ตัวอย่าง ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง

สภาพการจ้าง

    สภาพการจ้าง หมายความว่าเงื่อนไขการจ้างหรือการทํางาน กําหนดวันและเวลาการทํางาน ค่าจ้าง สวัสดิการ และการเลิกจ้าง หรือผลประโยชน์อื่นของนายจ้างหรือลูกจ้าง อันเกี่ยวกับการจ้าง หรือการทํางาน 

    จากความหมาย คําว่า สภาพการจ้าง หมายถึง เงื่อนไขการจ้างระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างที่มี ข้อตกลงกันเกิดขึ้นก่อนที่จะทํางานให้แก่กัน เมื่อมีข้อตกลงและเข้าใจเงื่อนไขในเรื่องการจ้างงานที่ จะให้ลูกจ้างทําคืองานเกี่ยวกับอะไร กําหนดวันและเวลาทํางาน กําหนดค่าจ้างให้เป็นรายสัปดาห์ หรือรายเดือน สวัสดิการต่างๆ ที่ลูกจ้างควรได้รับจากนายจ้าง และประโยชน์อื่นๆ ที่นายจ้างและลูกจ้างพึงมี พึงให้ต่อกันและกัน นี้คือ “สภาพการจ้าง” ที่นายจ้างและลูกจ้างได้กําหนดขึ้นและตกลงใช้ร่วมกัน ในครั้งนั้นๆ

    ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง กฎหมายวางหลักไว้ดังนี้

    ให้สถานประกอบกิจการ ที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 20 คนขึ้นไป จัดให้มีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ตามที่กําหนดในกฎหมาย กล่าวคือ ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างต้องทําเป็นหนังสือ ในกรณีเป็นที่สงสัยว่าสถานประกอบกิจการนั้นมีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างหรือไม่ ให้ถือว่า ข้อบังคับเกี่ยวกับการทํางาน ที่นายจ้างจัดให้มีตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน เป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตาม พระราชบัญญัตินี้ และข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง อย่างน้อยต้องมีข้อความสําคัญในหัวข้อดังต่อไปนี้

    1. เงื่อนไขการจ้างหรือการทํางาน เช่น ก่อนเริ่มทํางานจําเป็นต้องมีผู้ค้ําประกันหรือไม่ การจ้าง มีกําหนดระยะเวลาหรือไม่มีกําหนดระยะเวลา

    2. กําหนดวันและเวลาทํางานแต่ละวัน เช่น เวลาเริ่มงาน เวลาเลิกงาน รวมทั้งวันหยุด ประจําสัปดาห์ เป็นต้น

 3. ค่าจ้างการทํางาน ให้เป็นรายวันหรือรายเดือน คิดเป็นเงินเท่าไร

 4. สวัสดิการที่นายจ้างจัดให้ เช่น เมื่อลูกจ้างเจ็บป่วย มีสวัสดิการด้านปฐมพยาบาล ห้องพยาบาล หรือ บริการรถรับส่งไป-กลับ มาที่ทํางาน

    5. การเลิกจ้าง มีกรณีใดบ้างที่นายจ้างสามารถบอกเลิกจ้างได้ทันที หรือกรณีลาออกจาก การเป็นลูกจ้าง ต้องปฏิบัติอย่างไร

    6. การยื่นเรื่องราวร้องทุกข์ของลูกจ้างหากมีปัญหา จะต้องปฏิบัติอย่างไร 

 7. การแก้ไขเพิ่มเติม หรือการต่ออายุข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง จะต้องทําอย่างไร เป็นต้น

    ระยะเวลาของข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ใช้บังคับ พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ กําหนดไว้ดังนี้ 4

    ให้มีผลใช้บังคับตามระยะเวลาที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกัน คือ ตกลงไว้นานกี่ปีก็ให้เป็นไปตาม ข้อตกลงนั้น แต่จะตกลงให้ใช้บังคับเกิน 3 ปี ไม่ได้ กล่าวคือ ให้ใช้เวลาสูงสุดไม่เกิน 3 ปี แต่ถ้าข้อตกลง สภาพการจ้างทํากันไว้โดยไม่ได้กําหนดระยะเวลาข้อตกลงไว้ กฎหมายให้ถือว่า ข้อตกลงเกี่ยวกับ สภาพการจ้างนั้น ใช้บังคับได้เพียง 1 ปี นับแต่วันที่นายจ้างและลูกจ้างได้ตกลงกัน หรือนับแต่วันที่นายจ้างรับ เอาลูกจ้างเข้าทํางานแล้วแต่กรณี หรือกรณีมีระยะเวลากําหนดไว้ และเมื่อถึงเวลาตามที่กําหนด นายจ้างและ ลูกจ้างมิได้มีการเจรจากันใหม่หรือทําการตกลงกันใหม่ กฎหมายให้ถือว่า ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างนั้น มีผลใช้บังคับไปอีกคราวละ 1 ปี

ข้อมูลเพิ่มเติม

        

ตัวอย่าง ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง

        สภาพการจ้าง หมายความว่า เงื่อนไขการจ้างหรือการทํางาน กําหนดวันและเวลาการทํางาน ค่าจ้าง สวัสดิการ และการเลิกจ้าง หรือผลประโยชน์อื่นของนายจ้างหรือลูกจ้าง อันเกี่ยวกับการจ้าง หรือการทํางาน

        จากความหมาย คําว่า สภาพการจ้าง หมายถึง เงื่อนไขการจ้างระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างที่มี ข้อตกลงกันเกิดขึ้นก่อนที่จะทํางานให้แก่กัน เมื่อมีข้อตกลงและเข้าใจเงื่อนไขในเรื่องการจ้างงานที่ จะให้ลูกจ้างทําคืองานเกี่ยวกับอะไร กําหนดวันและเวลาทํางาน กําหนดค่าจ้างให้เป็นรายสัปดาห์ หรือรายเดือน สวัสดิการต่างๆ ที่ลูกจ้างควรได้รับจากนายจ้าง และประโยชน์อื่นๆ ที่นายจ้างและลูกจ้างจึงมี พึงให้ต่อกันและกัน นี้คือ “สภาพการจ้าง” ที่นายจ้างและลูกจ้างได้กําหนดขึ้นและตกลงใช้ร่วมกัน ในครั้งนั้นๆ

        ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง กฎหมายวางหลักไว้ดังนี้

        ให้สถานประกอบกิจการ ที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 20 คนขึ้นไป จัดให้มีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ตามที่กําหนดในกฎหมาย กล่าวคือ ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างต้องทําเป็นหนังสือ ในกรณีเป็นที่สงสัยว่า สถานประกอบกิจการนั้นมีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างหรือไม่ ให้ถือว่า ข้อบังคับเกี่ยวกับการทํางาน ที่นายจ้างจัดให้มีตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน เป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตาม พระราชบัญญัตินี้ และข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง อย่างน้อยต้องมีข้อความสําคัญในหัวข้อดังต่อไปนี้

        1. เงื่อนไขการจ้างหรือการทํางาน เช่น ก่อนเริ่มทํางานจําเป็นต้องมีผู้ค้ําประกันหรือไม่ การจ้าง มีกําหนดระยะเวลาหรือไม่มีกําหนดระยะเวลา

        2. กําหนดวันและเวลาทํางานแต่ละวัน เช่น เวลาเริ่มงาน เวลาเลิกงาน รวมทั้งวันหยุด ประจําสัปดาห์ เป็นต้น

        3. ค่าจ้างการทํางาน ให้เป็นรายวันหรือรายเดือน คิดเป็นเงินเท่าไร

        4. สวัสดิการที่นายจ้างจัดให้ เช่น เมื่อลูกจ้างเจ็บป่วย มีสวัสดิการด้านปฐมพยาบาล ห้องพยาบาล หรือ บริการรถรับส่งไป-กลับ มาที่ทํางาน

        5. การเลิกจ้าง มีกรณีใดบ้างที่นายจ้างสามารถบอกเลิกจ้างได้ทันที หรือกรณีลาออกจาก การเป็นลูกจ้าง ต้องปฏิบัติอย่างไร

        6. การยื่นเรื่องราวร้องทุกข์ของลูกจ้างหากมีปัญหา จะต้องปฏิบัติอย่างไร  

        7. การแก้ไขเพิ่มเติม หรือการต่ออายุข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง จะต้องทําอย่างไร เป็นต้น

        ระยะเวลาของข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ใช้บังคับ พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ กําหนดไว้ดังนี้

        ให้มีผลใช้บังคับตามระยะเวลาที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกัน คือ ตกลงไว้นานกี่ปีก็ให้เป็นไปตาม ข้อตกลงนั้น แต่จะตกลงให้ใช้บังคับเกิน 3 ปี ไม่ได้ กล่าวคือ ให้ใช้เวลาสูงสุดไม่เกิน 3 ปี แต่ถ้าข้อตกลง สภาพการจ้างทํากันไว้โดยไม่ได้กําหนดระยะเวลาข้อตกลงไว้ กฎหมายให้ถือว่า ข้อตกลงเกี่ยวกับ สภาพการจ้างนั้นใช้บังคับได้เพียง 1 ปี นับแต่วันที่นายจ้างและลูกจ้างได้ตกลงกัน หรือนับแต่วันที่นายจ้างรับ เอาลูกจ้างเข้าทํางานแล้วแต่กรณี หรือกรณีมีระยะเวลากําหนดไว้ และเมื่อถึงเวลาตามที่กําหนด นายจ้างและ ลูกจ้างมิได้มีการเจรจากันใหม่หรือทําการตกลงกันใหม่ กฎหมายให้ถือว่า ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างนั้น มีผลใช้บังคับไปอีกคราวละ 1 ปี