สาขา การจัดการทรัพยากรมนุษย์ สมัยใหม่

สาขา การจัดการทรัพยากรมนุษย์ สมัยใหม่

สาขา บริหารทรัพยากรมนุษย์

สาขา บริหารทรัพยากรมนุษย์ เป็นหลักสูตรที่มุ่งผลิตและพัฒนาแรงงานระดับผู้ชํานาญการเฉพาะสาขาอาชีพ สอดคล้องกับตลาดแรงงาน สภาพเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม สามารถเป็นหัวหน้างานหรือเป็นผู้ประกอบการได้ และมุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีสมรรถนะในการประกอบอาชีพ มีความรู้เต็มภูมิปฏิบัติได้จริง และเข้าใจชีวิต เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการ วิชาชีพมีส่วนร่วมในการเรียนการสอนวิชาชีพ สามารถถายโอนประสบการณ์การเรียนรู้จากสถานประกอบการ และสามารถสะสมการเรียนรู้และประสบการณ์ได้

วิทยาลัยเราเปิดสอนในหลักสูตร ปวส. ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรมนุษย์แนวใหม่ และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่กำลังได้รับความสนใจในขณะนี้ โดยสร้างให้นักศึกษาได้เรียนรู้บทบาทของนักจัดการ และนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สมัยใหม่ ซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานในปัจจุบัน โดยเน้นให้นักศึกษาเรียนรู้ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ เพื่อให้มีความเชี่ยวชาญและสามารถมองเห็นภาพรวมของการจัดการทรัพยากรมนุษย์ได้มากขึ้น

เรียน บริหารทรัพยากรมนุษย์ จบแล้วทำอาชีพอะไรได้บ้าง

  • อาชีพด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์หรืองานฝ่ายบุคคล
  • อาชีพด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ทั้งภาครัฐและเอกชน
  • อาชีพด้านการบริหารจัดการภาครัฐและเอกชน
  • เจ้าหน้าที่ฝึกอบรมพัฒนาบุคลากรและพัฒนาองค์การ
  • เจ้าหน้าที่บริหารค่าตอบแทนและสวัสดิการ
  • เจ้าหน้าที่แรงงานสัมพันธ์ หรือพนักงานสัมพันธ์ 

          เป็นต้น

อาจารย์แผนก บริหารทรัพยากรมนุษย์

สาขา การจัดการทรัพยากรมนุษย์ สมัยใหม่

อาจารย์ณัฐพล  อาธิสุตะ
Nutthapon Arthisuta
อาจารย์ประจำแผนก บริหารทรัพยากรมนุษย์ และ
เจ้าหน้าที่งานทะเบียน
วิชาหลัก  ทรัพยากรมนุษย์

  • 000-000-0000
  • -

สาขา การจัดการทรัพยากรมนุษย์ สมัยใหม่

อาจารย์ขวัญฤทัย  หนูรอง
Kwanruthai 
อาจารย์ประจำแผนก บริหารทรัพยากรมนุษย์ และ
บุคลากรฝ่ายอำนวยการ
วิชาหลัก  ทรัพยากรมนุษย์

  • 088-155-2032
  • Kwanruthai @saha.ac.th
  • -

ชื่อปริญญา


ชื่อเต็ม (ภาษาไทย)

:      บริหารธุรกิจบัณฑิต (การจัดการทรัพยากรมนุษย์)

ชื่อย่อ (ภาษาไทย)

:      บธ.บ. (การจัดการทรัพยากรมนุษย์)

ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ)

:      Bachelor of Business Administration (Human Resource Management)

ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ)

:      B.B.A. (Human Resource Management)

จุดเด่น


ศึกษาถึงการจัดการทรัพยากรมนุษย์ ในองค์กรโดยใช้หลักการจัดการองค์กร การบริหารงานบุคคล เพื่อเรียนรู้พฤติ- กรรมบุคคลในองค์กร นำหลักเศรษฐศาสตร์ การบริหาร หลักเศรษฐศาสตร์จุลภาค มาวางแผนเพื่อบริหารจัดการควบคุมแรงงาน สัมพันธ์

อาชีพที่สามารถประกอบอาชีพได้หลังสำเร็จการศึกษา


  1. เจ้าหน้าที่ฝ่ายสรรหาและว่าจ้าง
  2. เจ้าหน้าที่ฝ่ายฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากร
  3. เจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารค่าจ้าง เงินเดือน
  4. เจ้าหน้าที่สายงานสวัสดิการ
  5. เจ้าหน้าที่แรงงานสัมพันธ์
  6. เจ้าหน้าที่ฝ่ายพัฒนาองค์การ
  7. หัวหน้าสายงานทะเบียนและบริการ
  8. หัวหน้าสายงานการบริหารทรัพยากรมนุษย์
  9. หัวหน้าฝ่ายบุคลากร

หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์

[ Bachelor of Business Program in Human Resource Management ]

ศึกษาเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรมนุษย์แนวใหม่ และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่กำลังได้รับความสนใจในขณะนี้ โดยสร้างให้นักศึกษาได้เรียนรู้บทบาทของนักจัดการ และนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สมัยใหม่ ซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานในปัจจุบัน โดยเน้นให้นักศึกษาเรียนรู้ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ เพื่อให้มีความเชี่ยวชาญและสามารถมองเห็นภาพรวมของการจัดการทรัพยากรมนุษย์ได้มากขึ้น


    [ แบ่งกลุ่มงานสายนี้ออกเป็น 4 กลุ่ม ]

    1) Recruitment
    ฝ่ายสรรหาว่าจ้าง ทำหน้าที่ประมวลข้อมูลและแผนคุณสมบัติของพนักงานทุกตำแหน่งสำคัญในบริษัท เรียนรู้รายละเอียดของแต่ละตำแหน่งงานนั้น และประกาศรับสมัครพนักงานใหม่ เมื่อได้ผู้สมัครแล้วก็ต้องทำการตรวจสอบคุณสมบัติเบื้องต้นให้เหมาะสมกับตำแหน่งงาน ติดต่อกับผู้สมัครตอบปฏิเสธหรือรับมาสัมภาษณ์ และอำนวยความสะดวกกับผู้สมัครต่อในขั้นตอนการสัมภาษณ์ต่อไป บางบริษัทก็จะให้ทำหน้าที่ทดสอบและสัมภาษณ์เบื้องต้นก่อนส่งไปสู่หัวหน้างานสัมภาษณ์ด้วย

    2) Payroll & welfare
    ฝ่ายดูแลเรื่องการจัดจ่ายเงินตามอัตราจ้างของพนักงานให้เหมาะสมคิดคำนวณค่าล่วงเวลา และหรือหักค่าใช้จ่ายตามวันที่ขาด มาทำงานสาย รวมทั้งการจัดจ่ายเงินตามสวัสดิการ ประกันภัย และทำแผนและแบบทดสอบการพิจารณาเงินพิเศษต่างๆ ด้วย บางบริษัทมอบหมายให้นักบัญชีของบริษัททำงานด้านนี้ แต่จริงๆ นอกจากเรื่องทักษะในการคิดคำนวณแล้วก็ยังต้องมีความรู้ทางกฎหมายข้อสวัสดิการต่างๆด้วย รอบคอบและซื่อสัตย์ เพราะต้องรู้อัตราเงินเดือนของทุกๆคน แต่ไปบอกเล่าใครฟังไม่ได้

    3) Training
    ฝ่ายฝึกอบรม มีสองลักษณะสำคัญ คือ การฝึกอบรมก่อนเข้าทำงาน ให้รู้หลักการทำงานและวิธีปฏิบัติของบริษัท และระหว่างการทำงานเพื่อทบทวนและเพิ่มพูนความรู้ของพนักงานอย่างสม่ำเสมอ ไม่งั้นทำงานไปเรื่อยๆ ก็น่าเบื่อแย่ ต้องมีการพาไปอบรมบ้าง เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ใหม่ๆ และนำมาปรับใช้กับงานได้ กลุ่มTraining นี้มีบทบาทอย่างเด่นชัดในบริษัทสายงานบริการต่างๆ อย่างห้างสรรพสินค้า สายการบิน ประกันภัย เพราะต้องมีการอบรมพนักงานก่อนเพื่อให้เกิดวิธีและจิตใจในให้การบริการที่ดี และในบางบริษัทก็จะแยกงานส่วน training นี้ออกจากงานทรัพยากรมนุษย์กลุ่มอื่นๆ

    4) Policy development & Employee relations
    ฝ่ายนโยบายการพัฒนาภาพรวมของบริษัทและดูแลสุขภาพทางใจของพนักงาน ทำให้พนักงานมีความรัก ความผูกพันกับบริษัท (Employee Engagement) พร้อมตั้งใจทุ่มเทพลังกาย พลังใจให้กับการทำงานที่รับผิดชอบอย่างเต็มที่ ซึ่งเป็นเรื่องที่กลุ่มนี้ต้องทำให้เกิดบรรยากาศที่ดีในการทำงาน ต้องดูแลเรื่องสัมพันธภาพระหว่างกลุ่มผู้นำ กับลูกน้อง และระหว่างเพื่อนร่วมงานกันเอง โดยฝ่ายนี้ต้องวางแผนร่วมกับอีกสามฝ่ายข้างต้น เพื่อให้มีแผนพัฒนาบริษัทให้เป็นตามภาพลักษณ์ของบริษัทและสร้างแรงจูงใจที่ดีในการทำงานให้พนักงานกลุ่มนี้ต้องรู้เรื่องการบริหารเป็นสำคัญ คอยสำรวจกระแสความต้องการของพนักงานในบริษัทโดยตลอด