อาหาร ผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก

อัมพาตครึ่งซีกคือภาวะที่ร่างกายมีการสูญเสียการทำงานของแขนและขาในด้านเดียวกัน ของลำตัวสาเหตุมีหลายอย่างแต่ที่พบบ่อยที่สุดคือ สาเหตุจากโรคหลอดเลือดสมองซึ่งจำแนกเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ 2 ประเภท คือ

1. หลอดเลือดสมองตีบ หรืออุดตัน
2. หลอดเลือดสมองแตก

ทั้ง 2 ภาวะดังกล่าวทำให้เนื้อเยื่อสมองในบริเวณที่หลอดเลือดนั้นหล่อเลี้ยงเกิดอาการขาดเลือดทำให้การทำงานของสมองส่วนนั้นๆ ซึ่งควบคุมการทำงานของร่างกายทำหน้าที่บกพร่องไป ดังที่ทราบกันแล้วว่าสมองมี 2 ซีก ซ้ายและขวาโดยปกติสมองซีก หนึ่งๆ จะควบคุมการทำงานของร่างกายด้านตรงข้ามเสมอ เช่น เมื่อสมองซีกขวามีปัญหาจึงส่งผลให้การทำงานของร่างกายซีกซ้ายเกิดการอ่อนแรง เป็นต้น


1.แขนและขาข้างเดียวกันของลำตัวอ่อนแรง2.เดินไม่ได้เป็นปัญหาที่เห็นได้ชัดเจนจึงทำให้ผู้ป่วยและญาติกังวลมากกว่าปัญหาอื่นๆ3.การช่วยเหลือตนเองลดลงโดยเฉพาะกิจวัตรประจำวันพื้นฐาน เช่น การรับประทานอาหาร การแต่งตัวการอาบน้ำ ล้างหน้า แปรงฟัน เป็นต้น สิ่งเหล่านี้เป็นกิจกรรมพื้นฐานที่ผู้ป่วยเคยทำได้แต่จำเป็นต้องพึ่งพาผู้ อื่นเมื่อเกิดโรคขึ้น4.อารมณ์แปรปรวนหงุดหงิดง่ายบ่อยครั้งที่เกิดอารมณ์ซึมเศร้าเนื่องจากมีความรู้สึกด้อยค่าในตัวเองจากความเจ็บป่วย5.ทำให้ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้แม้แต่กิจวัตรประจำวันพื้นฐาน6.ปัญหาเรื่องการสื่อสารผู้ป่วยบางรายอาจพูดไม่ชัด พูดไม่ได้ หรือพูดได้แต่ไม่รู้เรื่อง เป็นต้น7.ปัญหาเรื่องรับประทานอาหารในแง่การเคี้ยว การกลืน อาจเกิดสำลักน้ำและอาหารได้ง่าย8.ปัญหาเรื่องระบบขับถ่ายอาจไม่สามารถควบคุมได้ หรือ ขับถ่ายไม่คล่องทั้งปัสสาวะและอุจจาระหรือมีปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่งจะเห็นได้ว่าเมื่อเกิดอัมพาตครึ่งซีกแล้วมีปัญหาเกิดขึ้นหลายอย่างกล่าวโดยรวมคือ ปัญหาเหล่านี้กระทบต่อทางร่างกาย ทางจิตใจและสังคมของผู้ป่วย แต่ปัญหาเหล่านี้สามารถป้องกันและแก้ไขได้หากผู้ป่วยได้รับการดูแลที่ถูกต้องตั้งแต่แรกและได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพที่เหมาะสมนอกจากแพทย์และทีมผู้รักษาแล้วญาติหรือผู้ดูแลผู้ป่วยก็มีความสำคัญเท่าๆกับทีมผู้รักษา เนื่องจากญาติมีความเข้าใจในโรคและตัวผู้ป่วยเพื่อคอยเป็นกำลังใจ รวมทั้งเข้าใจการรักษาเพื่อให้การดูแลต่อเนื่องได้ถูกต้องจุดประสงค์ของการดูแลเบื้องต้นผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกจากโรคหลอดเลือดสมอง คือ ป้องกันภาวะแทรกซ้อน ซึ่งได้แก่แผลกดทับข้อยึดติดกล้ามเนื้อลีบอ่อนแรงความดันเลือดต่ำจากการนอนนาน1.ป้องกันแผลกดทับ
แผลกดทับมักเกิดจากการนอนอยู่ในท่าเดียวเป็นเวลานานๆ บริเวณที่พบแผลกดทับได้บ่อยคือ บริเวณปุ่มกระดูกของร่างกาย เช่น บริเวณเชิงกราน บริเวณตาตุ่ม เป็นต้น ผิวหนังและเนื้อเยื่อในบริเวณดังกล่าวไม่สามารถทนต่อแรงกดทับนานๆได้ดังนั้น ควรดูแลโดยพลิกตะแคงตัวให้ผู้ป่วยทุก 2 ชั่วโมงหรือฝึกให้ผู้ป่วยทำเองโดยก่อนจะทำการพลิกตะแคงตัวควรใช้แขนข้างดียกแขนข้างที่เป็นอัมพาตมาวางบนหน้าอกแล้วฝึกการพลิกตะแคงตัว ดังนี้พลิกตะแคงไปยังด้านที่เป็นอัมพาตให้ผู้ป่วยใช้มือข้างดีดึงขอบที่นอนด้านตรงข้ามแล้วใช้ขาข้างดียันกับที่นอนเพื่อให้ลำตัวพลิกมาพลิกตะแคงตัวไปยังด้านที่ดีใช้มือข้างดีจับขอบที่นอนขณะเดียวกันใช้ขาข้างดีดันที่นอนช่วยให้ลำตัวพลิกตะแคงอาจใช้ขาข้างดีเกี่ยวขาด้านที่เป็นอัมพาตเพื่อช่วยพลิกตะแคงมา2.จัดท่าทางการนอนที่เหมาะสม
เมื่อเกิดอัมพาตครึ่งซีกแขนข้างที่เป็นอัมพาตผู้ป่วยมักนอนงอศอกงอข้อมือ กำนิ้วมือ ส่วนขาข้างที่เป็นอัมพาตมักนอนในท่าแบะสะโพกออกเข่างอและปลายเท้าจิกลงถ้าปล่อยให้อยู่ในลักษณะนี้นานๆ ก็จะเกิดภาวะข้อยึดติดเมื่อกำลังกล้ามเนื้อกลับคืนมาก็ไม่สามารถจะใช้แขนและ มือในการหยิบจับสิ่งของไม่สามารถใช้ขาในการเดินได้
ดังนั้นการดูแลในเรื่องการจัดท่านี้ต้องให้ความสนใจกับข้อทุกข้อของทั้งแขนและ ขาการจัดท่าของมือทำได้โดยใช้อุปกรณ์เสริมช่วยอุปกรณ์เสริมที่หาได้ง่ายที่สุดคือ ผ้าขนหนูผืนเล็ก 1 ผืนพับครึ่งม้วนเข้าด้วยกันแล้วใช้เทปตรึงเป็นม้วนกลมให้ผู้ป่วยกำไว้เพื่อประคองให้มืออยู่ในท่าที่ถูกต้องหากได้รับอุปกรณ์เสริมประคองเสริมประคองข้อมือและข้อนิ้วมือก็สามารถใช้ได้ เช่นเดียวกันการจัดท่านอนทำได้หลายรูปแบบท่านอนหงายกางไหล่ออกเป็นมุมฉากมีหมอนบางรองใต้ไหล่ ข้อสะโพกและข้อเข่าเหยียดออกโดยมีหมอนยาวหนุนข้างต้นขากันไม่ให้ต้นขาบิดออก ควรใช้หมอนข้างรองปลายเท้าทั้ง 2 ข้างไม่ให้ข้อเท้าตกการจัดท่าของแขนและมืออาจจัดสลับไปมาได้หลายท่าทั้งงอศอกและเหยียดข้อศอกนอนตะแคงทับข้างดีใช้หมอนรองที่แขนและขาข้างที่เป็นอัมพาตขาข้างดีเหยียดตรงแขนข้างดีกางออกจากลำตัวนอนคว่ำควรทำเมื่อพร้อมและแพทย์อนุญาตมีข้อดี คือ การนอนคว่ำจะเป็นการเหยียดข้อสะโพกและเข่าที่ดีมากแต่ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่ชินกับการนอนคว่ำควรค่อยๆ ฝึกเริ่มจากเวลาน้อยๆ จนสามารถทนได้นานถึง 30 นาทีต่อครั้งและให้ความถี่ประมาณ 3 - 4 ครั้งต่อวันเท่าที่ผู้ป่วยจะทนได้การจัดท่าควรมีหมอนเล็กรองใต้ข้อเท้า 2 ข้าง เพื่อป้องกันการกดทับของที่นอนต่อนิ้วเท้ามีหมอนบางรองใต้ไหล่ กางไหล่ออก ข้อศอกเหยียดตรง คว่ำมือ และมือจับอุปกรณ์ประคองมือ3.การออกกำลังกายเบื้องต้น
หากผู้ป่วยยังไม่พร้อมที่จะทำเองญาติหรือผู้ดูแลควรช่วยเหลือโดยการขยับข้อทุกข้อของข้างที่อ่อนแรงเพื่อป้องกันข้อยึดติดการบริหารทำข้อละ 3-5 ครั้ง วันละ 1-2 รอบ ในทิศทางต่อไปนี้การบริหารข้อไหล่ ควรประกอบด้วย ยกไหล่มาด้านหน้ากางไหล่ออกด้านข้างแล้วยกขึ้น หมุนไหล่เข้าและออกการบริหารข้อศอก ควรประกอบด้วย การงอและเหยียดข้อศอก คว่ำมือและหงายมือการบริหารข้อมือและนิ้วมือมือและนิ้วมือข้างที่เป็นอัมพาตของผู้ป่วยมักบวมซึ่งเกิดจากกล้ามเนื้ออ่อนแรงจึงไม่สามารถบีบตัวให้การไหลเวียนของเลือดและน้ำเหลืองเป็นไปอย่างปกติการดูแลเบื้องต้นคือ ให้ใช้หมอนหนุนปลายมือให้สูงกว่าข้อศอกทั้งในท่านอนและท่านั่งนวดไล่จากปลายนิ้วมือเข้าหาต้นแขนและทำท่าบริหารโดยให้กระดกข้อมือขึ้นเหยียดนิ้วมือออกให้สุดและกางนิ้ว โป้งออกให้ง่ามนิ้วตึงการบริหารข้อสะโพกควรประกอบด้วย การงอและเหยียดกางออกหุบเข้า รวมทั้งหมุนสะโพกการบริหารข้อเท้าควรกระดกข้อเท้าขึ้นให้เอ็นร้อยหวายตึงป้องกันการหดสั้นของเอ็นร้อยหวาย หากเอ็นร้อยหวายหดสั้นปลายเท้าจะจิกลงและขัดขวางการเดินเมื่อผู้ป่วยแข็งแรงและพร้อมที่จะทำได้เองควรสอนให้ผู้ป่วยออกกำลังกาย โดยให้เอามือประสานกันแล้วยกแขน 2 ข้างขึ้นเหนือศีรษะเป็นการป้องกันข้อไหล่ติดสามารถทำได้ทั้งท่านั่งและท่านอนจากนั้นใช้มือข้างดีกระดกข้อมืออัมพาตเหยียดนิ้วให้ตรงรวมทั้งการนิ้วโป้งออกให้ง่ามนิ้วตึง4.กระตุ้นให้ผู้ป่วยลุกนั่งบ่อยๆ
หากผู้ป่วยยังลุกนั่งเองไม่ได้ ให้จับผู้ป่วยลุกนั่งและหากยังทรงตัวนั่งเองไม่ได้ควรนั่งโดยมีที่พิงบนเตียงให้ใช้หมอนวางเรียงประคองหลังกันผู้ป่วยล้มลงเมื่อลุกนั่งและไม่มีอาการเวียนศีรษะหน้ามืดควรนั่งให้ตรงประมาณ 70 ? 90องศา หากนั่งเอนมากๆ ลำตัวมักไม่มั่นคงเกิดการถูไถไปกับที่นอนและจะทำให้มีแผลกดทับเกิดตามมา ระยะแรกอาจให้นั่งเฉพาะมื้ออาหารเมื่อทนได้ดีขึ้นควรเพิ่มความถี่ของการนั่งให้มากขึ้น ระยะเวลาของการนั่งต่อครั้งควรค่อยๆปรับให้มากขึ้นตามความทนทานของผู้ป่วยตั้งแต่เวลาน้อยๆ เช่น 5 นาที และควรนั่งได้อย่างน้อย 30 นาทีต่อการลุกนั่ง 1 ครั้ง แต่ไม่ควรเกิน 1 ชั่วโมง เมื่อผู้ป่วยนั่งได้อย่างน้อย 30 นาที อาจย้ายมานั่งเก้าอี้ข้างเตียงได้ โดยนั่งเก้าอี้มีพนักพิงแล้วใช้หมอนประคองไหล่ แขนและมือข้องที่อ่อนแรงไว้ แขนและมือข้างที่อ่อนแรงไว้ด้วย
ระบบไหลเวียนเลือดทำงานได้ดีขึ้นระบบหายใจอากาศจะเข้าสู่ปอดได้ทุกส่วนลดปัญหาการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจระบบย่อยอาหารและขับถ่ายทำงานได้ดีขึ้นการลุกนั่งจะมองเห็นสิ่งแวดล้อมได้รอบตัวเป็นการกระตุ้นประสาทรับความรู้สึกได้ดีกว่าการนอนเมื่อลุกนั่งผู้ป่วยจะสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับญาติหรือผู้ดูแลได้อย่างเป็นธรรมชาติ


การดูแลเบื้องต้นเหล่านี้เป็นหัวใจสำคัญในในการป้องกันภาวะแทรกซ้อนและเป็น การเตรียมร่างกายของผู้ป่วยให้พร้อมสำหรับการฟื้นฟูสมรรถภาพต่อไป

คนเป็นอัมพาตกินอะไรได้บ้าง

อาหารที่จะช่วยต้านอัมพฤกษ์ อัมพาต.
อาหารประเภทปลาทะเล ... .
การรับประทานอาหารที่มีกรดโฟลิกหรือกรดโฟลิกเสริม ... .
อาจจะเสริมด้วยวิตามินซี ... .
อาหารที่มีใยอาหารชนิดละลายน้ำ ... .
อาหารที่มีแคลเซียม.

อัมพาตครึ่งซีกกินเหล้าได้ไหม

8. การป้องกันโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต งดการดื่มสุรา และสูบบุหรี่ หมั่นออกกำลังกายเพื่อรักษาน้ำหนักให้ตรงตามเกณฑ์เสมอ หากมีโรคประจำตัว เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ควรควบคุมให้น้ำตาลในเลือด และความดันโลหิตเป็นปกติ

อัมพาตครึ่งซีก รักษายังไง

อย่างไร “โรคหน้าอัมพาตครึ่งซีก” โดยทั่วไปแล้วผู้ป่วยจะได้รับการรักษาโดยให้ยาต้านไวรัสร่วมกับยาสเตียรอยด์ อาการจะค่อย ๆฟื้นตัว เเละดีขึ้นเอง แต่เเพทย์จะให้ในขนาด และระยะเวลาที่รักษาที่เหมาะสม ร่วมกับการทำกายภาพบำบัดใบหน้า เพื่อการฟื้นตัวที่ดีที่สุด และยังไม่มีวิธีการป้องกันที่ชัดเจน จึงควรดูแลสุขภาพ ออกกำลังกายอย่าง ...

ผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกมีพยาธิสภาพอยู่ที่ใด

1. พยาธิสภาพของหลอดเลือดสมองที่เลี้ยงสมองส่วนหน้า (Anterior circulation) ซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดพยาธิสภาพที่ anterior circulation ซึ่งประกอบด้วย internal carotid, anterior cerebral artery (ACA) และ middle cerebral artery (MCA) ซึ่ง MCA เกิดได้บ่อยสุด โดยผู้ป่วยจะมีอาการอ่อนแรงและสูญเสียการรับความรู้สึกของร่างกายซีกตรงข้าม ...