การสถาปนาอาณาจักรธนบุรี สรุป

                ก่อนที่กรุงศรีอยุธยาจะเสียแก่พม่าใน พ.ศ. 2310 พระยาตาก (สิน) เจ้าเมืองตากได้รับพระราชโองการ 

ให้ควบคุมไพร่พลตั้งค่ายทําศึกกับกองทัพพม่าเพื่อป้องกันกรุงศรีอยุธยาในการศึกพระยาตากได้รับความดี ความ

ชอบเป็นพระยาวชิรปราการเจ้าเมืองกําแพงเพชร และตั้งค่ายรบพม่าที่วัดพิชัย พระยาวชิรปราการ เห็นว่าการ

ปกครองที่ราชธานีไร้ประสิทธิภาพสภาพการศึกอยู่ในภาวะวิกฤต กรุงศรีอยุธยาคงจะเสียแก่ กองทัพพม่าแน่แล้ว

จึงได้รวบรวมไพร่พล ทั้งทหารไทย จีน ประมาณ 1,000 คน ตีฝ่าวงล้อมกองทัพพม่า ไปทางหัวเมืองชายทะเลตะวัน

ออกตามรายทางผ่านเมืองนครนายก เมืองปราจีนบุรี เมืองพัทยา เมืองชลบุรี ได้ต่อสู้กับกองทหารพม่า และส่ง

ทหารไปชักชวนผู้คนที่กระจัดกระจายหนีอันตรายจากสงครามให้เข้ามา ร่วมกับกองทัพของพระองค์ที่เมืองระยอง 

และยกทัพตีเมืองจันทบุรี

การสถาปนาอาณาจักรธนบุรี สรุป

เหตุการณ์นี้ปรากฏในพระราชพงศาวดารกรุงธนบุรีว่า

            “แล้วจึงตรัสสั่งโยธาหาญทั้งปวงให้หงอาหารรับพระราชทานแล้ว เหลือนั้นสั่งให้เทเสีย ต่อยหม้อข้าว

หม้อแกงให้จงสิ้นในเพลากลางคืนวันนี้ตีเอาเมืองจันทบุรให้ได้ ให้หาข้าวกินเช้า เอาในเมือง ถ้ามิได้ก็ให้ตาย

เสียด้วยกันเถิด”

ที่มา : พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรีฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม)

               เนื่องจากเมืองจันทบุรีเป็นเมืองท่าทางชายฝั่งทะเลตะวันออก และมีชุมชนชาวจีนขนาดใหญ่ ตั้งถิ่นฐาน

ต่อเรือค้าขาย ทําให้พระยาวชิรปราการสามารถรวบรวมผู้คน ศัสตราวุธ เสบียงอาหาร และ ต่อเรือรบ จนพร้อม

สรรพสําหรับการกู้เอกราช เมื่อได้ข่าวว่ากรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าแล้ว พระยา วชิรปราการจึงยกทัพเรือโจมตีกอง

ทัพพม่าที่เมืองธนบุรีได้สําเร็จ จากนั้นก็ยกทัพตีค่ายโพธิ์สามต้น ที่สุกี้พระนายกองคุมกองทัพพม่ารักษาการณ์ที่

กรุงศรีอยุธยา กองทัพไทยสามารถขับไล่กองทัพพม่า ออกจากกรุงศรีอยุธยาได้ในที่สุด ภายหลังที่พระยาวชิร

ปราการได้ถวายพระเพลิงพระบรมศพ สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ (พระเจ้าเอกทัศ) แล้ว ได้ส่งทหารไป

เกลี้ยกล่อมไพร่พลจากกรุงศรีอยุธยา และเมืองลพบุรี รวบรวมเชื้อพระวงศ์และขุนนางทั้งปวงมาอยู่ที่เมืองธนบุรี

เมื่อกรุงศรีอยุธยา ถูกกองทัพพม่ายึด และเผาทำลายเมื่อวันที่ 8 เม.ย. 2310 นับเป็นการเสียกรุงให้พม่าเป็นครั้งที่ 2

โดย...ส.สต

เมื่อกรุงศรีอยุธยา ถูกกองทัพพม่ายึด และเผาทำลายเมื่อวันที่ 8 เม.ย. 2310 นับเป็นการเสียกรุงให้พม่าเป็นครั้งที่ 2 (กรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าครั้งที่ 1 เมื่อ พ.ศ. 2112 เหตุเพราะพระยาจักรีเป็นไส้ศึก) ก่อนกรุงศรีอยุธยาจะตกอยู่ในอำนาจพม่านั้น พระเจ้าตากพร้อมสมัครพรรคพวกได้ออกจากกรุงศรีอยุธยาไปทางตะวันออก ผ่านปราจีนบุรี ฉะเชิงเทราชลบุรี ระยอง แต่กว่าจะผ่านแต่ละเมืองไปถึงเมืองจันทบุรีก็มิใช่เรื่องง่ายๆ เพราะไม่มีใครไว้ใจใคร พระเจ้าตากจึงต้องใช้กำลังปราบปรามเรื่อยไป จนถึงเมืองจันทบุรีและตั้งหลักเพื่อรวบรวมกำลังพลที่นั่น เมื่อรวบรวมผู้คนและเสบียงอาหารได้แล้ว ก็จัดกำลังกองทัพเรือมาทางปากน้ำ เพื่อขับไล่พม่า ทำการสู้รบจนสามารถยึดกรุงศรีอยุธยาคืนจากพม่าได้เมื่อวันที่ 7 พ.ย. 2310 หรือเพียง 7 เดือน ที่กรุงศรีอยุธยาตกอยู่ในอำนาจของพม่า

หนังสือเรื่องสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ที่ธนาคารกสิกรไทย พิมพ์แจกจ่ายเมื่อวันที่ 7 พ.ย. 2548 ได้เล่าเรื่องต่างๆ เกี่ยวกับวีรบุรุษของชาติไทยให้อ่านด้วยความภูมิใจอย่างย่อๆ แล้วได้กล่าวถึงการตั้งราชธานี ว่า

เมื่อพระเจ้าตากถวายพระเพลิงพระบรมศพพระเจ้าเอกทัศ แล้วทรงมีพระประสงค์ที่จะปฏิสังขรณ์พระนครเพื่อตั้งเป็นเอกราช ดังเดิม จึงขึ้นช้างตรวจตราดูสภาพกรุงศรีอยุธยา เห็นว่าถูกเผาทำลายไปเป็นอันมาก ที่ยังดีอยู่ก็มีน้อย จึงสังเวชสลดใจ แต่แล้วในคืนหนึ่งขณะที่ประทับแรม ณ พระที่นั่งทรงปืน ภายในกรุงศรีอยุธยา พระเจ้าตากทรงพระสุบินนิมิตไปว่า พระมหากษัตริย์แต่ก่อนมา ขับไล่ไม่ให้อยู่ รุ่งเช้าจึงตรัสเล่าให้ขุนนางทั้งปวงฟัง เราคิดสังเวชเห็นว่าบ้านเมืองจะรกร้างเป็นป่า จะมาช่วยปฏิสังขรณ์ ทำนุบำรุง ให้ดีดังเก่า เมื่อเจ้าของเดิมยังหวงแหนอยู่ เราชวนกันไปสร้างเมืองธนบุรีอยู่เถิด

ดังนั้น พระเจ้าตากจึงอพยพผู้คนลงมาทางชลมารค เพื่อตั้งราชธานีที่เมืองธนบุรี พร้อมทั้งตั้งสัตยาธิษฐานว่ารุ่งแจ้งที่ใดจะสร้างวัดที่นั่น และมารุ่งอรุณที่วัดมะกอก ซึ่งเป็นวัดเดิมที่มีอยู่แล้ว พระเจ้าตากจึงเปลี่ยนชื่อจากวัดมะกอกเป็นวัดแจ้ง (รัชกาลที่ 2 เปลี่ยนชื่อเป็นวัดอรุณราชธาราราม ถึงรัชกาลที่ 4 เปลี่ยนเป็น วัดอรุณราชวราราม จนถึงปัจจุบัน)

ส่วนเหตุผลที่เลือกเมืองธนบุรี ไม่เลือกอยุธยา ก็เนื่องจาก 1.ธนบุรีมีขนาดเหมาะแก่กำลังของพระองค์ในเวลานั้น เพราะแวดล้อมด้วยที่ราบรื่นซึ่งเป็นเลนและโคลนตม ทำให้ป้องกันข้าศึกได้ดี ทั้งอยู่ใกล้ทะเลมีทางหนีทีไล่ที่ดีกว่าเมืองอื่นๆ พร้อมทั้งอุดมสมบูรณ์ไปด้วยน้ำและพืชพันธ์ุธัญญาหาร เป็นที่ดอนน้ำท่วมถึงได้ยาก

2.เนื่องจากกรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองใหญ่ กำลังพลที่อยู่ในขณะนั้นไม่เพียงพอที่จะรักษาเมืองให้อยู่ได้

3.ไปมาค้าขายกับนานาประเทศไม่ว่าใกล้หรือไกลได้สะดวกกว่า

4.ยามหัวเมืองฝ่ายเหนือก่อการกบฏสามารถปิดปากน้ำได้ง่ายทั้งทางบกและทางเรือ ป้องกันมิให้กบฏซื้อหาอาวุธและสินค้า จำเป็นได้

5.กรุงธนบุรีมีป้อมวิชัยประสิทธิ์ ที่มั่นคง แข็งแรงและยังคงใช้ได้พร้อมสรรพ

พระเจ้าตากทรงสถาปนากรุงธนบุรีขึ้นเป็นเมืองหลวง และ พระราชทานนามว่า "กรุงธนบุรีศรีมหาสมุทร" ทรงปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์เมื่อวันพุธ แรม 4 ค่ำ เดือนอ้าย ปีกุน นพศก จุลศักราช 1129 ตรงกับวันที่ 28 ธ.ค. 2311 ทรงพระนามว่า สมเด็จพระศรีสรรเพชญ์ ที่ 8 หรือสมเด็จพระบรมราชาที่ 4 แต่ขุนนาง ไพร่ฟ้าราษฎรนิยมเรียกพระองค์ท่านว่า "สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี หรือสมเด็จพระเจ้าตากสิน" ขณะที่มีพระชนม พรรษาได้ 33 พรรษา กรุงธนบุรี มีอายุเพียง 15 ปี เมื่อมีกรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นมาแทน ในวันที่ 6 เม.ย. 2325

การสถาปนากรุงธนบุรีมีสาเหตจาอะไรบ้าง *

สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่กรุงธนบุรี เนื่องจากสาเหตุดังต่อไปนี้ ๑.กรุงศรีอยุธยาชำรุดเสียหายมากจนไม่สามารถจะบูรณะปฏิสังขรณืให้ดีเหมือนเดิมได้ กำลังรี้พลของพระองค์มีน้อยจึงไม่สามารถรักษากรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองใหญ่ได้ ๒.ทำเลที่ตั้งของกรุงศรีอยุธยาทำให้ข้าศึกโจมตีได้ง่าย

ความสำคัญของการสถาปนากรุงธนบุรีมีอะไรบ้าง

เหตุผลที่ทรงเลือกกรุงธนบุรีเป็นราชธานี 1. กรุงธนบุรีเป็นเมืองขนาดเล็ก เหมาะแก่การป้องกันรักษา 2. ในกรณีที่ข้าศึกมีกำลังมากกว่าที่จะรักษากรุงไว้ได้ ก็อาจย้ายไปตั้งมั่นที่จันทบุรีโดยทางเรือได้สะดวก 3. กรุงธนบุรีมีป้อมปราการที่สร้างไว้ตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช หลงเหลืออยู่พอที่จะใช้ป้องกันข้าศึกได้บ้าง

กษัตริย์พระองค์ใดทรงสถาปนา อาณาจักรธนบุรี

เรื่อง สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (กษัตริย์ผู้สถาปนาอาณาจักรกรุงธนบุรี) วันที่ 15 ธ.ค. 63 (มีวิดีโอประกอบการสอน)

หลักฐานทางประวัติศาสตร์ในข้อใดเกิดขึ้นในสมัยธนบุรี

2.2 หลักฐานทางประวัติศาสตร์สมัยธนบุรี 1. พระราชพงศาวดาร เช่น พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา 2. เอกสารชาวต่างชาติ เช่น ชิงสื่อลู่ 3. บันทึกจากเรื่องบอกเล่า