ตัวอย่าง โครง งาน ภาษา ไทย ป 4

โครงงาน

                เรื่อง   การรวบรวมคำศัพท์ที่อ่าน เขียนคำ

                        ตามมาตราตัวสะกดแม่ กน  กง

                   ผู้จัดทำ…….

                  1………………………………….

                  2………………………………….

                  3………………………………….

                  4. ………………………………..

                  5………………………………….

ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

อาจารย์ที่ปรึกษา….

                  1………………………………….

                  2…………………………………

      โรงเรียน……………………………………..

      อำเภอ………………จังหวัด……………………….

      สังกัด……………………………………………….

      รายงานนี้เป็นส่วนประกอบโครงงานวิชาภาษาไทย

บทคัดย่อ

        การอ่าน การเขียน เป็นทักษะที่ช่วยให้เราได้รับความรู้  ข้อมูลข่าวสาร  การพัฒนาตนเองด้านความรู้และการทำงานด้วยการเลือกอ่านหนังสือ  ปัญหาการอ่าน - เขียนสะกดคำยากไม่ออก  ไม่สามารถสะกดคำตามมาตรา แม่ กน  กง  ได้ถูกต้อง ซึ่งเกิดกับผู้เรียนหลายคน  คณะผู้จัดทำจึงสนใจที่จะศึกษา เรื่อง   การรวบรวมคำศัพท์ที่อ่าน เขียนตามมาตราตัวสะกดแม่ กน  กง    เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาการอ่าน -เขียนดังกล่าว

กิตติกรรมประกาศ

       การจัดทำโครงงานเรื่อง  การรวบรวมคำศัพท์ที่อ่าน เขียนคำตามมาตราตัวสะกดแม่  กน  กง ครั้งนี้  ประสบผลสำเร็จได้เป็นอย่างดี  เนื่องจากได้รับคำปรึกษา ชี้แนะจากคณะครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยและคณะครูในโรงเรียนทุกท่าน  รวมทั้งการได้รับคำแนะนำจากผู้รู้  ขอขอบคุณทุกท่านที่ให้ความช่วยเหลือ

                                                คณะผู้จัดทำ

สารบัญ

       บทคัดย่อ

        กิตติกรรมประกาศ

        สารบัญ                                                       หน้า

                บทที่ 1  บทนำ                                      5

                บทที่ 2  เอกสารที่เกี่ยวข้อง                                6             

                บทที่ 3  วิธีการศึกษา                               7

                บทที่ 4  ผลการศึกษา                              8

                บทที่ 5  สรุป  อภิปรายผล                         10

                เอกสารอ้างอิง                                        11

บทที่ 1

บทนำ

หลักการและเหตุผล

        การอ่านช่วยให้เราสามารถรับรู้  ความรู้   ความคิดของผู้อื่น  มีประโยชน์มาก  การที่จะอ่านได้อย่างคล่องแคล่วและอ่านได้เร็ว   การพัฒนาความสามารถในการอ่าน  เราต้องมีความรู้และเข้าใจเรื่อง  มาตราตัวสะกด  และใช้ให้ถูกต้องตามหลักภาษาไทย

วัตถุประสงค์

1.     เพื่อฝึกการอ่านสะกดคำได้ถูกต้องตามมาตราตัวสะกด

2.     สามารถแยกคำศัพท์ต่าง ๆ ได้ตรงตามมาตราตัวสะกด

บทที่ 2

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

       หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐาน ชุด ภาษาเพื่อชีวิต  ภาษาพาที

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5     กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย      หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช 2544

บทที่ 3

วิธีการศึกษา

1.    เสนอหัวข้อโครงงาน

2.    ศึกษาเอกสารและแบ่งหน้าที่ค้นคว้า

3.    สำรวจข้อมูลจากหนังสือเรียนภาษาไทยชุดพื้นฐานภาษา

เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ใช้ในการศึกษา คือ    หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐาน ชุด ภาษาเพื่อชีวิต  ภาษาพาที    ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5  

4.    เขียนรายงานผลการศึกษา  นำเสนอผลงาน

5.    นำเสนอโครงงาน

บทที่ 4

ผลการศึกษา

การค้นคว้าและรวบรวมคำที่สะกดด้วยมาตราตัวสะกดแม่ กน และ กง 

มาตรา

คำที่พบ

แม่กน

1.  ขวัญ

2 .   ฝน

3.    กระโดน

4.    คน

5 .   บุญคุณ

6.   สัญญาณ

7.   ยืน

8.   เพื่อน

9.   วันเพ็ญ

10. ดิน

11. สูญสิ้น

12. ปลูกหม่อน

13. สีน้ำตาล

14. เชิงตะกอน

15. ตะวัน

16. พื้นบ้าน

17. ก้อนหิน

18. สืบสันดาน

19. คำกลอน

20. อ่อนโยน

มาตรา

คำที่พบ

แม่กง

1 แมลง

2. ลุง

3. ร้องเพลง

4. แสดง

5. แปลง

6. จำแลง

7. หม้อแกง

8. แข็งแกร่ง

9. แสงทอง

10. แห่ง

11. ฟัง

12. วิ่ง

13. พุ่ง

14. แกง

15. โครงเรื่อง

16. พลาง

17. ท้องยุ้ง

18. พุง

19. กรุง

20. กว้างขวาง

บทที่ 5

สรุปผลการศึกษา

       จากการค้นคว้าและรวบรวมคำที่สะกดด้วยมาตราตัวสะกดแม่กน  แม่กง

ดังนี้

          คำที่สะกดด้วยมาตราแม่กน                       จำนวน   20        คำ

          คำที่สะกดด้วยมาตราแม่กง                        จำนวน    20       คำ

       อภิปรายผล

1.      ควรจัดทำโครงงานที่เกี่ยวกับการค้นคว้าและรวบรวมคำที่สะกดด้วยมาตราตัวสะกดแม่กน กง จากบทเรียนอื่น ๆ

2.      ควรจัดทำโครงงานที่เกี่ยวกับการค้นคว้าและรวบรวมคำที่สะกดด้วยมาตราตัวสะกด  มาตราอื่น ๆ

    ประโยชน์ที่ได้รับ

1.     ฝึกทักษะการอ่าน เขียนคำตามมาตราตัวสะกดแม่ กน  กง จาก

บทเรียนได้ถูกต้อง

2.     ทำให้อ่านและเขียนสะกดคำได้ดียิ่งขึ้น

3.     ฝึกการทำงานเป็นกลุ่ม

    เอกสารอ้างอิง

       กระทรวงศึกษาธิการ  หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐาน ชุด ภาษาเพื่อชีวิต  ภาษาพาที     ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5   กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544  โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว  กรุงเทพ.

โครงงาน

               เรื่อง   นิทานไทย

                  ผู้จัดทำ…….

                  1………………………………….

                  2………………………………….

                  3………………………………….

                  4. ………………………………..

                  5………………………………….

            ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

อาจารย์ที่ปรึกษา….

                  1………………………………….

                  2…………………………………

      โรงเรียน……………………………………..

      อำเภอ………………จังหวัด……………………….

      สังกัด……………………………………………….

      รายงานนี้เป็นส่วนประกอบโครงงานวิชาภาษาไทย

บทคัดย่อ

       นิทานเป็นเรื่องเล่าสืบต่อกันมาและมีอยู่ในทุกชาติทุกภาษา  ถ้าเป็นเรื่องเล่าของคนไทยเรียกว่า  นิทานไทยถ้าเป็นเรื่องเล่าของคนต่างชาติต่างภาษา ไม่ใช่เรื่องของไทยโดยตรง  เรียกว่า นิทานนานาชาติ  เราควรอ่านนิทานแล้วนำมาเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาด้วย ว่า นิทานเรื่องใดน่าจะเป็นนิทานไทย และเรื่องใดน่าจะเป็นนิทานนานาชาติ

       โครงงานนิทานไทย    มีจุดมุ่งหมาย    เพื่อศึกษาสำรวจนิทาน  ที่เป็นเรื่องเล่าของคนไทย   ซึ่งเรื่องราวในนิทานหลายเรื่อง  ได้นำไปเปรียบเทียบกับการกระทำและลักษณะนิสัยของคน  จนเป็นสำนวนที่พูด กันติดปาก เช่น

กบในกะลาครอบ  กิ้งก่าได้ทอง  กบเลือกนาย  คางคกขึ้นวอ  แพะรับบาป  ฤาษีแปลงสาร  ฯลฯ  นอกจากจะได้ความสนุกสนาน  ชวนติดตามแล้ว  นิทานยังให้คติเตือนใจ  ข้อคิดในแง่มุมต่าง ๆ    ของคนสมัยก่อนที่สืบสานเรื่องราวให้คนรุ่นหลังได้รับรู้  จึงควรอนุรักษ์สืบสานเผยแพร่ให้คนรุ่นต่อ ๆ ไปได้เห็นคุณค่าของนิทาน  วรรณกรรมไทย  และภาษาไทย    

กิตติกรรมประกาศ

        โครงงานเรื่อง นิทานไทย          ครั้งนี้  สำเร็จลุล่วงด้วยดี   เนื่องจากได้รับความช่วยเหลือแนะนำจากคุณครูที่ปรึกษา   และคณะครูในโรงเรียนทุกท่าน    ท่านผู้อำนวยการโรงเรียนที่ให้การสนับสนุน      คณะผู้จัดทำขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงไว้ ณ ที่นี้

                                                        คณะผู้จัดทำ

สารบัญ

เรื่อง                                                           หน้า

        บทคัดย่อ                                                    

        กิตติกรรมประกาศ                                         

        บทที่ 1 บทนำ                                               18    

                ที่มาและความสำคัญของโครงงาน                

                วัตถุประสงค์                                        

                ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า                    

        บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง                                 19

        บทที่ 3 วิธีดำเนินการ                                       20

        บทที่ 4 ผลการศึกษาค้นคว้า                               21

        บทที่ 5 สรุปผลการศึกษาค้นคว้า                          23

                ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงงาน

                ข้อเสนอแนะ

                เอกสารอ้างอิง

บทที่ 1

บทนำ

        ที่มาและความสำคัญ

        นิทานเป็นเรื่องเล่าสืบต่อกันมา และมีอยู่ในทุกชาติทุกภาษา  ถ้าเป็นเรื่องเล่าของคนไทยเรียกว่า นิทานไทยจากการที่เคยอ่านนิทานที่มีผู้เล่าให้ฟังหรือเขียนให้อ่าน  แต่ยังมีนิทานในท้องถิ่นอีกมากที่ยังไม่มีผู้ใดบันทึกไว้  ทั้งนิทานสัตว์  ตำนาน  เกี่ยวกับสถานที่หรือบุคคล   คณะผู้จัดทำจึงสนใจที่จะศึกษาสำรวจนิทานไทย      โดยรวบรวมข้อมูลจากการสอบถามพ่อ  แม่  ผู้ปกครอง  ผู้ใหญ่ในชุมชน   และผู้รู้  จดบันทึกสาระเรื่องที่ได้ฟัง  ระบุชื่อ  สกุล  อายุและภูมิลำเนาของผู้เล่า    เรียบเรียงนิทานตามที่ได้จดบันทึกโดยลำดับเหตุการณ์  ใช้ภาษาให้สมจริง  ตามเนื้อเรื่องและบทบาทของตัวละคร  สรุปข้อคิดและผลการกระทำของตัวละครในนิทาน  นำเสนอผลงาน

          จุดมุ่งหมายของการศึกษา

1.      เพื่อสำรวจนิทานไทย

2.      สรุปข้อคิดที่ได้จากนิทานที่สำรวจได้

ขอบเขตในการศึกษา

        สถานที่ในการสำรวจ คือ   ชุมชน  หมู่บ้านของนักเรียน  ห้องสมุด

ของโรงเรียน

          การสำรวจในครั้งนี้  จะสำรวจนิทานไทย จาก

                                                บทที่ 2

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

        หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐาน ชุด ภาษาเพื่อชีวิต  วรรณคดีลำนำ

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5   กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 

บทที่ 3

วิธีดำเนินการ

        วิธีดำเนินการ

1.      ประชุมกลุ่มเลือกประธานกลุ่ม  กรรมการ และเลขานุการกลุ่ม

2.      แบ่งหน้าที่มอบหมายงานกันภายในกลุ่ม 

3.      สมาชิกในกลุ่มช่วยกันสำรวจนิทานไทย จากหนังสือเรียนสาระการเรียนรู้

พื้นฐาน ชุด ภาษาเพื่อชีวิต  ภาษาพาที    ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย   และความหมาย  บันทึกลงตารางบันทึกผล

4.      รวบรวมข้อมูลและแยกประเภท

5.      สรุปผลการสำรวจ  บันทึกผล

บทที่ 4

ผลการสำรวจ

ตารางที่ 1   ตารางบันทึกผลการสำรวจนิทานไทย

ลำดับที่

ชื่อนิทานไทย

1

กระตายสามขา

2

พระยากง  พระยาพาน

3

แก้วหน้าม้า

4

ศรีธนญชัย

5

พระรถ เมรี

6

นางผมหอม

7

เมขลา รามสูร

8

ท้าวผาแดงนางไอ่

9

ตำนานวันสงกรานต์

10

สิงหไกรภพ

11

เกาะหนู  เกาะแมว

12

ปลาบู่ทอง

13

กบเลือกนาย

14

อึ่งอ่างกับวัว

15

ตากับยาย

16

ทุ่งกุลาร้องไห้

17

หมาป่ากับลูกแกะ

18

ขุนช้างขุนแผน

19

ท้าวแสนปม

20

พระอภัยมณี

21

กระต่ายกับเต่า

22

สังข์ทอง

บทที่ 5

ผลการสำรวจ

        ผลการสำรวจนิทานไทย   สรุปได้ดังนี้

          จากการสำรวจพบว่า  นิทานหลายเรื่องมีการนำไปเปรียบเทียบกับการกระทำและลักษณะนิสัยของคน  จนเป็นสำนวนพูดติดปาก เช่น กบในกะลาครอบ  กิ้งก่าได้ทอง  กบเลือกนาย  คางคกขึ้นวอ  กระต่ายตื่นตูม  ม้าอารี  แพะรับบาป  ฤาษีแปลงสาร    นิทานบางเรื่องได้เรียนรู้ลักษณะของนิทานท้องถิ่น   นิทานหรือตำนานเกี่ยวกับสถานที่  เกิดจากการสังเกตธรรมชาติและเล่าเรื่องราวประกอบ  ตำนานลักษณะนี้จะมีอยู่เป็นจำนวนมาก เพราะสถานที่ต่าง ๆ จะมีสภาพทางภูมิศาสตร์แตกต่างกันไป  ทำให้ผู้เล่ามีความคิดที่หลากหลาย  และสร้างเรื่องขึ้นมาได้ไม่ซ้ำกัน  เช่น เรื่องเกาะหนู  เกาะแมว เป็นตำนานพื้นบ้านจังหวัดสงขลา  เป็นต้น  นอกจากนั้นเรายังได้ข้อคิด คติเตือนใจจากนิทานด้วย

          ประโยชน์ที่ได้จากโครงงาน

                   1. ได้รู้จักนิทานไทยมากขึ้น

2. ได้ฝึกทักษะการสังเกต  การวิเคราะห์ผล  การจำแนกและการสรุปผล

ข้อเสนอแนะ

1.      ควรสำรวจนิทานจากต่างประเทศหรือนิทานนานาชาติ เพิ่มเติม

2.      ควรสังเกตข้อคิด  คติที่ได้จากนิทานไทย แล้วรวบรวมไว้เป็นรูปเล่ม

ไว้ให้รุ่นน้อง ๆ ได้ศึกษา

เอกสารอ้างอิง

กระทรวงศึกษาธิการ  หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐาน   ชุด ภาษาเพื่อชีวิต วรรณคดีลำนำ   ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5   กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว  กรุงเทพฯ

                                                      ภาคผนวก

                   -  ภาพประกอบกิจกรรม

โครงงาน

               เรื่อง   สำรวจภาษาต่างประเทศในภาษาไทย

                  ผู้จัดทำ…….

                  1………………………………….

                  2………………………………….

                  3………………………………….

                  4. ………………………………..

                  5………………………………….

ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

อาจารย์ที่ปรึกษา….

                  1………………………………….

                  2…………………………………

      โรงเรียน……………………………………..

      อำเภอ………………จังหวัด……………………….

      สังกัด……………………………………………….

      รายงานนี้เป็นส่วนประกอบโครงงานวิชาภาษาไทย

บทคัดย่อ

       โครงงานสำรวจภาษาต่างประเทศในภาษาไทย    มีจุดมุ่งหมาย เพื่อสำรวจภาษาต่างประเทศที่เข้ามาปะปนในภาษาไทย  ซึ่งบางครั้งไม่สามารถ

หาคำไทยมาใช้ตรงกับความหมายที่ต้องการ  หรือบางคำเป็นชื่อเฉพาะ   จึงมีการใช้คำที่มาจากต่างประเทศหรือทับศัพท์เกิดขึ้นเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน  

กิตติกรรมประกาศ

        โครงงานเรื่อง สำรวจภาษาต่างประเทศในภาษาไทย          ครั้งนี้  สำเร็จลุล่วงด้วยดี   เนื่องจากได้รับความช่วยเหลือแนะนำจากคุณครูที่ปรึกษา      และคณะครูในโรงเรียนทุกท่าน    ท่านผู้อำนวยการโรงเรียนที่ให้การสนับสนุน  คณะผู้จัดทำขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงไว้ ณ ที่นี้

                                                คณะผู้จัดทำ

สารบัญ

เรื่อง                                                           หน้า

        บทคัดย่อ                                                    

        กิตติกรรมประกาศ                                         

        บทที่ 1 บทนำ                                               18    

                ที่มาและความสำคัญของโครงงาน                

                วัตถุประสงค์                                        

                ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า                    

        บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง                                 19

        บทที่ 3 วิธีดำเนินการ                                       20

        บทที่ 4 ผลการศึกษาค้นคว้า                               21

        บทที่ 5 สรุปผลการศึกษาค้นคว้า                          23

                ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงงาน

                ข้อเสนอแนะ

                เอกสารอ้างอิง

บทที่ 1

บทนำ

        ที่มาและความสำคัญ

        ประเทศไทย มีการติดต่อกับต่างประเทศมาช้านาน  ทำให้มีภาษาจากต่างประเทศเข้ามาปะปนในภาษาไทยเป็นจำนวนมาก  ซึ่งบางครั้งไม่สามารถหาคำไทยมาใช้ตรงกับความหมายที่ต้องการ  หรือบางคำเป็นชื่อเฉพาะ  จึงมีการนำคำที่มาจากต่างประเทศหรือทับศัพท์เกิดขึ้นเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน  อย่างไรก็ตาม  เรามีการบัญญัติศัพท์ใช้แทนคำที่มาจากภาษาต่างประเทศอยู่แล้วจำนวนมาก  หากไม่จำเป็นเราควรพยายามหลีกเลี่ยงการใช้คำที่มาจากต่างประเทศ  การใช้คำศัทพ์ที่บัญญัติขึ้นหรือการใช้คำไทย  ถือเป็นการอนุรักษ์ภาษาไทยได้วิธีหนึ่ง      คณะผู้จัดทำจึงสนใจที่จะศึกษาสำรวจภาษาต่างประเทศในภาษาไทย   โดยได้แบ่งหน้าที่มอบหมายกันในกลุ่มสำรวจ หรือสอบถามผู้รู้และรวบรวมข้อมูล

          จุดมุ่งหมายของการศึกษา

3.      เพื่อสำรวจภาษาต่างประเทศในภาษาไทย

4.      สามารถบอกความหมายของคำศัพท์ภาษาต่างประเทศที่สำรวจได้

ขอบเขตในการศึกษา

        สถานที่ในการทดลอง คือ  โรงเรียน

          การสำรวจในครั้งนี้  จะสำรวจภาษาต่างประเทศในภาษาไทย จาก

หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐาน ชุด ภาษาเพื่อชีวิต  ภาษาพาที    ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3   และบอกความหมายของคำศัพท์ภาษาต่างประเทศที่สำรวจได้

                                                บทที่ 2

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

        หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐาน ชุด ภาษาเพื่อชีวิต  ภาษาพาที    ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3   กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 

บทที่ 3

วิธีดำเนินการ

        วิธีดำเนินการ

6.      ประชุมกลุ่มเลือกประธานกลุ่ม  กรรมการ และเลขานุการกลุ่ม

7.      แบ่งหน้าที่มอบหมายงานกันภายในกลุ่ม 

8.      สมาชิกในกลุ่มช่วยกันสำรวจคำภาษาต่างประเทศในภาษาไทย จากหนังสือ

เรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐาน ชุด ภาษาเพื่อชีวิต  ภาษาพาที    ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3   กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย   และความหมาย  บันทึกลงตารางบันทึกผล

9.      รวบรวมข้อมูลและแยกประเภท

10.สรุปผลการสำรวจ  บันทึกผล

บทที่ 4

ผลการทดลอง

ตารางที่ 1   ตารางบันทึกผลการสำรวจภาษาต่างประเทศในภาษาไทย จากหนังสือเรียน

                    ที่มีการระบุความหมายไว้

ลำดับที่

คำภาษาต่างประเทศ

ความหมาย

1

คีย์ข้อมูล

ใส่ข้อมูล

2

แผ่นดิสก์

จานข้อมูล

3

พริ้นท์

พิมพ์

4

คริสต์ศักราช

ปีนับตั้งแต่วันสมภพของพระเยซู เริ่มตั้งภายหลังพุทธศักราช 543 ปี (พุทธศักราช ลบด้วย 543  เท่ากับ คริสต์ศักราช)

5

เซฟข้อมูล

เก็บข้อมูลไว้ในหน่วยความจำของเครื่องหรือไว้ในแผ่นข้อมูล

6

ทาวน์เฮาส์

บ้านตึกแถวที่ใช้กำแพงร่วมกัน

7

คอมพิวเตอร์

เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ

8

เว็บไซต์

ที่อยู่ของเว็บ (ภาษาคอมพิวเตอร์)

9

สลัด

ชื่อยำชนิดหนึ่งตามแบบตะวันตกประกอบด้วยผักสดหลายชนิดและน้ำปรุงรส

10

ออทิสติก

ผู้ที่มีความผิดปกติทางการพัฒนาด้านสังคม การสื่อความหมายและจินตนาการ

11

อีเมล

ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์  หรือการส่ง

และรับจดหมายหรือข้อความผ่านทาง

   คอมพิวเตอร์

12

อินเตอร์เน็ต

เครือข่ายคอมพิวเตอร์นานาชาติที่ช่วย

    ในการสืบค้นข้อมูลต่าง ๆ

 ตารางที่ 2     ตารางบันทึกผลการสำรวจภาษาต่างประเทศในภาษาไทยจากหนังสือเรียน

                    แต่ไม่พบความหมาย ของคำ   มีดังนี้

ลำดับที่

คำภาษาต่างประเทศ

ความหมาย

1

คุกกี้

ไม่พบ

2

เค้ก

ไม่พบ

3

แครอท

ไม่พบ

4

เฉาก๊วย

ไม่พบ

5

แซนด์วิช

ไม่พบ

6

เต้าฮวย

ไม่พบ

7

เทเบิลเทนนิส

ไม่พบ

8

แท็กซี่

ไม่พบ

9

บาสเกตบอล

ไม่พบ

10

เปียโน

ไม่พบ

11

พาราลิมปิก

ไม่พบ

12

พิซซ่า

ไม่พบ

13

เฟรนซ์ฟราย

ไม่พบ

14

มิเตอร์

ไม่พบ

15

เมนู

ไม่พบ

16

เย็นตาโฟ

ไม่พบ

17

เยลลี่

ไม่พบ

18

แอปเปิ้ล

ไม่พบ

19

โอลิมปิก

ไม่พบ

20

ไอศกรีม

ไม่พบ

21

ฮัลโหล

ไม่พบ

22

โอเค

ไม่พบ

23

มอเตอร์ไซค์

ไม่พบ

24

มะกะโรนี

ไม่พบ

บทที่ 5

ผลการทดลอง

        ผลการสำรวจภาษาต่างประเทศในภาษาไทย   สรุปได้ดังนี้

          จากการสำรวจพบว่า  มีคำศัพท์ภาษาต่างประเทศในภาษาไทยและมีการบอกความหมายไว้  จำนวน   12  คำ  และคำภาษาต่างประเทศในภาษาไทย  แต่ไม่พบ

ความหมายจำนวน  24  คำ

          ประโยชน์ที่ได้จากโครงงาน

1.      ได้รู้จักคำภาษาต่างประเทศในภาษาไทยมากขึ้น

2.      ได้ฝึกทักษะการสังเกต  การวิเคราะห์ผล  การจำแนกและการสรุปผล

ข้อเสนอแนะ

3.      ควรสำรวจคำภาษาต่างประเทศในภาษาไทยจากหนังสืออื่น ๆ

 เพิ่มเติม

4.      ควรสังเกตลักษณะอื่น ๆ ของภาษาต่างประเทศด้วย

เอกสารอ้างอิง

กระทรวงศึกษาธิการ  หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐาน ชุด ภาษาเพื่อชีวิต ภาษาพาที      ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3   กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว  กรุงเทพฯ

                                                      ภาคผนวก

                   -  ภาพประกอบกิจกรรม