กาพย์ยานี 11 มีการแบ่งวรรคตอนอย่างไร

เพื่อน ๆ คงสงสัยใช่ไหมว่า ทำไมเราถึงเรียนคำประพันธ์ประเภทนี้ว่า “กาพย์ยานี ๑๑” โดยชื่อนี้มีที่มาจากการที่กาพย์ยานี ๑ บาทมี ๑๑ คำหรือพยางค์นั่นเอง โดยกาพย์ยานี ๑๑ มีลักษณะบังคับ หรือโครงสร้างฉันทลักษณ์ ดังนี้ 

๑. กาพย์ยานี ๑ บทมี ๒ บาท โดย ๒ วรรครวมกันเป็น ๑ บาท ดังนั้น กาพย์ยานี ๑ บทจึงมีทั้งหมด ๔ วรรคด้วยกัน

กาพย์ยานี 11 มีการแบ่งวรรคตอนอย่างไร

๒. ในแต่ละบาท ประกอบไปด้วยวรรคหน้า ๕ คำหรือพยางค์ และวรรคหลัง ๖ คำหรือพยางค์ รวมเป็น ๑๑ คำหรือพยางค์พอดี

๓. ตัวสุดท้ายของวรรคที่ ๑ จะต้องสัมผัสกับตัวที่ ๓ ของวรรคที่ ๒ แต่อนุโลมให้สัมผัสกับตัวที่ ๑ หรือ ๒ ก็ได้

กาพย์ยานี 11 มีการแบ่งวรรคตอนอย่างไร

๔. ตัวสุดท้ายของวรรคที่ ๒ ส่งสัมผัสกับตัวสุดท้ายของวรรคที่ ๓

กาพย์ยานี 11 มีการแบ่งวรรคตอนอย่างไร

๕. ไม่จำเป็นต้องส่งสัมผัสไปวรรคสุดท้าย แต่ถ้าสามารถแต่งให้ตัวสุดท้ายของวรรคที่ ๓ ส่งสัมผัสมายังวรรคสุดท้ายได้ ก็จะเพิ่มความไพเราะมากยิ่งขึ้น

๕. สำหรับสัมผัสระหว่างบทนั้น ให้ตัวสุดท้ายของวรรคที่ ๔ ส่งสัมผัสไปยังตัวสุดท้ายของวรรคที่ ๒ ในบทถัดไป

กาพย์ยานี 11 มีการแบ่งวรรคตอนอย่างไร

 

บทช่วยจำของกาพย์ยานี ๑๑

วิชาเหมือนสินค้า

อันมีค่าอยู่เมืองไกล

ต้องยากลำบากไป

จึงจะได้สินค้ามา

จงตั้งเอากายเจ้า

เป็นสำเภาอันโสภา

ความเพียรเป็นโยธา

แขนซ้ายขวาเป็นเสาใบ


โดย เพื่อน ๆ จะเห็นว่า 

  • คำว่า ค้า ส่งสัมผัสกับคำว่า ค่า 
  • คำว่า ไป ส่งสัมผัสกับคำว่า ไกล
  • แม้ไม่ได้มีการบังคับ แต่ผู้แต่งได้ส่งสัมผัสจากคำว่า ไป ไปยังคำว่า ได้ ด้วย
  • ส่วนสัมผัสระหว่างบท มีการแต่งให้คำว่า มา และ ภา สัมผัสกัน

จริง ๆ แล้วการแต่งกาพย์ยานี 11 ก็ไม่ได้มีอะไรซับซ้อนซ่อนเงื่อนเลยเนาะ แถมยังสวยงามอีกต่างหาก StartDee ขอแนะนำให้เพื่อน ๆ ลองแต่งบ่อย ๆ ไม่ว่าจะเป็นแต่งกลอนให้เพื่อน พ่อแม่ หรือคนที่แอบปิ๊งก็ยังได้ ถือเป็นการฝึกฝีมือ เวลาต้องแต่งส่งคุณครูเป็นการบ้าน จะได้คล่องแคล่วยังไงล่ะ 

๒.๓  การใส่อารมณ์  ในการอ่านกาพย์ควรใส่อารมณ์สอดแทรกลงไปในบทที่อ่าน ให้เหมาะสมกับเนื้อเรื่องและบรรยากาศโดยอาศัยการตีความตัวบทที่จะอ่านให้ถ่องแท้เสียก่อนแล้วอ่านถ่ายทอดอารมณ์ออกมาเป็นท่วงทำนองให้น่าฟัง

วิธีการเขียนกาพย์ยานี 11 ตามกฎเกณฑ์ที่ถูกต้อง ให้คล้องจอง ถูกสัมผัสทุกจุด ได้ทั้งคณะและพยางค์ การอ่านกาพย์ยานี 11 พร้อมทั้งตัวอย่างกาพย์ยานี 11 ต่างๆมากมาย

วันนี้เว็บติวฟรีก็นำเอาความรู้ดีๆมาฝากกันอีกเช่นเคย โดยคราวนี้เป็นเรื่องการเขียน กาพย์ยานี11 ที่หลายๆคนบอกว่าเขียนยากจัง หาคำที่สัมผัสคล้องจอง ให้ลงพอดีๆใน 11 คำนี้ยากเหลือเกิน แต่ถ้าคุณทำตามนี้ล่ะก็ รับรองว่าจะเขียนได้อย่างแน่นอน

การเขียนกาพย์ยานี11

กาพย์ยานี11 คือ การแสดงความรู้ ความคิด ความรู้สึก และความต้องการของผู้ส่งสารออกไปเป็น ลายลักษณ์อักษร เพื่อให้ผู้รับสารสามารถอ่านเข้าใจ ได้รับทราบความรู้ ความคิด ความรู้สึก และความต้องการเหล่านั้น การถ่ายทอดโดยวิธีบอกเล่าปากต่อปาก หรือที่เรียกว่า “มุขปาฐะ” อาจทำให้สารตกหล่นหรือคลาดเคลื่อนได้ง่าย ลายลักษณ์อักษรหรือที่ตัวหนังสือ ที่แท้จริงคือ เครื่องหมายที่ใช้แทนคำพูดนั่นเอง

กาพย์ยานี 11 มีการแบ่งวรรคตอนอย่างไร
กาพย์ยานี 11 มีการแบ่งวรรคตอนอย่างไร

คณะ

กาพย์ยานี ได้ชื่อว่ายานี 11 เพราะ จำนวนพยางค์ใน 2 วรรค หรือ 1 บรรทัด รวมได้ 11 พยางค์

1 บท มี 4 วรรค วรรคหน้า 5 พยางค์ วรรคหลัง 6 พยางค์

สัมผัสระหว่างวรรค ใน 1 บท มีสัมผัส 2 คู่ สังเกตจากแผนผังและตัวอย่าง
สัมผัสระหว่างบท พยางค์สุดท้ายของบทต้น สัมผัสกับพยางค์สุดท้ายของวรรคที่ 2 ของบทถัดไป

พยางค์

พยางค์หรือคำ วรรคแรกมี 5 คำ วรรคหลังมี 6 คำ รวมเป็น 11 คำจึงเรียกว่า “กาพย์ยานี 11” ทั้งบาทเอกและบาทโทมีจำนวนคำเหมือนกัน

สัมผัส

  1. คำสุดท้ายของวรรคที่ 1 สัมผัสกับคำที่ 1 , 2 และคำที่ 3 ของวรรคที่ 2
  2. คำสุดท้ายของวรรคที่ 2 สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ 3
  3. คำสุดท้ายของวรรคที่ 4 สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ 2 ของบทต่อไป (สัมผัสระหว่างบท)

การอ่านกาพย์ยานี 11

การอ่านกาพย์ยานี 11 จะต้องแบ่งจังหวะการอ่านคำในแต่ละวรรคดังนี้ วรรคแรกมี 5 คำ
วรรคหลังมี 6 คำ การอ่านจึงเว้นเป็นจังหวะตามวรรคคือวรรคหน้าเว้นจังหวะ 2/3 คำ
ส่วนวรรคหลังเว้นจังหวะ 3/3 คำ

ประวัติกาพย์ยานี 11

กาพย์ มีที่มาไม่ทราบแน่ชัดว่าเป็นคำประพันธ์เดิมของไทย หรือรับมาจากชาติอื่น ตำรากาพย์เก่าแก่ที่มีอยู่ในปัจจุบันคือ กาพย์สารวิลาสินี และ กาพย์คันถะ แต่งเป็นภาษาบาลี ไม่ทราบชื่อผู้แต่ง แต่สันนิษฐานกันว่าแต่งขึ้นในล้านนาสมัยพระเจ้าติโลกราชแห่งล้านนา ซึ่งตรงกับสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถแห่งกรุงศรีอยุธยา และเปลี่ยนแปลงมาจากกาพย์มคธเป็นกาพย์ไทยโดยบริบูรณ์ ประมาณรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศแห่งกรุงศรีอยุธยา

พัฒนาการของกาพย์ยานี 11

กาพย์ยานีในยุคแรก ๆ บังคับเฉพาะสัมผัสระหว่างบาท และสัมผัสระหว่างบทเท่านั้น สัมผัสระหว่างวรรคไม่บังคับ

สมัยอยุธยายุคกลางและยุคปลายได้เพิ่มสัมผัสระหว่างวรรคแรกกับวรรคที่ 2 แล้ว ต่อมา เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร กวีผู้ชำนาญเชิงกาพย์ ทรงเพิ่มสัมผัสสระในคำที่ 2 – 3 วรรคแรก และคำที่ 3 – 4 ในวรรคหลัง อย่างเป็นระบบ ทำให้จังหวะอ่านรับกันเพิ่มความไพเราะมากขึ้น และส่งอิทธิพลมาถึงกวีสมัยรัตนโกสินทร์ ตลอดถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

สุนทรภู่ ก็เป็นอีกตำนานหนึ่งที่ประยุกต์กาพย์ยานีของกรุงศรีอยุธยา โดยให้ความสำคัญกับสัมผัสเป็นหลัก มีการเพิ่มสัมผัสระหว่างวรรคที่ 3 กับวรรคที่ 4 รวมทั้งให้ความสำคัญกับน้ำหนักคำและน้ำเสียงด้วย

ขณะที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้ทรงกินกาพย์ยานี โดยละทิ้งสัมผัสไปมากแต่มาเล่นน้ำหนักของคำและทรงใช้สัมผัสอักษรแทนสัมผัสระหลายครั้ง และน่าจะเป็นตัวตั้งสำหรับกาพย์ยุคหลังๆ ครั้งที่นายผี (อัศนี พลจันทร) สร้างสรรค์กาพย์ยานีรูปใหม่

ในยุคกึ่งพุทธกาล นายผี หรือ อัศนี พลจันทร ได้สั่นสะเทือนวงการกาพย์ด้วยลีลาเฉพาะตัว โดยทิ้งสัมผัสในไปมาก หันมาใช้สัมผัสอักษรแทน เน้นคำโดดอันให้จังหวะสละสลวยจนคล้ายอินทรวิเชียรฉันท์กลายๆ