ผู้จัดการมรดกแบ่งมรดกยังไง

Facebook

邮箱或手机号 密码

忘记帐户?

注册

无法处理你的请求

此请求遇到了问题。我们会尽快将它修复。

  • 返回首页

  • 中文(简体)
  • English (US)
  • 日本語
  • 한국어
  • Français (France)
  • Bahasa Indonesia
  • Polski
  • Español
  • Português (Brasil)
  • Deutsch
  • Italiano

  • 注册
  • 登录
  • Messenger
  • Facebook Lite
  • Watch
  • 地点
  • 游戏
  • Marketplace
  • Meta Pay
  • Oculus
  • Portal
  • Instagram
  • Bulletin
  • 本地
  • 筹款活动
  • 服务
  • 选民信息中心
  • 小组
  • 关于
  • 创建广告
  • 创建公共主页
  • 开发者
  • 招聘信息
  • 隐私权政策
  • Cookie
  • Ad Choices
  • 条款
  • 帮助中心
  • 联系人上传和非用户
  • 设置
  • 动态记录

Meta © 2022

           บรรดาญาติพี่น้อง บิดา มารดา ปู่ ย่า ตา ยาย ได้มีทรัพย์สินระหว่างมีชีวิต จำพวก บ้าน รถยนต์ ที่ดิน เงินฝากในบัญชีธนาคาร ธุรกิจครอบครัว หุ้นบริษัท หรือทรัพย์สินอื่นๆ อีกมากมาย ไว้ ภายหลังเมื่อเสียชีวิตลงทรัพย์สินที่ว่ามา ย่อมตกเป็นมรดกต้องแบ่งให้กับทายาทตามกฎหมายทันที

        ซึ่งรายละเอียดว่าใครมีสิทธิได้รับมรดกเท่าไหร่อย่างไร  ใครเป็นทายาทที่มีสิทธิรับมรดกบ้าง  ทีมงานทนายใกล้ตัวของเรา คือท่านทนายศุภโชค ได้เคยกล่าวไปแล้ว ท่านสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ตามลิ้งนี้  คลิก ๆ >>>>>>

https://www.facebook.com/closelawyer/posts/649882175216569:0

        เมื่อมีคนเสียชีวิต และมีมรดก ที่จะต้องแบ่งให้กับทายาท ซึ่งกฎหมายกำหนดให้ต้องมีผู้จัดการมรดก เพื่อดำเนินการจัดสรรทรัพย์สินแบ่งให้กับทายาทตามกฎหมายเสียก่อน

        ดังนั้น มี 5 เรื่องที่ท่านควรรู้ในการจัดการมรดกหรือทรัพย์สินของผู้ตาย คือ

        1. จะขอเป็นผู้จัดการมรดก ได้เมื่อไหร่

                เราจะขอจัดการมรดกได้ เมื่อเจ้ามรดกตาย เจ้ามรดกมีทรัพย์มรดก และมีเหตุขัดข้องที่จะต้องจัดการมรดก โดยเหตุขัดข้องที่จะต้องการมรดก เช่น เจ้ามรดกมี ที่ดิน 1 แปลง ทายาทไปสำนักงานที่ดิน เพื่อจะโอนที่ดินของผู้ตายให้เป็นของตนเอง แต่เจ้าพนักงานที่ดินไม่ยอมจดทะเบียนให้ อ้างว่าต้องไปขอให้ศาลตั้งเป็นผู้จัดการมรดกก่อน อย่างนี้ถือว่ามีเหตุขัดข้องแล้ว

        2.  บุคคลที่จะเป็นผู้มีสิทธิร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้จัดการมรดก ได้แก่

                2.1 ทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดกที่มีสิทธิรับมรดก เช่น บุตร บิดามารดา คู่สมรสของเจ้ามรดก   ผู้รับพินัยกรรมของเจ้ามรดก หรือ

                2.2 อาจเป็นบุคคลภายนอก ผู้มีส่วนได้เสียก็ได้ เช่น เจ้าของร่วมในทรัพย์สินของเจ้ามรดก กรณีเช่นนี้ที่มีมากคือ กรณีที่สามีภริยาไม่จดทะเบียนสมรสและมีทรัพย์สินร่วมกันนั่นเอง หรือพนักงานอัยการ

                2.3  ประการสำคัญผู้ที่จะเป็นผู้จัดการมรดก ต้องบรรลุนิติภาวะแล้ว  และไม่เป็นบุคคลวิกลจริต หรือบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นผู้เสมือนไร้ความสามารถ และไม่เป็นบุคคลที่ศาลสั่งให้เป็นบุคคลล้มละลาย เพราะกฎหมายเห็นว่าคนประเภทนี้ไม่สามารถรู้ผิดชอบ  หย่อนความคิดอ่าน มีหนี้สินล้นพ้นตัว  ขืนไปจัดการทรัพย์สินคนอื่น  ก็มีแต่จะเสียหายยิ่งขึ้นไปเท่านั้น

        3. การยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก ต้องยื่นที่ศาลไหน 

                ปกติแล้วต้องยื่นคำร้องเป็นผู้จัดการมรดกที่เจ้ามีภูมิลำเนาอยู่ในเขตอำนาจศาลนั้นในขณะถึงแก่ความตาย  เช่น เจ้ามรดกมีภูมิลำเนาขณะถึงแก่ความตายที่จังหวัดขอนแก่น  ก็ยื่นที่ศาลที่เป็นภูมิลำเนาของผู้ตาย ได้แก่ศาลจังหวัดขอนแก่น นั่นเอง แต่ในกรณีที่เจ้ามรดกไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักรไทย ให้ยื่นคำร้องต่อศาลที่ทรัพย์มรดกอยู่ในเขตอำนาจศาล

        4. คำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกต้องทำอย่างไร

                การทำคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก ต้องเป็นเรื่องที่ผู้มีความรู้ในทางกฎหมายและทางปฏิบัติเท่านั้นจะเข้าใจและทำได้ถูกต้องให้ครบองค์ประกอบของกฎหมาย เราประชาชนหรือมีอาชีพอื่น ย่อมไม่เข้าใจ       ก็ต้องปรึกษานักกฎหมายหรือทนายความ เพราะคำร้องจะมีแบบคำร้อง แล้วนำมาบรรยายในคำร้องระบุรายละเอียดต่างๆ เช่น ชื่อ ตำบล ที่อยู่ผู้ร้อง เป็นทายาทผู้ตายๆ  ผู้ตายเมื่อไหร่ มีหลักฐานการตาย ผู้ตายมีทายาทกี่คนใครบ้าง  มีทรัพย์สินอะไรบ้าง  มีเหตุขัดข้องอย่างไร และท้ายสุดก็ขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้จัดการมรดก  

        5. หน้าที่ของผู้จัดการมรดก

                หน้าที่ของผู้จัดการมรดก เป็นตัวแทนของทายาททั้งหมด มีหน้าที่ในการรวบรวมทรัพย์มรดก แบ่งให้กับทายาท ทั้งมีอำนาจในการดำเนินคดีทั้งทางแพ่งและอาญา ต่อผู้ที่กระทำความเสียหายแก่กองมรดกด้วย

        หมายเหตุ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ฯ

        มาตรา 1713 ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการจะร้อง ต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกก็ได้ ในกรณีดั่งต่อไปนี้

        (1) เมื่อเจ้ามรดกตาย ทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรมได้สูญหาย ไป หรืออยู่นอกราชอาณาเขต หรือเป็นผู้เยาว์

        (2) เมื่อผู้จัดการมรดกหรือทายาทไม่สามารถ หรือไม่เต็มใจที่จะจัด การ หรือมีเหตุขัดข้องในการจัดการ หรือในการแบ่งปันมรดก

        (3) เมื่อข้อกำหนดพินัยกรรมซึ่งตั้งผู้จัดการมรดกไว้ไม่มีผลบังคับได้ด้วย ประการใด ๆ

        การตั้งผู้จัดการมรดกนั้น ถ้ามีข้อกำหนดพินัยกรรม ก็ให้ศาลตั้งตาม ข้อกำหนดพินัยกรรม และถ้าไม่ข้อกำหนดพินัยกรรม ก็ให้ศาลตั้งเพื่อ ประโยชน์แก่กองมรดกตามพฤติการณ์ และโดยคำนึงถึงเจตนาของ เจ้ามรดกแล้วแต่ศาลจะเห็นสมควร

        มาตรา 1718 บุคคลต่อไปนี้จะเป็นผู้จัดการมรดกไม่ได้

        (1) ผู้ซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะ

        (2) บุคคลวิกลจริต หรือบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นผู้เสมือนไร้ความ สามารถ

        (3) บุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนล้มละลาย

        มาตรา 1719 ผู้จัดการมรดกมีสิทธิและหน้าที่ที่จะทำการอันจำเป็น เพื่อให้การเป็นไปตามคำสั่งแจ้งชัดหรือโดยปริยายแห่งพินัยกรรม และเพื่อจัดการมรดกโดยทั่วไป หรือเพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดก

        มาตรา 1720 ผู้จัดการมรดกต้องรับผิดต่อทายาทตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 809 ถึง มาตรา 812 มาตรา 819 มาตรา 823 แห่งประมวลกฎหมายนี้โดยอนุโลม และเมื่อเกี่ยวกับบุคคลภายนอก ให้ใช้ มาตรา 831 บังคับโดยอนุโลม

ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 , 02-0749954 หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer