง ได้แก่ 1. การให้ รวมถึงการพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ ทรงเสียสละความสุขส่วนพระองค์ เพื่อประชาชน พระราชดำริริเริ่มในการพัฒนาประเทศ ทรงปฏิบัติราชการทั้งปวงเพื่อพสกนิกรของพระองค์

ธรรม 10 ประการมีอะไรบ้าง

ทาน (ทานํ) การให้ คือ สละทรัพย์สิ่งของ บำรุงเลี้ยง ช่วยเหลือประชาราษฎร์ และบำเพ็ญสาธารณประโยชน์.
ศีล (สีลํ) ... .
ปริจจาคะ (ปริจฺจาคํ) ... .
อาชชวะ (อาชฺชวํ) ... .
มัททวะ (มทฺทวํ) ... .
ตปะ (ตปํ) ... .
อักโกธะ (อกฺโกธํ) ... .
อวิหิงสา (อวิหึสญฺจ).