พร บ การ บริหาร จัดการ บ้านเมือง ที่ ดี

ข้อมูลการขับเคลื่อนคุณธรรมความโปร่งใส( ITA Online ) : 2565

Show

ประกาศเจตจำนงในการบริหารงาน

ข้อมูลพื้นฐาน

การบริหารงาน

การบริหารเงินงบประมาณ

การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล

การส่งเสริมความโปร่งใส

การดำเนินการเพื่อป้องกันการทุจริต

มาตรการภายในเพื่อป้องกันการทุจริต

ฉะนั้นการจับใจความจึงเป็นหลักสำคัญ และการที่เราได้อ่านข้อสอบบ่อยๆ ลองทำแบบทดสอบบ่อยๆ โดยมีคำเฉลยอธิบายที่ละเอียดและชัดเจนเพียงพอ ก็จะทำให้เราเกิดความชำนาญ และสามารถจับใจความหลักนั้นได้เอง

พร บ การ บริหาร จัดการ บ้านเมือง ที่ ดี

แนวข้อสอบ ความรู้และลักษณะการเป็นข้าราชการที่ดี

แนวข้อสอบ กฏหมายการปฎิบัติงานราชการ

ในชุดที่ 1 จำนวน 4 ชุด จะมีข้อสอบจำนวน 40 ข้อ พร้อมคำเฉลยอธิบายละเอียด จะเป็นแบบทดสอบที่เกี่ยวข้องกับ

พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546

โดยความสำคัญของ พรฎ.ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 การบริหารราชการเพื่อให้เกิดประโยชน์สุขแก่ประชาชน คือการปฏิบัติราชการที่มีเป้าหมายให้เกิดประโยชน์สุขและความเป็นอยู่ที่ดีต่อประชาชน ส่วนราชการต้องถือว่าประชาชนเป็นศูนย์กลางแนวทางการทำงานต้องสอดคล้องกับภารกิจรัฐ ซื่อสัตย์สุจริต ตรวจสอบได้ ก่อนเริ่มดำเนินการต้องมีการศึกษาวิเคราะห์ให้รอบคอบด้าน มีกลไกการตรวจสอบ รับฟังความคิดเห็นของประชาชน เมื่อเกิดปัญหาต้องแก้ไขโดยเร็ว

การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ได้แก่ การบริหารราชการเพื่อบรรลุเป้าหมายต่อไปนี้
– เกิดผลประโยชน์สุขต่อประชาชน
– เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
– มีประสิทธิภาพคุ้มค่าต่อภารกิจของรัฐ
– ไม่มีขั้นตอนเกินความจำเป็น
– ปรับปรุงภารกิจที่ทันต่อสถานการณ์
– อำนวยความสะดวกและตอบสนองความต้องการของประชาชน
– ประเมินผลการทำงานสม่ำเสมอ

สารบัญ

พร บ การ บริหาร จัดการ บ้านเมือง ที่ ดี

แนวข้อสอบ ความรู้และลักษณะการเป็นข้าราชการที่ดี พร้อมเฉลย (แบบทดสอบที่ 1)

ข้อสอบ กฎหมายในการปฏิบัติงานราชการ พร้อมเฉลย จำนวน 10 ข้อ : เป็นข้อสอบ ที่เกี่ยวกับ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546


1. ข้อใดไม่ใช่เป้าหมายของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี

 

1. เพื่อประเมินการทำงานอย่างสม่ำเสมอ

2. เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชน

3. ให้มีขั้นตอนการทำงานที่หลากหลายระดับ เหมาะสมแก่ภารกิจ

4. เพื่อให้เกิดประโยชน์สุขแก่ประชาชน

 

ดูเฉลย

ตอบข้อ 3. เพราะ : มาตรา 6 การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ได้แก่
1) เกิดผลประโยชน์สุขของประชาชน
2) เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
3) มีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ
4) ไม่มีขั้นตอนในการปฏิบัติงานเกิดความจำเป็น
5) มีการปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการให้ทันต่อสถานการณ์
6) ประชาชนได้รับการอำนวยความสะดวกและได้รับการตอบสนองความต้องการ
7) มีการประเมินผลการปฏิบัติราชการอย่างสม่ำเสมอ

 


2. ข้อใดคือความหมายของการบริหารราชการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน

 

1. การบริหารที่คำนึงถึงความผาสุกของประชาชนและประโยชน์สูงสุดต่อประเทศ

2. การบริหารที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ

3. การบริหารที่มีเป้าหมายในการเพิ่มรายได้ให้ประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

4.การบริหารงานที่มีเป้าหมายชัดเจน มีขั้นตอนการวางแผนที่ดี

 

ดูเฉลย

ตอบข้อ 1. เพราะ : มาตรา 7 การบริหารราชการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน หมายถึง การปฏิบัติราชการที่มีเป้าหมายเพื่อให้เกิดความผาสุกและความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชนความสงบและปลอดภัยของสังคมส่วนรวม ตลอดจนประโยชน์สูงสุดของประเทศ

 


3. ข้อใดไม่ถูกต้อง เกี่ยวกับการบริหารราชการเพื่อให้เกิดประโยชน์สุขของประชาชน

 

1. ต้องรับฟังความคิดเห็นและความพึงพอใจของสังคมโดยรวมเพื่อปรับปรุงการทำงาน

2. ในการกำหนดภารกิจของรัฐ ต้องมีวัตถุประสงค์สอดคล้องกับแนวนโยบายแห่งรัฐ

3. ก่อนการดำเนินการต้องมีการศึกษาวิเคราะห์ผลดี ผลเสียในรอบด้าน

4. ไม่มีข้อถูก

 

ดูเฉลย

ตอบข้อ 4. เพราะ : มาตรา 8 ในการบริหารราชการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน ส่วนราชการจะต้องดำเนินการโดยถือว่าประชาชนเป็นศูนย์กลางที่จะได้รับการบริการจากรัฐและจะต้องมีแนวทางการบริหารราชการดังต่อไปนี้
1) การกำหนดภารกิจของรัฐและส่วนราชการต้องเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ของตามมาตรา 7 และสอดคล้องกับแนวนโยบายแห่งรัฐและนโยบายของคณะรัฐมนตรีที่แถลงต่อรัฐสภา
2) การปฎิบัติภารกิจของส่วนราชการต้องเป็นไปโดยซื่อสัตย์สุจริตสามารถตรวจสอบได้ และมุ่งให้เกิดประโยชน์สุขแก่ประชาชนทั้งในระดับประเทศและท้องถิ่น
3) ก่อนเริ่มดำเนินการ ส่วนราชการต้องจัดให้มีการศึกษาวอเคราะห์ผลดีและผลเสียให้ครบถ้วนทุกด้าน กำหนดขั้นตอนการดำเนินการที่โปร่งใส มีกลไกตรวจสอบการดำเนินการในแต่ละขั้นตอนในกรณีที่ภารกิจใดจะมีผลกระทบต่อประชาชนส่วนราชการต้องดำเนินการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนหรือชี้แจงทำความเข้าใจเพื่อให้ประชาชนได้ตระหนักถึงผลประโยชน์ที่ส่วนรวมจะได้รับจากภารกิจนั้น
4) ให้เป็นหน้าที่ของข้าราชการที่จะต้องคอยรับฟังความคิดเห็นและความลุงพอใจของสังคมโดยและประชาชนผู้รับบริการ เพื่อปรับปรุงหรือเสนอแนะต่อผู้บังคับบัญชา เพื่อให้มีการปรับปรุงวิธีปฏิบัติราชการให้เหมาะสม
5) ในกรณีที่เกิดปัญหาและอุปสรรคจากการดำเนินการ ให้ส่วนราชการดำเนินการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคนั้นโดยเร็ว ในกรณีที่ปัญหาหรืออุปสรรคนั้นเกิดขึ้นจากส่วนราชการอื่นหรือระเบียบข้อบังคับที่ออกโดยส่วนราชการอื่น ให้ส่วนราชการแจ้งให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องทราบเพื่อดำเนินการแก้ไขปรับปรุงโดยเร็วต่อไปและให้แจ้งคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการทราบด้วย
 

 


4. กรณีที่ภารกิจใดที่มีความเกี่ยวข้องกับส่วนราชการอื่นจะต้องทำอย่างไร

 

1. รายงานปัญหาต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อตรวจสอบแก้ไข

2. ให้ทำงานร่วมกันอย่างบูรณาการ

3. ให้มีการประชุมเพื่อวางแผนแก้ไขระเบียบข้อกำหนดการทำงานไม่ให้ทับซ้อนกัน

4. ถูกทุกข้อ

 

ดูเฉลย

ตอบข้อ 2. เพราะ : มาตรา 10 ในกรณีที่ภารกิจใดมีความเกี่ยวข้องกับหลายส่วนราชการ หรือเป็นภารกิจที่ใกล้เคียงหรือต่อเนื่องกัน ให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องนั้นกำหนดแนวทางการปฏิบัติราชการเพื่อให้เกิดการบริหารราชการแบบบูรณาการร่วมกัน โดยมุ่งให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ ให้ส่วนราชการมีหน้าที่สนับสนุนการปฏิบัติราชการของผู้ว่าราชการจังหวัดหรือหัวหน้าคณะผู้แทนในต่างประเทศ เพื่อให้การบริหารราชการแบบบูรณาการในจังหวัดหรือในต่างประเทศ แล้วแต่กรณี สามารถใช้อำนาจตามกฎหมายได้ครบถ้วนตามความจำเป็นและบริหารราชการได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

 


5. หน่วยงานใดเป็นผู้จัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดินเสนอต่อคณะรัฐมนตรี

 

1. สํานักงบประมาณ สํานักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี

2. สำนักงบประมาณ สํานักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

3. สำนักงบประมาณและคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ

4. ไม่มีข้อถูก

 

ดูเฉลย

ตอบข้อ 2. เพราะ : มาตรา 13 ให้คณะรัฐมนตรีจัดให้มีแผนการบริหารราชการแผ่นดินตลอดระยะเวลาการบริหารราชการของคณะรัฐมนตรีเมื่อคณะรัฐมนตรีได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภาแล้ว ให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงบประมาณร่วมกันจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดินเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่คณะรัฐมนตรีแถลงนโยบายต่อรัฐสภา 

 


6. พระราชกฤษฎีการว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 ตราขึ้นตามกฎหมายใด

 

1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม

2. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและพระราชบัญญัติข้าราชการพลเรือน

3. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน

4. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินและพระราชบัญญัติวิธีปฎิบัติราชการทางปกครอง

 

ดูเฉลย

ตอบข้อ 3. เพราะ : พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีอาศัยอํานาจตามความในมาตรา 221 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยประกอบกับมาตรา 3/1 และมาตรา 71/10 (5) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ตราพระราชกฤษฎาขึ้นไว้

 


7. ใครเป็นผู้กําหนดให้ปฏิบัติตามพระราชกฤษฎีกาในทางปฏิบัติราชการ และจะปฏิบัติเมื่อใด และต้องมีเงื่อนไขอย่างไร

 

1. คณะรัฐมนตรี

2. นายกรัฐมนตรี

3. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงนั้น

4. ถูกทุกข้อ

 

ดูเฉลย

ตอบข้อ 1. เพราะ : พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 มาตรา 3 การปฏิบัติตามพระราชกฤษฎีกานี้ในเรื่องใด สมควรที่ส่วนราชการใดจะปฏิบัติเมื่อใด และจะต้องมีเงื่อนไขอย่างใด ให้เป็นไปตามที่คณะรัฐมนตรีกําหนดฯ 

 


8. หน่วยงานใดมีหน้าที่ให้ข้อเสนอแนะคณะรัฐมนตรี ก่อนการปฏิบัติตามพระราชกฤษฎีกาใ นการที่จะให้ส่วนราชการปฏิบัติเมื่อใด และจะมีต้องมีเงื่อนไขอย่างใด

 

1. สํานักงบประมาณ

2. ก.พ.ร.

3. ก.พ.

4. สํานักนายกรัฐมนตรี

 

ดูเฉลย

ตอบข้อ 2. เพราะ : พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 มาตรา 3 การปฏิบัติตามพระราชกฤษฎีกานี้ในเรื่องใดสมควรที่ส่วนราชการใดจะปฏิบัติเมื่อใด และจะต้องมีเงื่อนไขอย่างใด ให้เป็นไปตามที่คณะรัฐมนตรีกําหนดตามข้อเสนอแนะของ ก.พ.ร. (คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ)

 


9. คําว่า “ส่วนราชการ” ตามความหมาย พรฏ. ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 นั้นให้ความหมายถึงส่วนราชการตามกฎหมายใด

 

1. ตามกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม

2. ตามกฎหมายระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน

3. ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ และกฎหมายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

4. ถูกทุกข้อ

 

ดูเฉลย

ตอบข้อ 1. เพราะ : พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 มาตรา 4 “ส่วนราชการ” หมายความว่า ส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม และหน่วยงานอื่นของรัฐที่อยู่ในกํากับของราชการฝ่ายบริหาร แต่ไม่รวมถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

 


10. ข้อใดถูกต้อง เกี่ยวกับการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี นั้นจะต้องบริหารราชการให้บรรลุเป้าหมายทั้งหมดกี่ประการ

 

1. 3 ประการ

2. 5 ประการ

3. 7 ประการ

4. ขึ้นอยู่มติคณะรัฐมนตรีหรือนโยบายรัฐบาล

 

ดูเฉลย

ตอบข้อ 3. เพราะ : พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 มาตรา 6 การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ได้แก่ การบริหารราชการเพื่อบรรลุเป้าหมายดังต่อไปนี้
1. เกิดประโยชน์สุขของประชาชน
2. เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
3. มีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ
4. ไม่มีขั้นตอนการปฏิบัติงานเกินความจําเป็น
5. มีการปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการให้ทันต่อสถานการณ์
6. ประชาชนได้รับการอํานวยความสะดวกและได้รับการตอบสนองความต้องการ
7. มีการประเมินผลการปฏิบัติราชการอย่างสม่ำเสมอ

 



ทำแบบทดสอบ : พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534  » คลิก
ทำแบบทดสอบ : พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546  » คลิก

พร บ การ บริหาร จัดการ บ้านเมือง ที่ ดี

แนวข้อสอบ ความรู้และลักษณะการเป็นข้าราชการที่ดี พร้อมเฉลย (แบบทดสอบที่ 2)

ข้อสอบ กฎหมายในการปฏิบัติงานราชการ พร้อมเฉลย จำนวน 10 ข้อ : เป็นข้อสอบ ที่เกี่ยวกับ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546


1. การบริหารราชการเพื่อให้เกิดประโยชน์สุขของประชาชน หมายถึงการปฏิบัติราชการที่มีเป้าหมายตามข้อใด

 

1. เกิดความผาสุกและความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน

2. เกิดความสงบและปลอดภัยของสังคมส่วนรวม

3. เกิดประโยชน์สูงสุดของประเทศ

4. ไม่มีข้อใดผิด 

 

ดูเฉลย

ตอบข้อ 4. เพราะ : พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 มาตรา 7 การบริหารราชการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน หมายถึงการปฏิบัติราชการที่มีเป้าหมาย เพื่อให้เกิดความผาสุกและความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน ความสงบและปลอดภัยของสังคมส่วนรวม ตลอดจนประโยชน์สูงสุดของประเทศ 

 


2. ในการบริหารราชการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน ส่วนราชการจะต้องดําเนินการโดยถืออะไรเป็นศูนย์กลางในการบริการจากรัฐ 

 

1. นโยบายประเทศ

2. สังคมและชุมชน

3. ผู้นําและประชาชน

4. ประชาชน 

 

ดูเฉลย

ตอบข้อ 4. เพราะ : พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 มาตรา 8 ในการบริหารราชการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน ส่วนราชการจะต้องดําเนินการโดยถือว่าประชาชนเป็นศูนย์กลางที่จะได้รับบริการจากรัฐ และจะต้องมีแนวทางการบริหารราชการ ฯ

 


3. ในการกําหนดภารกิจของรัฐ และส่วนราชการ จะต้องเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ความสุขของประชาชนและสอดคล้องตามข้อใด 

 

1. สอดคล้องกับยุทธศาสตร์และวิสัยทัศน์การพัฒนาประเทศ

2. สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจสังคมแห่งชาติ

3. สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและที่ ก.พ.ร.กําหนด

4. สอดคล้องกับแนวนโยบายแห่งรัฐและนโยบายของคณะรัฐมนตรี 

 

ดูเฉลย

ตอบข้อ 4. เพราะ : พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 มาตรา 8 ในการบริหารราชการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน ส่วนราชการจะต้องดําเนินการโดยถือว่าประชาชนเป็นศูนย์กลางที่จะได้รับบริการจากรัฐ และจะต้องมีแนวทางการบริหารราชการดังต่อไปนี้
(1) การกําหนดภารกิจของรัฐและส่วนราชการต้องเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ตามมาตรา 7 และสอดคล้องกับแนวทางนโยบายแห่งรัฐและนโยบายของคณะรัฐมนตรีที่แถลงต่อรัฐสภา
(2) การปฏิบัติภารกิจของส่วนราชการต้องเป็นโดยซื่อสัตย์สุจริต สามารถตรวจได้ และมุ่งให้เกิดประโยชน์สุขแก่ประชาชนทั้งในระดับประเทศและท้องถิ่น
(3) ก่อนดําเนินการ ส่วนราชการต้องจัดให้มีการศึกษาวิเคราะห์ผลดีและผลเสียให้ครบถ้วนทุกด้าน กําหนดขั้นตอนการดําเนินการที่โปร่งใส มีกลไกตรวจสอบการดําเนินการในแต่ละขั้นตอน ในกรณีที่ภารกิจใด จะมีผลกระทบต่อประชาชน ส่วนราชการต้องดําเนินการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนหรือชี้แจงทําความเข้าใจเพื่อให้ประชาชนได้ตระหนักถึงประโยชน์ที่ส่วนรวมจะได้รับภารกิจนั้น
(4) ให้เป็นหน้าที่ของข้าราชการที่จะต้องคอยรับฟังความคิดเห็นและความพึงพอใจของสังคมโดยรวมและประชาชนผู้รับบริการ เพื่อปรับปรุงหรือเสนอแนะต่อผู้บังคับบัญชา เพื่อให้มีการปรับปรุงวิธีปฎิบัติราชการให้เหมาะสม
(5) ในกรณีที่เกิดปัญหาและอุปสรรคจากการดําเนินการ ให้ส่วนราชการดําเนินการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคนั้นโดยเร็ว ในกรณีที่ปัญหาหรืออุปสรรคนั้นเกิดขึ้นจากส่วนราชการอื่นหรือระเบียบข้อบังคับที่ออกโดยส่วนราชการอื่น ให้ส่วนราชการแจ้งให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องทราบ เพื่อดําเนินการแก้ไขปรับปรุงโดยเร็วต่อไปและแจ้งให้ ก.พ.ร.ทราบด้วยการดําเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้ส่วนราชการกําหนดวิธีปฏิบัติให้เหมาะสมกับภารกิจแต่ละเรื่อง ทั้งนี้ ก.พ.ร. จะกําหนดแนวทางการดําเนินการทั่วไปให้ส่วนราชการปฎิบัติให้เป็นไปตามมาตรานี้ด้วยก็ได้ 

 


4. ในการบริหารราชการเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ ส่วนราชการจะต้องปฏิบัติภารกิจนั้น จะต้องดําเนินการตามข้อใด เป็นอันดับแรก 

 

1. กําหนดภารกิจการบริหารราชการให้สอดคล้องกับแนวนโยบายของรัฐ

2. จัดให้มีการติดตามประเมินผลการปฏิบัติตามภารกิจหลักเกณฑ์และวิธีที่ส่วนราชการกําหนดขึ้น

3. รับฟังความคิดเห็นและความพึงพอใจของประชาชนผู้รับบริการมาศึกษาวิเคราะห์แล้วกําหนดภารกิจ

4. จัดทําแผนปฏิบัติการไว้เป็นการล่วงหน้า โดยมีรายละเอียดของขั้นตอน ระยะเวลาและงบประมาณ ตลอดจนเป้าหมาย ผลสัมฤทธิ์ และตัวชี้วัดความสําเร็จของภารกิจ 

 

ดูเฉลย

ตอบข้อ 4. เพราะ : พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 มาตรา 9 การบริหารราชการเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ ให้ส่วนราชการปฏิบัติดังนี้
(1) ก่อนดําเนินการภารกิจใด ส่วนราชการต้องจัดทําแผนปฏิบัติราชการไว้เป็นการล่วงหน้า
(2) การกําหนดแผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการ (1) ต้องมีรายละเอียดของขั้นตอน ระยะเวลาและงบประมาณที่จะต้องใช้ในการดําเนินการของแต่ละขั้นตอน เป้าหมายของภารกิจ ผลสัมฤทธิ์ ของภารกิจและตัวชี้วัดความสําเร็จของภารกิจ
(3) ส่วนราชการต้องจัดให้มีการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติตามแผนปฏิบัติราชการ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ส่วนราชการกําหนดขึ้น ซึ่งต้องสอดคล้องกับมาตรฐานที่ ก.พ.ร.กําหนด
(4) ในกรณีที่การปฏิบัติภารกิจ หรือการปฏิบัติตามแผนปฏิบัติราชการเกิดผลกระทบต่อประชาชน ให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการที่จะต้องดําเนินการแก้ไขหรือบรรเทาผลกระทบนั้น หรือเปลี่ยนแผนปฏิบัติราชการให้เหมาะสม

 


5. เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองทีดี พ.ศ. 2546 คืออะไร 

 

1. เพื่อให้การปฏิบัติงานของส่วนราชการตอบสนองต่อการพัฒนาประเทศ

2. มีการปฏิรูประบบราชการ

3. เพื่อให้การบริการแก่ประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

4. ถูกทุกข้อ 

 

ดูเฉลย

ตอบข้อ 4. เพราะ : เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่มีการปฏิรูประบบราชการ เพื่อให้การปฏิบัติงานของส่วนราชการตอบสนองต่อการพัฒนาประเทศ และให้บริการแก่ประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ซึ่งการบริหารราชการและการปฏิบัติหน้าที่ของส่วนราชการนี้ ต้องใช้วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีเพื่อให้บริหารราชการแผ่นดินเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ มีประสิทธิภาพ เกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ ลดขั้นตอนการปฏิบัติงานที่เกินความจําเป็น และประชาชนได้รับการอํานวยความสะดวกและได้รับการตอบสนองความต้องการ รวมทั้งมีการประเมินผลการปฎิบัติราชการอย่างสม่ําเสมอ และเนื่องจากมาตรา 7/1 แห่งพระราชบัญญัติบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 บัญญัติให้กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการปฏิบัติราชการ และการสั่งการให้ส่วนราชการและข้าราชการปฏิบัติราชการเพื่อให้การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี กระทําโดยตราเป็นพระราชกฤษฏีกา จึงจําเป็นต้องพระราชกฤษฎีนี้ 

 


6. กรณีที่ องค์กรมหาชน หรือ รัฐวิสาหกิจใด ไม่จัดให้มีหลักเกณฑ์การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ผู้มีอํานาจพิจารณาสั่งการให้องค์การมหาชน หรือรัฐวิสาหกิจนั้น ดําเนินการให้ถูกต้องคือใคร 

 

1. กระทรวงมหาดไทย

2. คณะรัฐมนตรี

3. ก.พ.ร.

4. รัฐมนตรีที่กํากับดูแลองค์การมหาชนหรือรัฐวิสาหกิจ 

 

ดูเฉลย

ตอบข้อ 4. เพราะ : พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 มาตรา 53 ให้องค์การมหาชนและรัฐวิสาหกิจ จัดให้มีหลักเกณฑ์การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีตามแนวทางของพระราชกฤษฎีกานี้ ในกรณีที่ ก.พ.ร. เห็นว่าองค์การมหาชนหรือรัฐวิสาหกิจใดไม่จัดให้มีหลักเกณฑ์ตามวรรคหนึ่ง หรือมีแต่ไม่สอดคล้องกับพระราชกฤษฎีกานี้ ให้แจ้งรัฐมนตรีซึ่งมีหน้าที่กํากับดูแลองค์การมหาชนหรือรัฐวิสาหกิจเพื่อพิจารณาสั่งการให้องค์การมหาชนหรือรัฐวิสาหกิจนั้นดําเนินการให้ถูกต้องต่อไป

 


7. หน่วยงานใดที่มีหน้าที่ดูแล และให้ความช่วยเหลือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการจัดทําหลักเกณฑ์การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี 

 

1. สํานักนายกรัฐมนตรี

2. กระทรวงมหาดไทย

3. คณะรัฐมนตรี

4. ก.พ.ร. 

 

ดูเฉลย

ตอบข้อ 2. เพราะ : พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 มาตรา 52 ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดทําหลักเกณฑ์การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ตามแนวทางของพระราชกฤษฎีกานี้ โดยอย่างน้อยต้องมีหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน และการอํานวยความสะดวกและการตอบสนองความต้องการของประชาชนที่สอดคล้องกับบทบัญญัติในหมวด 5 และหมวด 7 ให้เป็นหน้าที่ของกระทรวงมหาดไทย ดูแลและให้ความช่วยเหลือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดทําหลักเกณฑ์ตามวรรคหนึ่ง 

 


8. หน่วยงานใด ต้องจัดให้มีหลักเกณฑ์การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546

 

1. องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น

2. องค์กรมหาชน

3. รัฐวิสาหกิจ

4. ถูกทุกข้อ

 

ดูเฉลย

ตอบข้อ 4. เพราะ : พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546
มาตรา 52 ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดทําหลักเกณฑ์การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ตามแนวทางของพระราชกฤษฎีกานี้ โดยอย่างน้อยต้องมีหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน และการอํานวยความสะดวกและการตอบสนองความต้องการของประชาชนที่สอดคล้องกับบทบัญญัติในหมวด 5 และหมวด 7 ให้เป็นหน้าที่ของกระทรวงมหาดไทยดูแลและให้ความช่วยเหลือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดทําหลักเกณฑ์ตามวรรคหนึ่ง
มาตรา 53 ให้องค์การมหาชนและรัฐวิสาหกิจ จัดให้มีหลักเกณฑ์การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีตามแนวทางของพระราชกฤษฎีกานี้
ในกรณีที่ ก.พ.ร. เห็นว่าองค์การมหาชนหรือรัฐวิสาหกิจใดไม่จัดให้มีหลักเกณฑ์ตามวรรคหนึ่ง หรือมีแต่ไม่สอดคล้องกับพระราชกฤษฎีกานี้ ให้แจ้งรัฐมนตรีซึ่งมีหน้าที่กํากับดูแลองค์การมหาชนหรือรัฐวิสาหกิจ เพื่อพิจารณาสั่งการให้องค์การมหาชนหรือรัฐวิสาหกิจนั้นดําเนินการให้ถูกต้องต่อไป 

 


9. หน่วยงานใด มีอํานาจเสนอคณะรัฐมนตรีจัดสรรเงินเพิ่มพิเศษ หรือจัดสรรเงินรางวัลการเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่ส่วนราชการ

 

1. ส่วนราชการที่ปฏิบัติงาน

2. คณะผู้ประเมินอิสระ

3. คณะรัฐมนตรี

4. ก.พ.ร.

 

ดูเฉลย

ตอบข้อ 4. เพราะ : พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546
มาตรา 48 ในกรณีที่ส่วนราชการใดดําเนินการให้บริการที่มีคุณภาพและเป็นไปตามเป้าหมายที่กําหนดรวมทั้งเป็นที่พึงพอใจแก่ประชาชน ให้ ก.พ.ร.เสนอคณะรัฐมนตรีจัดสรรเงินเพิ่มพิเศษเป็นบําเหน็จความชอบแก่ส่วนราชการ หรือให้ส่วนราชการใช้เงินงบประมาณเหลือจ่ายของส่วนราชการนั้น เพื่อนําไปใช้ในการปรับปรุงการปฏิบัติงานของส่วนราชการหรือจัดสรรเป็นรางวัลให้ข้าราชการในสังกัด ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ.ร. กําหนดโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี
มาตรา 49 เมื่อส่วนราชการใดได้ดําเนินงานไปตามเป้าหมาย สามารถเพิ่มผลงาน และผลสัมฤทธิ์โดยไม่เป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายและคุ้มค่าต่อภารกิจของรัฐ หรือสามารถดําเนินการตามแผนการลดค่าใช้จ่ายต่อหน่วยได้ตามหลักเกณฑ์ที่ ก.พ.ร. กําหนด ให้ ก.พ.ร. เสนอคณะรัฐมนตรีจัดสรรเงินรางวัลการเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่ส่วนราชการนั้น หรือให้ส่วนราชการใช้เงินงบประมาณเหลือจ่ายของส่วนราชการนั้น เพื่อนําไปใช้ในการปรับปรุงการปฏิบัติงานของส่วนราชการหรือจัดสรรเป็นรางวัลให้ข้าราชการในสังกัด ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ.ร. กําหนดโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี

 


10. ผู้มีอํานาจในส่วนราชการ จัดให้มีการประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ของภารกิจ คุณภาพการให้บริการ ความพึงพอใจของประชาชนผู้รับบริการความคุ้มค่าในภารกิจ คือใคร

 

1. องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น

2. องค์กรมหาชน

3. รัฐวิสาหกิจ

4. ถูกทุกข้อ

 

ดูเฉลย

ตอบข้อ 4. เพราะ : พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546
มาตรา 9 การบริหารราชการเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ ให้ส่วนราชการปฏิบัติ ดังต่อไปนี้
(1) ก่อนจะดําเนินการตามภารกิจใด ส่วนราชการต้องจัดทําแผนปฏิบัติราชการไว้เป็นการล่วงหน้า
(2) การกําหนดแผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการตาม(1)ต้องมีรายละเอียดของขั้นตอนระยะเวลาและงบประมาณที่จะต้องใช้ในการดําเนินการของแต่ละขั้นตอนเป้าหมายของภารกิจผลสัมฤทธิ์ของภารกิจ และตัวชี้วัดความสําเร็จของภารกิจ
(3) ส่วนราชการต้องจัดให้มีการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติ ตามแผนปฏิบัติราชการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ส่วนราชการกําหนดขึ้น ซึ่งต้องสอดคล้องกับมาตรฐานที่ ก.พ.ร. กําหนด
(4) ในกรณีที่การปฏิบัติภารกิจ หรือการปฏิบัติตามแผนปฏิบัติราชการเกิดผลกระทบต่อประชาชนให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการที่จะต้องดําเนินการแก้ไขหรือบรรเทาผลกระทบนั้น หรือเปลี่ยนแผนปฏิบัติราชการให้เหมาะสม
มาตรา 45 นอกจากการจัดให้มีการประเมินผลตาม มาตรา 9 (3) แล้วให้ส่วนราชการจัดให้มีคณะผู้ประเมินอิสระดําเนินการประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ของภารกิจ คุณภาพการให้บริการ ความพึงพอใจของประชาชนผู้รับบริการ ความคุ้มค่าในภารกิจ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาที่ ก.พ.ร. กําหนด

 



ไฟล์ แนวข้อสอบ PDF

พร บ การ บริหาร จัดการ บ้านเมือง ที่ ดี

90 ฿


ข้อสอบ กพ 2564 PDF

สอบบรรจุข้าราชการ ก.พ. ครบทุกวิชา เด็มคุณภาพ เต็มข้อมูล เฉลยอธิบายละเอียด

พร บ การ บริหาร จัดการ บ้านเมือง ที่ ดี

99 ฿


ข้อสอบท้องถิ่น 2564 PDF

สอบข้าราชการท้องถิ่น ภาค ก กสถ ครบทุกวิชา ข้อมูลครบครัน เนื้อหาจัดเต็ม

พร บ การ บริหาร จัดการ บ้านเมือง ที่ ดี

115 ฿


ข้อสอบครูผู้ช่วย 2564 PDF

สอบบรรจุครูผู้ช่วย สังกัด สพฐ ภาค ก ภาค ข ครบทุกวิชา 1,800 ข้อ 800 หน้า.

พร บ การ บริหาร จัดการ บ้านเมือง ที่ ดี

115 ฿


ไฟล์ PDF ข้อสอบ ก.พ. 2563

สอบบรรจุข้าราชการ ภาค ก. เนื้อหาแน่น ข้อมูลจัดเต็ม มีเฉลยอธิบายอย่่างละเอียด

หนังสือแบบเล่ม

พร บ การ บริหาร จัดการ บ้านเมือง ที่ ดี

345 ฿


หนังสือข้อสอบท้องถิ่น ภาค ก เจ้าพนักงานท้องถิ่นภาค ก เพื่อสอบ อปท. อบต. อบจ. เทศบาล

พร บ การ บริหาร จัดการ บ้านเมือง ที่ ดี

280 ฿


หนังสือสอบท้องถิ่น ภาค ข สอบเจ้าพนักงานจัดเก็บรายได้ ปฏิบัติงาน สอบนักวิชาการจัดเก็บรายได้ ตรงจุดตรงประเด็น

พร บ การ บริหาร จัดการ บ้านเมือง ที่ ดี

360 ฿


สอบท้องถิ่น ภาค ข ตำแหน่งเจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบาย และแผน ตรงประเด็น เนื้อหาเน้นๆ ชัดเจน

พร บ การ บริหาร จัดการ บ้านเมือง ที่ ดี

380 ฿


หนังสือเตรียมสอบนายสิบตำรวจทุกสายงาน สายอำนวยการ สายปราบปราม ตรงเป้า ตรงประเด็น

พร บ การ บริหาร จัดการ บ้านเมือง ที่ ดี

450 ฿


หนังสือเตรียมสอบท้องถิ่นภาค ข ตำแหน่งครูผู้ช่วยท้องถิ่น ใช้สอบท้องถิ่น ภาค ข

พร บ การ บริหาร จัดการ บ้านเมือง ที่ ดี

650 ฿


หนังสือแนวข้อสอบ TOEIC สอบภาษาอังกฤษ ระบบใหม่ New TOEIC

พร บ การ บริหาร จัดการ บ้านเมือง ที่ ดี

450 ฿


หนังสือติวสอบ ก.พ. สอบภาค ก. ระดับ 3 (ปริญญาตรี) เนื้อหาแน่น ครบเครื่องในเล่มเดียว

พร บ การ บริหาร จัดการ บ้านเมือง ที่ ดี

450 ฿


สอบนายสิบ 4 เหล่าทัพ สอบนายสิบ ตำรวจ ทหาร และจ่าทหาร ได้ทุกหน่วยงาน เจาะข้อสอบตรงเป้า

พร บ การ บริหาร จัดการ บ้านเมือง ที่ ดี

350 ฿


หนังสือสอบท้องถิ่น ภาค ข. ตำแหน่งนักวิชาการศึกษาปฏิบัติการ สอบท้องถิ่น ภาค ข.ครบทุกเนื้อหาในการสอบ

พร บ การ บริหาร จัดการ บ้านเมือง ที่ ดี

380 ฿


หนังสือคู่มือเตรียมสอบครูผู้ช่วย เตรียมสอบครูผู้ช่วยภาค ก และ ครูผู้ช่วย ภาค ข สังกัด สพฐ.

พร บ การ บริหาร จัดการ บ้านเมือง ที่ ดี

แนวข้อสอบ พรบ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน

แนวข้อสอบพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ความรู้และลักษณะการเป็นข้าราชการที่ดี

ดูเพิ่มเติม

พร บ การ บริหาร จัดการ บ้านเมือง ที่ ดี

แนวข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย Grammar

แนวข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย GRAMMAR ใช้ในการสอบราชการได้ทุกหน่วยงาน

ดูเพิ่มเติม

พร บ การ บริหาร จัดการ บ้านเมือง ที่ ดี

แนวข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย Conversation

แนวข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย Conversation ใช้ในการสอบราชการได้ทุกหน่วยงาน

ดูเพิ่มเติม

พร บ การ บริหาร จัดการ บ้านเมือง ที่ ดี

แนวข้อสอบ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี

แนวข้อสอบ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546

ดูเพิ่มเติม

พร บ การ บริหาร จัดการ บ้านเมือง ที่ ดี

แนวข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย Reading

แนวข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย READING ใช้ในการสอบราชการได้ทุกหน่วยงาน

ดูเพิ่มเติม

พร บ การ บริหาร จัดการ บ้านเมือง ที่ ดี

แนวข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย Vocabulary

แนวข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย Vocabulary ใช้ในการสอบราชการได้ทุกหน่วยงาน

ดูเพิ่มเติม

พร บ การ บริหาร จัดการ บ้านเมือง ที่ ดี

แนวข้อสอบ ความรู้และลักษณะการเป็นข้าราชการที่ดี พร้อมเฉลย (แบบทดสอบที่ 3)

ข้อสอบ กฎหมายในการปฏิบัติงานราชการ พร้อมเฉลย จำนวน 10 ข้อ : เป็นข้อสอบ ที่เกี่ยวกับ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546

1. ส่วนราชการต้องจัดให้มีการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องใดบ้าง

 

1. งบประมาณรายจ่ายแต่ละปี

2. การจัดซื้อจัดจ้างที่จะดําเนินการในปีงบประมาณนั้น

3. สัญญาใด ๆ ที่ได้มีการอนุมัติให้จัดซื้อหรือจัดจ้างแล้ว

4. ถูกทุกข้อ

 

ดูเฉลย

ตอบข้อ 4. เพราะ : พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546
มาตรา 44 ส่วนราชการต้องจัดให้มีการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับงบประมาณรายจ่ายแต่ละปี รายการเกี่ยวกับการจัดซื้อหรือจัดจ้างที่จะดําเนินการในปีงบประมาณนั้น และสัญญาใดๆ ที่ได้มีการอนุมัติให้จัดซื้อหรือจัดจ้างแล้ว ให้ประชาชนสามารถขอดูหรือตรวจสอบได้ ณ สถานที่ทําการของส่วนราชการ และระบบเครือข่ายสารสนเทศของส่วนราชการ ทั้งนี้ การเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวต้องไม่ก่อให้เกิดความได้เปรียบหรือเสียเปรียบหรือความเสียหายแก่บุคคลใดในการจัดซื้อหรือจัดจ้าง ในการจัดทําสัญญาจัดซื้อหรือจัดจ้าง ห้ามมิให้มีข้อความหรือข้อตกลงห้ามมิให้เปิดเผยข้อความ หรือข้อตกลงในสัญญาดังกล่าว เว้นแต่ข้อมูลดังกล่าวเป็นข้อมูลที่อยู่ภายใต้บังคับกฎหมาย กฎ ระเบียบ หรือข้อบังคับที่เกี่ยวกับการคุ้มครองความลับทางราชการหรือในส่วนที่เป็นความลับทางการค้า 

 


2. การอํานวยความสะดวก และความรวดเร็วแก่ประชาชนในการติดต่อกับส่วนราชการทุกแห่ง ส่วนราชการใดต้องจัดให้มีระบบเครือข่ายสารสนเทศกลางขึ้น

 

1. กระทรวง ทบวง กรม

2. จังหวัด อําเภอ

3. กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

4. กระทรวงคมนาคม

 

ดูเฉลย

ตอบข้อ 3. เพราะ : พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 มาตรา 40 เพื่ออํานวยความสะดวกและความรวดเร็วแก่ประชาชนในการติดต่อกับส่วนราชการทุกแห่ง ให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารจัดให้มีระบบเครือข่ายสารสนเทศกลางขึ้นในกรณีที่ส่วนราชการใดไม่อาจจัดให้มีระบบเครือข่ายสารสนเทศของส่วนราชการได้ อาจร้องขอให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารดําเนินการจัดทําระบบเครือข่ายสารสนเทศของส่วนราชการดังกล่าวก็ได้ ในการนี้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารจะขอให้ส่วนราชการให้ความช่วยเหลือด้านบุคลากรค่าใช้จ่ายและข้อมูลในการดําเนินการก็ได้

 


3. ส่วนราชการใดได้รับการติดต่อสอบถามเป็นหนังสือจากประชาชนหรือจากส่วนราชการด้วยกัน มีหน้าที่ต้องตอบคําถามหรือแจ้งการดําเนินการให้ทราบภายในกี่วัน

 

1. 7 วัน

2. 10 วัน

3. 15 วัน

4. 30 วัน

 

ดูเฉลย

ตอบข้อ 3. เพราะ : พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546
มาตรา 38 เมื่อส่วนราชการใดได้รับการติดต่อสอบถามเป็นหนังสือจากประชาชน หรือจากส่วนราชการด้วยกันเกี่ยวกับงานที่อยู่ในอํานาจหน้าที่ของส่วนราชการนั้น ให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการนั้นที่จะต้องตอบคําถามหรือแจ้งการดําเนินการให้ทราบภายในสิบห้าวันหรือภายในกําหนดเวลาที่กําหนดไว้ตาม มาตรา 37
มาตรา 37 ในการปฏิบัติราชการที่เกี่ยวข้องกับการบริการประชาชนหรือติดต่อประสานงานระหว่างส่วนราชการด้วยกัน ให้ส่วนราชการกําหนดระยะเวลาแล้วเสร็จของงานแต่ละงาน และประกาศให้ประชาชนแลข้าราชการทราบเป็นการทั่วไป ส่วนราชการใดมิได้กําหนดระยะเวลาแล้วเสร็จของงานใด และ ก.พ.ร. พิจารณาเห็นว่างานนั้นมีลักษณะที่สามารถกําหนดระยะเวลาแล้วเสร็จได้ หรือส่วนราชการได้กําหนดระยะเวลาแล้วเสร็จไว้แต่ ก.พ.ร. เห็นว่าเป็นระยะเวลาที่ล่าช้าเกินสมควร ก.พ.ร. จะกําหนดเวลาแล้วเสร็จให้ส่วนราชการนั้นต้องปฏิบัติก็ได้ให้เป็นหน้าที่ของผู้บังคับบัญชาที่จะต้องตรวจสอบ ให้ข้าราชการปฏิบัติงานให้แล้วเสร็จตามกําหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง

 


4. ผู้มีหน้าที่แจ้งให้ประชาชนที่มาติดต่อได้ทราบในครั้งแรก ที่มาติดต่อและตรวจสอบว่าเอกสารหลักฐานที่จําเป็นนั้นประชาชนได้ยื่นมาครบถ้วนหรือไม่ คือใคร

 

1. ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง

2. ปลัดกระทรวง

3. อธิบดีหรือผู้ว่าราชการจังหวัด

4. เจ้าหน้าที่ศูนย์บริการร่วม

 

ดูเฉลย

ตอบข้อ 4. เพราะ : พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 มาตรา 31 ในศูนย์บริการร่วมตาม มาตรา 30 ให้จัดให้มีเจ้าหน้าที่รับเรื่องราวต่างๆ และดําเนินการส่งต่อให้เจ้าหน้าที่ของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเพื่อดําเนินการต่อไป โดยให้มีข้อมูลและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับอํานาจหน้าที่ของทุกส่วนราชการในกระทรวง รวมทั้งแบบคําขอต่าง ๆ ไว้ให้พร้อมที่จะบริการประชาชนได้ ณ ศูนย์บริการร่วมให้เป็นหน้าที่ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องที่จะต้องจัดพิมพ์รายละเอียดของเอกสารหลักฐาน ที่ประชาชนจะต้องจัดหามาในการขออนุมัติหรือขออนุญาตในแต่ละเรื่องมอบให้แก่เจ้าหน้าที่ของศูนย์บริการร่วม และให้เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ศูนย์บริการร่วมที่จะต้องแจ้งให้ประชาชนที่มาติดต่อได้ทราบในครั้งแรกที่มาติดต่อ และตรวจสอบว่าเอกสารหลักฐานที่จําเป็นดังกล่าวนั้นประชาชนได้ยื่นมาครบถ้วนหรือไม่ พร้อมทั้งแจ้งให้ทราบถึงระยะเวลาที่จะต้องใช้ดําเนินการในเรื่องนั้นในการยื่นคําร้องหรือคําขอต่อศูนย์บริการร่วมตาม มาตรา 30 ให้ถือว่าเป็นการยื่นต่อส่วนราชการที่เกี่ยวข้องทั้งหมดตามที่ระบุไว้ในกฎหมายหรือกฎแล้วในการดําเนินการตามวรรคหนึ่ง หากมีปัญหา หรืออุปสรรคในการปฏิบัติราชการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กําหนดในกฎหมายหรือกฎในเรื่องใด ให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องแจ้งให้ ก.พ.ร. ทราบ เพื่อดําเนินการเสนอคณะรัฐมนตรีให้มีการปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการตามกฎหมายหรือกฎนั้นต่อไป
มาตรา 30 ในกระทรวงหนึ่ง ให้เป็นหน้าที่ของปลัดกระทรวงที่จะต้องจัดให้ส่วนราชการภายใน กระทรวงที่รับผิดชอบปฏิบัติงานเกี่ยวกับการบริการประชาชนร่วมกันจัดตั้งศูนย์บริการร่วม เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ประชาชนในการที่จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายหรือกฎอื่นใด ทั้งนี้ เพื่อให้ประชาชนสามารถติดต่อสอบถาม ขอทราบข้อมูล ขออนุญาต หรือขออนุมัติในเรื่องใด ๆ ที่เป็นอํานาจหน้าที่ของส่วนราชการในกระทรวงเดียวกัน โดยติดต่อเจ้าหน้าที่ ณ ศูนย์บริการร่วมเพียงแห่งเดียว 

 


5. ผู้มีหน้าที่จัดให้ส่วนราชการภายในกระทรวงจัดตั้งศูนย์บริการร่วม เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ประชาชนในการที่จะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย คือใคร

 

1. ปลัดกระทรวง

2. รัฐมนตรีว่าการกระทรวง

3. รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง

4. ถูกทุกข้อ

 

ดูเฉลย

ตอบข้อ 1. เพราะ : พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 มาตรา 30 ในกระทรวงหนึ่ง ให้เป็นหน้าที่ของปลัดกระทรวงที่จะต้องจัดให้ส่วนราชการภายใน กระทรวงที่รับผิดชอบปฏิบัติงานเกี่ยวกับการบริการประชาชนร่วมกันจัดตั้งศูนย์บริการร่วม เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ประชาชนในการที่จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายหรือกฎอื่นใด ทั้งนี้ เพื่อให้ประชาชนสามารถติดต่อสอบถาม ขอทราบข้อมูล ขออนุญาต หรือขออนุมัติในเรื่องใดๆ ที่เป็นอํานาจหน้าที่ของส่วนราชการในกระทรวงเดียวกัน โดยติดต่อเจ้าหน้าที่ ณ ศูนย์บริการร่วมเพียงแห่งเดียว 

 


6. กรณีผู้บังคับบัญชาสั่งราชการด้วยวาจา ผู้รับคําสั่งจะต้องปฏิบัติอย่างไร

 

1. รีบปฏิบัติราชการตามคําสั่ง

2. บันทึกคําสั่งด้วยวาจาเป็นลายลักษณ์อักษร

3. แจ้งให้ผู้บังคับบัญชาสั่งการเป็นลายลักษณ์อักษร

4. ถูกทั้ง 2 และ 3

 

ดูเฉลย

ตอบข้อ 2. เพราะ : พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 มาตรา 26 การสั่งราชการโดยปกติให้กระทําเป็นลายลักษณ์อักษร เว้นแต่ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชามีความจําเป็นที่ไม่อาจสั่งเป็นลายลักษณ์อักษรในขณะนั้น จะสั่งราชการด้วยวาจาก็ได้ แต่ให้ผู้รับคําสั่งนั้นบันทึกคําสั่งด้วยวาจาไว้เป็นลายลักษณ์อักษรและเมื่อได้ปฏิบัติราชการตามคําสั่งดังกล่าวแล้วให้บันทึกรายงานให้ผู้สั่งราชการทราบในบันทึกให้อ้างอิงคําสั่งด้วยวาจาไว้ด้วย

 


7. พระราชกฤษฏีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 กําหนดเรื่องการสั่งราชการอย่างไร

 

1. ปกติให้กระทําเป็นลายลักษณ์อักษร

2. กรณีมีความจําเป็นที่ไม่อาจสั่งเป็นลายลักษณ์อักษรในขณะนั้น จะสั่งราชการด้วยวาจาก็ได้

3. สั่งราชการด้วยวาจาหรือลายลักษณ์อักษรก็ได้แล้วแต่ความสะดวกของผู้บังคับบัญชา

4. ถูกทั้ง 1 และ 2

 

ดูเฉลย

ตบข้อ 4. เพราะ : พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 มาตรา 26 การสั่งราชการโดยปกติให้กระทําเป็นลายลักษณ์อักษร เว้นแต่ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชามีความจําเป็นที่ไม่อาจสั่งเป็นลายลักษณ์อักษรในขณะนั้น จะสั่งราชการด้วยวาจาก็ได้ แต่ให้ผู้รับคําสั่งนั้นบันทึกคําสั่งด้วยวาจาไว้เป็นลายลักษณ์อักษรและเมื่อได้ปฏิบัติราชการตามคําสั่งดังกล่าวแล้วให้บันทึกรายงานให้ผู้สั่งราชการทราบในบันทึกให้อ้างอิงคําสั่งด้วยวาจาไว้ด้วย

 


8. การจัดซื้อจัดจ้าง ให้ส่วนราชการดําเนินโดยเปิดเผยและเที่ยงธรรม โดยพิจารณาถึงอะไรบ้าง

 

1. ประโยชน์และผลเสียทางสังคม

2. ภาระต่อประชาชน คุณภาพ วัตถุประสงค์ที่จะใช้

3. ราคา และประโยชน์ระยะยาวของส่วนราชการ

4. ถูกทุกข้อ

 

ดูเฉลย

ตอบข้อ 4. เพราะ : พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 มาตรา 23 ในการจัดซื้อหรือจัดจ้าง ให้ส่วนราชการดําเนินการโดยเปิดเผยและเที่ยงธรรม โดยพิจารณาถึงประโยชน์และผลเสียทางสังคม ภาระต่อประชาชน คุณภาพ วัตถุประสงค์ ที่จะใช้ ราคา และประโยชน์ระยะยาวของส่วนราชการที่จะได้รับประกอบกัน ในกรณีที่วัตถุประสงค์ในการใช้เป็นเหตุให้ต้องคํานึงถึงคุณภาพ และการดูแลรักษาเป็นสําคัญ ให้สามารถกระทําได้โดยไม่ต้องถือราคาต่ําสุดในการเสนอซื้อหรือจ้างเสมอไป ให้ส่วนราชการที่มีหน้าที่ดูแล ระเบียบเกี่ยวกับการพัสดุปรับปรุงระเบียบที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ส่วนราชการดําเนินการตามวรรคหนึ่งและวรรคสองได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 


9. หน่วยงานใดมีหน้าที่จัดให้มีการประเมินความคุ้มค่าในการปฏิบัติภารกิจของรัฐที่ส่วนราชการดําเนินการอยู่เพื่อรายงานคณะรัฐมนตรี

 

1. สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

2. สํานักงบประมาณ

3. กรมบัญชีกลาง

4. ถูกทั้ง 1 และ 2

 

ดูเฉลย

ตอบข้อ 4. เพราะ : พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 มาตรา 22 ให้สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสํานักงบประมาณร่วมกันจัดให้มีการประเมินความคุ้มค่าในการปฏิบัติภารกิจของรัฐที่ส่วนราชการดําเนินการอยู่เพื่อรายงานคณะรัฐมนตรีสําหรับเป็นแนวทางในการพิจารณาว่าภารกิจใดสมควรจะได้ดําเนินการต่อไปหรือยุบเลิก และเพื่อประโยชน์ในการจัดตั้งงบประมาณของส่วนราชการในปีต่อไปทั้งนี้ตามระยะเวลาที่คณะรัฐมนตรีกําหนดในการประเมินความคุ้มค่าตามวรรคหนึ่ง ให้คํานึงถึงประเภทและสภาพของแต่ละภารกิจ ความเป็นไปได้ของภารกิจหรือโครงการที่ดําเนินการ ประโยชน์ที่รัฐและประชาชนจะพึงได้และรายจ่ายที่ต้องเสียไปก่อนและหลังที่ส่วนราชการดําเนินการด้วยความคุ้มค่าตามมาตรานี้ ให้หมายความถึงประโยชน์หรือผลเสียทางสังคม และประโยชน์หรือผลเสียอื่น ซึ่งไม่อาจคํานวณเป็นตัวเงินได้ด้วย 

 


10. ส่วนราชการต้องคํานวณรายจ่ายต่อหน่วยของงานบริการสาธารณะที่อยู่ในความรับผิดชอบรายงานต่อหน่วยงานใด

 

1. สํานักงบประมาณ

2. ก.พ.ร.

3. กรมบัญชีกลาง

4. ถูกทุกข้อ

 

 

ดูเฉลย

ตอบข้อ 4. เพราะ : พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 มาตรา 21 ให้ส่วนราชการจัดทําบัญชีต้นทุนในงานบริการสาธารณะแต่ละประเภทขึ้น ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กรมบัญชีกลางกําหนดให้ส่วนราชการคํานวณรายจ่ายต่อหน่วยของงานบริการสาธารณะ ที่อยู่ในความรับผิดชอบของส่วนราชการนั้น ตามระยะเวลาที่กรมบัญชีกลางกําหนด และรายงานให้สํานักงบประมาณ กรมบัญชีกลาง และ ก.พ.ร. ทราบ ในกรณีที่รายจ่ายต่อหน่วยของงานบริการสาธารณะใดของส่วนราชการใดสูงกว่า รายจ่ายต่อหน่วยของงานบริการสาธารณะประเภทและคุณภาพเดียวกันหรือคล้ายคลึงกันของส่วนราชการอื่น ให้ส่วนราชการนั้นจัดทําแผนการลดรายจ่ายต่อหน่วยของงานบริการสาธารณะดังกล่าวเสนอสํานักงบประมาณ กรมบัญชีกลาง และ ก.พ.ร. ทราบ และถ้ามิได้มีข้อทักท้วงประการใดภายใน 15 วันก็ให้ส่วนราชการดังกล่าวถือปฏิบัติ ตามแผนการลดรายจ่ายนั้นต่อไปได้

 



ทำแบบทดสอบ : พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534  » คลิก
ทำแบบทดสอบ : พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546  » คลิก

พร บ การ บริหาร จัดการ บ้านเมือง ที่ ดี

แนวข้อสอบ ความรู้และลักษณะการเป็นข้าราชการที่ดี พร้อมเฉลย (แบบทดสอบที่ 4)

ข้อสอบ กฎหมายในการปฏิบัติงานราชการ พร้อมเฉลย จำนวน 10 ข้อ : เป็นข้อสอบ ที่เกี่ยวกับ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546

1. หน่วยงานใดที่มีหน้าที่กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการจัดทําบัญชีต้นทุนในงานบริการสาธารณะให้ส่วนราชการปฏิบัติ

 

1. สํานักงบประมาณ

2. คณะรัฐมนตรี

3. กรมบัญชีกลาง

4. กระทรวงการคลัง

 

ดูเฉลย

ตอบข้อ 3. เพราะ : พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 มาตรา 21 ให้ส่วนราชการจัดทําบัญชีต้นทุนในงานบริการสาธารณะแต่ละประเภทขึ้น ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กรมบัญชีกลางกําหนดให้ส่วนราชการคํานวณรายจ่ายต่อหน่วยของงานบริการสาธารณะ ที่อยู่ในความรับผิดชอบของส่วนราชการนั้น ตามระยะเวลาที่กรมบัญชีกลางกําหนด และรายงานให้สํานักงบประมาณ กรมบัญชีกลาง และ ก.พ.ร. ทราบ ในกรณีที่รายจ่ายต่อหน่วยของงานบริการสาธารณะใดของส่วนราชการใดสูงกว่า รายจ่ายต่อหน่วยของงานบริการสาธารณะประเภทและคุณภาพเดียวกันหรือคล้ายคลึงกันของส่วนราชการอื่น ให้ส่วนราชการนั้นจัดทําแผนการลดรายจ่ายต่อหน่วยของงานบริการสาธารณะดังกล่าวเสนอสํานักงบประมาณ กรมบัญชีกลาง และ ก.พ.ร. ทราบ และถ้ามิได้มีข้อทักท้วงประการใดภายใน 15 วันก็ให้ส่วนราชการดังกล่าวถือปฏิบัติ ตามแผนการลดรายจ่ายนั้นต่อไปได้

 


2. หน่วยงานใดมีหน้าที่กําหนดแนวทางการจัดทําแผนปฏิบัติราชการ

 

1. สํานักงบประมาณ

2. ก.พ.ร.

3. คณะรัฐมนตรี

4. ถูกทั้งข้อ 1 และ 2

 

ดูเฉลย

ตอบข้อ 4. เพราะ : พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 มาตรา 17 ในกรณีที่กฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณกําหนดให้ ส่วนราชการต้องจัดทําแผนปฏิบัติราชการเพื่อขอรับงบประมาณ ให้สํานักงบประมาณและ ก.พ.ร. ร่วมกันกําหนดแนวทางการจัดทําแผนปฏิบัติราชการตามมาตรา 16 ให้สามารถใช้ได้กับแผนปฏิบัติราชการที่ ต้องจัดทําตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณทั้งนี้ เพื่อมิให้เพิ่มภาระงานในการจัดทําแผนจนเกินสมควร มาตรา 16 ให้ส่วนราชการจัดทําแผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการนั้น โดยจัดทําเป็นแผนสี่ปี ซึ่งจะต้องสอดคล้องกับแผนการบริหารราชการแผ่นดินตาม มาตรา 13 ในแต่ละปีงบประมาณ ให้ส่วนราชการจัดทําแผนปฏิบัติราชการประจําปี โดยให้ระบุสาระสําคัญเกี่ยวกับนโยบายการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ เป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ของงาน รวมทั้งประมาณการรายได้และรายจ่ายและทรัพยากรอื่นที่จะต้องใช้เสนอต่อรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบ เมื่อรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการใดตามวรรคสองแล้วให้สํานักงบประมาณดําเนินการจัดสรรงบประมาณเพื่อปฏิบัติงานให้บรรลุผลสําเร็จในแต่ละภารกิจ ตามแผนปฏิบัติราชการดังกล่าว ในกรณีที่ส่วนราชการมิได้เสนอแผนปฏิบัติราชการในภารกิจใด หรือภารกิจใดไม่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีมิให้สํานักงบประมาณจัดสรรงบประมาณสําหรับภารกิจนั้นเมื่อสิ้นปีงบประมาณให้ส่วนราชการจัดทํารายงาน แสดงผลสัมฤทธิ์ของแผนปฏิบัติราชการประจําปีเสนอต่อคณะรัฐมนตรี
มาตรา 13 ให้คณะรัฐมนตรีจัดให้มีแผนการบริหารราชการแผ่นดินตลอดระยะเวลาการบริหารราชการของคณะรัฐมนตรี เมื่อคณะรัฐมนตรีได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภาแล้ว ให้สํานักเลขาธิการ คณะรัฐมนตรี สํานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสํานักงบประมาณ ร่วมกันจัดทําแผนการบริหารราชการแผ่นดิน เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาภายใน 90 วันนับแต่วันที่คณะรัฐมนตรีแถลงนโยบายต่อรัฐสภา เมื่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบในแผนการบริหารราชการแผ่นดิน ตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้มีผลผูกพัน คณะรัฐมนตรี รัฐมนตรี และส่วนราชการ ที่จะต้องดําเนินการจัดทําภารกิจให้เป็นไปตามแผนการบริหารราชการแผ่นดินนั้น

 


3. ข้อใดไม่ใช่เป้าหมายในการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี

 

1. เกิดประโยชน์สุขของประชาชน

2. เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ

3. ภาพพจน์ที่ดีในสายตาต่างประเทศ

4. มีการประเมินผลการปฏิบัติราชการอย่างสม่ำเสมอ

 

ดูเฉลย

ตอบข้อ 4. เพราะ : พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 มาตรา 6 การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ได้แก่ การบริหารราชการเพื่อบรรลุเป้าหมาย ดังต่อไปนี้
(1) เกิดประโยชน์สุขของประชาชน
(2) เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
(3) มีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ
(4) ไม่มีขั้นตอนการปฏิบัติงานเกินความจําเป็น
(5) มีการปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการให้ทันต่อสถานการณ์
(6) ประชาชนได้รับการอํานวยความสะดวกและได้รับการตอบสนองความต้องการ
(7) มีการประเมินผลการปฏิบัติราชการอย่างสม่ำเสมอ

 


4. ข้อใดไม่ใช่ การบริหารราชการโดยถือประชาชนเป็นศูนย์กลาง

 

1. ก่อนดําเนินการส่วนราชการต้องจัดให้มีการศึกษาวิเคราะห์ผลดีผลเสีย

2. การปฏิบัติภารกิจของส่วนราชการต้องเป็นไปโดยซื่อสัตย์สุจริต

3. รับฟังความคิดเห็นและความพึงพอใจของสังคมโดยส่วนรวม

4. ต้องรายงานผลการปฏิบัติต่อรัฐสภาอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

 

ดูเฉลย

ตอบข้อ 4. เพราะ : พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 มาตรา 8 ในการบริหารราชการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน ส่วนราชการจะต้องดําเนินการโดยถือว่าประชาชนเป็นศูนย์กลางที่จะได้รับการบริการจากรัฐและจะต้องมีแนวทางการบริหารราชการดังต่อไปนี้
(1) การกําหนดภารกิจของรัฐและส่วนราชการต้องเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ตาม มาตรา 7 และสอดคล้องกับแนวนโยบายแห่งรัฐและนโยบายของคณะรัฐมนตรีที่แถลงต่อรัฐสภา
(2) การปฏิบัติภารกิจของส่วนราชการต้องเป็นไปโดยซื่อสัตย์สุจริต สามารถตรวจสอบได้ และมุ่งให้เกิดประโยชน์สุขแก่ประชาชนทั้งในระดับประเทศและท้องถิ่น
(3) ก่อนเริ่มดําเนินการส่วนราชการต้องจัด ให้มีการศึกษาวิเคราะห์ผลดีและผลเสียให้ครบถ้วนทุกด้านกําหนดขั้นตอนการดําเนินการที่โปร่งใส มีกลไกตรวจสอบการดําเนินการในแต่ละขั้นตอน ในกรณีที่ภารกิจใดจะมีผลกระทบต่อประชาชน ส่วนราชการต้องดําเนินการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน หรือชี้แจงทําความเข้าใจเพื่อให้ประชาชนได้ตระหนักถึงประโยชน์ที่ส่วนรวมจะได้รับจากภารกิจนั้น
(4) ให้เป็นหน้าที่ของข้าราชการที่จะต้องคอยรับฟังความคิดเห็น และความพึงพอใจของสังคม โดยรวมและประชาชนผู้รับบริการ เพื่อปรับปรุงหรือเสนอแนะต่อผู้บังคับบัญชา เพื่อให้มีการปรับปรุงวิธีปฏิบัติราชการให้เหมาะสม
(5) ในกรณีที่เกิดปัญหาและอุปสรรคจากการดําเนินการ ให้ส่วนราชการดําเนินการ แก้ไขปัญหาและอุปสรรคนั้นโดยเร็ว ในกรณีที่ปัญหาหรืออุปสรรคนั้นเกิดขึ้นจากส่วนราชการอื่น หรือระเบียบข้อบังคับที่ออกโดยส่วนราชการอื่น ให้ส่วนราชการแจ้งให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องทราบ เพื่อดําเนินการแก้ไขปรับปรุงโดยเร็วต่อไปและให้แจ้ง ก.พ.ร. ทราบด้วยการดําเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้ส่วนราชการกําหนดวิธีปฏิบัติให้เหมาะสมกับภารกิจแต่ละเรื่อง ทั้งนี้ก.พ.ร. จะกําหนดแนวทางการดําเนินการทั่วไปให้ส่วนราชการปฏิบัติให้เป็นไปตามมาตรานี้ด้วยก็ได้มาตรา 7 การบริหารราชการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน หมายถึง การปฏิบัติราชการที่มีเป้าหมายเพื่อให้เกิดความผาสุกและความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชนความสงบและปลอดภัยของสังคมส่วนรวม ตลอดจนประโยชน์สูงสุดของประเทศ 

 


5. เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ ให้ส่วนราชการกระทำการใด

 

1. ปรึกษาหารือกัน

2. บริหารราชการแบบบูรณาการร่วมกัน

3. ประสานแผนกัน

4. สัมมนาร่วมกัน

 

ดูเฉลย

ตอบข้อ 2. เพราะ : พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 มาตรา 10 ในกรณีที่ภารกิจใดมีความเกี่ยวข้องกับหลายส่วนราชการหรือเป็นภารกิจที่ใกล้เคียง หรือต่อเนื่องกัน ให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องนั้นกําหนดแนวทางการปฏิบัติราชการเพื่อให้เกิด การบริหารราชการแบบบูรณาการร่วมกันโดยมุ่งให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐให้ส่วนราชการมีหน้าที่สนับสนุนการปฏิบัติราชการของผู้ว่าราชการจังหวัด หรือหัวหน้าคณะผู้แทนในต่างประเทศ เพื่อให้การบริหารราชการแบบบูรณาการในจังหวัดหรือในต่างประเทศ แล้วแต่กรณีสามารถใช้อํานาจตามกฎหมายได้ครบถ้วนตามความจําเป็นและบริหารราชการได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

 


6. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับการบริหารแบบบูรณาการร่วมกัน

 

1. ประโยชน์สุขของประชาชน

2. ผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ

3. ประสิทธิภาพและความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ

4. ไม่มีขั้นตอนการปฏิบัติงานเกินความจําเป็น

 

ดูเฉลย

ตอบข้อ 2. เพราะ : พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 มาตรา 10 ในกรณีที่ภารกิจใดมีความเกี่ยวข้องกับหลายส่วนราชการหรือเป็นภารกิจที่ใกล้เคียงหรือ ต่อเนื่องกัน ให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องนั้นกําหนดแนวทางการปฏิบัติราชการเพื่อให้เกิด การบริหารราชการแบบบูรณาการร่วมกันโดยมุ่งให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ ให้ส่วนราชการมีหน้าที่สนับสนุนการปฏิบัติราชการของผู้ว่าราชการจังหวัด หรือหัวหน้าคณะผู้แทนในต่างประเทศ เพื่อให้การบริหารราชการแบบบูรณาการในจังหวัดหรือในต่างประเทศ แล้วแต่กรณีสามารถใช้อํานาจตามกฎหมายได้ครบถ้วนตามความจําเป็นและบริหารราชการได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

 


7. การจัดทําแผนการบริหารราชการแผ่นดินต้องเสนอต่อ ครม.ภายในกี่วัน นับตั้งแต่วันที่ ครม.แถลงนโยบายต่อรัฐสภา

 

1. 45 วัน

2. 60 วัน

3. 90 วัน

4. 120 วัน

 

ดูเฉลย

ตอบข้อ 3. เพราะ : พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 มาตรา 13 ให้คณะรัฐมนตรีจัดให้มีแผนการบริหารราชการแผ่นดินตลอดระยะเวลาการบริหารราชการของคณะรัฐมนตรี เมื่อคณะรัฐมนตรีได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภาแล้ว ให้สํานักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สํานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสํานักงบประมาณ ร่วมกันจัดทําแผนการบริหารราชการแผ่นดิน เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาภายใน 90 วันนับแต่วันที่คณะรัฐมนตรีแถลง
นโยบายต่อรัฐสภาเมื่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบในแผนการบริหารราชการแผ่นดิน ตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้มีผลผูกพันคณะรัฐมนตรี รัฐมนตรี และส่วนราชการ ที่จะต้องดําเนินการจัดทําภารกิจให้เป็นไปตามแผนการบริหารราชการแผ่นดินนั้น

 


8. ในการจัดทําแผนการบริหารราชการแผ่นดินให้จัดทําเป็นแผนกี่ปี

 

1. 1 ปี

2. 2 ปี

3. 4 ปี

4. 5 ปี

 

ดูเฉลย

ตอบข้อ 3. เพราะ : พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 มาตรา 14 ในการจัดทําแผนการบริหารราชการแผ่นดินตาม มาตรา 13 ให้จัดทําเป็นแผน 4 ปี โดยนํานโยบายของรัฐบาลที่แถลงต่อรัฐสภามาพิจารณาดําเนินการให้สอดคล้องกับแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และแผนพัฒนาประเทศด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ อย่างน้อยจะต้องมีสาระสําคัญเกี่ยวกับการกําหนดเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ของงาน ส่วนราชการหรือบุคคลที่จะรับผิดชอบในแต่ละภารกิจ ประมาณการรายได้ และรายจ่ายและทรัพยากรต่าง ๆ ที่จะต้องใช้ระยะเวลาการดําเนินการ และการติดตามประเมินผล
มาตรา 13 ให้คณะรัฐมนตรีจัดให้มีแผนการบริหารราชการแผ่นดินตลอดระยะเวลาการบริหารราชการของคณะรัฐมนตรี เมื่อคณะรัฐมนตรีได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภาแล้ว ให้สํานักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สํานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสํานักงบประมาณ ร่วมกันจัดทําแผนการบริหารราชการแผ่นดิน เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาภายใน 90 วัน นับแต่วันที่คณะรัฐมนตรีแถลงนโยบายต่อรัฐสภาเมื่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบในแผนการบริหารราชการแผ่นดิน ตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้มีผลผูกพันคณะรัฐมนตรี รัฐมนตรี และส่วนราชการ ที่จะต้องดําเนินการจัดทําภารกิจให้เป็นไปตามแผนการบริหารราชการแผ่นดินนั้น

 


9. เมื่อมีการประกาศใช้บังคับแผนบริหารราชการแผ่นดินแล้ว ให้สํานักงานคณะกรรมการกฤษฏีกา และสํานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีร่วมกันพิจารณาจัดทําแผน

 

1. นิติรัฐ

2. นิติบัญญัติ

3. พัฒนากฎหมาย

4. นิติธรรม

 

ดูเฉลย

ตอบข้อ 2. เพราะ : พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 มาตรา 15 เมื่อมีการประกาศใช้บังคับแผนการบริหารราชการแผ่นดินแล้ว ให้สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาและสํานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีร่วมกันพิจารณาจัดทําแผนนิติบัญญัติโดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับกฎหมายที่จะต้องจัดให้มีขึ้นใหม่หรือกฎหมายที่ต้องมีการแก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิกให้สอดคล้องกับแผนการบริหารราชการแผ่นดินส่วนราชการผู้รับผิดชอบและระยะเวลาที่ต้องดําเนินการแผนนิติบัญญัตินั้นเมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นชอบ ตามที่สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาและสํานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอแล้วให้มีผลผูกพันส่วนราชการที่เกี่ยวข้องที่จะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามนั้นในกรณีที่เห็นสมควร สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาอาจเสนอต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อกําหนดหลักเกณฑ์การจัดทําแผนนิติบัญญัติเพื่อให้เกิดความร่วมมือในการปฏิบัติงานก็ได้ 


10. ให้ส่วนราชการจัดทําสิ่งใด ในงานบริการสาธารณะแต่ละประเภท ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กรมบัญชีกลางกําหนด

 

1. ต้นทุน

2. บัญชี

3. บัญชีต้นทุน

4. บัญชีทุน

 

ดูเฉลย

ตอบข้อ 3. เพราะ : พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 มาตรา 21 ให้ส่วนราชการจัดทําบัญชีต้นทุนในงานบริการสาธารณะแต่ละประเภทขึ้น ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กรมบัญชีกลางกําหนด ให้ส่วนราชการคํานวณรายจ่ายต่อหน่วยของงานบริการสาธารณะที่อยู่ในความรับผิดชอบของส่วนราชการนั้น ตามระยะเวลาที่กรมบัญชีกลางกําหนด และรายงานให้สํานักงบประมาณ กรมบัญชีกลาง และ ก.พ.ร. ทราบ ในกรณีที่รายจ่ายต่อหน่วยของงานบริการสาธารณะใดของส่วนราชการใดสูงกว่า รายจ่ายต่อหน่วยของงานบริการสาธารณะประเภทและคุณภาพเดียวกันหรือคล้ายคลึงกันของส่วนราชการอื่น ให้ส่วนราชการนั้นจัดทําแผนการลดรายจ่ายต่อหน่วยของงานบริการสาธารณะดังกล่าวเสนอสํานักงบประมาณ กรมบัญชีกลาง และ ก.พ.ร. ทราบ และถ้ามิได้มีข้อทักท้วงประการใดภายใน 15 วันก็ให้ส่วนราชการดังกล่าวถือปฏิบัติ ตามแผนการลดรายจ่ายนั้นต่อไปได้ 



ทำแบบทดสอบเพิ่มเติม

พร บ การ บริหาร จัดการ บ้านเมือง ที่ ดี

แนวข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย Grammar

แนวข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย GRAMMAR ใช้ในการสอบราชการได้ทุกหน่วยงาน

ดูเพิ่มเติม

พร บ การ บริหาร จัดการ บ้านเมือง ที่ ดี

แนวข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย Vocabulary

แนวข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย Vocabulary ใช้ในการสอบราชการได้ทุกหน่วยงาน

ดูเพิ่มเติม

พร บ การ บริหาร จัดการ บ้านเมือง ที่ ดี

แนวข้อสอบ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี

แนวข้อสอบ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546

ดูเพิ่มเติม

พร บ การ บริหาร จัดการ บ้านเมือง ที่ ดี

แนวข้อสอบ พรบ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน

แนวข้อสอบพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ความรู้และลักษณะการเป็นข้าราชการที่ดี

ดูเพิ่มเติม

พร บ การ บริหาร จัดการ บ้านเมือง ที่ ดี

แนวข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย Reading

แนวข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย READING ใช้ในการสอบราชการได้ทุกหน่วยงาน

ดูเพิ่มเติม

พร บ การ บริหาร จัดการ บ้านเมือง ที่ ดี

แนวข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย Conversation

แนวข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย Conversation ใช้ในการสอบราชการได้ทุกหน่วยงาน

ดูเพิ่มเติม

สรุป : สาระสำคัญ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ 2546

แนวข้อสอบ กฏหมายการปฎิบัติงานราชการ ที่ใช้ออกข้อสอบ เพื่อการ สอบราชการ

1. พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ 2546”

2. การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ได้แก่ การบริหารราชการเพื่อบรรลุเป้าหมายต่อไปนี้
– เกิดผลประโยชน์สุขต่อประชาชน
– เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
– มีประสิทธิภาพคุ้มค่าต่อภารกิจของรัฐ
– ไม่มีขั้นตอนเกินความจำเป็น
– ปรับปรุงภารกิจที่ทันต่อสถานการณ์
– อำนวยความสะดวกและตอบสนองความต้องการของประชาชน
– ประเมินผลการทำงานสม่ำเสมอ

3. การบริหารราชการเพื่อให้เกิดประโยชน์สุขแก่ประชาชน คือการปฏิบัติราชการที่มีเป้าหมายให้เกิดประโยชน์สุขและความเป็นอยู่ที่ดีต่อประชาชน ส่วนราชการต้องถือว่าประชาชนเป็นศูนย์กลางแนวทางการทำงานต้องสอดคล้องกับภารกิจรัฐ ซื่อสัตย์สุจริต ตรวจสอบได้ ก่อนเริ่มดำเนินการต้องมีการศึกษาวิเคราะห์ให้รอบคอบด้าน มีกลไกการตรวจสอบ รับฟังความคิดเห็นของประชาชน เมื่อเกิดปัญหาต้องแก้ไขโดยเร็ว

4. การบริหารราชการเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจรักต้องมีการจัดทำแผนล่วงหน้า กำหนดรายละเอียดขั้นตอนและงบประมาณที่จะใช้เป้าหมายผลสัมฤทธิ์ และตัวชี้วัดความสำเร็จมีการติดตามประเมินผล หากเกิดผลกระทบต่อประชาชนต้องแก้ไขโดยเร็ว ให้ส่วนราชการพัฒนาความรู้ในส่วนราชการโดยมีลักษณะเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ โดยให้คณะรัฐมนตรีมีแผนการบริหารราชการแผ่นดินตลอดระยะเวลาการบริหารราชการเมื่อแถลงนโยบายต่อรัฐสภาแล้ว ให้มีการจัดทำแผนโดยสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำนักเลขาธิการนายกมนตรี สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงบประมาณมีหน้าที่ร่วมกันจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดิน เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาภายใน 90 วันนับแต่วันที่แถลงนโยบายต่อรัฐสภา

การจัดทำแผนให้จัดทำเป็นแผน 4 ปี ต้องสอดคล้องกับนโยบายพื้นฐานแห่งชาติ และแผนพัฒนาประเทศด้านต่างๆ ในแต่ละปีงบประมาณใช้ส่วนราชการจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปี เสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบ เมื่อผ่านความเห็นชอบก็จะได้รับกัน จัดสรรงบประมาณ เมื่อสิ้นปีงบประมาณ ขอให้จัดทำรายงานแสดงผลสัมฤทธิ์ของปฏิบัติงานต่อคณะรัฐมนตรี การปรับจะกระทำได้เฉพาะในกรณีที่งานหรือภารกิจใดไม่อาจดำเนินการได้ต่อไป หรือหมดความจำเป็น เมื่อคณะรัฐมนตรีอนุมัติให้ปรับแผนแล้ว ให้ดำเนินการแก้ไขแผนการบริหารราชการแผ่นดินให้สอดคล้องกันด้วย

5. การบริหารราชการอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าแก่ภารกิจรัฐ ได้ส่วนราชการกำหนดเป้าหมาย แผนการทำงาน ระยะเวลา และงบประมาณ ให้สำนักงบประมาณประเมินความคุ้มค่าในการปฏิบัติภารกิจรัฐเพื่อรายงานคณะรัฐมนตรีในการประเมินความคุ้มค่า โดยไม่คำนึงถึงสภาพและประเภทของแต่ละภารกิจ ความเป็นไปได้และประโยชน์ที่ได้รับ ในการจัดซื้อจัดจ้างต้องดำเนินการโดยเปิดเผยและเที่ยงธรรม

6. การลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน ให้มีการกระจายอำนาจการตัดสินใจให้แก่ผู้ที่มีตำแหน่งรับผิดชอบเรื่องนั้นโดยตรง เพื่อทำให้เกิดความรวดเร็วและลดขั้นตอนการทำงาน โดยต้องมีการกำหนดหลักเกณฑ์ขึ้นมาควบคุม

พรบ. บริหารบ้านเมืองที่ดี มีกี่หมวด

หลักเกณฑ์ วิธีการ และกรอบแนวทางดำเนินงานตาม พรฎ. ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546. พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ มี 9 หมวด 53 มาตรา กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี และกรอบแนวทางการดำเนินการไว้ดังนี้คือ

เป้าหมายในการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี มีอะไรบ้าง

พ.ร.ฏ. นี้มี 7 เป้าหมาย เป้า 1 เกิดประโยชน์สุขของประชาชน (สุข) เป้า 2 เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ (สัมฤทธิ์) เป้า 3 มีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ (คุ้มค่า) เป้า 4 ไม่มีขั้นตอนในการปฏิบัติงานเกินความจ าเป็น (ลดขั้นตอน) เป้า 5 มีการปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการให้ทันต่อสถานการณ์ (ปรับปรุง) เป้า 6 ...

พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 มีกี่หมวด กี่มาตรา

พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 จะประกอบด้วย บทบัญญัติ๙ หมวด รวมทั้งสิ้น 53 มาตรา โดยในมาตราที่ 1-5 เป็นการอธิบายถึงชื่อพระราชกฤษฎีกา การบังคับใช้ เงื่อนไขการปฏิบัติตามพระราชกฤษฎีกา ความหมายของคาสาคัญ และผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีกา บทบัญญัติ1-8 หมวด มีสาระสาคัญดังนี้

การบริหารกิการบ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.ศ. 2542 มีผลบังคับใช้ เมือใด

มติ ครม. เห็นชอบ เมื่อ 11 พ.ค. 2542 กับวาระ แห่งชาติสําหรับการสร้างระบบบริหารกิจการ บ้านเมืองและสังคมที่ดี กําหนดระเบียบสํานัก นายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างระบบบริหาร กิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.ศ. 2542 บังคับ ใช้ 11 ส.ค. 2542 (ต่อมามีประกาศระเบียบสํานัก นายกฯ ลงวันที่ 9 ส.ค. 2547 ยกเลิกระเบียบฯ ฉบับนี้) 7 Page 8 การ ...