งานที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ธุรกิจ

งานที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ธุรกิจ

Show

แนวทาง

ประกอบอาชีพ

  • ผู้ประกอบการธุรกิจ
  • พนักงานในหน่วยงานภาครัฐหรือเอกชน
  • นักวิเคราะห์ระบบและออกแบบระบบคอมพิวเตอร์
  • โปรแกรมเมอร์
  • นักพัฒนาเว็บไซต์
  • ผู้จัดการซอฟต์แวร์
  • ผู้จัดการฐานข้อมูล
  • ผู้ตรวจสอบงานคอมพิวเตอร์
  • นักวิชาการคอมพิวเตอร์
  • นักวิชาการในสถาบันการศึกษา
  • อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

 ปรัชญา ความสำคัญ และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

          ปรัชญา

               ผลิตบัณฑิตให้รอบรู้การบริหารจัดการธุรกิจด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างสร้างสรรค์ และมีคุณธรรมจริยธรรม

          ความสำคัญ

              เป็นหลักสูตรที่ผลิตบัณฑิตให้รอบรู้การบริหารและการจัดการธุรกิจด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างสร้างสรรค์ และมีคุณธรรมจริยธรรม โดยมุ่งให้ความรู้ทางเทคโนโลยีสารสนเทศคอมพิวเตอร์ และความรู้ทางด้านธุรกิจตลอดจนการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ การพัฒนาระบบงานคอมพิวเตอร์ ควบคู่ไปกับการสอนหลักการ การทำธุรกิจ การบริหารจัดการองค์กรธุรกิจโดยเสริมสร้างศักยภาพให้นักศึกษาสามารถนำความรู้ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ไปประยุกต์รวมกับความรู้ทางด้านธุรกิจเพื่อมีความรู้ความสามารถและทักษะในการวิเคราะห์ระบบงานธุรกิจ การเลือกและจัดทำระบบงานคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมกับธุรกิจนั้น ๆ ตลอดจนบริหารจัดการให้มีการใช้ระบบงานคอมพิวเตอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ยังมุ่งเน้นทักษะการทำงานเป็นทีม มีคุณธรรมจริยธรรม และความรับผิดชอบในการทำงาน

          วัตถุประสงค์

              ผลิตบัณฑิตให้รอบรู้การบริหารจัดการธุรกิจด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างสร้างสรรค์ และมีคุณธรรมจริยธรรม

              1. เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ ความสามารถและทักษะด้านคอมพิวเตอร์ธุรกิจ

              2. เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีเจตคติที่ดีและสามารถประยุกต์ความรู้เพื่อประกอบอาชีพด้านคอมพิวเตอร์ธุรกิจ

              3. เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีทักษะทางปัญญา การคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหาและสร้างสรรค์งานวิจัยทางคอมพิวเตอร์ธุรกิ

              4. เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข ภาษา การสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ

              5. เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีคุณธรรม จริยธรรม ภาวะผู้นำ มนุษยสัมพันธ์และความรับผิดชอบ

              6. เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความสามารถในการบริหารระบบสารสนเทศในองค์กร

                   

งานที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ธุรกิจ

น้องๆ คนไหนที่กำลังสนใจจะเข้าศึกษาต่อและทำงานทางด้านสายไอที ซึ่งในปัจจุบันกำลังเป็นต้องการของตลาดแรงงานโลกเป็นอย่างมาก ในบทความนี้ แคมปัส-สตาร์ ก็ได้รวบรวม 10 สาขาน่าเรียนด้าน IT มาฝากกันด้วย (หวังว่าจะช่วยทำให้น้องๆ ตัดสินใจเลือกเรียนในสาขาที่ชอบได้นะจ๊ะ) โดยในแต่ละสาขาวิชาถือได้ว่าเป็นสาขายอดฮิตและเป็นที่ต้องการเป็นอย่างมากเลยทีเดียว จะมีสาขาวิชาไหนกันบ้าง ตามมาดูกันเลย

10 สาขาน่าเรียนด้าน IT ที่เรียนจบมาแล้วเงินเดือนดีมาก

1. สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์

สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (Computer Science) เป็นสาขาวิชาโดยตรงของสายงานทางด้านไอที ซึ่งในสาขาวิชานี้น้องๆ จะได้เรียนเกี่ยวกับการเขียนโค้ด (Coding) การพัฒนาโปรแกรมด้านคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ในส่วน Network Software และ Hardware

โดยอาชีพที่น้องๆ สามารถทำได้หลังเรียนจบก็จะเป็นงานทางด้านไอทีเกือบทุกงานเลย ไม่ว่าจะเป็น โปรแกรมเมอร์ นักวิเคราะห์และออกแบบโปรแกรม ผู้ดูแลระบบฐานข้อมูล เจ้าหน้าที่เทคนิค หรืองานผู้เชี่ยวชาญระบบคอมพิวเตอร์ ฯลฯ

2. สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ

สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) เป็นสาขาวิชาประยุกต์ที่มีการเรียนการสอนคล้ายๆ กับสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ แต่จะไม่ได้เรียนการเขียนโปรแกรมหรือเจาะลึกด้านระบบมากเหมือนกับวิทยาการคอมพิวเตอร์ โดยที่สาขาวิชานี้จะเน้นให้เราได้เรียนรู้เกี่ยวกับการใช้โปรแกรมเบื้องต้น ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเบื้องต้น กราฟิก และศาสตร์อื่นๆ ที่มีความเกี่ยวข้องทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (ในปัจจุบันสาขาวิชานี้เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานเป็นอย่างมากเลยทีเดียว)

สำหรับน้องๆ ที่เรียนจบในสาขาวิชานี้สามารถประกอบอาชีพทางด้านไอทีได้คล้ายๆ กับสาขาวิชาวิทยาการคอมเตอร์ เช่น นักวิชาการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ นักวิเคราะห์และออกแบบระบบงานด้านสารสนเทศ นักพัฒนาเว็บไซต์ เป็นต้น

3. สาขาเกมและสื่ออินเทอร์แอคทีฟ

สาขาเกมและสื่ออินเทอร์แอคทีฟ (Game and Interactive Media) เป็นสาขาวิชาที่ได้รวมเอา วิทยาการคอมพิวเตอร์ นิเทศศาสตร์ ศิลปะ การออกแบบ และสถาปัตยกรรมศาสตร์ มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาระบบเกมและมัลติมีเดีย จะเน้นการเรียนรู้เกี่ยวกับการสร้างภาพเคลื่อนไหวและงานทางด้านกราฟิก โดยจะเป็นการใช้เครื่องมือทั้ง Software และ Hardware มาผสมผสานกันให้เกิดเป็นผลงานออกมา

สำหรับบัณฑิตที่จบการศึกษาในสาขาวิชานี้สามารถประกอบอาชีพ ได้ดังนี้ นักพัฒนาเกม ผู้เชี่ยวชาญเกมเอนจิ้น โปรแกรมเมอร์สำหรับเกม นักออกแบบเกม นักออกแบบคอมพิวเตอร์กราฟิก นักออกแบบเว็บไซต์ รวมไปถึงอาชีพในวงการผลิตภาพยนตร์ วงการโฆษณา วงการสื่อสารมวลชนทั้งภาครัฐและเอกชน อีกด้วย

งานที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ธุรกิจ

4. สาขาสารสนเทศการแพทย์

สาขาสารสนเทศการแพทย์ (Medical Informatics) เป็นอีกหนึ่งสาขาวิชาที่มีความน่าสนใจไม่แพ้สาขาวิชาอื่นๆ เลย โดยในสาขานี้เราจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับทางด้านเทคโนโลยี และวิทยาศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข วิชาหลักๆ ที่จะได้เรียนก็คือ การพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ด้านการแพทย์ และการวิเคราะห์ข้อมูลทางการแพทย์ ซึ่งในแต่ละมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนก็จะมีการเรียนชื่อที่ต่างกันออกไป เช่น สาขาสารสนเทศทางการแพทย์ หรือมีเดียทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์ เป็นต้น

สำหรับอาชีพของบัณฑิตที่เรียนจบทางด้านนี้จะเป็นอาชีพเฉพาะทาง ได้แก่ นักวิเคราะห์ภาพถ่ายทางการแพทย์ นักวิเคราะห์ระบบด้านการแพทย์และโรงพยาบาล นักพัฒนาระบบสารสนเทศด้านการแพทย์และโรงพยาบาล ผู้ดูแลระบบฐานข้อมูลด้านการแแพทย์และโรงพยาบาล ผู้ประสานงานโครงการด้านการแพทย์และโรงพยาบาล และยังรวมถึงอาชีพที่เกี่ยวข้องทางด้านนักเวชระเบียน นักเวชสถิติ อีกด้วย

5. สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ

สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ (Business Computer) เป็นอีกหนึ่งสาขาวิชาที่มีน้องๆ สนใจเข้าศึกษาต่อกันเป็นจำนวนมากเลยทีเดียว เพราะสาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจจะเป็นการนำเอาระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้กับงานด้านธุรกิจและการจัดการ โดยจะเน้นการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลและระบบในการวางแผนการบริหารองค์กร

สำหรับน้องๆ ที่เรียนจบมาในสาขาวิชานี้สามารถประกอบอาชีพได้อย่างหลากหลาย เช่น เจ้าหน้าที่ฝ่ายคอมพิวเตอร์ เจ้าหน้าที่ฝ่ายสนับสนุนด้านซอฟต์แวร์ (Support) เจ้าหน้าที่ฝ่าย E–Learning เจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารสำนักงาน เจ้าหน้าที่ฝ่ายระบบงานสำนักงาน เจ้าหน้าที่ฝ่ายขาย และเจ้าหน้าที่ฝึกอบรม เป็นต้น

6. สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์

สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (Computer Engineering) เป็นสาขาวิชาที่จะเน้นเรียนในเรื่องการออกแบบ การสร้าง ทดสอบ วิเคราะห์ จนไปถึงเรื่องการบำรุงรักษาระบบคอมพิวเตอร์ (Software) อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ (Hardware) และเครือข่าย (Network) ที่เกี่ยวข้องกับการประมวลผลข้อมูล

สำหรับอาชีพในสาขาวิชานี้เราสามารถทำได้ตั้งแต่ วิศวกรคอมพิวเตอร์ วิศวกรระบบความปลอดภัยคอมพิวเตอร์ นักออกแบบซอฟต์แวร์ รวมไปถึงสายงานด้านออกแบบระบบและงานทางด้านไอทีในทุกประเภท

7. สาขาวิศวกรรมเครือข่ายและความปลอดภัย

สาขาวิศวกรรมเครือข่ายและความปลอดภัย (Network Engineering and Security) หรือในบางมหาวิทยาลัยก็จะให้ชื่อว่า วิศวกรรมระบบสารสนเทศและเครือข่าย เป็นสาขาวิชาที่เราจะได้เรียนเจาะลึกเกี่ยวกับระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต การออกแบบเครือข่าย การดูแลและจัดการระบบเสมือนจริง ความมั่นคงปลอดภัยในเทคโนโลยีเครือข่าย และยังรวมถึงเรื่องการพัฒนาโปรแกรมบนเครือข่าย อีกด้วย

ซึ่งในปัจจุบันเป็นสาขาวิชาใหม่ที่เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานในยุคดิจิทัลเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ สำหรับอาชีพของคนที่จบในสาขาวิชานี้ ได้แก่ วิศวกรเครือข่าย ผู้ดูแลความมั่นคงปลอดภัยของระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่าย วิศวกรควบคุมดูแลระบบคอมพิวเตอร์ นักบริหารเครือข่ายคอมพิวเตอร์ นักพัฒนาอุปกรณ์เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ และนักเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์บนระบบเครือข่าย ฯลฯ

งานที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ธุรกิจ

8. สาขากราฟิกดีไซน์

สาขากราฟิกดีไซน์ (Graphic design) เป็นสาขาวิชาที่น้องๆ จะเรียนเกี่ยวกับการคิดและออกแบบ การจัดองค์ประกอบ การใช้สี การพิมพ์ เช่น งานถ่ายภาพ งานสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโฆษณาทั้ง 2D และ 3D นอกจากนี้ยังจะได้เรียนเกี่ยวกับเครื่องมือต่างๆ ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการทำงานออกแบบกราฟิกอีกด้วย

สำหรับน้องๆ คนไหนที่สนใจจะเรียนต่อในสาขาวิชานี้จะต้องเป็นคนที่มีความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการที่ดีด้วย อาชีพที่เกี่ยวข้อง เช่น นักออกแบบกราฟิก นักออกแบบเว็บไซต์ นักออกแบบนิทรรศการ และงานด้านการออกแบบที่เกี่ยวข้อง ฯลฯ

9. สาขาแอนิเมชันและมัลติมีเดีย

สาขาแอนิเมชั่นและมัลติมีเดีย (Animation and Multimedia) เป็นสาขาวิชาใหม่ที่เปิดโอกาสให้เราสามารถปล่อยไอเดีย ปล่อยความคิดสร้างสรรค์ออกมาได้อย่างเต็มที่ โดยในสาขาวิชานี้เราจะเรียนเกี่ยวกับการผลิตสื่อทางมัลติมีเดีย สื่อแอนิเมชัน 2D และ 3D นอกจากนี้เรายังจะเรียนเกี่ยวกับการสร้าง Visual Effect และสื่อสิ่งพิม์ต่างๆ อีกด้วย

อาชีพที่น่าสนใจของน้องๆ ที่เรียนจบมาทางด้านนี้ ได้แก่ นักสร้างแบบจำลอง ศิลปินดิจิทัล นักออกแบบ Special Effect หรือ Visual Effect นักออกแบบคอมพิวเตอร์ นักออกแบบเว็บไซต์ นักออกแบบกราฟิก เจ้าหน้าที่ตัดต่อ VDO ฯลฯ

10. สาขาวิชาวิศวกรรมนวัตกรรมคอมพิวเตอร์

สาขาวิชาวิศวกรรมนวัตกรรมคอมพิวเตอร์ (Computer Innovation Engineering : CIE) เป็นสาขาวิชาที่ได้มีการผสมผสานการเรียนรู้ทางวิชาการ ประสบการณ์และการเรียนรู้ที่เน้นการทำโครงงานและการปฏิบัติจริง ทั้งการเรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์ สู่การสร้างออกมาเป็นนวัตกรรม รวมถึงการปลูกฝังการคิดเชิงวิพากษ์ การสื่อสาร การคิดวิเคราะห์และการประยุกต์ใช้หลายทักษะร่วมกัน ซึ่งจะเน้นการเรียนรู้ทั้งด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม เช่น เทคโนโลยีคลาวด์ Mobile computing Cybersecurity Big data analytics และ Internet of Things ที่จำเป็นต่อการขับเคลื่อนธุรกิจและอุตสาหกรรมดิจิทัลในอนาคต

ซึ่งผู้ที่เรียนจบทางด้านนี้เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานเป็นอย่างมากทั้งในประเทศและต่างประเทศ สามารถทำงานได้หลากหลายไม่ว่าจะเป็น วิศวกรระบบคอมพิวเตอร์แบบฝังตัว (Embedded) นักออกแบบผลิตภัณฑ์ นักพัฒนานวัตกรรมด้านไอที วิศวกรรทางด้านระบบ Cloud วิศวกรนวัตกรรม ฯลฯ

งานที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ธุรกิจ

มหาวิทยาลัยที่เปิดสอน

สำหรับมหาวิทยาลัยหรือสถาบันการศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน ที่มีความโดดเด่นในการเรียนการสอนทางด้านไอที มีดังต่อไปนี้

  1. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
  2. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  3. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  4. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  5. มหาวิทยาลัยมหิดล
  6. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  7. มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  8. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  9. มหาวิทยาลัยทักษิณ
  10. มหาวิทยาลัยศิลปากร
  11. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  12. มหาวิทยาลัยศรีปทุม
  13. มหาวิทยาลัยรังสิต
  14. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  15. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
  16. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
  17. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
  18. มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
  19. มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
  20. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

บทความที่น่าสนใจ

  • คณะโบราณคดี เรียนอะไรบ้าง? จบแล้วทำงานอะไรได้บ้าง? | 7 ขั้นตอนการสมัคร SU-TCAS
  • รวมมาให้แล้ว ทุกการสอบของเด็กไทย ในการสอบเข้าเรียนต่อมหาวิทยาลัย
  • 5 สถาบันการศึกษา ที่เปิดสอนด้านการบิน | พร้อมแนะอาชีพที่น่าสนใจ เมื่อเรียนจบ
  • สุดยอด! 10 มหาวิทยาลัยด้าน MBA ที่ขึ้นชื่อว่ามีระบบการเรียนการสอนที่ดีเยี่ยม
  • คัดมาให้แล้ว! 10 ประเทศทั่วโลก ที่นักศึกษาต่างชาติเรียนฟรี

ที่มา : www.admissionpremium.com, วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะอะไร

คณะบริหารศาสตร์ สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ

เอกคอมพิวเตอร์ธุรกิจวุฒิอะไร

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา ภาษาไทย ชื่อเต็ม : บริหารธุรกิจบัณฑิต (คอมพิวเตอร์ธุรกิจ) ชื่อย่อ : บธ.บ.(คอมพิวเตอร์ธุรกิจ) ภาษาอังกฤษชื่อเต็ม: Bachelor of Business Administration (Business Computer) ชื่อย่อ : B.B.A.(Business Computer)

ปวช คอมพิวเตอร์ธุรกิจ คืออะไร

สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ : Business Computer Program. ก้าวล้ำโลกเทคโนโลยีสู่การเป็นนักบริหารด้านคอมพิวเตอร์ เสริมศักยภาพระดับสูงด้วยการมีความคิดสร้างสรรค์ในด้านการบริหารธุรกิจและด้านคอมพิวเตอร์ เรียนรู้จนเชี่ยวชาญในการใช้โปรแกรมสำเร็จรูป เทคโนโลยีสารสนเทศ และการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ แนวทางการประกอบอาชีพ

สาขาเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ มีอะไรบ้าง

การคอมพิวเตอร์.
สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ หรือวิทยาศาสตรคอมพิวเตอร์ (CS).
สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (CE).
สาขาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ (SE).
สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือเทคโนโลยีสารสนเทศและการสือสาร (IT).
สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ หรือ ระบบสารสนเทศทางธุรกิจ (BC).