ตัวอย่างการแบ่งกลุ่มลูกค้า

หน้านี้พิมพ์ขึ้นเมื่อ Jan 01, 2023 หากต้องการเวอร์ชันปัจจุบัน โปรดไปที่ https://help.shopify.com/th/manual/customers/customer-segmentation

การแบ่งกลุ่มลูกค้าจะช่วยให้คุณสามารถจัดให้ลูกค้าที่มีลักษณะคล้ายกันมารวมอยู่ในกลุ่มลูกค้าเดียวกันได้ โดยคุณสามารถสร้างกลุ่มลูกค้าโดยให้มีขอบเขตกว้างหรือแคบเท่าใดก็ได้ตามที่คุณต้องการโดยใช้ชื่อตัวกรอง ตัวดําเนินการ และค่าต่างๆ กลุ่มลูกค้าของคุณจะช่วยให้คุณติดต่อสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยการส่งข้อความที่ใช่ให้แก่ลูกค้าที่ตรงกลุ่มในเวลาที่เหมาะสม

การใช้การแบ่งกลุ่มลูกค้าเพื่อดึงดูดลูกค้าของคุณ

การแบ่งกลุ่มลูกค้าสามารถช่วยให้คุณสร้างแคมเปญการตลาดแบบเจาะจงเป้าหมายที่ใช้การส่งข้อความที่ปรับให้เข้ากับแต่ละบุคคล

คุณสามารถพัฒนาเนื้อหาที่มีความหมายให้แก่ลูกค้าเหล่านั้นได้โดยการเน้นไปที่กลุ่มลูกค้ากลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ตัวอย่างเช่น คุณสามารถแชร์โปรโมชันกับลูกค้าทั่วไปของคุณโดยที่โปรโมชันดังกล่าวแตกต่างจากโปรโมชันที่คุณจะแชร์กับลูกค้าที่ยังไม่เคยซื้อสินค้า หรือคุณสามารถโปรโมทสินค้าและกิจกรรมไปยังลูกค้าในที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่เฉพาะเจาะจงได้

การสร้างข้อความที่มีความเกี่ยวข้องกับลูกค้าช่วยให้คุณสามารถสร้างลูกค้าที่มีส่วนร่วมได้

การใช้การแบ่งกลุ่มลูกค้าเพื่อทำความเข้าใจลูกค้าของคุณ

คุณสามารถใช้การแบ่งกลุ่มลูกค้าเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับลูกค้าของคุณและค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมการซื้อของลูกค้าที่ต้องการได้ ตัวอย่างเช่น คุณสามารถระบุจำนวนลูกค้าที่มีที่อยู่ในเมืองใดเมืองหนึ่งหรือจำนวนลูกค้าที่มีความภักดีมากที่สุดของคุณได้

เมื่อนำมาใช้ร่วมกับระดับการใช้จ่ายที่คาดการณ์ คุณจะสามารถใช้การแบ่งกลุ่มลูกค้าเพื่อพัฒนากลยุทธ์การตลาดที่คุ้มค่าที่สุดต่อธุรกิจของคุณมากที่สุดได้

การอัปเดตกลุ่มลูกค้าของคุณโดยอัตโนมัติ

กลุ่มลูกค้าของคุณจะอัปเดตโดยอัตโนมัติ ซึ่งช่วยให้จัดการได้อย่างง่ายดาย

หลังจากที่คุณสร้างกลุ่มลูกค้าแล้ว ระบบจะรวมลูกค้าใหม่ที่มีคุณสมบัติตรงตามเกณฑ์ไว้ในกลุ่มลูกค้านั้นๆ ให้โดยอัตโนมัติ ตัวอย่างเช่น หากคุณสร้างกลุ่มลูกค้าที่รวมลูกค้าทุกรายที่สมัครรับอีเมลการตลาดของคุณ ระบบก็จะรวมลูกค้าใหม่ที่สมัครรับอีเมลการตลาดของคุณไว้ในกลุ่มลูกค้าดังกล่าวให้โดยอัตโนมัติ

หากลูกค้ารายหนึ่งมีคุณสมบัติตรงตามเกณฑ์ของกลุ่มลูกค้ามากกว่าหนึ่งกลุ่ม ระบบอาจรวมลูกค้ารายนั้นไว้ในกลุ่มลูกค้าหลายกลุ่ม

เมื่อลูกค้าที่มีอยู่นั้นมีคุณสมบัติไม่ตรงตามเกณฑ์ของกลุ่มลูกค้าอีกต่อไป ระบบจะลบลูกค้ารายนั้นออกจากกลุ่มลูกค้าให้โดยอัตโนมัติ

การแบ่งส่วนตลาด (Market Segmentation) สามารถกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่มีแนวโน้มจะเป็นลูกค้าได้ โดยดูจากผู้ที่มีความสนใจ หรือผู้มีพฤติกรรมใกล้เคียงกับการซื้อมากที่สุด ในการแบ่งส่วนตลาดมักจะแบ่งออกเป็นกลุ่มที่มีลักษณะคล้ายกัน และกำหนดตามคุณสมบัติอย่างน้อยหนึ่งอย่างเพื่อให้ใกล้เคียงกับผู้ที่มีแนวโน้มจะซื้อสินค้ามากที่สุด 

และช่วยให้กำหนด ทำความเข้าใจ ถึงลูกค้าในอุดมคติของแบรนด์มากขึ้น และสามารถระบุตลาดที่เหมาะสมกับสินค้าและบริการได้ 

ประเภทของการแบ่งส่วนตลาด

การแบ่งส่วนตลาดและการกำหนดกลุ่มเป้าหมายต้องทำความเข้าใจว่า สินค้าและบริการตอบสนองต่อกลุ่มเป้าหมายที่กำหนดไว้หรือไม่ ซึ่งอาจจะระบุได้จากการทำวิจัยหรือข้อมูลจากแบบสอบถามที่ได้รับ

การแบ่งส่วนทางภูมิศาสตร์ (Geographic Segmentation)

แม้ว่าโดยทั่วไปเป็นกลุ่มประชากรที่ง่ายที่สุด เพราะสามารถสร้างกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างกันตามขอบเขตภูมิศาสตร์ เนื่องจากผู้ที่มีแนวโน้มเป็นลูกค้า จะมีความต้องการ ความชอบ และความสนใจ ที่แตกต่างกันออกไปตามภูมิศาสตร์ ทั้งสภาพอากาศ ท้องถิ่น และทำให้สามารถกำหนดตำแหน่งการทำกลยุทธ์และแคมเปญการตลาดต่างๆเพื่อต่อยอดธุรกิจได้

การแบ่งส่วนทางประชากร (Demographic Segmentation)

ใช้การจัดเรียงตามข้อมูลทั่วไปของกลุ่มเป้าหมาย เช่น เพศ อายุ การศึกษา รายได้ อาชีพ ขนาดครอบครัว เชื้อชาติ สัญชาติ และอื่นๆ การแบ่งส่วนตลาดรูปแบบนี้จะทำให้เข้าถึงวิธีการซื้อ จำนวนการซื้อ และจำนวนเงินที่ยินดีจะจ่ายต่อสินค้าและผลิตภัณฑ์

การแบ่งส่วนทางองค์กร (Firmographic Segmentation)

มีลักษณะคล้ายกับการแบ่งส่วนทางประชากร แต่แตกต่างตรงที่การแบ่งส่วนประชากรจะวิเคราะห์จากข้อมูลบุคคล แต่การแบ่งส่วนทางองค์กรจะวิเคราะห์ข้อมูลขององค์กร เช่น ขนาดองค์กร จำนวนพนักงาน อุตสาหกรรม เป็นต้น วิธีนี้เหมาะสมกับสินค้าและบริการที่เน้น B2B เป็นส่วนใหญ่

การแบ่งส่วนทางพฤติกรรม (Behavioural Segmentation)

ใช้การแบ่งตามพฤติกรรมและกระบวนการตัดสินใจของกลุ่มเป้าหมาย เช่น สินค้าที่ซื้อเพื่อบริโภค ไลฟ์สไตล์ การใช้งาน ช่องทางการซื้อ เป็นต้น การแบ่งส่วนทางพฤติกรรมจะช่วยให้นักการตลาดสามารถพัฒนากลยุทธ์ให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายได้มากขึ้น

การแบ่งส่วนทางจิตวิทยา (Psychographic Segmentation)

การคำนึงถึงจิตวิทยาของผู้บริโภคตามไลฟ์สไตล์ บุคลิกภาพ แรงจูงใจ ค่านิยม ความคิด และความสนใจ จะช่วยให้สามารถจัดกลุ่มคนที่มีความสนใจหรือมีพฤติกรรมมีส่วนร่วมกับสินค้าได้มากที่สุด

ขั้นตอนการแบ่งส่วนตลาด

1. ทำการวิจัยเบื้องต้น
ทำความรู้จักกับกลุ่มเป้าหมาย ด้วยการตั้งคำถามปลายเปิด หรือทำแบบสอบถามเพื่อทำการวิจัย
อ่าน ขั้นตอนการวิจัยทางการตลาด (Market Research) ฉบับจับมือทำ!

2. กำหนดวิธีแบ่งส่วนตลาด
เลือกจากประเภทการแบ่งส่วนตลาด โดยอาจจะเริ่มจากวิธีที่ง่ายที่สุดอย่างภูมิศาสตร์ และประชากรศาสตร์ เพื่อศึกษาหาวิธีที่จะเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายลักษณะที่กำหนด แล้วจึงเจาะลึกด้วยพฤติกรรม หรือจิตวิทยา

3. สร้างกลุ่มเป้าหมาย
วิเคราะห์สินค้าและบริการ ว่าสามารถตอบสนองความต้องของกลุ่มเป้าหมายนั้นได้จริงหรือไม่ และนำไปพัฒนาสินค้าและบริการ และกลยุทธ์ทางการตลาด

4. ทำการทดสอบ และทำซ้ำอีกครั้ง
ประเมินกลุ่มเป้าหมายเพื่อทำให้แน่ใจว่าเป็นกลุ่มเป้าหมายที่มีประโยชน์ และยังไม่เปิดการเปลี่ยนแปลงตามระยะเวลา และทำการวิเคราะห์ซ้ำๆเรื่อยๆเพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมายได้เสมอ

วิธีการวัดผลกลุ่มเป้าหมายที่มีประสิทธิภาพ

สามารถวัดได้ หมายถึง ตัวแปรการแบ่งส่วนตลาดเกี่ยวข้องโดยตรงกับสินค้าและบริการ และสามารถคำนวณค่าใช้จ่ายที่เหมาะสมสำหรับสินค้าและบริการหากเลือกกลุ่มเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้ ตัวอย่างเช่น การแบ่งส่วนตลาดพบกลุ่มที่มีพฤติกรรมซื้อสินค้าเฉพาะเมื่อมีการลดราคา หรือโปรโมชั่น ดังนั้น จึงต้องตอบสนองกลุ่มเหล่านี้ด้วยงบประมาณสำหรับการทำโปรโมชั่น เป็นต้น

สามารถเข้าถึงได้ หมายถึง การทำความเข้าใจตลาด และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายนั้นจากพฤติกรรม และบุคลิก เพื่อระบุวิธีที่ดีที่สุดในการตอบสนองความต้องการ ตัวอย่างเช่น การแบ่งส่วนตลาดพบกลุ่มที่สนใจโฆษณาจากหนังสือพิมพ์ และวิทยุ เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายกลุ่มนี้จึงต้องทำแคมเปญโฆษณา และทุ่มงบประมาณไปที่ หนังสือพิมพ์ และวิทยุ เป็นต้น

สามารถคงอยู่ได้ หมายถึง ส่วนตลาดมีความสามารถในการซื้อสินค้าและบริการนั้นๆจริงๆ ตัวอย่างเช่น การแบ่งส่วนตลาดพบกลุ่มที่กลุ่มที่เป็นพนักงานเงินเดือ 15,000 – 25,000 บาท หักค่าใช้จ่ายต่างๆ สามารถซื้อของใช้ฟุ่มเฟื่อยได้เดือนละ 3,000 บาท เป็นต้น

สามารถนำไปใช้ได้ หมายถึง การแบ่งส่วนตลาดสามารถตอบสนองความต้องการที่แตกต่างกันเมื่อทำการซื้อขายในตลาด กับกลุ่มเป้าหมายที่มากกว่า 1 กลุ่ม ตัวอย่างเช่น การแบ่งส่วนตลาดพบกลุ่มที่รักสัตว์ ส่วนอีกกลุ่มรักสิ่งแวดล้อม ดังนั้น กลุ่มนี้อาจสามารถเสนอขายสินค้าและบริการชิ้นเดียวกันได้ เป็นต้น

สรุป

การแบ่งส่วนตลาดไม่ได้มีวิธีที่แน่นอน การทำตามขั้นตอนเหล่านี้ จะทำให้ทราบว่า การแบ่งส่วนตลาดตามประเภทต่างๆ จะทำให้ตอบสนองความต้องการของผู้ที่ต้องการสินค้าและบริการของเราได้อย่างแท้จริง และควรจะต้องทบทวน และวิเคราะห์ตามข้อมูลใหม่ๆเสมอ เพื่อให้เข้ากับความต้องการของผู้บริโถค และตอบโจทย์เป้าหมายขององค์กรด้วย

การแบ่งกลุ่มลูกค้า มีอะไรบ้าง

1. เพศ กำหนดให้ได้ว่าส่วนใหญ่เป็นเพศอะไร หญิงหรือชาย หรือเพศที่สามที่เป็นกลุ่มเป้าหมายเรา 2. อายุ กำหนดอายุของกลุ่มเป้าหมายว่าส่วนใหญ่มีอายุตั้งแต่เท่าไหร่ถึงเท่าไหร่ 3. อาชีพ กำหนดอาชีพที่ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายเราทำ เช่น รับจ้างเป็นคนงาน, ข้าราชการ, แม่บ้าน, พนักงานตามสำนักงาน, คนขับรถขนส่ง เป็นต้น

ข้อใดคือการแบ่งกลุ่มลูกค้าด้วยหลักจิตวิทยา

3. การแบ่งตามหลักจิตวิทยา (Psychographic Segmentation) เป็นการ แบ่งกลุ่มตลาด โดยถือเกณฑ์ความเชื่อ ทัศนคติ ประสบการณ์ บุคลิกภาพ ค่านิยม รูปแบบการดํารงชีวิต ความ ต้องการ แรงจูงใจ เป็นต้น

แบ่งกลุ่มผู้บริโภคเพื่ออะไร

จุดประสงค์ที่สำคัญของการแบ่งส่วนตลาด คือ การรู้จักลูกค้าให้ดีขึ้น และ ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยข้อมูลที่เป็นข้อมูลเชิงลึกของลูกค้าที่มีความถูกต้อง และ แม่นยำ จะช่วยให้มุ่งเน้นการทำการตลาดให้ตรงเป้าหมาย และที่สำคัญธุรกิจยังเข้าถึงลูกค้าได้มากยิ่งขึ้น

Demographic Segmentation คืออะไร

Demographic Segmentation คือ การแบ่งส่วนตลาดโดยจัดจำแนกข้อมูลประชากรศาสตร์โดยพื้นฐานทั่วไป ตัวอย่าง เช่น อายุ , เพศ , สถานภาพสมรส , ขนาดครอบครัว , อาชีพ , ระดับการศึกษา , รายได้ , เชื้อชาติ , สัญชาติ และศาสนา ซึ่งการแบ่งส่วนตลาดวิธีนี้สามารถจำกัดการเจาะจงกลุ่มลูกค้าได้อย่างครบถ้วน