การ มี จิต สํา นึก ที่ ดี

     ที่สำคัญความอบอุ่นในครอบครัวก็เป็นสายสัมพันธ์อันหนึ่งที่จะช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้แก่ต้นไม้แห่งชีวิตของลูกเติบใหญ่พร้อมจะรััััััััััััััััััััััััััััััััััััััััับมือกับพายุร้ายในอนาคตได้อย่างราบรื่น

จิตสำนึก

โดย   ยิ่งศักดิ์   จิตตะโคตร์

สำนักการแพทย์ทางเลือก กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

กระทรวงสาธารณสุข (  12 กุมภาพันธ์ 2553)

********************************************

                ประเทศไทยในปัจจุบัน โดยเฉพาะผู้นำ หรือผู้บังคับบัญชา หรือผู้ใหญ่ในบ้านเมืองเกือบทุกท่าน ได้กล่าวคำว่า ประชาชนไทย ต้องมี “จิตสำนึก” ในการทำอย่างโน้น ในการทำอย่างนี้ เพื่อให้เกิดความสงบสุข ความปลอดภัย และความสงบเรียบร้อยในบ้านเมือง เพื่อให้ประเทศ เพื่อให้ตนเอง และผู้อื่นไม่ความเดือดร้อน และมีความปลอดภัยในชีวิต ทรัพย์สิน ดังนั้นผู้ศึกษาในฐานะนักวิชาการที่มีบทบาทหน้าเผยแพร่งานวิชาการทางด้านพฤติกรรมศาสตร์ จึงมีความตั้งใจ

เผยแพร่งานวิชาการทางด้านพฤติกรรม สำหรับให้ประชาชน หรือนักวิชาการได้มีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถนำไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิตในสภาพสังคมปัจจุบันต่อไป

ความเป็นมาของ “จิตสำนึก (Awareness)”

                มาจาก คำว่า จิต + สำนึก ซึ่ง จิต แปลว่า ใจ และสำนึก แปลว่า ความรู้สึก หรือ รู้สึกตัว

                ดังนั้น คำว่า จิตสำนึก จึงแปลว่า “มีความรู้หรือความตระหนักอยู่ตลอดเวลาที่ปฏิบัติงาน”

 ในทางจิตเวชศาสตร์  มีการแบ่งจิตใจเป็นส่วนต่างๆตามระดับความรู้สึกตัว  โดยอิงทฤษฎีจิตวิเคราะห์  ดังนี้

                ส่วนของจิตที่เรารับรู้ได้  เรียกว่า  จิตสำนึก(Conscious)

                ส่วนของจิตที่เราไม่รับรู้  เรียกว่า  จิตไร้สำนึก  (Unconscious)

                ส่วนของจิตไร้สำนึกที่เกือบจะมาอยู่ในจิตสำนึกแล้ว  เรียกว่า  จิตกึ่งสำนึก (Preconscious)

                แต่คำว่า จิตสำนึก โดยทั่วไป หมายถึง  ภาวะที่ตื่นและมีความรู้สึกสามารถตอบสนองต่อสิ่งเร้าได้ 

                                ซึ่งมีการกล่าวกันมานานแล้วว่า ประเทศชาติของเราจะเจริญกว่านี้หลายเท่า  หากประชาชนชาวไทยมีจิตสำนึกในหลายอย่างและจะเห็นได้ว่าการที่มีปัญหามากมายในบ้านเมืองของเราเกี่ยวข้องกับคนไทยที่ขาดจิตสำนึกหลายๆเรื่อง ดังนี้

                                1. คำว่า จิตสำนึก ยากที่จะอธิบาย หากจะกล่าวในทางการแพทย์ ก็คงยากที่จะเข้าใจ หากจะกล่าวในทางนามธรรม

ก็ยากที่จะทำความรู้จัก สรุปว่า คนเราจะทำอะไรก็ได้ที่ไม่เดือดร้อนต่อตนเองและผู้อื่นก็เป็นการดี จะถือได้ว่าท่านมีจิตสำนึกแล้ว จิตสำนึก ถึงแม้จะไม่ได้รับการปลูกฝังมาตั้งแต่เด็ก แต่หากบุคคลนั้นเป็นผู้ที่มีการศึกษา รู้ว่าสิ่งใดควรสิ่งใด

ไม่ควร ก็สามารถสร้างจิตสำนึกที่ดีให้กับตนเองได้ คำว่า จิตสำนึก ถึงแม้จะเกิดขึ้นในจิตใจ แต่ถ้าหากไม่ปฏิบัติก็ไม่มีประโยชน์อะไร และไม่ถือว่าบุคคลนั้นมีจิตสำนึก

                                2. การที่คนจะมีจิตสำนึกที่ดีหรือไม่ดีนั้น ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม และความเป็นอยู่รวมทั้งวัฒนธรรมที่บุคคลนั้นประสบพบด้วย หากแต่บางคนอยากและปรารถนาที่จะทำดี แต่เห็นว่าคนอื่นๆไม่ทำ หรือไม่เห็นจะปฏิบัติกัน

เป็นส่วนใหญ่ ก็ยังถือว่า คนบุคคลนั้นขาดจิตสำนึกในจิตใจอยู่ หากว่ามีจิตสำนึกแล้ว และได้ปฏิบัติแล้ว และยังสามารถส่งเสริม

เผยแพร่ ให้ผู้อื่นได้รู้จักคำว่าจิตสำนึก  เพิ่มขึ้นอีก ก็จะทำให้ประเทศชาติ สังคม ก้าวหน้าทางด้านจิตใจได้ มิใช่เพียงแต่ความเจริญก้าวหน้าทางด้านวัตถุเพียงอย่างเดียว

                จิตสำนึก ในแง่ของการสั่นสะเทือนทางจิตสำนึก หมายถึง การที่ตัวคุณเกิดพฤติกรรมภายใน เป็นการนึกคิด และเกิดอารมณ์รู้สึก เมื่อมีสิ่งเร้ามากระทบจิตใจคุณจนนำไปสู่การแสดงออก หรือการกระทำทางกายหรือคำพูด เพื่อตอบสนองสิ่งเร้านั้น

ความคิดหรือความรู้สึกที่เกิดขึ้นในจิตใจ จนเกิดอารมณ์ต่างๆ และเกิดข้อมูลที่คุณคิดขึ้นมาได้ในขณะนั้น ล้วนเกิดจากการสั่นสะเทือนในจิตใจและสมองของเรา ส่วนการแสดงออกเป็นภาษาท่าทาง หรือการกระทำทางกายซึ่งรวมทั้งภาษาพูดภาษาเขียนนั้น เกิดจากการสั่นสะเทือนทางร่างกายอันประกอบด้วยเซลล์ของอวัยวะต่างๆ ที่เราใช้แสดงออกหรือกระทำ

ซึ่งมันจะเกิดขึ้นหลังกระบวนการแรก 10 วินาทีเป็นอย่างช้า ถ้านำกระบวนการทั้งสองมารวมกัน เราอาจเรียกได้ว่า “การสั่นสะเทือนทางจิตสำนึก” 

                การสั่นสะเทือนทางจิตสำนึก หมายถึง การสั่นสะเทือนทางจิตใจและทางกายของมนุษย์ ในการแสดงออกและการกระทำใด ๆ

ร่วมกัน กับประสบการณ์ของมนุษย์ ในการอยู่ท่ามกลางบุคคลอื่นๆ จำนวนมาก และอยู่ท่ามกลางสิ่งแวดล้อมที่หลากหลาย

ทำให้มนุษย์เกิดความเคยชินในการใช้จิตสำนึกของตน แสดงพฤติกรรมแบบต่างๆ มากมายอย่างเป็นอัตโนมัติ มีทั้งพฤติกรรม

ที่เหมาะสมและพฤติกรรมแย่ รวมทั้งการสร้างมิตรและศัตรูอยู่ตลอดเวลา เนื่องจากแสดงออกเพื่อตอบสนองสิ่งเร้าภายใน

ของตนเอง และสิ่งเร้าภายนอก ที่คอยยั่วยุ โดยไม่หยุดยั้งคิดว่า พฤติกรรมนั้นถูกต้อง ผิด ชอบ ชั่ว ดีเพียงใด ใช้ความเป็นธรรมชาติที่เคยชินของตัวเองมากเกินไป ซึ่งคุณจะค้นพบว่า บางครั้งเมื่อทำผิดพลาดไปแล้ว คิดผิดไปแล้วทำให้ต้องมาเสียใจ

ภายหลังด้วยซ้ำไป กรณีเช่นนี้เรียกว่า “ใช้จิตสำนึกไม่เป็น”
                สำหรับทฤษฎีจิตวิเคราะห์ ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ คิดค้นโดย Sigmund Freud (1856-1939) ซึ่งเป็นจิตแพทย์ชาวเวียนนีส

ทฤษฎีของเขาได้รับการยอมรับเป็นอย่างมากในยุคนั้น มีแนวคิดต่าง ๆ เกี่ยวกับปัญหาด้านจิตใจที่พัฒนาตามมาอีกมากมาย

แม้ในปัจจุบันความสำคัญของทฤษฎีจิตวิเคราะห์จะมีบทบาทลดลง ทฤษฎีด้านชีวภาพและการรักษาด้วยยามีบทบาทมากขึ้น

แต่ก็ยังเป็นที่ยอมรับกันว่า ทฤษฎีจิตวิเคราะห์เป็นส่วนที่ช่วยให้เข้าใจปรากฏการณ์ต่าง ๆ ของจิตใจได้เป็นอย่างดี

                ทฤษฎีพื้นฐานจิตใจของคนเรา สามารถแบ่งได้เป็น 3 ระดับตามการรับรู้ ได้แก่

                                1. จิตสำนึก (The conscious) เป็นส่วนของจิตใจที่คนเรารู้สึกนึกคิดอยู่ในแต่ละขณะ

                                2. จิตก่อนสำนึก (The preconscious) เป็นส่วนของจิตใจที่ตามปกติแล้วเราไม่ได้ตระหนักถึง แต่หากใช้

ความตั้งใจก็จะขึ้นมาสู่จิตสำนึกได้ เช่น การพยายามนึกถึงเหตุการณ์บางอย่างในอดีต

                                3. จิตไร้สำนึก (The unconscious) เป็นความรู้สึกนึกคิด หรือความต้องการที่อยู่ในส่วนลึกของจิตใจ ตามปกติไม่อาจขึ้นมาในระดับจิตสำนึกได้ อาจแสดงออกมาในความฝัน หรือแสดงเป็นอาการต่าง ๆ ของผู้ป่วย ซึ่งจะเบี่ยงเบน

ไปจากความคิดหรือความต้องการดั้งเดิม

                ส่วน ฟรอยด์ แบ่งกระบวนการคิดออกเป็น 2 ลักษณะ

                ลักษณะที่หนึ่ง Secondary Process เป็นกระบวนการคิดที่เราคุ้นเคยและใช้กันอยู่ ในระดับจิตสำนึกและจิตก่อนสำนึกมีกระบวนการคิดเช่นนี้ เป็นการคิดที่ยึดเหตุผล มองสิ่งต่าง ๆ ตามความเป็นจริง (reality principle) เช่น คนเราบางครั้งผิดหวังและบางครั้งก็มีสมหวัง หรือสิ่งที่ต้องการบางอย่างอาจต้องรอคอยบ้าง

                ลักษณะที่สอง Primary Process เป็นกระบวนการคิดในระดับจิตไร้สำนึก วิธีคิดเป็นแบบเด็ก ๆ ไม่เป็นเหตุเป็นผล

ไม่สนใจเรื่องเวลาหรือสถานที่ สิ่งที่ต้องการคือ ความสุข ความสมหวัง ซึ่งหากต้องการก็จะต้องได้รับการตอบสนองทันทีจึงจะพอใจ โดยไม่คำนึงว่าผลตามมาจะเป็นอย่างไร (pleasure principle) ตัวอย่างที่เห็นชัดได้แก่ การฝัน ซึ่งเหตุการณ์

ทุกอย่างสามารถเกิดขึ้นได้ สิ่งที่อยู่คนละมิติ คนละเวลากัน สามารถมาอยู่ด้วยกันได้ หากนึกถึงอะไรก็จะได้สิ่งนั้น นอกจากการแบ่งจิตใจออกเป็น 3 ระดับแล้ว ซึ่งสามารถอธิบายกลไกทางจิตที่สำคัญใน ตารางที่ 1  กลไกทางจิตที่สำคัญ   

ชื่อกลไกทางจิต

ความหมาย

ตัวอย่าง

Sublimation

เปลี่ยนความรู้สึกหือแรงผลักดันให้เป็นรูปแบบที่สังคมยอมรับ              

นายดำชอบความรุนแรง ก้าวร้าวเลยไปเป็นนักมวย               

Suppression

จัดการกับความขัดแย้งที่เกิดขึ้นโดยการใช้วิธีเก็บปัญหาเอาไว้ก่อน อยู่ในระดับจิตสำนึกบอกตนเองว่าถึงกังวลไปก็ทำอะไร ไม่ได้ รอผลสอบออกมาแล้วค่อยมาว่ากัน

กังวลใจหลังสอบเพราะรู้สึกว่าทำไม่ค่อยได้อีกครั้งหนึ่ง                   

Repression

เก็บกดความคิด ความรู้สึกหรือความต้องการที่ตนเองยอมรับไม่ได้ไว้ในระดับจิตไร้สำนึก                                 

ผู้ป่วยไม่ทราบว่าตนเคยถูกข่มขืน

ตอนอยู่ชั้นประถมจนกระทั่งได้อ่านจากไดอารี่ของแม่

Denial

หลีกเลี่ยงการรับรู้ความเป็นจริงที่ทนรับไม่ได้โดยการปฏิเสธการรับรู้                        

แพทย์บอกผู้ป่วยว่าเป็นมะเร็ง ผู้ป่วยไม่เชื่อและไม่สนใจสิ่งที่แพทย์แนะนำ                  

Projection

เป็นการโยนความรู้สึกหรือความต้องการที่ตนเองรับไม่ได้ให้เป็นของผู้อื่น                                                

ผู้ป่วยไม่ชอบหัวหน้างานเกิดความรู้สึกว่าหัวหน้างาน กลั่นแกล้ง ไม่ไว้ใจตนเอง         

Displacement

การเปลี่ยนเป้าหมายที่ตนเองเกิดความรู้สึกไปยังทีอื่นซึ่งมีผลเสียต่อตนเองน้อยกว่า

ผู้ป่วย ถูกหัวหน้าตำหนิรู้สึกโกรธ แต่ทำอะไรไม่ได้มาฉุนเฉียวกับคนรับใช้ที่บ้าน  

Reaction-formation    

ความต้องการหรือความรู้สึกที่ตนเองรับไม่ได้ถูกเปลี่ยนไปเป็นสิ่งในภาวะตรงข้าม                                 

ภรรยารู้สึกไม่ชอบน้องชายสามี เห็นว่าเป็นคนเจ้าชู้โดยในส่วนลึกแล้วชอบเพราะเหมือนแฟนเก่า                    

Rationalization

การหาสิ่งที่ฟังดูเป็นเหตุเป็น ผลมาอธิบายความคิดหรือการกระทำตนเองที่จิตใจยอมรับไม่ได้                      

นายแดงซึ่งอ้วนกินอาหารที่งานเลี้ยงมาก โดยบอกตนเองว่าครั้งนี้ที่กินมากเพราะเป็นเจ้าภาพแขกจะได้กินตามสบาย โดยไม่เขิน 

Intellectuali zation

หันเหความสนใจไปสู่เรื่องของการใช้ความคิด ปรัชญาต่าง ๆ เพื่อเลี่ยงการเผชิญกับความรู้สึกไม่สบายใจ

นักบอลศูนย์หน้าทีมที่แพ้เลี่ยงความรู้สึกว่าตนเองแย่โดยการหันมาสนใจรายละเอียดเรื่องการวางแผน และขั้นตอนที่บกพร่อง        

Isolation  

อารมณ์ที่เกิดขึ้นควบคู่กับความนึกคิดถูกแยกออกและเก็บกดไว้เมื่อแพทย์ถาม  ตอบว่าไม่รู้สึกอะไร           

ผู้ป่วยเล่าเหตุการณ์ที่พ่อทารุณ ตนเองตอนเด็กด้วยท่าทางเฉย ๆ  

                สำหรับจิตสำนึก ในทางการแพทย์ ทำการตรวจระดับสติสัมปชัญญะ หรือความรู้สึกตัวของคน และแบ่งเป็นระดับต่างๆ

ของความรู้สึกตัว หรือสมปฤดี (consciousness) ระดับที่มีความรู้สึกตัวดี เรียกว่า conscious ถ้าไม่รู้สึกตัวเรียกว่า unconscious

ระดับที่ไม่รู้สึกตัวโดยสมบูรณ์ เรียกว่า โคม่า (coma) ในทางจิตเวชศาสตร์ มีการแบ่งจิตใจ เป็น ส่วนต่างๆ ตามระดับของ

ความรู้ตัว โดยอิงทฤษฎีจิตวิเคราะห์ ส่วนของจิตใจที่เรารับรู้ได้ เรียกว่า จิตสำนึก (Conscious) ส่วนของจิตใจที่เราไม่รับรู้ เรียกว่า จิตไร้สำนึก (Unconscious) และส่วนของจิตไร้สำนึก ที่เกือบจะมาอยู่ในจิตสำนึกแล้ว เรียกว่า จิตกึ่งสำนึก(Preconscious)

คำว่า จิตสำนึก เมื่อนำมาใช้ในภาษาทั่วไป หมายถึง ภาวะที่ตื่นและมีความรู้สึก สามารถตอบสนองต่อสิ่งเร้าได้   

                ประเทศชาติจะเจริญกว่านี้หลายเท่า หากประชาชนชาวไทยมีจิตสำนึกในหลายอย่าง และการที่มีปัญหามากมาย

ในบ้านเมืองเรา เกี่ยวข้องกับการที่คนไทยขาดจิตสำนึกในหลายๆ เรื่อง อุบัติเหตุ เป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนว่า สามารถป้องกันได้หากคนที่เกี่ยวข้อง มีจิตสำนึกแห่งความปลอดภัย คนที่ใช้รถใช้ถนนทุกคน ควรมีจิตสำนึกอยู่เสมอว่า ต้องไม่ขับรถ

ในขณะมึนเมาหรือง่วงนอน ต้องมีสติ มีการตัดสินใจดี และมีสมาธิตลอดเวลาที่ขับรถ ไม่ฝ่าฝืนกฎจราจร และไม่ขับรถ

ด้วยความประมาท เพียงเท่านี้อุบัติเหตุ และความสูญเสียต่างๆ จะลดลง อย่างชนิดที่เรียกว่า ต่ำกว่าราคาหุ้นแน่นอน  

                พล.อ.เปรม รัฐบุรุษของไทย ได้กล่าวถึง จริยธรรม 7 จิตสำนึก ต้องการกระตุ้นให้ผู้นำพึงสำเหนียก ถึง จริยธรรมและ

จิตสำนึกของผู้นำที่ควรปฏิบัติ พล.อ.เปรมได้กล่าวถึงการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (Good Governance) จำเป็นต้องใช้