ธุรกรรมการเงินดิจิทัล fintech

FinTech คือ คำที่มีที่มาจากคำว่า Financial Technology แปลว่าเทคโนโลยีทางการเงิน โดยธุรกิจ FinTech หรือฟินเทคจะเป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการนำเทคโนโลยีมาใช้ในธุรกิจการเงินไม่ว่าจะเป็นการลงทุน การธนาคาร การประกันภัย รวมถึงการเงินส่วนบุคคล

ประโยชน์หลักของ FinTech คือการทำให้ธุรกรรมหรือกิจกรรมเกี่ยวกับการเงินแบบเดิมเดิมสะดวกและรวดเร็วขึ้นมาก และในฝั่งของธุรกิจเองยังได้รับประโยชน์จากต้นทุนที่ลดลง อย่างที่ใครหลายคนเคยเห็นข่าวที่หลายธนาคารต่างลดจำนวนพนักงานลง

ในเบื้องต้น FinTech (ฟินเทค) ถ้าหากนำมาจัดหมวดหมู่ง่าย ๆ จะสามารถแบ่งประเภทได้ 7 ประเภทตามหมวดหมู่ของธุรกิจเกี่ยวกับการเงิน ได้แก่ ธนาคาร, สินเชื่อ, การจ่ายเงิน, การโอนเงินระหว่างประเทศ, การประกันภัย, การลงทุน, และ Cryptocurrency

อย่างไรก็ตาม FinTech เป็นสิ่งที่ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด เพียงแต่ช่วงที่ผ่านมา FinTech ถูกพูดถึงมากขึ้นในช่วงเปลี่ยนผ่านที่หลายธุรกิจเกี่ยวกับการเงินทั้งในไทยและต่างประเทศเริ่มเปลี่ยนมาใช้นวัตกรรมเกี่ยวกับเทคโนโลยีทางการเงินหรือ FinTech กันมากขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากความได้เปรียบในเรื่องของต้นทุนและความถูกต้องแม่นยำ

ตัวอย่าง FinTech ในชีวิตประจำวัน

อย่างที่บอกว่า FinTech คือ เทคโนโลยีทางการเงินที่เกิดจากการนำเทคโนโลยีมาใช้ในธุรกิจการเงิน มาดูกันว่า FinTech ตัวอย่างของทั้ง 7 ประเภทธุรกิจการเงิน มีอะไรบ้างที่คุณเคยพบเห็นมาแล้วในชีวิตประจำวัน

FinTech ในธุรกิจธนาคาร (Banking) คือสิ่งที่หลายคนน่าจะคุ้นเคยที่สุดในบรรดา FinTech (ฟินเทค) ทุกประเภท สำหรับตัวอย่างของธุรกิจธนาคาร ได้แก่ Mobile Banking และ Internet Banking ของแต่ละธนาคาร, บัตร ATM, และการกดเงินโดยที่ไม่ต้องใช้บัตร ATM

สินเชื่อและการกู้ยืม เทคโนโลยีเกี่ยวกับการตรวจสอบเครดิต การให้สินเชื่อ รวมถึงการเป็นตัวกลางของการกู้ระหว่าง 2 ฝ่าย ตัวอย่างเช่น Upstart, Prosper, Lending Club, และ Funding Circle ที่เป็นตัวกลางของ P2P lending ที่เป็นการกู้ยืมเงินระหว่างบุคคลต่อบุคคล

ธุรกรรมการเงินดิจิทัล fintech

เทคโนโลยีสำหรับการจ่ายเงินและกระเป๋าเงินออนไลน์ (e-wallet) ตัวอย่างเช่น TrueWallet, AliPay, LinePay, Google Pay, Apple Pay, Paypal และ Rabbit

FinTech เกี่ยวกับการโอนเงินระหว่างประเทศที่ช่วยทำให้การโอนเงินระหว่างประเทศง่ายขึ้นมาก ตัวอย่างเช่น Transferwise, Western Union, World Remit, Remitly, Currencyfair, TransferGo, และ Paypal

การลงทุน (Investment FinTech) ตัวอย่างเช่น StockRadars และ Jitta ที่เป็น 2 FinTech ที่ใช้สำหรับดูข้อมูลหุ้น วิเคราะห์หุ้นและคัดกรองหุ้น นอกจากนี้ยังถ้าหากพูดถึงเทคโนโลยีเกี่ยวกับการลงทุนอีกตัวอย่างที่ไม่พูดถึงไม่ได้คือการใช้ Machine Learning ในการเทรดของกองทุนใหญ่ ๆ ทั่วโลกในปัจจุบัน

FinTech ของธุรกิจการประกันภัย เรียกอีกอย่างว่า InsurTech ตัวอย่างเช่น การใช้ Machine Learning ในการประเมินความเสี่ยงและค่าเบี้ยประกันสำหรับผู้ทำประกัน รวมไปถึงระบบการเปรียบเทียบประกันที่หลายคนอาจจะเคยเห็นในหลายเว็บไซต์

Cryptocurrency หรือสกุลเงินดิจิตอลเข้ารหัส ก็นับว่าเป็นเทคโนโลยีทางการเงินหรือ FinTech (ฟินเทค) ที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงธุรกิจการเงินด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น Bitcoin, Ethereum, XRP Ripple, และสกุลเงิน Libra ของ Facebook ทั้งหมดก็นับว่าเป็น FinTech ด้วยเช่นกัน

Banking กลุ่มธนาคารที่หลายคนคุ้นเคยกันอยู่แล้ว เพราะมีบริการอย่าง การกู้เงิน ฝากเงิน ถอนเงิน และปัจจุบันนี้ก็เห็นว่าบริการทั้งหมดของธนาคารถูกยกขึ้นไปอยู่ในรูปแบบดิจิทัลแล้ว จากที่ต้องเดินไปถึงสาขาเพื่อทำธุรกรรม วันนี้เราทุกคนก็ใช้แค่เพียงโทรศัพท์มือถือเท่านั้น 

  • Cloud Funding แหล่งเงินทุนที่มาจากผู้คนจำนวนมาก เป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในอดีตและเพิ่งจะเข้ามาใหม่ ด้วยความเก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทำให้เราสามารถดึงเงินจำนวนทีละเล็กทีละน้อยจากผู้คนจำนวนหลายร้อยจนไปถึงหลักหมื่นคนมารวมเป็นก้อนใหญ่อยู่บนแพลตฟอร์ม เพื่อช่วยให้เราได้สามารถกู้หรือยืม โดยในไทยเองก็มีหลายแพลตฟอร์มให้ใช้งาน 

  • Cryptocurrency หรือสกุลเงินดิจิทัล ในอดีตหลายคนคงคุ้นเคยกับสกุลเงินของแต่ละประเทศ แต่เมื่อเกิดเงินเฟ้อมากขึ้นทำให้มูลค่าเงินเริ่มเสื่อมถอย รวมถึงมีการพัฒนาเทคโนโลยีที่ล้ำหน้าทำให้เกิด Cryptocerency ที่หมายถึงสกุลเงินดิจิทัลที่มีการเข้ารหัสเอาไว้ ระบุจำนวนเงินชัดเจนและส่งมอบผ่านทางดิจิทัล และในทุกวันนี้มีเทคโนโลยีที่เจาะลึกลงในด้านนี้อีกด้วยเช่น Decentralised finance (DeFi), GameFi และอีกมากมาย 

  • Payment Technology หรือเทคโนโลยีด้านการจับจ่าย นอกเหนือจากการจ่ายเงินสดแล้ว ปัจจุบันการจ่ายเงินด้วยวิธีอื่น ๆ กำลังเป็นที่นิยมอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นพร้อมเพย์ บัตรเครดิต Internet Banking หรือ Alipay 

  • Enterprise Financial Software หรือระบบซอฟต์แวร์การเงินในธุรกิจ ภาพคุ้นเคยที่เราคุ้นกันในการทำเอกสารการเงินคงหนีไม่พ้น สมุด กระดาษ การจดบันทึก และพัฒนามาอีกก็คือซอฟต์แวร์ประเภทติดตั้งที่ออฟฟิศ แต่ตอนนี้ระบบขึ้นไปอยู่บน Cloud เกิดซอฟต์แวร์ใหม่ ๆ เข้ามาช่วยในการทำธุรกรรมการเงิน 

  • Investment Management หรือระบบจัดการการลุงทุน จากการเดินทางไปยังสาขาเพื่อทำการลงุทน สู่การมีแพลตฟอร์มและเทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยจัดการการลงทุน รวมถึงมีผู้ดูแลการเงินให้ผ่านแอปพลิเคชัน 

  • InsurTech ประกันภัยแบบดิจิทัล ที่อดีตเราคุ้นเคยกับเอกสารกระดาษต้องไปพบตัวแทนเพื่อทำการซื้อและจัดการ แต่ทุกวันนี้แค่เพียงคลิกผ่านหน้าจอก็เรียบร้อยแล้ว 

  • ทั้งหมดนี้คือรูปแบบ FinTech ที่เกิดขึ้นในไทยและไม่ใช่เรื่องใหม่แล้ว ในขณะที่วงการ FinTech มีเด็กรุ่นใหม่เข้ามาโลดแล่น เกิดผู้เล่นมากขึ้น ไม่ได้ผูกขาดอย่างแต่ก่อน ซึ่งไม่ได้เกิดขึ้นแค่ในประเทศไทยเท่านั้น แต่ยังมีบริการจากต่างประเทศเข้ามาให้บริการในไทยด้วย ฝั่งของธนาคารเองก็กำลังปรับตัวอย่างหนักเช่นกันเพราะจากที่เคยเป็นผู้ควบคุมก็เริ่มเกิดคู่แข่งมากมาย ทำให้ต้องปรับโครงสร้างเพื่อให้สามารถขับเคลื่อนได้เร็วขึ้น อีกทั้งยังเริ่มมีการลงทุนใน Startup ต่าง ๆ ด้วย สำหรับประชาชนเองก็คุ้นเคยกับการใช้งาน FinTech พอสมควร อย่างการที่ทางรัฐเองก็ออกแบบระบบการเงินของตัวเองขึ้นอย่าง แอปพลิเคชันเป๋าตังค์ เพื่อช่วยหมุนเศรษฐกิจประเทศให้เดินหน้า เรียกได้ว่า FinTech เป็นเครื่องมือหลักในการขับเคลื่อนประเทศเลยก็ว่าได้ 

    ชวนปรับใช้ FinTech เพื่อยกระดับธุรกิจสู่อีกขั้น

    ต้องบอกว่าภาคธุรกิจในประเทศสามารถใช้ FinTech ได้ทุกธุรกิจ โดยสามารถหยิบยกบริการการเงินทั้ง 7 รูปแบบมาปรับใช้ เจ้าของธุรกิจจากที่เคยต้องจ้างพนักงานมาดูแลด้านการเงิน รอเอกสารตรวจสอบ ปัจจุบันนี้สามารถเช็คการเงินทุกอย่างผ่านทางโทรศัพท์ ดูรายรับ กำไร ขาดทุน ว่าเป็นอย่างไรบ้าง เมื่อสามารถเข้าถึงได้อย่างทันถ่วงทีก็ทำให้การตัดสินใจแม่นยำมากขึ้น ดังนั้นธุรกิจควรนำ FinTech มาใช้เพื่อทำให้ธุรกิจมีประสิทธิภาพมากขึ้น หรือแม้กระทั่งบุคคลทั่วไปด้วยเช่นกัน เปรียบเทียบกับเมื่อก่อนที่ต้องไปกู้นอกระบบและดอกเบี้ยสุดโหดมาสู่การคลิกผ่านแอปพลิเคชันการเงินต่าง ๆ ก็สามารถทำธุรกรรมได้อย่างไม่สะดุด 

    คุณภาวุธ พงษ์วิทยภานุ ยกตัวอย่างบริษัทวิตามินเกี่ยวกับเส้นผมที่ตัวเองกำลังทำอยู่ โดยเล่าว่า ตั้งแต่ต้นสิ่งที่ต้องการก็คือแหล่งเงินทุน ซึ่งวิธีการในอดีตก็คือคุณจะต้องไปธนาคารเพื่อที่จะขอกู้เงิน และวิธีการเดิม ๆ ใช้เวลานานและยุ่งยาก แต่เมื่อมีบริการ Cloud Funding ก็ทำให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายด้วยการกดเพียงไม่กี่ครั้งและระบบจะทำการคำนวณให้ใช้เวลาเพียงเล็กน้อยเท่านั้น และเมื่อได้ทำธุรกิจแล้ว ในเรื่องของบัญชีก็ยังใช้บริการซอฟต์แวร์บัญชี ในช่วง COVID-19 พนักงานบัญชีก็สามารถทำงานที่บ้านได้อีกด้วย ทุกอย่างปรับเป็นดิจิทัล การทำงานในองค์กรการเบิกจ่ายและบัญชีก็ออนไลน์หมด อีกทั้งยังมีระบบ e-KYC ที่ช่วยในการยืนยันใบหน้าของลูกค้าเพื่อสามารถตรวจสอบและวิเคราห์ว่าลูกค้าเป็นมีตัวจนจริงหรือไม่ ง่ายต่อการทำเอกสารและเซ็นสัญญาต่าง ๆ ในขณะที่หน้าการขายออนไลน์ก็มีระบบที่ช่วยให้ลูกค้าชำระเงินได้หลากหลายวิธี ทั้งโอนชำระ บัตรเครดิต หรือผ่อนชำระแบบศูนย์เปอร์เซ็นต์ไปจนถึงจ่ายด้วยสกุลเงินดิจิทัล ทั้งหมดเป็นการชี้ให้เห็นถึงกระบวนการทำธุรกิจในการปรับใช้ FinTech ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ 

    ผู้เล่นด้าน FinTech ในไทยอาจจะมีอยู่ไม่มากในตอนนี้ แต่ในอนาคตเราได้เห็นการเติบโตขึ้นอย่างมากแน่นอน และจะเติบโตอย่างรวดเร็วด้วย เพราะทุกคนต้องกระโดดลงไปในโลกดิจิทัล เพราะฉะนั้นทุกคนต้องการซอฟต์แวร์และเครื่องมือเข้ามาช่วยในการบริหารธุรกิจ ในขณะเดียวกันก็ต้องระมัดระวังและมีมาตราการควบคุมในด้านการให้บริการ FinTech โดยในปัจจุบันก็มีหน่วยงานควบคุมจากภาครัฐไม่ว่าจะเป็น ธนาคารกลางหรือแบงค์ชาติ คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (คณะกรรมการ ก.ล.ต.) หรือ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) เพราะเมื่อธุรกรรมการเงินก้าวขึ้นไปบนโลกออนไลน์ การฟอกเงิน ระบบการจัดการ และอีกมากมายที่เกี่ยวข้องกับการเงินต้องมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบ ดังนั้นต้องปรับให้ดีมากขึ้น 

    ผู้บริหารคือหัวใจสำคัญในการเริ่มต้นขับเคลื่อนองค์กรไปสู่เทคโนโลยี

    ที่ผ่านมาพบว่าคนที่ทำงานบัญชีมักไม่คุ้นเคยกับเครื่องมือเทคโนโลยี อย่างเช่น ในทีมของคุณ หากผู้บริหารไม่ได้กำหนดว่าจะต้องมีการปรับใช้ พนักงานบัญชีก็อาจจะยังไม่มีการปรับตัวเข้าไปใช้งานเครื่องมือใหม่ ๆ ดังนั้นเป็นหน้าที่ของฝ่ายบริหารที่จะลดช่องว่างระหว่างโลกการทำงานแบบเดิม ๆ กับโลกเทคโนโลยีใหม่ ๆ จุดสำคัญคือผู้ที่มีอำนาจตัดสินใจในการจะนำพา FinTech หรือเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาในองค์กร และต้องเข้าใจและรู้จักว่าจะหยิบเครื่องมือ FinTech ชิ้นไหนเข้ามาทำงาน ต้องยอมรับว่ายังมีอุตสาหกรรมอีกหลายประเภทที่ยังห่างจากเทคโนโลยี จะสังเกตได้ว่า FinTech มักถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมที่ใกล้ชิดกับเทคโนโลยี เช่น อุตสาหกรรม IT อุตสาหกรรม Telecom หรือธุรกิจ Data ในขณะที่อุตสาหกรรมการเกษตร การผลิต หรือสิ่งพิมพ์ ยังคงห่างไกลกับเทคโนโลยี ตรงนี้คือโอกาสของกลุ่มอุตสาหกรรมที่ยังไม่คุ้นเคยกับเครื่องมือใหม่ ๆ ในการผลักดันตัวเองเข้ามาสู่เทคโนโลยี 

    หลายคนกลัวเรื่องความปลอดภัยของข้อมูล เรื่องความเป็นส่วนตัว หลาย SME ยังมีการทำสองบัญชี และเรื่องของการยื่นตัวเลขต่อภาครัฐที่ไม่ตรง ทำให้มีความกลัวว่าเทคโนโลยีจะเข้ามามีส่วนในการทำให้ภาครัฐมองเห็นข้อมูลของตน ซึ่งสิ่งแบบนี้เป็นเรื่องผิดเพราะความกลัวนี้จะไปฉุดให้ธุรกิจของคุณเดินไปได้ช้า ธุรกิจรุ่นใหม่ ๆ มักไม่มีการทำสองบัญชีอีกแล้วแต่เป็นการเสียภาษีอย่างตรงไปตรงมา ทำให้คุณไม่ต้องมาหลบและกังวล แน่นอนว่าปัจจุบันนี้ก็มีเทคนิคมากมายในการลดหย่อนภาษี อีกทั้งยังมี FinTech ด้าน Tax Planing อีกด้วย หากสนใจส่วนไหนคุณแค่คลิกหาข้อมูล ทุกอย่างมีข้อมูลรอคุณอยู่หมดแล้ว หากอยากเริ่มนำ FinTech ไปปรับใช้ก็มีวิธีการง่าย ๆ เพียง 3 ขั้นตอน 

    1. ลองกลับไปดูที่บริษัทของคุณว่าทีมงานเรายังคงใช้วิธีการเดิม ๆ อยู่ไหม ในระยะ 10-20 ปีมานี้ 

    2. หากยังทำแบบเดิมอยู่ ลองเสิร์ชหาข้อมูลด้านบริการ FinTech ซึ่งมีอยู่มากมาย ลองค้นหาและเรียนรู้เทคโนโลยีเหล่านั้น

    3. หากเห็นว่าบริการไหนดี ลองนำมาปรับใช้กับองค์กรของคุณ

    ทั้งหมดนี้คือวิธีที่คุณภาวุธ พงษ์วิทยภานุแนะนำ และยังบอกอีกว่าหากอยากเรียนรู้ปัจจุบันนี้มีแหล่งข้อมูลอยู่มากมายให้คุณศึกษา สิ่งที่สำคัญที่สุดคือคุณจะทำมันเมื่อไหร่ คุณต้องทำทันที เมื่อเริ่มแล้วคุณจะเห็นผลลัพธ์ทันที และเมื่อทำไปเรื่อย ๆ ผลลัพธ์ก็จะดีขึ้นไปเรื่อย ๆ เช่นกัน 

    เรียกว่าเป็นข้อมูลที่น่าสนใจและน่านำไปปรับใช้กับธุรกิจในทุกขนาดมาก ๆ หากสนใจข้อมูลเพิ่มเติมและอยากเจาะลึกให้รู้จริงไปอีกกับเรื่อง FinTech ติดตามข้อมูลได้ที่ https://www.jrit-ichi.com/cutting/2022/02/02/767/

    ธุรกรรมการเงินดิจิทัล Fintech มีอะไรบ้าง

    Fintech มีกี่แบบ อะไรบ้าง.
    1. Banking Technology. ... .
    2. Crowdfunding Platforms. ... .
    3. Cryptocurrency. ... .
    4. Payment Technology. ... .
    5. Enterprise Financial Software. ... .
    6. Investment Management. ... .
    7. Insurance Technology/ Insurtech. ... .
    ผู้ให้บริการ E-Commerce..

    ธุรกรรมการเงินดิจิทัล คืออะไร

    1/ดิจิตอลแบงกิ้ง (Digital Banking) หมายถึงการให้บริการลูกค้าในการทาธุรกรรมกับธนาคาร โดยลูกค้าไม่จาเป็นต้องมาธนาคาร เช่น การให้บริการทางโทรศัพท์ (Call Center) การทาธุรกรรมทางการเงินผ่านช่องทางคีออส (ตู้เอทีเอ็ม) อินเทอร์เน็ต (Internet Banking) และโทรศัพท์เคลื่อนที่(Mobile Banking) เป็นต้น

    ระบบ E

    4. Payment Technology ระบบการจ่ายเงินที่ดำเนินการด้วยเทคโนโลยี ประเภทนี้คือระบบตัวแทนการใช้จ่าย ที่ผู้ใช้ต้องเปิดบัญชีกับทางแพลตฟอร์มจึงจะสามารถใช้งานได้ ตัวอย่างเช่นระบบ E-Wallet ต่าง ๆ เครดิตการ์ด ซึ่งระบบ Payment จะต่างจาก Mobile Banking ตรงที่เจ้าของแพลตฟอร์มไม่ใช่ธนาคาร และให้บริการเฉพาะการใช้จ่ายเท่านั้น