กล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรงรักษาอย่างไร

กลุ่มอาการกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรงเฉียบพลัน สัมพันธ์กับภาวะเครียดอย่างรุนแรง บางครั้งเรียกว่า ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรงจากความเครียด (Stress Cardiomyopathy)

แชร์

ภาวะหัวใจสลาย คือกลุ่มอาการกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรงเฉียบพลัน สัมพันธ์กับภาวะเครียดอย่างรุนแรง บางครั้งเรียกว่า ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรงจากความเครียด (Stress Cardiomyopathy) หรือในทางการแพทย์รู้จักในชื่อ Takotsubo Cardiomyopathy โดย Takotsubo เป็นภาชนะที่ชาวญี่ปุ่นใช้จับปลาหมึก เนื่องจากเมื่อเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง (บางส่วน) เมื่อทำการตรวจสวนหัวใจและฉีดสารทึบแสง จะได้ภาพหัวใจที่โป่งคล้ายภาชนะดังกล่าว จึงใช้ชื่อนี้เรียกภาวะความผิดปกตินี้ตั้งแต่ปี 1990 (พ.ศ. 2533)

สาเหตุ
สาเหตุของภาวะนี้ยังไม่ทราบชัดเจนแต่เชื่อว่าเกี่ยวข้องกับฮอร์โมนต่างๆจากความเครียดรุนแรง เช่น อะดรีนาลีน เพิ่มความต้องการพลังงานและออกซิเจนสูงแต่การไหลเวียนเลือดมาไม่เพียงพอทำให้กล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง โป่งพอง การสูบฉีดเลือดในร่างกายล้มเหลว ภาวะเครียด อาจเป็นภาวะเครียดทางร่างกาย เช่น เจ็บป่วยหรืออุบัติเหตุรุนแรง หรือเป็นภาวะเครียดรุนแรงทางจิตใจ เช่น สูญเสียคนรักอย่างคาดไม่ถึง แม้จะเรียกชื่อเป็น Broken Heart Syndrome แต่พบภาวะนี้สัมพันธ์กับความเครียดจากร่างกายมากกว่าความเครียดทางจิตใจ พบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย

อาการ
ผู้ป่วยมีอาการเจ็บแน่นหน้าอก เหนื่อยหอบ เนื่องจากมีภาวะหัวใจล้มเหลว เลือดไหลเวียนไม่พอ บวม นอนราบไม่ได้ ในกรณีที่รุนแรงมากขึ้นโดยเฉพาะหากมีความเจ็บป่วยร่างกายอื่นที่รุนแรง อาจถึงขั้นเสียชีวิตได้

การวินิจฉัย
นอกจากประวัติและการตรวจร่างกายโดยละเอียดแล้วผู้ป่วยต้องได้รับการตรวจพิเศษทางหัวใจโดยเฉพาะคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) การตรวจเลือด การเอ็กซเรย์หัวใจและปอด คลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ (Echocardiogram) อย่างไรก็ตามผู้ป่วยในภาวะหัวใจสลายมักมีความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ผลเลือดเอนไซม์กล้ามเนื้อหัวใจที่ผิดปกติคล้ายผู้ป่วยจากโรคเส้นเลือดหัวใจอุดตัน (Heart attack) การวินิจฉัยแยกโรคมักต้องใช้การตรวจสวนหัวใจและฉีดสารทึบแสงดูเส้นเลือดหัวใจ ซึ่งในภาวะหัวใจสลายจะไม่พบเส้นเลือดหัวใจอุดตัน

การรักษา
เนื่องจากไม่ได้มีเส้นเลือดหัวใจอุดตันจึงไม่จำเป็นต้องรักษาด้วยการขยายเส้นเลือดหัวใจเหมือนกรณีโรคเส้นเลือดหัวใจอุดตัน (Heart attack) การรักษาจึงเป็นการรักษาด้วยยา ประคับประคอง รักษาระดับความดัน ชีพจร ระดับออกซิเจนให้เหมาะสมเพียงพอและรักษาความผิดปกติทางร่างกายที่เป็นสาเหตุกระตุ้นภาวะเครียดรุนแรง ผู้ป่วยส่วนใหญ่กล้ามเนื้อหัวใจที่อ่อนแอ จะค่อยๆ ฟื้นตัวดีขึ้นและกลับมาปกติได้ใน

โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถป้องกันได้ ถ้าไม่ต้องการเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ควรหมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และรับประทานอาหารที่ปราศจากไขมัน เน้นทานผัก และผลไม้ให้มากๆ เพียงเท่านี้คุณก็สามารถป้องกันสุขภาพร่างกายห่างไกลจากโรคหัวใจ และโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดได้อย่างปลอดภัย

                    ประชาชนป้องกันตัวเองได้โดยการหลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสเค็ม งดสูบบุหรี่ ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง ควรเข้ารับการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง โรคกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรงสามารถป้องกันได้ หากผู้ป่วยใส่ใจดูแลสุขภาพอย่างเคร่งครัด

ภาวะหัวใจล้มเหลวหรือหัวใจอ่อนกำลังไม่ได้หมายความว่าหัวใจจะหยุดทำงาน แต่เป็นภาวะที่หัวใจไม่สามารถทำงานได้ดีอย่างที่ควรจะเป็น ภาวะที่หัวใจอ่อนแอหรืออ่อนกำลังลง ทำให้การทำสิ่งต่าง ๆ ซึ่งปกติเป็นเรื่องง่ายกลายเป็นเรื่องยากมากขึ้น แต่ก็ยังมีวิธีต่าง ๆ ที่ผู้ป่วยและแพทย์จะร่วมมือกันเพื่อช่วยให้หัวใจกลับมาทำงานได้ดีขึ้น

หน้าหลัก

ข้อมูลสุขภาพ

โรคและการรักษา

Broken Heart Syndrome เครียดเกินไปกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง

กล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรงรักษาอย่างไร

การตรวจวินิจฉัย

การตรวจวินิจฉัย Broken Heart Syndrome อายุรแพทย์หัวใจจะพิจารณาจากอาการ ประวัติความเครียด และการตรวจทางห้องปฏิบัติการเป็นสำคัญ ประกอบไปด้วย 

  1. ซักประวัติ
  2. ตรวจเลือด
  3. ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ Electrocardiogram (ECG/EKG) ในผู้ป่วย Broken Heart Syndrome ลักษณะคลื่นหัวใจไฟฟ้าผิดปกติเหมือนกราฟไฟฟ้าหัวใจของผู้ป่วยหลอดเลือดหัวใจอุดตันเฉียบพลัน
  4. ตรวจหัวใจด้วยเครื่องสะท้อนเสียงความถี่สูง (Echocardiogram)  ในผู้ป่วย Broken Heart Syndrome ลักษณะการบีบตัวของหัวใจห้องล่างซ้ายผิดปกติ ความแรงในการบีบตัวของหัวใจจะลดลง หัวใจห้องล่างซ้ายอ่อนกำลัง
  5. การฉีดสีตรวจหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Angiography : CAG)

การรักษา Broken Heart Syndrome

ภาวะ Broken Heart Syndrome ส่วนใหญ่ต้องรับไว้รักษาเป็นผู้ป่วยในโรงพยาบาล มีอาการตั้งแต่น้อยจนถึงมากและรุนแรงได้เช่นกัน วิธีการรักษาหากไม่รุนแรงอายุรแพทย์โรคหัวใจจะให้การรักษาด้วยยา สำหรับกรณีที่รุนแรงและมีภาวะหัวใจล้มเหลวร่วมด้วยอาจต้องมีการใส่ท่อและเครื่องช่วยหายใจ และต้องรักษาภาวะเครียดที่เป็นปัจจัยกระตุ้นร่วมด้วย จากรายงานวารสารต่างประเทศส่วนใหญ่หัวใจจะกลับมาปกติ มีโอกาสเสียชีวิตน้อยประมาณ 1% โอกาสเป็นซ้ำได้ 2 – 5%


การป้องกัน Broken Heart Syndrome

  • ทำใจให้สบาย ไม่เครียด ปรับมุมมอง เปลี่ยนความคิด นั่งสมาธิ
  • พูดคุยกับคนในครอบครัวและเพื่อน เพื่อแบ่งปันเรื่องราวและปัญหา อย่าแบกความเครียดไว้คนเดียว
  • ดูแลสุขภาพให้แข็งแรง รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
  • สนุกกับชีวิต ด้วยกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งการท่องเที่ยว ทำอาหาร เดินป่า ปลูกต้นไม้ เลี้ยงสัตว์ ฯลฯ
  • ตรวจเช็กสุขภาพหัวใจ นอกจากตรวจเช็กสุขภาพทุกปี ควรต้องตรวจเช็กสุขภาพหัวใจตามคำแนะนำของแพทย์เฉพาะทางโรคหัวใจ


Broken Heart Syndrome
สามารถกลับมาเป็นซ้ำได้จากความเครียด ทางที่ดีที่สุดคือดูแลหัวใจให้เข้มแข็ง ตั้งรับกับทุกปัญหาด้วยความเข้าใจ จัดการความเครียดอย่างถูกวิธี หากมีอาการผิดปกติแนะนำให้รีบพบแพทย์ทันที


 

แชร์

สอบถามเพิ่มเติมที่

คลินิกอายุรกรรมโรคหัวใจ

ชั้น 1 โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ

เปิดบริการทุกวัน 07.00 - 16.00 น.

0 2310 3000

0 2310 3370

0 2755 1371

0 2755 1375

1719

[email protected]

โรคกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง รักษายังไง

โรคหัวใจรักษาได้ วิธีการรักษาโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด.
การรักษาด้วยยาสลายลิ่มเลือด เพื่อละลายเลือดที่แข็งตัวและอุดตันอยู่ที่เส้นเลือดแดงหัวใจ.
การขยายหลอดเลือดหัวใจ (วิธีบอลลูน) เป็นวิธีที่นิยมมากและได้ผลการรักษาที่ดีกว่าการใช้ยาสลายลิ่มเลือด.

โรคกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง รักษาหายไหม

กล้ามเนื้ออ่อนแรง โรคที่ยังไม่มีวิธีการรักษาให้หายขาด สำหรับวิธีการรักษาโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง จะเป็นการรักษาตามอาการและเน้นการเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของอาการ ตำแหน่งที่เกิดอาการ ซึ่งแพทย์จะเลือกวิธีที่เหมาะสมกับอาการของผู้ป่วยแต่ละคน

กล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง อันตรายไหม

หลายคนอาจไม่รู้ว่าความเครียดหรือภาวะอารมณ์ที่รุนแรงทำร้ายหัวใจได้มากกว่าที่คิด เพราะอาจส่งผลให้การทำงานของหัวใจผิดปกติและตกอยู่ในภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรงจากความเครียดได้ ส่วนใหญ่มักมีอาการกะทันหันชั่วคราวและอาจร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ จึงควรรับมือกับความเครียดให้ถูกวิธี ดูแลหัวใจให้แข็งแรง

โรคกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรงมีอาการอย่างไร

กรมการแพทย์ชี้ “โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงหรือเอแอลเอส” มีอาการเตือนกล้ามเนื้อเกร็ง กล้ามเนื้ออ่อนแรงและลีบเล็กลงเรื่อย ๆ พูดลำบาก กลืนลำบาก หายใจติดขัดและหอบเหนื่อยจากการหายใจไม่เพียงพอ หากพบสัญญาณเตือนดังกล่าว ควรรีบมาพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยรักษาให้เร็วที่สุด