หน้าที่ ของ จ ป วิชาชีพ 13 ข้อ

นอกจากการทำให้สถานประกอบการปฏิบัติข้อกฎหมายแล้ว ยังมีกิจกรรมส่งเสริมเรื่องความปลอดภัยมาให้ทุกคนทำร่วมกันมากมาย เช่น

Show
  • การชี้บ่งอันตรายและประเมินความเสี่ยง (Checklist, JSA, HAZOP, What if ฯลฯ)
  • การรายงานสภาพการณ์ที่อันตราย
  • การรณรงค์อุบัติเหตุให้เป็นศูนย์ด้วย KYT
  • กิจกรรมข้อเสนอแนะเพื่อความปลอดภัย
  • Safety Talk การสนทนาความปลอดภัย
  • การสอบสวนอุบัติเหตุ
  • จัดอบรมความรู้เรื่องความปลอดภัยในหัวข้อต่างๆ
  • จัดกิจกรรม Safety Week / Safety Day
  • การรณรงค์ให้ใช้งานอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล (PPE)
  • การเดินตรวจความปลอดภัย

เป็นต้น

หน้าที่ ของ จ ป วิชาชีพ 13 ข้อ
 

เพราะเรื่องของความปลอดภัยฯ เป็นหน้าที่ของทุกคน

ในแต่ละงานของ จป. วิชาชีพ จึงต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกคน ทุกระดับ ทุกส่วนงาน ในองค์กร/สถานประกอบการ

เมื่อ จป. วิชาชีพ ต้องขอความร่วมมือ เรื่องความปลอดภัย...จะทำอย่างไร??  ให้ทุกคนพร้อมทำกิจกรรม/โครงการต่างๆ ไปด้วยกันกับเรา

สิ่งที่ จป.วิชาชีพ ไม่อยากได้ยิน ไม่อยากได้เจอ เมื่อต้องไปขอความร่วมมือ แต่กลับต้องเจอคำพูด/การกระทำที่ปฏิเสธเราเหล่านี้

  • งานของเรานี่ จป. เราก็ทำไปเองสิ ไม่เกี่ยวกับงานของพวกพี่
  • เรื่องเซฟตี้เหรอ เอาไว้ก่อนก็ได้
  • ยังปรับปรุงไม่ได้หรอก งบยังไม่มี
  • จะมาเปลี่ยนแปลงอะไร แบบเดิมก็ดีอยู่แล้ว
  • ทำแบบนี้มาตั้งนานไม่เห็นเป็นอะไรเลย ทำไมต้องทำอะไรเพิ่มด้วย
  • คนในแผนกพี่ไม่มีเวลาหรอกแค่งานที่ทำอยู่ก็ล้นมือกันหมดทุกคนแล้ว

    ฯลฯ

คำพูดต่างๆ เหล่านี้ นานทีที่ได้ยินน่าจะพอไหว แต่ในหนึ่งปี มีกิจกรรมเรื่องความปลอดภัยให้ทำมากมาย ได้ยินคำพูด/การกระทำที่ปฏิเสธบ่อยๆ  อาจทำให้ จป.วิชาชีพหลายๆ คน รู้สึกหมดกำลังใจ หมดแรงทำงานเพื่อสร้างความปลอดภัยฯ ได้

 

หน้าที่ ของ จ ป วิชาชีพ 13 ข้อ

แบบนี้ต้องมาเติมพลังใจ มาเติมพลังไฟ เพื่อให้ จป.วิชาชีพ มีกำลังใจในการทำสิ่งดีๆ ที่ต้องการให้ทุกคนปลอดภัยกันต่อไป

15 ข้อ ที่ จป.วิชาชีพ ต้องใช้!!!

เมื่อต้องการให้เรื่องความปลอดภัยได้รับความร่วมมือ

1. สร้างบรรยากาศที่ผ่อนคลาย สร้างพื้นที่ปลอดภัยในการพูดคุยร่วมกัน (ดูจังหวะ ดูเวลาความพร้อมของคนที่เราจะพูดคุยด้วยนะ)

2. จัดการความคิดของเราก่อนนะ จป.

  • จป. เชื่อว่า ทุกคนมีสิ่งที่ดีที่จะสามารถมาช่วยให้งานดียิ่งขี้น “I am OK and You are OK” (ฉันก็มีดีในแบบของฉัน เธอก็มีดีในแบบของเธอ เราต่างมีดีที่จะมาส่งเสริมและร่วมกันทำเรื่องความปลอดภัย)

3. เข้าใจความคิด อารมณ์ของตนเอง ควบคุมตนเองได้ (ทำตัวเราให้พร้อมสำหรับการพูดคุย)

  • เมื่อเข้าใจตนเอง เราจะได้สามารถเข้าใจคนอื่น ใช้เหตุผลในการพูดคุยให้มากกว่าใช้อารมณ์ (เข้าใจตนเองและผู้อื่น เราเปิดใจเพื่อทำงาน เราก็จะได้ความร่วมมือ ความเข้าใจและเห็นใจกัน)

4. สร้างความเข้าใจระหว่างกัน  (พื้นฐานของการสร้างสัมพันธ์ภาพ) 

  • เคารพความต่าง เข้าใจว่าแต่ละคนไม่เหมือนกัน มีประสบการณ์ในชีวิตที่เจอมาต่างกัน ความคิดเห็นและมุมมองที่แตกต่าง จึงมีประโยชน์ต่อการทำงานเพื่อให้เกิดความหลากหลายของแนวทาง/วิธีการ

5. ให้ใจเราก่อน เพื่อให้ได้ใจจากคนอื่น 

  • จริงใจเพราะต้องการเห็นทุกคนมีความปลอดภัยในการทำงาน

6. สร้างความสัมพันธ์ให้แข็งแรง

  • สร้างความคุ้นเคยกับคนที่เราคุยด้วย/ส่วนงานที่เราต้องการขอความร่วมมือ
  • สื่อสารให้ตรงกับความเข้าใจ/สไตล์ของคนที่เราคุยด้วย

7. จป.วิชาชีพ ต้องมีจิตใจเข้มแข็ง มั่นคงจากภายใน พร้อมรับมือกับสถานการณ์ต่างๆ อย่างมีสติ คิดรอบคอบ

8. จป.วิชาชีพ เห็นภาพกว้างเรื่องความปลอดภัย

  • เมื่อเห็นภาพชัดก็ต้องสามารถส่งต่อภาพความปลอดภัยที่อยากให้เกิดขึ้นให้กับทุกคนได้ เพื่อที่ทุกคนจะได้ร่วมกันทำให้ภาพความปลอดภัยเกิดขึ้นจริง จากการร่วมมือในการลงมือทำของทุกคน

9. นำเสนอภาพที่อยู่ในสมองเราไปสู่คนอื่นๆ

  • โดยใช้ทักษะการสื่อสาร โน้มน้าวใจ สามารถสร้างภาพในฝันให้ทุกคนจินตนาการตามได้ จนเกิดการตัดสินใจลงมือทำ  (ทุกคน/ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมองเห็นจุดที่เป็นเป้าหมายปลายทางจุดเดียวกัน “ทุกคนปลอดภัย ทุกคนช่วยกัน”)

10. โน้มน้าว สร้างแรงบันดาลใจ 

  • จป.วิชาชีพ มีอิทธิพลในการนำพาทุกคน (ทำให้ทุกคนเชื่อมั่น ศรัทธา) ไปสู่เป้าหมายปลายทางที่ต้องการมีคำพูดที่ดีและผสมผสานท่วงท่า อารมณ์ ความรู้สึกที่จริงใจลงไปในการสื่อสาร

11. ให้โอกาสสมาชิก/คนที่เราคุยด้วยได้เสนอความคิด

รับฟังคำอธิบายจนจบ ไม่รีบให้ข้อสรุปสิ่งที่ได้ฟัง รับฟังความเห็นจากทุกฝ่าย เพื่อให้ได้ข้อสรุปที่เห็นพ้องต้องกัน

- ยกเลิกกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549

คำจำกัดความ
- กรรมการความปลอดภัย หมายความว่า กรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของสถานประกอบกิจการ
- คณะกรรมการความปลอดภัย หมายความว่า คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของสถานประกอบกิจการ
- ผู้แทนนายจ้างระดับบริหาร หมายความว่า ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้บริหารที่มีหน้าที่และอำนาจทำการแทนนายจ้างในการจ้าง การเลิกจ้าง การให้บำเหน็จ การลงโทษ หรือการวินิจฉัยข้อรองทุกข์ และได้รับมอบหมายเป็นหนังสือให้เป็นผู้แทนนายจ้างระดับบริหารเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎกระทรวงฉบับนี้
- หน่วยงานความปลอดภัย หมายความว่า หน่วยงานความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

หมวด 1 : เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน
- นายจ้างของสถานประกอบกิจการ (ตามบัญชีท้ายกฎกระทรวง) ที่มีจำนวนลูกจ้างตามเกณฑ์กำหนด ต้องจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน
- เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน มี  2 ประเภท ดังนี้
   1) เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานโดยตำแหน่ง (จป.โดยตำแหน่ง : ระดับหัวหน้างาน และระดับบริหาร)
   2) เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานโดยหน้าที่เฉพาะ (จป.โดยหน้าที่เฉพาะ : ระดับเทคนิค ระดับเทคนิคขั้นสูง และระดับวิชาชีพ)

ส่วนที่ 1  :  เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานโดยตำแหน่ง

สถานประกอบกิจการ

จป.โดยตำแหน่ง

หัวหน้างาน

ผุ้บริหาร

บัญชี 1 ที่มีลูกจ้าง 2 คนขึ้นไป

ทุกคน

ทุกคน

บัญชี 2 ที่มีลูกจ้าง 2 คนขึ้นไป

ทุกคน

ทุกคน

บัญชี 3 ที่มีลูกจ้าง 20 คนขึ้นไป

ทุกคน

ทุกคน

หมายเหตุ สถานประกอบกิจการตามบัญชี 1,2 และ 3 ท้ายประกาศฯ ต้องเข้าฝึกอบรมหลักสูตร จป.ระดับหัวหน้างาน และ จป.ระดับบริหารภายใน 120 วันตั้งแต่วันที่รับการแต่งตั้ง

คุณสมบัติของ จป.โดยตำแหน่ง โปรดศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมจากกฎหมายฉบับเต็ม

หน้าที่ความรับผิดชอบของ จป.โดยตำแหน่ง มีดังนี้
1. จป.ระดับหัวหน้างาน มีหน้าที่ดังนี้ 
(1) กำกับดูแลลูกจ้างในหน่วยงานที่รับผิดชอบให้ปฏิบัติตามคู่มือว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของสถานประกอบกิจการ
(2) วิเคราะห์งานในหน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อค้นหาความเสี่ยงหรืออันตรายเบื้องต้นจากการทำงาน โดยอาจร่วมดำเนินการกับเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค ระดับเทคนิคขั้นสูง และระดับวิชาชีพ
(3) จัดทำคู่มือว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของหน่วยงานที่รับผิดชอบ โดยร่วมดำเนินการกับเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค ระดับเทคนิคขั้นสูง หรือระดับวิชาชีพเพื่อเสนอคปอ.หรือนายจ้างแล้วแต่กรณี และทบทวนคู่มือดังกล่าวตามที่นายจ้างกำหนด โดยนายจ้างต้องกำหนดให้มีการทบทวนอย่างน้อยทุก 6 เดือน
(4) สอนวิธีการปฏิบัติงานที่ถูกต้องแก่ลูกจ้างในหน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการทำงาน
(5) ตรวจสอบสภาพการทำงานของเครื่องจักร เครื่องมือ และอุปกรณ์ให้อยู่ในสภาพที่ปลอดภัยก่อนลงมือปฏิบัติงานประจำวัน
(6) กำกับดูแลการใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลของลูกจ้างในหน่วยงานที่รับผิดชอบ
(7) รายงานการประสบอันตราย การเจ็บป่วย หรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญอันเนื่องจากการทำงานของลูกจ้างต่อนายจ้าง และแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค ระดับเทคนิคขั้นสูง หรือระดับวิชาชีพ สำหรับสถานประกอบกิจการที่มีหน่วยงานความปลอดภัยฯ ให้แจ้งต่อหน่วยงานความปลอดภัยฯ ทันที่ที่เกิดเหตุ
(8) ตรวจสอบหาสาเหตุการประสบอันตรายการเจ็บป่วยหรือการเกิดหตุเดือดร้อนรำคาญอันเนื่องจากการทำงานของลูกจ้างร่วมกับเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค ระดับเทคนิคขั้นสูง หรือระดับวิชาชีพ และรายงานผลกาารตรวจสอบ รวมทั้งเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาต่อนายจ้างเพื่อป้องกันการเกิดเหตุโดยไม่ชักช้า
(9) ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมความปลอดภัยในการทำงาน
(10) ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยในการทำงานอื่นตามที่นายจ้าง หรือจป.ระดับบริหารมอบหมาย

2. จป.ระดับบริหาร มีหน้าที่ดังนี้
(1) กำกับดูแลจป.ทุกระดับที่อยู่ในบังคับบัญชา
(2) เสนอแผนงานหรือโครงการด้านความปลอดภัยในการทำงานในหน่วยงานที่รับผิดชอบต่อนายจ้าง
(3) ส่งเสริม สนับสนุน และติดตามการดำเนินงานเกี่ยบกับความปลอดภัยในการทำงานให้เป็นไปตามแผนงานหรือโครงการ เพื่อให้มีการจัดการความปลอดภัยในการทำงานที่เหมาะสมกับสถานประกอบกิจการ
(4) กำกับดูแลและติดตามให้มีการแก้ไขข้อบกพร่องเพื่อความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้างตามที่ได้รับรายงานตามข้อเสนอแนะของจป. คปอ. หรือหน่วยงานความปลอดภัย

ส่วนที่ 2 :  เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานโดยหน้าที่เฉพาะ

สถานประกอบกิจการ

จป.โดยหน้าที่เฉพาะ

ระดับเทคนิค

ระดับเทคนิคขั้นสูง

ระดับวิชาชีพ

บัญชี 1 ที่มีลูกจ้างตั้งแต่  2  คนขึ้นไป

อย่างน้อย 1 คน

บัญชี 2 ที่มีลูกจ้าง 100 คนขึ้นไป

อย่างน้อย 1 คน

บัญชี 2 ที่มีลูกจ้าง 20 คนขึ้นไปแต่ไม่ถึง 50 คน (20-49 คน)

อย่างน้อย 1 คน

บัญชี 2 ที่มีลูกจ้าง 50 คนขึ้นไปแต่ไม่ถึง 100 คน (50-99 คน)

อย่างน้อย 1 คน

หมายเหตุ สถานประกอบกิจการตามบัญชี 1,2 ท้ายประกาศฯ ต้องเข้าฝึกอบรมหลักสูตร จป.ระดับเทคนิค และจป.ระดับเทคนิคขั้นสูง ภายใน 180 วันตั้งแต่วันที่รับการแต่งตั้ง

คุณสมบัติของ จป.โดยหน้าที่เฉพาะ โปรดศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมจากกฎหมายฉบับเต็ม

หน้าที่ความรับผิดชอบของ จป.โดยหน้าที่เฉพาะ มีดังนี้
1. จป.ระดับเทคนิค มีหน้าที่ดังนี้ 
(1) ตรวจสอบและเสนอแนะให้นายจ้างปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
(2) วิเคราะห์งานเพื่อชี้บ่งอันตรายและกำหนดมาตรการป้องกันและขั้นตอนการทำงานอย่างปลอดภัย เสนอต่อนายจ้าง
(3) แนะนำให้ลูกจ้างปฏิบัติตามคู่มือว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
(4) ตรวจสอบหาสาเหตุการประสบอันตราย การเจ็บป่วย หรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญอันเนื่องจากการทำงานของลูกจ้าง และรายงานผลการตรวจสอบรวมทั้งเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาต่อนายจ้างเพื่อป้องกันการเกิดเหตุโดยไม่ชักช้า
(5) รวบรวมสถิติและจัดทำรายงานและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการประสบอันตราย การเจ็บป่วย หรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญอันเนื่องจากการทำงานของลูกจ้างเสนอต่อนายจ้าง
(6) ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยในการทำงานอื่นตามที่นายจ้างมอบหมาย


2. จป.ระดับเทคนิคขั้นสูง มีหน้าที่ดังนี้
(1) ตรวจสอบและเสนอแนะให้นายจ้างปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
(2) วิเคราะห์งานเพื่อชี้บ่งอันตรายและกำหนดมาตรการป้องกันและขั้นตอนการทำงานอย่างปลอดภัย เสนอต่อนายจ้าง
(3) วิเคราะห์แผนงานหรือโครงการและข้อเสนอแนะของหน่วยงานต่างๆและเสนอแนะมาตรการความปลอดภัยในการทำงานต่อนายจ้าง
(4) ตรวจประเมินการปฏิบัติงานของสถานประกอบกิจการให้เป็นไปตามแผนงาน โครงการ หรือมาตรการความปลอดภัยในการทำงานต่อนายจ้าง
(5) แนะนำให้ลูกจ้างปฏิบัติตามข้อบังคับและคู่มือว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของสถานประกอบกิจการ
(6) แนะนำ ฝึกสอน และอบรมลูกจ้าง เพื่อให้การปฏิบัติงานปลอดภัยจากเหตุอันจะทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยในการทำงาน
(7) ตรวจสอบหาสาเหตุการประสบอันตราย การเจ็บป่วย หรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญอันเนื่องจากการทำงานของลูกจ้าง และรายงานผลการตรวจสอบรวมทั้งเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาต่อนายจ้างเพื่อป้องกันการเกิดเหตุโดยไม่ชักช้า
(8) รวบรวมสถิติ วิเคราะห์ข้อมูล และจัดทำรายงานและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการประสบอันตราย การเจ็บป่วย หรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญอันเนื่องจากการทำงานของลูกจ้างเสนอต่อนายจ้าง
(9) ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยในการทำงานอื่นตามที่นายจ้างมอบหมาย


3. จป.ระดับวิชาชีพ มีหน้าที่ดังนี้
(1) ตรวจสอบและเสนอแนะให้นายจ้างปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
(2) วิเคราะห์งานเพื่อชี้บ่งอันตรายและกำหนดมาตรการป้องกันและขั้นตอนการทำงานอย่างปลอดภัยเสนอต่อนายจ้าง
(3) ประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
(4) วิเคราะห์แผนงานหรือโครงการและข้อเสนอแนะของหน่วยงานต่าง ๆ และเสนอแนะมาตรการความปลอดภัยในการทำงานต่อนายจ้าง
(5) ตรวจประเมินการปฏิบัติงานของสถานประกอบกิจการให้เป็นไปตามแผนงาน โครงการ หรือมาตรการความปลอดภัยในการทำงาน
(6) แนะนำให้ลูกจ้างปฏิบัติตามคู่มือว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
(7) แนะนำ ฝึกสอน และอบรมลูกจ้าง เพื่อให้การปฏิบัติงานปลอดจากเหตุอันจะทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยในการทำงาน
(8) ตรวจวัดและประเมินสภาพแวดล้อมในการทำงาน หรือดำเนินการร่วมกับบุคคล หรือ นิติบุคคลที่ขึ้นทะเบียนหรือได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน หรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
(9) เสนอแนะต่อนายจ้างเพื่อให้มีการจัดการด้านความปลอดภัยในการทำงานที่เหมาะสมกับสถานประกอบกิจการและพัฒนาให้มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง
(10) ตรวจสอบหาสาเหตุและวิเคราะห์การประสบอันตราย การเจ็บป่วย หรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญอันเนื่องจากการทำงานของลูกจ้าง และรายงานผลการตรวจสอบ รวมทั้งเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาต่อนายจ้างเพื่อป้องกันการเกิดเหตุโดยไม่ชักช้า
(11) รวบรวมสถิติ วิเคราะห์ข้อมูล และจัดทำรายงานและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการประสบอันตราย การเจ็บป่วย หรือ การเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญอันเนื่องจากการทำงานของลูกจ้างเสนอต่อลูกจ้าง
(12) ให้ความรู้และอบรมด้านโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมแก่ลูกจ้างก่อนเข้าทำงานและระหว่างทำงาน เพื่อทบทวนความรู้อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
(13) ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยในการทำงานอื่นตามที่นายจ้างมอบหมาย

ทั้งนี้ ต้องจัดให้ จป.ระดับเทคนิค จป.ระดับเทคนิคขั้นสูง และจป.ระดับวิชาชีพ ได้รับการฝีกอบรมและพัฒนาความรู้ฯ เพิ่มเติมไม่น้อยกว่า 12 ชั่วโมงต่อปี และกรณีที่ จป.ระดับเทคนิค จป.ระดับเทคนิคขั้นสูง และจป.ระดับวิชาชีพ พ้นจากการเป็นลูกจ้าง นายจ้างต้องจัดให้มี จป.ดังกล่าวแทน ภายใน 90 วันนับจากวันที่พ้นตำแหน่ง

หมวด 2 : คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ของสถานประกอบกิจการ
สถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 50 คนขึ้นไป ต้องมี คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (คปอ.) ประกอบด้วย นายจ้างหรือผู้แทนนายจ้างระดับบริหาร เป็น ประธานกรรมการความปลอดภัย ผู้แทนนายจ้างระดับบังคับบัญชา และผู้แทนลูกจ้างเป็นกรรมการความปลอดภัย

สถานประกอบกิจการ

จำนวน คปอ.
 (คน)

ประธานกรรมการ

(ผู้แทนนายจ้างระดับบริหาร) (คน)

กรรมการความปลอดภัย
 (ผู้แทนนายจ้างระดับบังคับบัญชา = ระดับหัวหน้างาน)
 (คน)

กรรมการความปลอดภัย
 (ผู้แทนลูกจ้าง)
 (คน)

กรรมการและเลขานุการ
(บัญชี 1 หรือบัญชี 2)
 (คน)

จำนวนลูกจ้างตั้งแต่  50  คนขึ้นไป แต่ไม่ถึง 100 คน
 (50-99 คน)

ไม่น้อยกว่า 5 คน

1

1

2

1

(จป.เทคนิคขั้นสูง หรือ จป.วิชาชีพ)

จำนวนลูกจ้างตั้งแต่ 100 ขึ้นไป แต่ไม่ถึง 500 คน
 (100-499 คน)

ไม่น้อยกว่า 7 คน

1

2

3

1

(จป.เทคนิคขั้นสูง หรือ จป.วิชาชีพ)

จำนวนลูกจ้างตั้งแต่ 500 คนขึ้นไป

ไม่น้อยกว่า 11 คน

1

4

5

1

(จป.เทคนิคขั้นสูง หรือ จป.วิชาชีพ)

หมายเหตุ กรณีสถานประะกอบกิจการตามบัญชี 3 ให้แต่งตั้งผู้แทนนายจ้างระดับบังคับบัญชาเพิ่ม 1 คน เป็นกรรมการความปลอดภัยและเลขานุการ  ทั้งนี้ คปอ.ต้องเข้าฝึกอบรมหลักสูตรคณะกรรมการปลอดภัย ภายใน 60 วันตั้งแต่วันที่รับการแต่งตั้งหรือได้รับเลือก

จป.วิชาชีพ มีหน้าที่อะไรบ้าง

1) ตรวจสอบและเสนอแนะให้นายจ้างปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน 2) วิเคราะห์งานเพื่อชี้บ่งอันตราย รวมทั้งกำหนดมาตรการป้องกันหรือขั้นตอนการทำงานอย่างปลอดภัยเสนอต่อนายจ้าง 3) ประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัยในการทำงาน

จป หัวหน้างาน มีหน้าที่อะไรบ้าง

กำกับดูแลลูกจ้างในหน่วยงานที่รับผิดชอบให้ปฏิบัติตามคู่มือว่าด้วยความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานของสถานประกอบกิจการ วิเคราะห์งานในหน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อค้นหาความเสี่ยงหรืออันตรายเบื้องต้น จากการทำงานโดยอาจร่วมดำเนินการกับเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค ระดับเทคนิคขั้นสูงหรือระดับวิชาชีพ

จป.สำคัญอย่างไร

หน้าที่ของ จป. วิชาชีพ 13 ข้อ วิเคราะห์งานเพื่อชี้บ่งอันตรายและกำหนดมาตรการป้องกันและขั้นตอนการทำงานอย่างปลอดภัยเสนอต่อนายจ้าง ประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน วิเคราะห์แผนงานหรือโครงการและข้อเสนอแนะของหน่วยงานต่างๆและเสนอแนะมาตรการความปลอดภัยในการทำงานต่อนายจ้าง

ความปลอดภัยในการทํางานเป็นหน้าที่ของใคร

ความปลอดภัยไม่ใช่เป็นเพียงความรับผิดชอบดูแลของ จป หัวหน้างาน หรือเป็นหน้าที่ของจป บริหาร บุคคลใดบุคคลหนึ่งเท่านั้น จะต้องเป็นการร่วมมือกันทั้งองค์กรไม่ว่าจะเป็นตั้งแต่ผู้บริหารลงมาถึงแม่บ้านทั้งหมด จะต้องมีความเข้าใจในส่วนต่าง ๆ ให้ได้เป็นอย่างดี การทำงานทุกอย่าง ในลักษณะต่อเนื่องอย่างนี้ถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญสิ่งที่จะ ...