7 โครงการ สวน พระองค์ สวนจิตรลดา

ร้านดอยคำ ประกาศปิดระบบเพื่อปรับปรุงร้านค้าผ่านลาซาด้า แนะซื้อผ่านเย็บไซต์ดอยคำ ช้อปปี้ และเจดีเซ็นทรัลแทน นับเป็นร้านค้ารายที่สองต่อจากดอยตุง ที่ทบทวนช่องทางการจำหน่ายสินค้าออนไลน์ และหยุดจำหน่ายสินค้าใน LazMall ไปก่อนหน้านี้

โครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา

           พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร  มีพระราชประสงค์จะพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของราษฎรซึ่งส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมให้ดีขึ้น จึงทรงศึกษาข้อมูลและทรงทดลองปฏิบัติงานด้านเกษตรกรรมในบริเวณ เขตพระราชฐาน พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เป็นเบื้องต้น ในชื่อ “โครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา” เมื่อพุทธศักราช ๒๕๐๔ ได้แก่ การเลี้ยงโคนม การเพาะเลี้ยงพันธุ์ปลานิล ปลาหมอเทศ แปลงนาทดลอง  ป่าไม้สาธิต โรงสีข้าว โรงบดแกลบ การคิดค้นพลังงานทดแทน พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ และไบโอดีเซล เพื่อนำข้อมูลจากการทดลองมาเป็นแบบอย่างให้เกษตรกรนำไปปฏิบัติในการดำรงชีวิต เมื่อผลการศึกษาทดลองเป็นที่น่าพอใจแล้วจึงพระราชทานแนวพระราชดำริไปยังหน่วยงานผู้ปฏิบัติและเกษตรกร นอกจากนี้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ดำเนินงานโครงการเพื่อบำบัดความเดือดร้อนเฉพาะหน้าให้แก่ราษฎรด้วย ได้แก่  การจัดตั้งศูนย์รวมนม เพื่อรับซื้อน้ำนมดิบล้นตลาดจากเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์สร้าง “โรงนมผง สวนดุสิต” เพื่อแปรรูปน้ำนมให้เก็บไว้ได้นาน ต่อมา ได้ขยายโรงผลิตผลิตภัณฑ์จากนมเพิ่มเติม คือ โรงนมเม็ด สวนดุสิต
โรงนม ยูเอชที สวนจิตรลดา และโรงเนยแข็ง  เพื่อส่งเสริมด้านโภชนาการแก่ประชาชนให้ได้บริโภคผลิตภัณฑ์นมแปรรูปคุณภาพดี ราคาไม่แพง  ซึ่งปัจจุบันผลิตภัณฑ์
แปรรูปจากน้ำนมเป็นที่นิยมในหมู่ผู้บริโภคทั้งชาวไทยและต่างประเทศ

7 โครงการ สวน พระองค์ สวนจิตรลดา
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชได้พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์สร้างโครงการอันหลากหลายในโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา เพื่อเป็นโรงงานตัวอย่างและพระราชทานโอกาสให้บุคคลกลุ่มต่าง ๆ ที่สนใจ "ดูกิจการได้ทุกเมื่อ" ในแต่ละปีจึงมีผู้เข้ามาศึกษาดูงานโครงการต่าง ๆ เกือบ ๒๐,๐๐๐ คนต่อปีลักษณะของโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา แบ่งออกเป็น ๒ ประเภทคือ๑.  โครงการแบบไม่ใช่ธุรกิจเป็นโครงการสนองแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เกี่ยวกับการพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตทางการเกษตร ทรงให้ความสำคัญกับการเพิ่มพูนคุณภาพชีวิตของเกษตรกร โดยมีแนวทางที่สำคัญคือ ทำให้เกษตรกรสามารถพึ่งตนเองได้ทางด้านอาหาร และสนับสนุนให้มีรายได้เพิ่มขึ้นนอกเหนือไปจากภาคเกษตร อีกทั้งเน้นการพัฒนาและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ โครงการเหล่านี้ได้แก่ โครงการเกี่ยวกับปลานิล ป่าไม้สาธิต นาข้าวทดลองข้าวไร่ การผลิตแก๊สชีวภาพ ปุ๋ยอินทรีย์ เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช สวนพืชสมุนไพร สาหร่ายเกลียวทองโครงการทดลองปลูกพืชโดยปราศจากดิน๒.  โครงการกึ่งธุรกิจเป็นโครงการทดลองแปรรูปผลิตภัณฑ์จากการเกษตร มีการจัดผลิตภัณฑ์ออกจำหน่ายในราคาย่อมเยาในรูปแบบที่ไม่หวังผลกำไร แต่มุ่งส่งเสริมให้ประชาชนบริโภคสินค้าที่ผลิตได้ในประเทศไทย ซึ่งมีคุณภาพและราคาไม่แพง โครงการต่าง ๆ เหล่านี้ได้แก่ โรงโคนมสวนจิตรลดา โรงบดและอัดแกลบ ห้องปฏิบัติการทดลอง โรงผลิตน้ำผลไม้ โรงนมเม็ดสวนดุสิต โรงอบผลไม้ โรงกลั่นแอลกอฮอล์ โรงเนยแข็ง โรงสีข้าว โรงเห็ด โรงอาหารปลา โรงผลิตกระดาษสา และโรงหล่อเทียนหลวง
7 โครงการ สวน พระองค์ สวนจิตรลดา
โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาที่จัดอยู่ในกลุ่มของอุตสาหกรรมเกษตรมีมากมาย ซึ่งล้วนแต่เป็นโครงการที่ก่อเกิดประโยชน์ต่อพสกนิกรของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทั้งในด้านอยู่ดีกินดีและเสริมสร้างรายได้ โครงการต่าง ๆ เหล่านี้ได้แก่โรงโคนมสวนจิตรลดาเริ่มจากในปี พ.ศ. ๒๕๐๕ ได้มีบริษัทและหน่วยราชการน้อมเกล้าฯ ถวายโค ๖ ตัว ซึ่งเป็นโคตั้งท้องแล้ว ๔ ตัว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์สำหรับสร้างโรงงานโคนม ราคา ๓๒,๘๘๖.๗๓ บาท ขึ้นในบริเวณสวนจิตรลดา ต่อมาเมื่อแม่โคตกลูกและเริ่มทำการรีดนม น้ำนมที่เหลือจากการแบ่งให้ลูกโคกินแล้ว ได้นำไปจำหน่าย เมื่อมีจำนวนโคนมเพิ่มขึ้น ทั้งจากแม่โคที่ให้ลูกทุกปี และมีผู้น้อมเกล้าฯ ถวายสมทบ ทำให้สามารถผลิตน้ำนมออกจำหน่ายแก่บุคคลภายนอกและโรงเรียนต่าง ๆ
7 โครงการ สวน พระองค์ สวนจิตรลดา
ในละแวกใกล้เคียง เมื่อมีกำไรสะสมมากยิ่งขึ้น ก็ได้ขยายงานออกไปตามลำดับทั้งในด้านการผลิตน้ำนม คุณภาพนมดิบ และการส่งเสริมอาชีพแก่เกษตรกรผลพลอยได้จากโรงโคนมคือ มูลโคซึ่งเมื่อนำมาหมักจะได้ "ไบโอแก๊ส" หรือ "แก๊สชีวภาพ" สำหรับเป็นเชื้อเพลิง กากจากบ่อหมักแก๊สชีวภาพยังสามารถใช้ทำเป็นปุ๋ย มูลโคที่เป็นสารละลายที่อยู่ในถังหมัก ส่วนหนึ่งนำไปใช้สำหรับเพาะเลี้ยงสาหร่ายเกลียวทอง ซึ่งสามารถนำไปทำอาหารสำเร็จรูปสำหรับเลี้ยงปลาอีกส่วนหนึ่งทำเป็นปุ๋ยใส่แปลงพืชอาหารสัตว์ และบางส่วนนำไปใช้สำหรับบำรุงบ่อเพาะพันธุ์ปลานิล
7 โครงการ สวน พระองค์ สวนจิตรลดา

เครื่องอบแห้งพลังแสงอาทิตย์

ในปี พ.ศ. ๒๕๓๘ สถาบันการศึกษาและบริษัทเอกชนเยอรมัน ได้ร่วมน้อมเกล้าถวายเครื่องอบแห้งพลังแสงอาทิตย์ เพื่อใช้อบผลิตผลทางเกษตรต่าง ๆ เช่น เมล็ดธัญญพืช เมล็ดถั่ว ผัก ผลไม้ พืชสมุนไพร ผลิตภัณฑ์เนื้อและผลิตภัณฑ์ประมงและเป็นเครื่องต้นแบบให้เกษตรกรที่ทำอุตสาหกรรมกล้วยตากอบแห้งนำไปเป็นต้นแบบในการผลิต
7 โครงการ สวน พระองค์ สวนจิตรลดา
เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชโครงการนี้เริ่มเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๗ เพื่อเก็บรักษาพันธุ์พืชทีหายากและเป็นการขยายพันธุ์พืชไม่ให้กลายพันธุ์ ในห้องปฏิบัติการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชประกอบด้วยส่วนสำคัญคือห้องเตรียมอาหาร ห้องถ่ายเนื้อเยื่อ และห้องเลี้ยงเนื้อเยื่อ พืชเป้าหมายของโครงการคือ สมอไทย ขนุน พุดสวน มณฑา และยี่หุบศูนย์รวมนมศูนย์รวมนมสวนจิตรลดา รับนมดิบจากสหกรณ์โคนมหนองโพและโรงโคนมสวนจิตรลดาเพื่อผลิตนมพาสเจอร์ไรซ์จำหน่ายให้กับสมาชิกและโรงเรียน เพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพและยังนำรายได้ไปช่วยสนับสนุนการดำเนินกิจการของโรงนมผงสวนดุสิตนมพาสเจอร์ไรซ์ที่ผลิตในโครงการมีการบรรจุ ๒ แบบคือ
7 โครงการ สวน พระองค์ สวนจิตรลดา
๑.  แบบบรรจุถุง บรรจุนม ๒๒๕ มิลลิลิตร บรรจุนมรสจืด รสหวานกลิ่นวานิลลา รสหวานกลิ่นสละ และรสโกโก้๒.  แบบบรรจุขวด บรรจุนม ๑๐๐๐ มิลลิลิตร และ ๕๐๐ มิลลิลิตร บรรจุรสจืด รสหวานหลิ่นวานิลลา รสหวานกลิ่นสละ รสโกโก้ และรสกาแฟโรงนมผงสวนดุสิต
7 โครงการ สวน พระองค์ สวนจิตรลดา
โรงนมผงสวนดุสิตตั้งขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๑๒ เนื่องจากเกิดภาวะนมสดล้นตลาด สมาชิกผู้เลี้ยงโคนมจึงได้ทูลเกล้าถวายฎีกาให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงช่วยเหลือ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างโรงนมผงขนาดย่อมขึ้น เพื่อผลิตนมผงเป็นการแก้ปัญหานมสดล้นตลาดน้ำกลั่นน้ำกลั่นเป็นผลผลิตพลอยได้จากเครื่องระเหยนมซึ่งมีความบริสุทธิ์ค่อนข้างสูงและมีมากพอที่จะนำไปผลิตเป็นน้ำกลั่นเพื่อใช้เติมแบตเตอรี่รถยนต์และใช้ดื่มได้
7 โครงการ สวน พระองค์ สวนจิตรลดา
โรงเนยแข็งโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาได้สร้างโรงเนยแข็งน้อมเกล้าถวายในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ รอบ พุทธศักราช ๒๕๓๐ และคณะกรรมการบริหารของบริษัท ซี.ซี. ฟรีสแลนด์ ประเทศเนเธอร์แลนด์ได้ร่วมน้อมเกล้าถวายอุปกรณ์สำหรับการผลิตเนยแข็ง ปัจจุบันโรงเนยแข็งสามารถผลิตผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ออกสู่ตลาด เช่น นมข้นหวานบรรจุหลอด นมเปรี้ยวพร้อมดื่มรสต่าง ๆ ไอศครีม นมสดพาสเจอร์ไรซ์ปราศจากไขมัน เนยแข็งเกาด้า เนยแข็งเช็ดด้า และเนยสดโรงนมเม็ดโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา เคยผลิตนมเม็ดเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๒ แต่ประสบปัญหาทางเทคนิคทำให้ไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้ ต่อมาเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๗ โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาได้จัดทำโรงนมเม็ดขึ้นใหม่เพื่อเป็นการส่งเสริมโภชนาการแก่ผู้บริโภค และเพื่อเป็นการแนะนำการผลิตนมเม็ดขึ้นในประเทศ ปัจจุบันสามารถผลิตนมเม็ดได้วันละ ๗,๐๐๐-๑๒,๐๐๐ ซองต่อวัน มีทั้งสิ้น ๓ รส คือรสหวาน รสกาแฟ และรสช็อกโกแลต ซึ่งได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง
7 โครงการ สวน พระองค์ สวนจิตรลดา
ห้องควบคุมคุณภาพผลผลิตห้องควบคุมคุณภาพผลผลิต มีหน้าที่ในการตรวจสอบและควบคุมคุณภาพวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ของโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสม่ำเสมอและเป็นไปตามมาตรฐานกำหนดไว้โรงสีข้าวตัวอย่างพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ตั้งโรงสีข้าวตัวอย่างขึ้น ในปีพ.ศ. ๒๕๑๔ เพื่อทำการทดลองสีข้าวและสร้างยุ้งฉางเก็บข้าวเปลือกแบบต่าง ๆ และในปัจจุบันได้ดัดแปลงยุ้งฉางแบบสหกรณ์ให้สามารถนำข้าวเปลือกเข้าและออกจากยุ้งไปสีโดยไม่ต้องใช้คนแบกขนงานทดลองผลิตภัณฑ์เชื้อเพลิงงานทดลองผลิตภัณฑ์เชื้อเพลิงเริ่มขึ้นเมื่อปีพ.ศ. ๒๕๒๘ โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชกระแสให้ศึกษาต้นทุนการผลิตแอลกอฮอล์จากอ้อย เพราะว่าในอนาคตอาจเกิดเหตุการณ์น้ำมันขาดแคลนหรืออ้อยราคาต่ำ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานเงินเป็นทุนวิจัยใช้ในการดำเนินงาน ๙๒๕,๕๐๐ บาท
7 โครงการ สวน พระองค์ สวนจิตรลดา
เดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๗ โครงการส่วนพระองค์สวนจิตร ร่วมกับบริษัทสุราทิพย์ได้ขยายกำลังผลิตแอลกอฮอล์เพื่อให้มีพอใช้ผลสมกับน้ำมันเบนซินเป็นแก๊สโซฮอล์สำหรับรถยนต์ทุกคันของโครงการที่ใช้เบนซิน และในวันที่ ๑๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๙ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เสด็จพระราชดำเนินเปิดสถานีบริการแก๊สโซฮอล์ในโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดางานทดลองผลิตภัณฑ์เชื้อเพลิงแบ่งเป็นหน่วยย่อย คือ๑.  โรงแอลกอฮอล์ทำหน้าที่ ผลิตเอทธิลแอลกอฮอล์ความเข้มข้นร้อยละ ๙๕ และผลิตน้ำส้มสายชูจากสับปะรดและเศษผลไม้อื่น ๆ๒.  โรงอัดแกลบ ทำหน้าที่ผลิตแกลบอัดแท่งและเผาถ่านจากแกลบอัดเพื่อจำหน่ายและใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องกำเนิดไอน้ำของโรงกลั่นแอลกอฮอล์๓.  งานพิเศษตามที่ได้รับมอบหมายให้ดูแล ได้แก่ บ้านพลังแสงอาทิตย์ เพื่อใช้ในการศึกษาทอลองเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากพลังแสงอาทิตย์ และระบบนำน้ำเสียกลับมาใช้รดน้ำต้นไม้ และเป็นน้ำหล่อเย็นในการผลิตเทียนของโรงหล่อเทียนหลวงของสวนจิตรลดาน้ำผลไม้พาสเจอร์ไรซ์การผลิตน้ำผลไม้พาสเจอร์ไรซ์ได้เริ่มผลิตตั้ง แต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๗ โดยผลิตน้ำส้ม น้ำอ้อย น้ำกระเจี๊ยบ และน้ำขิงออกจำหน่าย และส่งเสริมให้เกษตรจัดตั้งกลุ่มดำเนินงานในรูปของสหกรณ์เกษตรโรงน้ำผลไม้บรรจุกระป๋องเริ่มโครงการเมื่อปลายเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๓๕ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการตั้งโรงงานขนาดเล็ก ต้นทุนการผลิต การตลาดที่จะผลิตผลไม้บรรจุกระป๋องเพื่อส่งเสริมให้ประชาชนดื่มน้ำผลไม้มากขึ้น น้ำผลไม้บรรจุกระป๋องของโครงการมีหลายชนิด เช่น น้ำมะม่วง น้ำตะไคร้ น้ำเห็ดหลินจือผสมน้ำผึ้ง น้ำสับปะรด น้ำกาแฟ น้ำมะนาวผสมน้ำผึ้ง เป็นต้นสาหร่ายเกลียวทองในปี พ.ศ. ๒๕๒๙ งานวิจัยและพัฒนาโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา ได้นำน้ำกากมูลหมักซึ่งเป็นผลพลอยได้จากการผลิตแก๊สชีวภาพมาใช้เลี้ยงสาหร่ายเกลียวทอง และนำไปใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตอาหารปลา
7 โครงการ สวน พระองค์ สวนจิตรลดา
โรงกระดาษสางานวิจัยและพัฒนาการปลูกและการผลิตกระดาษสาเพื่อสร้างอาชีพและรายได้แก่กลุ่มราษฎรในชนบทและเป็นการอนุรักษ์กระดาษสาไว้น้ำผึ้งสวนจิตรลดาโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา ได้ส่งเสริมอาชีพเลี้ยงผึ้งโดยการรับซื้อน้ำผึ้ง ทำการบรรจุขวดและจัดหาตลาดจำหน่ายให้ ส่วนขี้ผึ้งนำมาผลิตเทียนสีผึ้ง
โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา|โรงงานอาหารสำเร็จรูป|โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
อุตสาหกรรมเกษตรอันเนื่องมาจาก พระปรีชาญาณในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา มีอะไรบ้าง

ผลิตภัณฑ์ของโครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา มีความหลากหลาย เช่น นยแข็งมหามงคล ไอศกรีม นมสดปราศจากไขมัน เนยสด โยเกิร์ต นมข้นหวาน ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์จากโรงเนยแข็งสวนจิตรลดา ที่ก่อตั้งเมื่อปีพุทธศักราช พ.ศ. ๒๕๓๐.
โครงการนาข้าวทดลอง ... .
โครงการป่าไม้สาธิต ... .
การเพาะเลี้ยงปลานิล ... .
พลังงานทดแทน.

โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดามีประโยชน์อย่างไร

โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดามีวัตถุประสงค์หลักในการดำเนินงานอยู่ 3 ประการ คือ เป็นโครงการศึกษาทดลองเพื่อหาวิธีแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับงานทางด้านการเกษตรต่าง ๆ เป็นโครงการตัวอย่างให้ผู้ที่สนใจเข้ามาศึกษาดูงานรวมทั้งฝึกปฏิบัติ โดยสามารถนำกลับไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินการได้เอง

โครงการสวนจิตรลดามีวัตถุประสงค์เพื่ออะไร

โครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา มีวัตถุประสงค์หลัก อยู่ ๓ ประการ คือ (๑) เป็นโครงการทดลองเพื่อหาวิธีแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับงาน ทางด้านเกษตรกรรมต่างๆ (๒) เป็นโครงการตัวอย่าง ให้ผู้ที่สนใจ สามารถเข้ามาทำการศึกษา และสามารถนำไปดำเนินการเองได้ (๓) เป็นโครงการผลิตเพื่อจำหน่าย โดยไม่หวังผลตอบแทนเชิงธุรกิจ

หัวใจของโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา คือข้อใด

โครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา มุ่งเน้นการดำเนินงานโดยยึดแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเกี่ยวกับ “เศรษฐกิจพอเพียง” ซึ่งให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรอย่างยั่งยืน ให้เกษตรกรสามารถพึ่งตนเองได้ ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ มีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรภายในประเทศ ...