สุขศึกษา ป. 6 ระบบ สืบพันธุ์ เพศหญิง

ตัวเรา

ระบบในร่างกาย

เรื่องที่ 1 ระบบสืบพันธ์ุ  (ชั่วโมงที่ 1)




นักเรียนมาศึกษาความรู้จากลิงค์ เรื่องระบบสืบพันธุ์ (เพศชาย - เพศหญิง)





ขอให้ผู้ปกครองช่วยให้คำแนะนำแก่นักเรียนในเรื่องนี้ด้วยนะครับ


สุขศึกษา ป. 6 ระบบ สืบพันธุ์ เพศหญิง



                  เด็กๆครับ เดี๋ยวมาศึกษากับเนื้อหา เรื่องระบบสืบพันธุ์


เพศชายและเพศหญิง กันนะครับ

  อวัยวะสืบพันธุ์เพศชาย  ประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้

1. อัณฑะ (testis) ทำหน้าที่สร้างตัวอสุจิ (sperm) ซึ่งเป็นเซลล์สืบพันธุ์เพศชาย และสร้างฮอร์โมน
    เพศชาย คือเทสโทสเตอโรน (testosterone)

2. ถุงหุ้มอัณฑะ (scrotum) ทำหน้าที่ควบคุมอุณหภูมิให้พอเหมาะ (ต่ำกว่าอุณหภูมิปกติของร่างกาย  

    ประมาณ 3 - 5 องศาเซลเซียสในการสร้างตัวอสุจิ

3. หลอดเก็บตัวอสุจิ (epididymis) ทำหน้าที่เก็บตัวอสุจิที่เจริญเต็มที่ก่อนที่จะส่งผ่านไปยังหลอดนำ

    ตัวอสุจิ

4. หลอดนำตัวอสุจิ (vas deferens) ทำหน้าที่ลำเลียงตัวอสุจิไปเก็บไว้ที่ต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ

5. ต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ (seminal vesicle) ทำหน้าที่สร้างอาหารเพื่อใช้เลี้ยงตัวอสุจิ และสร้างของเหลว
    มาผสมกับตัวอสุจิเพื่อให้เกิดสภาพที่เหมาะสมสำหรับตัวอสุจิ

6. ต่อมลูกหมาก (prostate gland) ทำหน้าที่หลั่งสารที่มีฤทธิ์เป็นด่างอ่อนๆ เข้าไปในท่อปัสสาวะ
    เพื่อทำลายฤทธิ์กรดข้างใน

7. ต่อมคาวเปอร์ (cowper’s glands) ทำหน้าที่หลั่งสารไปหล่อลื่นต่อปัสสาวะในขณะที่เกิดการกระตุ้น
    ทางเพศ และยังทำหน้าที่ชำระล้างกรดของน้ำปัสสาวะที่เคลือบท่อปัสสาวะ ทำให้ตัวอสุจิไม่ตายก่อน
    ในขณะที่เคลื่อนที่ออกมา

อวัยวะสืบพันธุ์เพศหญิง ประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้

1. รังไข่ (ovary) ทำหน้าที่ ผลิตไข่ (ovum) ซึ่งเป็นเซลล์สืบพันธุ์เพศหญิง และสร้างฮอร์โมนเพศหญิง 

    ได้แก่ เอสโทรเจน (estrogen) และโพรเจสเทอโรน (progesterone)

2. ท่อนำไข่ (oviduct) หรือปีกมดลูก (fallopian tube) เป็นบริเวณที่อสุจิ จะเข้าปฏิสนธิกับไข่ ทำหน้าที่

     เป็นทางผ่านของไข่ที่ออกจากรังไข่เข้าสู่มดลูก

3. มดลูก (uterus) ทำหน้าที่เป้นที่ฝังตัวของไข่ที่ได้รับการผสมแล้ว และเป็นที่เจริญเติบโตของทารก

    ในครรภ์

4. ช่องคลอด (vagina) ทำหน้าที่เป็นทางผ่านของตัวอสุจิเข้าสู่มดลูก และเป็นทางออกของทารกเมื่อครบ

    กำหนดคลอด           

การบำรุงรักษาระบบสืบพันธุ์  มีแนวทางดังนี้

1. รับประทานอาหารให้ถูกสัดส่วนทั้ง หมู่

2. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ

3. งดเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์

4. พักผ่อนให้เพียงพอ ไม่เคร่งเครียด และทำจิตใจให้ร่าเริงแจ่มใสอยู่เสมอ

5. ทำความสะอาดร่างกายอย่างทั่วถึงและสม่ำเสมอ

6. สวมใส่เสื้อผ้าที่สะอาด ไม่อับชื้น และอย่าให้รัดแน่นจนเกินไป

7. ไม่ใช้เสื้อผ้า ผ้าเช็ดตัว และเครื่องนุ่งห่มร่วมกับผู้อื่น เพราะอาจติดเชื้อบางชนิดได้

8. ไม่สำส่อนทางเพศ งดเว้นการเปลี่ยนคู่นอน

9. เมื่อเกิดสิ่งผิดปกติใดๆ เกี่ยวกับอวัยวะเพศ ควรรีบปรึกษาแพทย์



เด็กๆครับ เรามาลองทำแบบฝึกหัดกันนะครับ




แบบฝึกหัด









สรุปก่อนจบบทเรียน เรื่องระบบสืบพันธุ์







เรื่องที่ 2  ระบบไหลเวียนโลหิต (ชั่วโมงที่ 2)





                       นักเรียนมาศึกษาความรู้จากลิงค์ เรื่องระบบไหลเวียนโลหิต กันนะครับ




ขอให้ผู้ปกครองช่วยให้คำแนะนำแก่นักเรียนในเรื่องนี้ด้วยนะครับ



เด็กๆครับ มาศึกษากับเนื้อหาเกี่ยวกับ เรื่องระบบไหลเวียนโลหิต



เรื่องระบบไหลเวียนโลหิต

อวัยวะที่สำคัญในระบบหมุนเวียนโลหิต  โลหิตหรือเลือด เป็นเนื้อเยื่อชนิดหนึ่ง

ทำหน้าที่ ลำเลียงสารอาหารต่างๆ ในร่างกาย ซึ่งประกอบด้วย น้ำ้เลือด ที่มี

ลักษณะเป็นของเหลวใส ไม่มีสี เม็ดเลือด สามารถแบ่งออกเป็น 3 ชนิดคือ หัวใจ

เส้นเลือด และเลือด 

สุขศึกษา ป. 6 ระบบ สืบพันธุ์ เพศหญิง


          เลือด (Blood)  ประกอบด้วย น้ำเลือด หรือพลาสมา(Plasma) และเม็ด

เลือดซึ่งประกอบด้วยเม็ดเลือดแดงเม็ดเลือดขาว และเซลล์เม็ดเลือดหรือเกล็ด

เลือด(Platelet) เม็ดเลือดแดงมีส่วนประกอบส่วนใหญ่เป็นโปรตีนและเหล็กมีชื่อ

เรียกว่า เฮโมโกลบิน ก๊าซออกซิเจน จะรวมตัวกับเฮโมโกลบินแล้วลำเลียงไปใช้

ยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย  เม็ดเลือดขาวซึ่งผลิตโดยม้าม จะทำหน้าที่ต่อสู้กับ

เชื้อโรคที่จะเข้าสู่ร่างกาย  ส่วนเกล็ดเลือดจะเป็นตัวช่วยให้เลือดแข็งตัวเมื่อเกิด

บาดแผล


         เส้นเลือด (Blood  Vessel) คือท่อที่เป็นทางให้เลือดไหลเวียนในร่างกาย

ซึ่งมี 3 ระบบ คือเส้นเลือดแดง  เส้นเลือดดำ และเส้นเลือดฝอย

          หัวใจ (Heart) ตั้งอยู่ในทรวงอกระหว่างปอดทั้งสองข้างเอียงไปทางซ้าย

ของแนวกลางตัว ประกอบด้วยกล้ามเนื้อที่แข็งแรงภายในมี 4 ห้อง


      - หัวในห้องบนซ้าย(Left atrium)       มีหน้าที่ รับเลือดที่ผ่านการฟอกที่ปอด


      - หัวใจห้องบนขวา(Right atrium)      มีหน้าที่ รับเลือดที่ร่างกายใช้แล้ว


      - หัวใจห้องล่างขวา(Right ventricle) มีหน้าที่ สูบฉีดเลือดไปฟอกที่ปอด


      - หัวใจห้องล่างซ้าย(Left ventricle)   มีหน้าที่ สูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ

        ของร่างกาย 

สุขศึกษา ป. 6 ระบบ สืบพันธุ์ เพศหญิง


ซึ่งเราสามารถสรุปเป็นหน้าที่ของระบบหมุนเวียนโลหิตได้ดังนี้

      1. นำอาหารและสารอื่นๆ รวมทั้งออกซิเจนไปเลี้ยงเซลล์ของร่างกาย

      2. นำคาร์บอนไดออกไซด์ไปขับออกทางปอดเพื่อแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจน

          กลับมาใช้

      3. ขับถ่ายน้ำของเสียซึ่งเกิดจากเมตาโบลิซึม เพื่อขับออกภายนอกร่างกาย

      4. ช่วยควบคุมและรักษาดุลของสารน้ำภายในร่างกาย

      5. ควบคุมอุณหภูมิของร่างกายให้เป็นปกติ


      การปฏิบัติตนเพื่อดูแลรักษาอวัยวะภายในระบบ

      1. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์

      2. อยู่ในที่อากาศบริสุทธิ์

      3. พักผ่อนให้มาก เพราะการพักผ่อนนอนหลับจะทำให้หัวใจเต้นช้าลง

      4. ออกกำลังกายให้เหมาะสมกับเพศและวัย

      5. ทำจิตใจให้แจ่มใสร่าเริง ไม่เครียด

      6. งดเว้นจากสิ่งเสพติดทุกชนิด


เด็กๆครับ เรามาลองทำแบบฝึกหัด เรื่องระบบหมุนเวียนเลือด กันนะครับ

แบบฝึกหัด














สรุปก่อนจบบทเรียน เรื่องระบบไหลเวียนโลหิต







เรื่องที่ 3 ระบบหายใจ (ชั่วโมงที่ 3)




นักเรียนมาศึกษาความรู้จากลิงค์ เรื่องระบบหายใจ กันนะครับ





ขอให้ผู้ปกครองช่วยให้คำแนะนำแก่นักเรียนในเรื่องนี้ด้วยนะครับ



เด็กๆครับ มาศึกษารู้จักกับเนื้อหาเกี่ยวกับ เรื่องระบบหายใจ



                    ระบบการหายใจ (respiratory  system)
  

        ะบบการหายใจ คือระบบที่ประกอบด้วยอวัยวะเกี่ยวข้องกับการหายใจ

เป็นการนำอากาศเข้าและออกจากร่างกาย ส่งผลให้แก๊สออกซิเจนทำปฏิกิริยา

กับสารอาหาร ได้พลังงาน น้ำ และแก๊สคาร์บอนไดออกไซต์ กระบวนการหายใจ

เกิดขึ้นกับทุกเซลล์ตลอดเวลา การหายใจจำเป็นต้องอาศัย โครงสร้าง 2 ชนิด

คือ กล้ามเนื้อกะบังลม และกระดูกซี่โครง ซึ่งมีกลไกการทำงานของระบบหายใจ

ดังนี้

สุขศึกษา ป. 6 ระบบ สืบพันธุ์ เพศหญิง


กลไกการทำงานของระบบหายใจ

 1) การหายใจเข้า (Inspiration) กะบังลมจะเลื่อนต่ำลง กระดูกซี่โครงจะเลื่อนสูง

ขึ้น ทำให้ปริมาตรของช่องอกเพิ่มขึ้น ความดันอากาศในบริเวณรอบๆ ปอดลดต่ำ

ลงกว่าอากาศภายนอก อากาศภายนอกจึงเคลื่อนเข้าสู่จมูก หลอดลม และไปยัง

ถุงลมปอด

สุขศึกษา ป. 6 ระบบ สืบพันธุ์ เพศหญิง


2) การหายใจออก (Expiration) กะบังลมจะเลื่อนสูง กระดูกซี่โครงจะเลื่อนต่ำลง

 ทำให้ปริมาตรของช่องอกลดน้อยลง ความดันอากาศในบริเวณรอบๆ ปอดสูง

กว่าอากาศภายนอก อากาศภายในถุงลมปอดจึงเคลื่อนที่จากถุงลมปอดไปสู่

หลอดลม และออกทางจมูก

สุขศึกษา ป. 6 ระบบ สืบพันธุ์ เพศหญิง



อวัยวะที่สำคัญในระบบนี้ ได้แก่ 

           จมูก ทำหน้าที่ในการนำอากาศเข้าสู่ร่างกายและรับรู้กลิ่น  ภายในจมูกจะ

มีขนเล็กๆ ทำหน้าที่กรองฝุ่นละออง และมีเยื่อเมือกหนาบุอยู่ คอยดักจับเชื้อโรค

          หลอดลม จะทอดลงไปในช่องอก ปลายแยกเป็นขั้วปอดทั้งสองข้าง เป็น


ท่อทางผ่านของอากาศ และออกจากปอดที่ใหญ่ที่สุด 

           ปอด  เป็นอวัยวะที่มีลักษณะคล้ายฟองน้ำ ประกอบด้วยถุงลมเล็กๆ เป็น


จำนวนมาก ถุงเหล่านี้ยืดหยุ่นและหดตัวได้ ปอดจะตั้งอยู่ภายในทรวงอกทั้งสอง

ข้าง ตรงกลางระหว่างขั้วปอดเป็นที่ตั้งของหัวใจ  ปอดซีกขวาจะมีขนาดใหญ่กว่า

ปอดซีกซ้าย ปอดทั้งสองข้างทำหน้าที่เหมือนกันคือฟอกโลหิตดำให้เป็นโลหิต

แดง  
          กระบังลมและซี่โครง  เป็นกลไกในการหายใจ  กล่าวคือ ขณะที่ปริมาณ

แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในกระแสเลือดมีปริมาณมาก สมองจะสั่งงานมายัง

กระบังลมและซี่โครงให้กระบังลมหดตัวและซี่โครงเคลื่อนตัวสูงขึ้นทำให้เกิดการ

หายใจเข้า หรือ ขณะที่กระบังลมขยายตัว และซี่โครงเคลื่อนตัวต่ำลงทำให้เกิด

การหายใจออก
     

                             เด็กๆ เรามาทำแบบฝึกหัดกันเถอะครับ

สุขศึกษา ป. 6 ระบบ สืบพันธุ์ เพศหญิง


สรุปก่อนจบบทเรียน เรื่องระบบหายใจ