ข่าวการแทรกแซงราคาของรัฐบาล 2563

“นฤมล” คาด “เฟด” ขึ้นดอกเบี้ยทำ “ค่าเงินบาท” อ่อนต่อ ระบุ ไม่ควรเข้าแทรกแซงตลาด ภาคเอกชนควรศึกษา ควรศึกษา-ป้องกันความเสี่ยง โดยรัฐบาล-หน่วยงานเกี่ยวข้อง ร่วมกันดูแล ไม่ให้ต้นทุนสูงเกินไป

Show

วันนี้ (3 พ.ย.) ศ.ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ เหรัญญิกพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว ศ.ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ ระบุถึง ความเคลื่อนไหวในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ หรือ Federal Open Market Committee (FOMC) ซึ่งเป็นไปตามคาด มีมติขึ้นดอกเบี้ย 0.75% เป็น 4.00%

ข่าวการแทรกแซงราคาของรัฐบาล 2563

โดยเป็นการขึ้นครั้งละ 0.75% เป็นครั้งที่ 4 หลังจากที่เคยขึ้นมาแล้วเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 27 กรกฎาคม และ 21 กันยายน ทั้ง 2 ครั้งก่อนหน้า ก็ขึ้นดอกเบี้ยไป 0.25% เมื่อวันที่ 17 มีนาคม และ 0.5% เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม

สะท้อนให้เห็นว่า ในระยะเวลาเพียงแค่ 6 เดือน FOMC มีมติปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยไปแล้วถึง 3.75% ทำให้อัตราดอกเบี้ยนโยบาย ขยับขึ้นมาจาก 0.25% เป็น 4.0% แล้ว  และยังส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยต่อไปอีก เพื่อต่อสู้กับอัตราเงินเฟ้อ

แต่คาดว่า จากนี้ไป คงขึ้นครั้งละไม่มากเท่านี้ น่าจะเป็นครั้งละ 0.25-0.5% และอัตราดอกเบี้ยนโยบาย น่าจะไปแตะระดับสูงสุดปีหน้าที่ประมาณ 4.75-5.0%

ภารกิจหลักของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) คือ รักษาเสถียรภาพของราคา และดูแลตัวเลขการจ้างงานให้อยู่ในระดับที่สูง ดังนั้นในช่วงที่เศรษฐกิจเร่งตัวขึ้นแรงไป อัตราเงินเฟ้อสูง จะขึ้นดอกเบี้ยเพื่อลดความร้อนแรง เช่น ช่วงปี 2558-2561 ขึ้นดอกเบี้ยรวม 2.25%

หรือช่วงที่เศรษฐกิจชะลอตัว อัตราการว่างงานสูง ก็จะลดดอกเบี้ย อย่างช่วงปี 2562-2563 ก็ลดดอกเบี้ยร่วม 2.25% เพื่อประคองตัวเลขการจ้างงาน และกระตุ้นเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 และผลกระทบจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐ กับจีน

ล่าสุด วันนี้จะมีการประชุมของธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) คาดขึ้นดอกเบี้ย 0.75% เป็น 3.00% สำหรับการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน( กนง.) ของไทยมีกำหนดประชุมอีกครั้งเดือนพฤศจิกายน คาดว่า จะทยอยขึ้นดอกเบี้ยอีก 0.25% หากจำเป็น

ข่าวการแทรกแซงราคาของรัฐบาล 2563

เมื่อสหรัฐยังขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่อง สกุลเงินอื่นย่อมอ่อนค่าลง มากน้อย เป็นไปตามอัตราดอกเบี้ยส่วนต่าง และอุปสงค์อุปทานในตลาด เงินบาทน่าจะอ่อนค่าลงอีก ซึ่งทางธนาคารแห่งประเทศไทย( ธปท.) ดูแลแบบรอบคอบอยู่แล้ว ไม่ให้เงินบาทผันผวนมากเกินไป

สำหรับผู้ประกอบการที่มีความเสี่ยงจากความผันผวนของของค่าเงินบาท ไม่ควรเรียกร้องให้รัฐบาลเข้ามารับผิดชอบเรื่องนี้ เพราะเราไม่ควรแทรกแซงค่าเงินโดยตรง หากไม่มีความจำเป็น

ไทยเราเคยมีประสบการณ์การแทรกแซงค่าเงิน จนเกิดความสูญเสียจำนวนมากมาแล้วในอดีต ภาคเอกชน ควรศึกษาและป้องกันความเสี่ยง โดยมีรัฐบาล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันกำกับดูแล ไม่ให้ต้นทุนในการป้องกันความเสี่ยงสูงเกินไป

บุญทรง เผย คณะกรรมการน้ำมันพืชฯ แทรกแซงรับซื้อเนื้อมะพร้าวตากแห้ง21บ./กก. แก้ปัญหาราคาตก3เดือน คาดใช้งบ 40 ล้าน

บุญทรง เผย คณะกรรมการน้ำมันพืชฯ แทรกแซงรับซื้อเนื้อมะพร้าวตากแห้ง21บ./กก. แก้ปัญหาราคาตก3เดือน คาดใช้งบ 40 ล้าน

นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการน้ำ มันพืชและพืชน้ำมันมีมติ แทรกแซงราคามะพร้าวกระเทาะเปลือกชนิดตากแห้งในอัตรากิโลกรัมละ 21 บาท เป็นระยะเวลา 3 เดือนตั้งแต่เดือนสิงหาคมถึงตุลาคม โดยคาดว่าจะมีการแทรกแซงอยู่ที่ประมาณ 9,000 ตัน เป็นวงเงิน 40 กว่าล้านบาท เพื่อพยุงราคามะพร้าวที่ตกต่ำ อย่างไรก็ตาม เกษตรกรพอใจในราคาแทรกแซงดังกล่าวเนื่องจากจะทำให้ราคามะพร้าวลูก อยู่ที่ลูกละ 7 บาท ซึ่งมากกว่าต้นทุนที่แท้จริงที่อยู่ที่ 6 บาท 19 สตางค์ และจากการรายงานในที่ประชุมไม่พบว่าไม่มีการนำเข้ามะพร้าวเป็นจำนวนมาก เพราะนำเข้าตามกรอบของ AFTA และตามกรอบอาเซียน ส่วนกรณีที่ฝ่ายค้านเตรียมยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจโดยเฉพาะโครงการรับจำนำข้าวนั้น

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพานิชย์ กล่าวว่า พร้อมชี้แจงในทุกประเด็นและมีการเตรียมข้อมูลไว้พร้อมแล้ว ทั้งนี้กรณีการทุจริต หรือสวมสิทธิ์ การรับจำนำข้าวนั้น ได้สั่งการให้ตรวจปริมาณข้าวในสต๊อกรัฐบาลทั้งหมดแล้ว ซึ่งคาดว่าการสวมสิทธิ์ไม่น่าจะเกิดขึ้น เพราะรัฐบาลได้มีการตรวจสอบและรับขึ้นทะเบียนอย่างเข้มงวด โดยจะแล้วเสร็จภายใน 30 วัน ขณะที่การรับจำนำข้าวประจำฤดูการผลิต 55/56 คาดว่า จะใช้หลักเกณฑ์เดียวกันกับปีนี้ในการรับจำนำ ซึ่งจะมีข้าวที่มาจำนำอยู่ที่ 17-18 ล้านตัน

จี้รัฐแทรกแซง "ราคามะพร้าว" !! ห้ามนำเข้า 3 เดือน ไม่ช่วย - นัดรวมพลกดดัน 3 ส.ค.

แชร์

27 กรกฎาคม 2561

ชาวสวนนัดรวมพลจี้ "ผู้ว่าฯประจวบ-สนธิรัตน์" แก้ปัญหาราคามะพร้าวตกต่ำ-ล้นตลาด ชงแทรกแซงตลาดเนื้อมะพร้าวแห้งความชื้น 5% ณ จุดรับซื้อ กก. ละ 25-30 บาท ฮือบุกกระทรวงกดดัน! ด้าน รมว.พาณิชย์ เล็งขยายเวลาห้ามนำเข้าเพิ่ม

จากสถานการณ์ราคามะพร้าวมีแนวโน้มตกต่ำอย่างต่อเนื่อง กระทรวงพาณิชย์ได้เสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ออกมาตรการห้ามนำเข้ามะพร้าวชั่วคราวจากต่างประเทศเป็นระยะเวลา 3 เดือน ตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค. ถึง 31 ต.ค. 2561 เพื่อแก้ไขปัญหานั้น

นายพงษ์ศักดิ์ บุตรรักษ์ ประสานงานผู้ปลูกมะพร้าวเกษตรอินทรีย์ อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า การระงับการนำเข้ามะพร้าว 3 เดือน ไม่ได้แก้ปัญหาเรื่องราคาเลย เนื่องจากเวลานี้โรงงานกะทิและผลิตภัณฑ์มะพร้าว รวมถึงล้ง ได้นำมะพร้าวเข้ามาเต็มโกดังหมดแล้ว ขณะที่อีกด้านหนึ่ง มีผลผลิตมะพร้าวของเกษตรกรออกมากว่า 60 ล้านผล ทุกเดือน แต่ไม่มีผู้รวบรวมมะพร้าว (ล้ง) ของโรงงานรับซื้อเลย ดังนั้น กระทรวงพาณิชย์ต้องรับผิดชอบ โดยใช้โครงการรักษาเสถียรภาพราคามะพร้าว แทรกแซงตลาดมะพร้าวในรูปของเนื้อมะพร้าวแห้งความชื้น 5% ณ จุดรับซื้อ ในราคากิโลกรัมละ 25-30 บาท โดยแทรกแซงจนกว่าราคามะพร้าวแห้งทั้งผลจะกลับสู่ภาวะปกติ คือ ลูกละ 13-15 บาท จากราคา ณ วันที่ 22 ก.ค. 2561 อยู่ที่เพียงลูกละ 4-5 บาท


ข่าวการแทรกแซงราคาของรัฐบาล 2563


"วันที่ 3 ส.ค. 2561 ทางเครือข่ายเกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าว จ.ประจวบคีรีขันธ์ จะไปทวงคำตอบจากผู้ว่าราชการจังหวัด เนื่องจากเมื่อวันที่ 30 พ.ค. 2561 ได้ยื่นหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และในวันนั้นจะนัด นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ด้วย เพื่อหารือแก้มะพร้าวตกต่ำ แต่ถ้าไม่มา สัปดาห์ถัดไปจะนัดกันไปที่กระทรวงพาณิชย์ เนื่องจากมาตรการห้ามนำเข้าช้าไปแล้ว"

สอดคล้องกับ นายอำนาจ มณีแดง ตัวแทนเกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าว ในคณะกรรมการพืชน้ำมันและน้ำมันพืช เผยว่า วันนี้ชาวสวนเดือดร้อนมาก กังขาการทำงานของกระทรวงพาณิชย์เอื้อเอกชนหรือไม่ เพราะการเปิดให้นำเข้ามาถึง 5 แสนตัน หรือกว่า 500 ล้านผล ในช่วงเดือน ม.ค. ถึง เม.ย. ที่ผ่านมา ครบเต็มจำนวนแล้ว ถามว่าอนุญาตได้อย่างไร เพราะ 500 ล้านผล สามารถผลิตน้ำกะทิบรรจุกล่องขนาด 250 มิลลิลิตร ได้ถึง 900 ล้านกล่อง (ค่าไขมันที่ 17%) สามารถขายได้ 12-14 เดือน โดยไม่ต้องซื้อมะพร้าวในประเทศเลย นอกจากนี้ ยังมีนำเข้าน้ำกะทิจากต่างประเทศเข้ามาอีกประมาณ 50 ล้านลิตร สามารถผลิตเป็นน้ำกะทิบรรจุกล่องขนาด 250 มิลลิลิตร ได้ 200 ล้านกล่อง

"จะทำหนังสือฟ้องศาล เอาผิดรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ มาตรา 157 ที่อนุมัตินำเข้าโดยมิชอบ ที่ผ่านมาได้ทำหนังสือคัดค้านแล้วว่า ไทยไม่ขาดแคลนมะพร้าว"

ด้าน นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่ากระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า หลังวันที่ 1 ส.ค. นี้ จะมีการประเมินผลอีกครั้ง ว่า มาตรการห้ามนำเข้ามะพร้าวชั่วคราว 3 เดือน ได้ผลหรือไม่ และจะพิจารณาทบทวนสถานการณ์ ว่า จะมีความจำเป็นหรือไม่ที่จะต่ออายุมาตรการ


……………….
เซกชัน : การค้า-การลงทุน โดย นสพ.ฐานเศรษฐกิจ

หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,386 วันที่ 26-28 ก.ค. 2561 หน้า 08

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
● “พาณิชย์” จ่อระงับนำเข้ามะพร้าว 3 เดือน
● ห้ามนำเข้ามะพร้าว 3 เดือน แก้ปัญหาราคาตกต่ำ


ข่าวการแทรกแซงราคาของรัฐบาล 2563

4 ชั่วโมงที่แล้ว

เปิด 10ตลาดส่งออกสำคัญของไทยยังโตต่อเนื่อง

10 ชั่วโมงที่แล้ว

"อีอีซี"ดันการลงทุนรัฐ-เอกชนทะลุ 5 แสนล้าน จ้างงาน 4 หมื่นคน

12 ชั่วโมงที่แล้ว

ข้อเท็จจริง ศก.สหรัฐถดถอย เงินเฟ้อ-ดอกเบี้ยพุ่ง โอกาสอาหารไทย

12 ชั่วโมงที่แล้ว

รฟท.จี้บอร์ดกบอ.แก้สัญญาไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน

12 ชั่วโมงที่แล้ว

นายกฯ บี้ 6 รัฐวิสาหกิจเจ้าปัญหา เร่งฟื้นฟูองค์กร

โควิดจีนพ้นจุดพีกจากติดเชื้อ 7 ล้าน-ตาย 4 พันต่อวันภายใน 2 เดือน

26 ม.ค. 2566

BDMS แจ้งตั้งบริษัทย่อยในซาอุดิอาระเบีย รุกธุรกิจการตลาด โฆษณา

26 ม.ค. 2566

แนวโน้มตลาดหุ้นไทยวันนี้ ปรับตัวกรอบแคบ 1,660-1,678 จุด

26 ม.ค. 2566

เช็คตารางแสดง"ดนตรีในสวน" 28-29 ม.ค.66 มีศิลปิน-วงไหนบ้าง ดูที่นี่

26 ม.ค. 2566

ประธานบอร์ด ก.ล.ต.แซด ปิด บล.เอเชียเวลท์ อันเป็นที่รัก?

26 ม.ค. 2566