การเริ่มต้นอาร์กมีกี่แบบ อะไรบ้าง

การเริ่มต้นอาร์กมีกี่แบบ อะไรบ้าง

การเริ่มต้นอาร์กมีกี่แบบ อะไรบ้าง

16. การปรับตั้งกระแสไฟเชื่อม

โดยปกติ การปรับกระแสไฟที่ใช้ในการเชื่อม  จะดูได้จากข้างกล่องลวดเชื่อม ของผู้ผลิตลวดเชื่อมแต่ละยี่ห้อ  โดยข้างกล่องจะระบุ ชนิดกระแสที่ใช้ AC หรือ DC ขนาดแรงดันในแต่ละท่า  ซึ่งจะระบุบนข้างกล่อง  ช่างเชื่อมสามารถพิจารณาเลือกขนาดแรงดันได้  หรือ สามารถพิจารณาได้จาก
40 คูณ เส้นผ่าศูนย์กลางลวดเชื่อม (40 x เส้นผ่าศูนย์กลางลวดเชื่อม) ได้เท่าไร บวก ลบ ค่าที่ได้อีกประมาณ 15 แอมป์  ตัวอย่าง ช่างเชื่อมใช้ลวดเชื่อมขนาด  เส้นผ่าศูนย์กลาง3.2 มม. ในการคำนวณ
40 x 3.2 =  128 บวกเพิ่ม 15  = 143  ลบ 15 = 113
ฉะนั้น แรงดันกระแสไฟเชื่อมสามารถใช้ได้ประมาณตั้งแต่  113 – 143 แอมป์

การเริ่มต้นอาร์กมีกี่แบบ อะไรบ้าง

  1. ระยะอาร์ค
    คือระยะห่าง ระหว่างลวดเชื่อม กับชิ้นงาน ทำให้เกิดการอาร์คซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดของฟลักซ์เป็นองค์ประกอบ เช่นฟลักซ์ เป็นแบบ รูไทล์(R ) แบบกรด(A ) แบบเซลลูโลส (C )และ แบบด่าง (B )
    ในกรณีที่ฟลักซ์เป็นแบบ R, A, C
    ระยะอาร์ค = 1.0 x d (d=เส้นผ่าศูนย์กลางของลวดเชื่อม)
    ในกรณีที่ฟลักซ์เป็นแบบ B
    ระยะอาร์ค = 0.5 x d (d =เส้นผ่าศูนย์กลางของลวดเชื่อม)
    ฉะนั้นช่างเชื่อมต้องพิจารณาถึง ชนิดของฟลักซ์ ซึ่งระยะ อาร์คแตกต่างกัน เช่น ฟลักซ์แบบด่าง (E7016) หรือภาษาช่างเชื่อมว่า ลวดแข็ง จำเป็นต้องใช้การจุดอาร์คที่ชิดในการเริ่มต้นอาร์ค หรือในบางครั้งเมื่อช่างเชื่อม เชื่อมไปได้ครึ่งลวดเชื่อม แล้วหยุด เมื่อจะจุดอาร์ค อีกครั้ง การจุดอาร์คยาก เคาะอย่างไรก็ไม่เริ่มจุดอาร์ค ซึ่งช่างเชื่อมบางคนเรียกว่า  ลวดเชื่อมตาแตก เพราะตอนจุดอาร์ค โดยมีหน้ากากปังอยู่ไม่เกิดการอาร์ค แต่พอ ลดหน้ากากกรองแสงลง เพื่อดูว่าเกิดอะไรขึ้น พร้อมทำการ เคาะจุด อาร์คอีกครั้ง การอาร์คเกิดขึ้นท าให้ตามองไม่เห็น หรือ ที่เรียกว่า ตาบอดชั่วคราว
    การแก้ไขถ้าใช้ลวดเชื่อมแบบด่าง(เบสิค) เมื่อเชื่อมได้ครึ่งลวดเชื่อม ช่างเชื่อมควรใช้มือที่ใส่ถุงมือ
    บิดหรือ เคาะฟลักซ์ออกให้เห็นแกนลวดเชื่อมก่อน  ก่อนทำการจุดอาร์คต่อไป
  2. หน้าที่ของฟลัก
    18.1  เพื่อช่วยให้การส่งน้ าโลหะผ่านช่องว่าง เพื่อก่อตัวเป็นแนวเชื่อม
    ช่วยในการจุดอาร์ค (arc ignition)
    ทำให้อาร์คเสถียร
    18.2 เพื่อให้เกิดสแลก (slag)
    มีอิทธิพลต่อขนาดของหยดน้ าโลหะ
    ป้องกันการเกิดออกซิเดชั่น และไนไตรด์ที่จะเกิดกับเนื้อโลหะเชื่อม จากบรรยากาศรอบๆ
    ทำให้ได้รูปร่างของแนวเชื่อมตามต้องการ
    ป้องกันไม่ให้แนวเชื่อมเย็นตัวเร็วเกินไป

18.3  เพื่อสร้างแก๊สคลุม (คาร์บอนไดออกไซด์ CO2 คาร์บอนมอนนอกไซด์ CO) ซึ่งได้จาก สารอินทรีย์และคาร์บอเนต

18.4 เพื่อการก าจัดออกซิเจน (Deoxygenizing) และการเติมโลหะผสม (alloying) ให้กับเนื้อโลหะเชื่อมลวดเชื่อมชนิดให้การคืนตัวเป็นโลหะเชื่อมสูง (High Metal Recovery Electrodes)
ลวดเชื่อมประสิทธิภาพสูง (High Efficiency Electrodes)
การคืนตัวเป็นเนื้อโลหะเชื่อม หมายถึง น้ฎหนักของเนื้อโลหะที่ก่อตัวเป็นแนวเชื่อมเทียบกับน้ำหนักของแกนลวดเชื่อมเท่าที่ใช้ไป
อัตราการคืนตัวเป็นเนื้อโลหะเชื่อม =   Ww – WB x 100 %
Wc

Ww  = น้ำหนักชิ้นงานรวมน้ำหนักเนื้อโลหะเชื่อม

WB   = น้ำหนักชิ้นงานก่อนเชื่อม

Wc   = น้ำหนักแกนลวด (คำนวณ หรือ ชั่ง)

  1. ผลของฟลักซ์ต่อการใช้งาน
    ทำให้เกิดลักษณะของอาร์คที่แตกต่างกัน กล่าวคือ
    – อาร์คง่าย นิ่ม ก่อแนวเชื่อมได้สวยงาม
    – อาร์คยาก ลวดเชื่อมดูดติดชิ้นงานบ่อยๆ ต้องกระแทกเพื่อจุดอาร์ค
    – อาร์ครุนแรง และเผาไหม้อย่างรวดเร็ว
    การแพร่กระจายของไฮโดรเจน (HD) หน่วยเป็น มิลลิลิตร ต่อ 100 กรัมเนื้อโลหะเชื่อม
    การเกิดแกสออกซิเจน (%)
    ความชื้นและการอบลวด
    การบรรจุหีบห่อ
    DCEN ให้การซึมลึกมากกว่า ในขณะที่ DCEP เดินแนวเชื่อมได้เร็วกว่า เฉพาะลวดเชื่อมที่ยอมได้ ทั้ง +/- เท่านั้น
    เชื่อม DC ผิดขั้วจากที่ระบุ ทำให้เกิด
    – เม็ดโลหะเกาะติดชิ้นงาน (spatter)
    – รูพรุน (porosity)
    – การซึมลึกไม่เพียงพอ (Incomplete Penetration)
    – สแลกผังใน (Slag Inclusion)
    – อาร์คไม่เสถียร (Unstable Arc)
  2. การเก็บรักษาลวดเชื่อม

ลวด เชื่อมที่เสื่อมคุณภาพเมื่อนำไปเชื่อม  สารพอกหุ้มจะเกิดการแตก  ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้รอบเชื่อมแตกร้าว  ซึ่งมีสาเหตุมาจากลวดเชื่อมเกิดความชื้น  ดังนั้นในการเก็บรักษาลวดเชื่อมจะต้องให้อยู่ในสภาพที่แห้งอยู่เสมอ  และเป็นไปตามข้อกำหนดเฉพาะในการเก็บลักษณะของลวดเชื่อมชนิดนั้น ๆ
ในกรณีที่ลวดเชื่อมชื้น  ก่อนที่จะนำไปใช้งาน  จะต้องอบให้แห้งเสียก่อน  โดยใช้เตาอบลวดเชื่อมให้ความร้อนประมาณ  500 องศาฟาเรนไฮต์  (260 องศาเซลเซียส) เป็นเวลาประมาณ  2  ชั่วโมง  จากนั้นนำไปเก็บในอุณหภูมิที่เหมาะสม  เพื่อใช้งานต่อไป

  1. การเลือกใช้ลวดเชื่อม

ควร จะต้องพิจารณาเลือกใช้ตามลักษณะขององค์ประกอบหลัก   3  ด้าน คือ  ด้านเทคนิคการเชื่อม   ด้านโลหะวิทยา  และด้านเศรษฐศาสตร์  ดังนี้

  1. ความแข็งแรงของเนื้อโลหะงาน ลวดเชื่อมต้องมีคุณสมบัติเชิงกลสูงกว่าหรือใกล้เคียงกับโลหะงาน
    2. ส่วนผสมของโลหะงาน ลวดเชื่อมต้องมีส่วนผสมที่เหมือนกับโลหะงาน
    3. ตำแหน่งเชื่อมหรือท่าเชื่อม  ลวดแต่ละชนิดจะกำหนดท่าเชื่อมไว้จะต้องเลือกให้เหมาะสมกับท่าเชื่อม
    4. ลักษณะรอยต่อแนวเชื่อมว่าต้องการแนวเชื่อมที่มีการซึมลึกมาก  หรือน้อย
    5. กระแสไฟเชื่อม ลวดเชื่อมบางชนิดเหมาะส าหรับกระแสไฟตรง หรือกระแสไฟสลับอย่างเดียว
    6. ความหนาของชิ้นงาน  ชิ้นงานที่หนาควรเลือกลวดเชื่อมที่มีความเหนียวสูง   เพื่อป้องกันการแตกร้าว
    7.  ควรจุดติดอาร์คได้ง่าย  และเปลวอาร์คสม่ำเสมอ
    8.  สามารถเชื่อมท่าบังคับ  ตามสภาพงานได้ดี
    9.  สารพอกหุ้มจะต้องยึดเกาะกับแกนลวดดี   มีความยืดหยุ่นดี  ไม่แตกร่อนง่าย
    10. เกิดสารพิษ  แก๊ส  ควัน  ฝุ่นในปริมาณน้อย
    11. ให้อัตราการหลอมละลายสูง  ให้เนื้อเชื่อมมาก  สูญเสียจากการกระเด็นต่ำ
    12. ผิวหน้ารอยเชื่อมดี
    13. สามารถทนกระแสไฟฟ้าสูงได้
    14. สามารถแยกสแลคออกได้ง่าย
    15. มีคุณสมบัติทางกลสูงกว่าหรือเท่ากับโลหะงาน
    16. ส่วนผสมของลวดเชื่อมจะต้องเหมือนกัน  และเข้ากันได้กับโลหะงาน
    17. ไม่ไวต่อสารแยกตัวในเนื้อเหล็ก  เช่น  การเชื่อมงานที่มีความหนามาก ๆ  เพื่อป้องกันการ
    แตกร้าวในขณะร้อน  หรือแตกร้าวในกรณีเย็นตัวไม่สมบูรณ์
  2. จุดบกพร่องที่เกิดขึ้นบ่อยในงานเชื่อมอาร์คโลหะด้วยมือ
    22.1การเกิดเปลวอาร์คเบี่ยงเบน (Arc Blow Effect)
    ผลกระทบจาก เปลวอาร์คเบี่ยงเบน หรือ สามารถบางครั้งเรียกทับศัพท์ตามภาษาอังกฤษได้ว่า “เกิดอาร์คโบล” ซึ่งเปลวอาร์คที่เกิดขึ้นเสมือนกับตัวนำกระแสไฟฟ้าทั่วไป คือ จะครอบคลุมด้วยสนามแม่เหล็ก ถ้าสนามแม่เหล็กเปลี่ยนทิศทาง  เปลวอาร์คก็จะเปลี่ยนทิศทางตามไปด้วย  จึงเรียกว่าเปลวอาร์คเบี่ยงเบน (Arc blow)  ส่วนใหญ่ กรณีที่เกิดเปลว อาร์คเบี่ยงเบน (Arc blow)  จะเกิดเฉพาะในกรณีกระแสไฟตรง (DC)

 

การเริ่มต้นอาร์กมีกี่แบบ อะไรบ้าง
การเริ่มต้นอาร์กมีกี่แบบ อะไรบ้าง
การเริ่มต้นอาร์กมีกี่แบบ อะไรบ้าง

การแก้ไขการเกิด เปลวอาร์กเบี่ยงเบน (Arc blow)
– เอียงมุมลวดเชื่อม
– ต่อสายดินชิ้นงานทั้งสองข้าง
– ย้ายตำแหน่งแคล้มจับชิ้นงาน
– ทำการเชื่อมแต้มหลายจุด
– ให้ความร้อนชิ้นงาน ก่อนการเชื่อม
– ใช้กระแสไฟสลับ (AC ) แทน กระแสตรง (DC)

22.2 ข้อบกพร่องในแนวเชื่อม สำหรับการเชื่อมต่อตัวที

การเริ่มต้นอาร์กมีกี่แบบ อะไรบ้าง

การแก้ไขการกัดแหว่ง (Undercuts)
– ลดกระแสไฟเชื่อมลงกว่ากระแสไฟเชื่อมครั้งแรก ประมาณ 5 – 10 แอมแปร์
– ควบคุมมุมเอียงลวดเชื่อมให้เหมาะสมกับชั้นแนวเชื่อมนั้น ๆ
– ควบคุมระยะอาร์คให้ใกล้กับบริเวณทำการเชื่อม
– ควบคุมความเร็วในการเชื่อมให้สม่ำเสมอ
– ควบคุมการหยุดที่ขอบแนวอย่าให้ช้าหรือเร็วเกินไป  และในขณะเชื่อมช่างเชื่อมต้องสังเกตและพยายามเติมเนื้อแนวเชื่อมให้เต็มเสมอบริเวณที่ขอบแนว

การเริ่มต้นอาร์กมีกี่แบบ อะไรบ้าง

การแก้ไขการเกิด สแลคฝังใน (Slag inclusions)
– ปรับกระแสไฟเชื่อมให้สูงชิ้นกว่าเดิมประมาณ 5 – 15 แอมแปร์
– ควบคุมการเดินลวดเชื่อมให้ช้าลง
– ทำความสะอาดเศษสแลคในแนวเชื่อมก่อนการเชื่อมทับหน้าทุกครั้ง และทำความสะอาดแบบ 100 % ซึ่งช่างเชื่อมต้องมั่นใจว่าไม่มีเศษสแลค ก่อนทำการเชื่อม

การเริ่มต้นอาร์กมีกี่แบบ อะไรบ้าง
การแก้ไขการเกิดรูพรุน (Gas pores)
– ต้องทำความสะอาดผิวชิ้นงานทุกครั้งก่อนปฏิบัติการเชื่อม โดยอาจจะใช้แปรงลวดขัด ใช้เครื่องเจียระไน ใช้แอลกอฮอล์เช็ดบริเวณผิวชิ้นงานก่อนปฏิบัติงานเชื่อม
– ควบคุมระยะอาร์คให้ใกล้กับบริเวณทำการเชื่อม เช่นถ้าใช้ลวดเชื่อมเบสิค (ด่าง) ระยะอาร์ก ประมาณ  0.5 คูณ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของลวดเชื่อม
– ควบคุมความชื้นในลวดเชื่อม เช่น ถ้าเป็นลวดเชื่อมเบสิค (ด่าง) ควรมีการอบลวดเชื่อมก่อนปฏิบัติการเชื่อม
– ควบคุมมุมของลวดเชื่อมอย่าให้เอียงมากจนเกินไป

การเริ่มต้นอาร์กมีกี่แบบ อะไรบ้าง
การแก้ไขรอยร้าวปลายแนวเชื่อม (End craters)
– ควบคุมการเติมเนื้อแนวเชื่อมให้เต็มบริเวณปลายแนวเชื่อมโดยเมื่อใกล้บริเวณจุดสิ้นสุดแนวให้เดินลวดเชื่อมถอยกลับและเดินหน้าจนบริเวณปลายแนวเชื่อมเต็มแนว
หรือ
– เมื่อใกล้บริเวณปลายแนวให้ยกลวดเชื่อมออกบริเวณปลายแนวให้เปลวอาร์กดับ แล้วกลับมาจุดอาร์คอีกครั้งบริเวณปลายแนว  ทำสลับกันจนปลายแนวเชื่อมเติมเต็ม

การเริ่มต้นอาร์กมีกี่แบบ อะไรบ้าง
การแก้ไขรอยร้าวบริเวณเขตรอยต่อ (Cracks in the weld-interface region)
– เปลี่ยนชิ้นงานเชื่อม
– ชิ้นงานหลังจากการเชื่อมแล้ว ปล่อยให้ชิ้นงานเชื่อมเย็นตัวอย่างช้า ๆ

การเริ่มต้นอาร์กมีกี่แบบ อะไรบ้าง
23. องค์ประกอบที่สำคัญในการเชื่อม
1. เลือกชนิด ลวดเชื่อม  ชนิดกระแสไฟเชื่อม (กระแสตรง(DC) กระแสสลับ(AC)) เลือกปรับ
แรงดันได้ถูกต้อง
2. ปรับระยะอาร์ค  มุมลวดเชื่อม ที่ถูกต้อง
3. ใช้เทคนิคการส่ายลวดเชื่อมที่ถูกต้อง
4. จัดตำแหน่งท่าเชื่อม  ในกรณีเชื่อมท่าตั้ง ท่าขนานนอน ชิ้นงานควรวางอยู่ประมาณระหว่างหน้าอกกับท้อง ของช่างเชื่อม  จัดตำแหน่งท่าเชื่อมของช่างเชื่อมเอง พยายามจัดท่าให้ผ่อนคลายมากที่สุด  และสวมอุปกรณ์ป้องกันร่างกายเช่น เอี๊ยม ถุงมือ ปอกแขน สลับเท้า ให้พร้อม
5. กำลังภายในของช่างเชื่อม คือ ช่างเชื่อมพร้อมที่จะทำงานเชื่อม มีพละกำลังในการทำงานเพราะงานเชื่อมเป็นงานเชื่อมที่ค่อนข้างหนัก และ ร้อน ซึ่งช่างเชื่อมต้องพร้อมที่จะปฏิบัติงานเชื่อม
6. สมาธิ ที่ดี

จากองค์ประกอบที่กล่าวมาข้างต้น เชื่อได้ว่าเมื่อช่างเชื่อมปฏิบัติครบทุกหัวข้อที่ถูกต้องแล้ว ส่งผลให้ช่างเชื่อมสามารถพัฒนาทักษะด้านงานเชื่อมเพิ่มขึ้น และเมื่อมีทักษะเพิ่มมากขึ้น จะเกิดความชำนาญมากขึ้นตามไปด้วย  ซึ่งจะทำให้ได้ คุณภาพของแนวเชื่อมรวมทั้งการปฏิบัติงานเชื่อมมีประสิทธิภาพสูงสุด  ทำให้เกิดการจ้างงานมากขึ้น  ค่าแรงช่างเชื่อมเพิ่มขึ้น

สนใจตู้เชื่อมไฟฟ้า เครื่องเชื่อมCo2 เครื่องเชื่อมอาร์กอน เครื่องตัดพลาสม่า อย่างลังเลที่จะโทรหาเรา 083-0234002 ไลน์ไอดี:AB20

กลับไปหน้าร้านของเรา

การเริ่มต้นอาร์กมีกี่แบบ อะไรบ้าง

การเริ่มต้นอาร์กมีกี่แบบ อะไรบ้าง

Co2 Rilon ตู้เชื่อมRilon ตู้เชื่อมซีโอทู.ตู้เชื่อมMIG ตู้เชื่อมอินเวอร์เตอร์ อินเวอร์เตอร์ เครื่องเชื่อม mig

12.2 เครื่องเชื่อมชนิดกระแสตรงขับด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า (Motor Generator Welding Machine)
เครื่องเชื่อมชนิดนี้ทำงานโดยรับไฟฟ้ากระแสสลับป้อนเข้ามอเตอร์ เพื่อใช้ขับ Generator และ Generator จะจ่ายกระแสไฟตรงที่มีความเรียบ  เมื่อนำไปใช้ในการเชื่อม

การเริ่มต้นอาร์กมีกี่แบบ อะไรบ้าง

ภาพ เครื่องเชื่อมกระแสตรง
ขับด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า

 

 

 

 

 

 

 

 

 

12.3 เครื่องเชื่อมแบบหม้อแปลงไฟฟ้า (Transformer welding machines)
เครื่องเชื่อมแบบหม้อแปลงเป็นที่นิยมใช้กันทั่วไป ราคาถูก น้ำหนักเบา และมีขนาดเล็กกว่า เครื่องเชื่อมแบบอื่น ๆ ซึ่งเครื่องเชื่อมแบบนี้จะผลิตเฉพาะกระแสไฟสลับ (AC) เท่านั้น  หลักการทำงานของเครื่องเหมือนกับหม้อแปลงไฟ โดยนำกระแสที่มีแรงเคลื่อนสูง (220 โวลท์) ป้อนเข้าขดลวดปฐมภูมิ (Primary) และจ่ายออกทางขดลวดทุติยภูมิ (Secondary) เป็นไฟแรงเคลื่อนต่ำ กระแสสูงเพื่อให้เหมาะแก่การเชื่อมโลหะ  ถึงแม้ว่าเครื่องเชื่อมหม้อแปลงจะมีข้อดีหลายประการ     แต่ข้อจำกัดของเครื่องเชื่อมระบบนี้ก็มี  เช่นกระแสไฟที่ป้อนเข้าเครื่องเชื่อมจะต้องเป็นแบบ 1 เฟส (single phase) ซึ่งจะทำให้เกิดการไม่สมดุลในสายได้ และเครื่องเชื่อมแบบหม้อแปลงมี power factor ต่ำเว้นแต่จะเพิ่ม capacitor เข้าไป

การเริ่มต้นอาร์กมีกี่แบบ อะไรบ้าง

 

12.4 เครื่องเชื่อมกระแสตรงแบบเครื่องเรียงกระแส (Rectifier Type DC welding machine)
เครื่องเชื่อมกระแสตรงแบบเครื่องเรียงกระแสประกอบด้วยหม้อแปลงไฟฟ้า  และซิลิกอนหรือซิลิเนียมที่ทำหน้าที่แปลงกระแสไฟสลับให้เป็นกระแสตรง  ซึ่งซิลิกอนและซิลิเนียมนั้น เป็นสารกึ่งตัวนำไฟฟ้าที่ยอมให้อีเลคตรอนไหลผ่านได้สะดวกเพียงทางเดียว ส่วนอีกทิศทางหนึ่งอีเลคตรอนจะไหลผ่านได้สะดวกเพียงทางเดียว  ส่วนอีกทิศทางหนึ่งอีเลคตรอนจะไหลผ่านไม่สะดวก เครื่องเชื่อมนี้สามารถใช้งานได้ทั้งไฟDCEP และไฟ DCEN อุปกรณ์ประกอบหลักภายในเครื่องไม่มีการเคลื่อนที่  ยกเว้นพัดลมระบายความร้อนเท่านั้น. เครื่องเชื่อมชนิดนี้ จึงสามารถทำงานได้อย่างเงียบเชียบและบำรุงรักษาน้อย สำหรับกระแสไฟที่ป้อนเข้าเครื่องจะเป็นแบบ 3 เฟส แต่มอเตอร์ระบายความร้อนจะเป็นแบบ 1 เฟส

การเริ่มต้นอาร์กมีกี่แบบ อะไรบ้าง

 

12.5 เครื่องเชื่อมแบบผสมหม้อแปลง -เครื่องเรียงกระแส  (Transformer-Rectifier welding machine)

เครื่องเชื่อมแบบหม้อแปลงจะผลิตเฉพาะกระแสไฟฟ้าสลับ ซึ่งให้ผลดีกับการเชื่อมด้วย ลวดเชื่อม
บางชนิดเท่านั้น แต่ยังมีลวดเชื่อมอีกบางชนิดที่ต้องเชื่อมด้วยกระ แสไฟตรง  ซึ่งผลิตโดยการหมุนเจเนอเร
เตอร์หรือใช้เรคติไฟเออร์เปลี่ยนกระแสไฟสลับให้เป็นกระแสไฟตรง
เครื่องเชื่อมแบบผสมหม้อแปลงเครื่องเรียงกระแสนี้   ใช้หลักการของเรคไฟเออร์ มาต่อเข้ากับ
หม้อแปลง โดยมีสวิทช์สับเปลี่ยนขั้วไฟ ซึ่งจะให้ทั้งกระแสไฟสลับ (AC) เมื่อผ่านออกมาจากหม้อแปลงและ
จะให้กระแสไฟตรง (DC) เมื่อผ่านออกมาจากเรคติไฟเออร์
ข้อดีของเครื่องเชื่อมชนิดนี้มีดังนี้

  • –  สามารถใช้ได้กับไฟ 3 เฟส เพื่อเป็นการลดปัญหาของความไม่สมดุลย์ในสายไฟ
  • – สามารถใช้เชื่อมได้ทั้งงานที่เป็นเหล็กและโลหะที่ไม่ใช่เหล็ก
  • – สมรรถนะสูงกว่าเครื่องเชื่อมไฟตรงแบบเจเนอเรเตอร์
  • –  สามารถผลิตกระแสเชื่อมได้ทั้งชนิดไฟตรงและไฟสลับ
  • – ไม่มีเสียงดังขณะเชื่อม

การเริ่มต้นอาร์กมีกี่แบบ อะไรบ้าง

12.6 เครื่องเชื่อมแบบอินเวอร์เตอร์ ( Inverter  Welding Machine)

เป็นเครื่องเชื่อมที่ใช้วงจรอิเล็กทรอนิกส์ในการควบคุม  กระแสไฟที่ใช้ในการเชื่อม  กระแสไฟที่ใช้เป็นแบบกระแสตรง DC  เครื่องเชื่อมอินเวอร์เตอร์  สามารถท าการเชื่อมได้ทั้ง  การเชื่อมอาร์กโลหะด้วยมือ(MMAW)   การเชื่อมทิก (TIG)

เป็นเครื่องเชื่อมที่มีน้ำหนักเบา  และสามารถใช้กับไฟฟ้าที่ใช้ในบ้านเรือนได้  220  โวลท์  พกพาได้สะดวกสามารถปรับแรงดันได้ตั้งแต่ 5-150 แอมแปร์  แต่เครื่องเชื่อมชนิดนี้จะมีปัญหาในกรณี ไฟฟ้าที่ต่อเข้าเครื่องมีค่าแรงดันไฟสม่ำเสมอหรือไม่  เช่นบางหมู่บ้าน ไฟฟ้า อาจจะมีแรงที่สูงกว่า 220 โวลท์หรือบางที่ต่ำกว่า 220 โวลท์ ทำให้วงจรอิเล็คทรอนิกส์ เกิดความเสียหายได้ง่าย  ซึ่งเป็นปัญหาของเครื่องเชื่อมชนิดนี้  แต่ในบางบริษัทที่ผลิตเครื่องเชื่อม ระบุไว้ว่า สามารถทำงานได้แม้ว่าแรงดันไฟฟ้า จะเกินหรือต่ำกว่า 220 โวลท์ แต่ที่ไม่เกิน +/- 15 โวลท์

การเริ่มต้นอาร์กมีกี่แบบ อะไรบ้าง

ภาพเครื่องเชื่อมแบบอินเวอร์เตอร์

การเริ่มต้นอาร์กมีกี่แบบ อะไรบ้าง

13. การเลือกเครื่องเชื่อม
เครื่องเชื่อมในปัจจุบันนี้มีอยู่หลายแบบและหลายขนาดด้วยกัน  การเลือกใช้เครื่องเชื่อมนั้นจะต้องคำนึงถึงสภาพของงานเชื่อมและผู้ปฏิบัติงาน  ตลอดจนสภาวะเศรษฐกิจขณะนั้น ซึ่งวิธีเลือกเครื่องเชื่อมที่พอจะยึดเป็นกฎเกณฑ์พิจารณาอย่างกว้าง ๆ มีดังนี้     งานสนามหรืองานในไร่ควรใช้เครื่องที่ขับด้วยเครื่องยนต์  แต่งานที่ทำตามอู่ โรงฝึกงานหรืองานทำประตู หน้าต่าง  ควรใช้เครื่องเชื่อมแบบหม้อแปลงไฟเพราะมีราคาถูกซึ่งจะประหยัดกว่า แต่สำหรับโรงงานอุตสาหกรรม หรืออู่ที่ต้องการเชื่อมงานจำนวนมากโดยเฉพาะเมื่อเชื่อมทั้งงานอลูมิเนียม ทองแดง เหล็ก สเตนเลส และการเชื่อมพอกผิวแข็ง  ซึ่งงานเหล่านี้ต้องเชื่อมด้วยไฟตรงจึงต้องเลือกเครื่องเชื่อมไฟตรง  ซึ่งอาจเป็นชนิดขับด้วยมอเตอร์ หรือชนิดเครื่องเรียงกระแสขึ้นอยู่กับสภาพโรงงาน  เช่น ชนิดขับด้วยมอเตอร์ นั้นจะต้องมีเสียงดังกว่าเครื่องเชื่อมชนิดเครื่องเรียงกระแส  แต่ถ้ามีงานที่ใช้ทั้งไฟสลับและไฟตรง  ควรเลือกเครื่องเชื่อมชนิดแบบผสมหม้อแปลงเครื่องเรียงกระแส  ซึ่งมีราคาแพงกว่าเครื่องเชื่อมชนิดอื่น
14. ดิวตี้ไซเคิล (Duty Cycle)
Duty Cycle  เป็นตัวที่บอกถึงความสามารถของเครื่องเชื่อม ที่กำหนดด้วยเวลาเชื่อมกับเวลาทั้งหมดโดยกำหนดเวลาทั้งหมดไว้เป็นมาตรฐาน 10 นาที ตัวอย่าง      เครื่องเชื่อมขนาด 200 แอมป์ ที่ 60% DUTY CYCLE หมายถึง เครื่องเชื่อมนี้สามารถเชื่อมแบบต่อเนื่องได้ 6 นาที และหยุดพัก 4 นาที โดยใช้กระแสเชื่อมสูงสุดที่กำหนดไว้ 200 แอมป์เครื่องเชื่อมที่ใช้กับลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์โดยทั่วไปแล้วจะใช้ Duty Cycle ประมาณ 60% แต่สำหรับเครื่องเชื่อมแบบอัตโนมัติ จะใช้ Duty Cycle 100%การกำหนดค่าความสามารถของเครื่องเชื่อมนี้ เป็นการป้องกันมิให้ช่างเชื่อม ใช้เครื่องเชื่อมหนักเกินไปซึ่งอาจจะทำให้เครื่องเชื่อมเสียหายได้ง่าย

15. สัญลักษณ์ลวดเชื่อม

มาตรฐานอเมริกา  AWS (American  Welding  Society) (A5.1-91)

การเริ่มต้นอาร์กมีกี่แบบ อะไรบ้าง

ตัวเลขคู่หน้า  แสดงค่าความต้านทานแรงดึงต่ าสุดโดยคูณด้วย 1,000 หน่วยเป็น PSI เช่น
E 60XX คือ 60 x 1,000 = 60,000 PSI

ตัวเลขตัวที่ 3  แสดงตำแหน่งท่าเชื่อม

EXX1X  คือ ท่าราบ ท่าตั้ง ท่าระดับ ท่าเหนือศีรษะ

EXX2X  คือ ท่าราบ และ ท่าระดับ

EXX3X  คือ ท่าราบเท่านั้น

ตัวเลขตัวที่ 4  แสดงสมบัติต่าง ๆ ของลวดเชื่อมดังตารางต่อไปนี้
ตารางแสดงความหมายต่างๆ ของตัวเลขต าแหน่งที่ 4 หรือ 5

การเริ่มต้นอาร์กมีกี่แบบ อะไรบ้าง
ตัวอย่าง  E 6013
E –  เป็นลวดเชื่อมไฟฟ้า
60 –  ค่าต้านแรงดึงต่ำสุด 60 x 1,000 = 60,000  ปอนด์/ตร.นิ้ว (60,000 psi)

1 –  เชื่อมได้ทุกท่าเชื่อม

3 –  ฟลักซ์เป็นแบบ รูไทล์ ใช้ได้ทุกกระแส  เชื่อมเหล็กเหนียวทั่วไปได้ดีลักษณะการ อาร์กนิ่มนวล คุณสมบัติการซึมลึกปานกลาง

มาตรฐาน ญี่ปุ่น  JIS (Japannese Industrial Standard) (Z 3211-1991)

การเริ่มต้นอาร์กมีกี่แบบ อะไรบ้าง

ตัวเลขคู่แรก แสดงค่าความต้านทานแรงดึงต่ำสุด กลุ่มเหล็กกล้าคาร์บอนมีตัวเดียว 43 ซึ่งมีค่าเท่ากับ 420 N/mm2

ตัวเลขคู่หลัง แสดงชนิดของฟลักซ์ ดังแสดงในตาราง ตารางแสดงความหมายตัวเลขของรหัสลวดเชื่อม ตาม JIS (Z 3211-1991)

การเริ่มต้นอาร์กมีกี่แบบ อะไรบ้าง

ตัวอย่าง D 4303

D –  ลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์

43 –   ค่าความต้านทานแรงดึงต่ าสุด 420 N/mm2

03 –   ฟลักซ์ ไลม์ –  ไทเทเนีย เชื่อมได้ทุกท่าเชื่อม ใช้กระแสไฟได้ทั้ง AC และ DC + / DC –

มาตรฐานเยอรมัน DIN  (Deutch Industrie Norn) (DIN 1913 Part 1/DIN EN 287)

การเริ่มต้นอาร์กมีกี่แบบ อะไรบ้าง

การเริ่มต้นอาร์กมีกี่แบบ อะไรบ้าง
การเริ่มต้นอาร์กมีกี่แบบ อะไรบ้าง
การเริ่มต้นอาร์กมีกี่แบบ อะไรบ้าง

สนใจติดต่อสอบถาม ตู้เชื่อมไฟฟ้า เครื่องเชื่อมCo2 เครื่องเชื่อมอาร์กอน เครื่องตัดพลาสม่า โทรหาเรา 083-0234002 ไลน์ไอดี:AB20

กลับไปหน้าร้านของเรา

การเริ่มต้นอาร์กมีกี่แบบ อะไรบ้าง

การเริ่มต้นอาร์กมีกี่แบบ อะไรบ้าง

Argon Inverter TIG ตู้เชื่อม ตู้เชื่อมราคาถูก ตู้เชื่อมไฟฟ้า ทิก อะไหล่ อินเวอร์เตอร์ เครื่องเชื่อม เครื่องเชื่อมมือสอง เครื่องเชื่อมราคาถูก เครื่องเชื่อมอาร์กอน เครื่องเชื่อมอาร์กอน