สารเคมีในชีวิตประจําวัน ยาสีฟัน

เคยแอบคิดกันบ้างไหมครับ? ว่าในแต่ละวันที่แสนจะธรรมดาของพวกเราหลายคนนั้นได้รับ สารเคมี อะไรเข้าสู่ร่างกายบ้าง?

ทุกสิ่งรอบตัวเราล้วนปนเปื้อนไปด้วย สารเคมี ต่างๆ แม้กระทั้งในบ้านที่เราใช้ชีวิตอยู่ในทุกวัน ทั้งของใช้ในชีวิตประจำวันต่างๆ เช่น ยาสีฟัน แปรงสีฟัน น้ำหอม สเปย์ โรลออนเสื้อผ้า เครื่องสำอาง อาหาร ควันรถ นับได้ว่า พวกเราคือประชากรโลกยุคแรก ที่ต้องเผชิญกับสารพิษ สารเคมี และมลภาวะมากมายขนาดนี้ในแต่ละวัน นี่ยังไม่นับ มลภาวะทางเสียง มลภาวะทางอารมณ์ (Toxic people) หรือ PM 2.5 ตัวร้าย ซึ่งพวกเราส่วนใหญ่น่าจะ “คุ้นเคย” กันดีอยู่แล้ว แต่พอรวมกันทุกตัว ก็อาจจะเป็นปัจจัยร่วมในหลายปัญหาเรื้อรังทางสุขภาพได้

สารเคมี ในสิ่งแวดล้อม (Environmental Chemicals)

การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 ภาคอุสาหกรรมทั่วโลกทยอยเปิดสายการผลิตสารเคมีสังเคราะห์ ชนิดใหม่ขึ้นมาเพื่อตอบสนองความต้องการใช้เป็นจำนวน มากกว่า 140,000 ชนิด บางชนิดที่มีความต้องการสูงตามการเติบโตของประชากร ก็ยังมีแนวโน้มการผลิตเพิ่มขึ้นทุกปีต่อเนื่องมาเป็นเวลาหลายสิบปี ยกตัวอย่างเช่น พลาสติก ปุ๋ยเคมี และยาฆ่าแมลง ซึ่งเรารู้กันดีว่า สุดท้ายสสารที่ผลิตออกมามันก็ “ต้องมีที่อยู่” แล้วมันก็ไม่ได้คงอยู่แค่ปีเดียวด้วย หลายชนิดคงอยู่ได้นานหลายสิบปี ไม่ว่าจะเอาไปเททิ้ง หรือเก็บไว้ที่ไหนก็ตามแต่ สุดท้ายวันนึงมันก็หาทาง “วนมาหาเรา” ได้ไม่ว่าทางใดก็ทางหนึ่ง

สารเคมีในชีวิตประจําวัน ยาสีฟัน

ปรึกษาตรวจสารพิษ

สารปรอทปนเปื้อนในปลาทะเล (Mercury in Fish)

สารปรอทถือเป็นสารพิษโลหะหนักซึ่งใกล้ตัวเรามากที่สุด ทางศูนย์เวลเนส ที่หมอทำงานอยู่ ก็มีการตรวจคัดกรองระดับโลหะหนัก (Toxic heavy metals) โดยพบว่า คนสุขภาพดีทั่วไปที่เข้ามารับการตรวจมีระดับปริมาณสารปรอทในเลือดสูงกว่าค่าปกติเป็นจำนวนเกือบ 30%

การรับสารพิษระดับต่ำ ต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน (Chronic Low-level toxicity; No acceptable level)

สารเคมีในชีวิตประจําวัน ยาสีฟัน

มีงานวิจัยออกมาบอกว่าที่จริงแล้ว สารพิษ ไม่ว่าจะระดับไหนก็ไม่ปลอดภัยทั้งนั้นนะครับ แค่สูงกว่า 10mcg/dl ในคนท้องก็มีผลกับ IQ ของเด็ก หรือสูงกว่า 5 mcg/dl ในเด็กก็ไม่ปลอดภัยแล้ว หากร่างกายได้รับสารพิษหลายๆ ชนิดสะสมรวมกัน อาจก่อให้เกิดอนุมูลอิสระในร่างกาย ลดการสร้างสารต้านอนุมูลอิสระที่ร่างกายสร้างขึ้นตามธรรมชาติ ก่อให้เกิดการอักเสบของเซลล์ เพิ่มความเสี่ยงของโรคที่เกี่ยวกับระบบภูมิต้านทาน มีผลต่อระบบฮอร์โมน ท้ายที่สุดอาจนำไปสู่การเกิดโรคมะเร็งได้

และถึงแม้ร่างกายเราจะมีระบบการขับสารพิษ แต่ถ้าเทียบกับปริมาณที่เราได้รับเข้าไปก็ไม่สามารถขับสารพิษออกมาได้หมด เพราะประมาณ 10% มันเข้าไปซ่อนในเนื้อเยื่ออื่นได้ เช่น ตับ ไต และระบบประสาท และอวัยวะที่มันสามารถสะสมได้ปริมาณมากที่สุด ก็คือ กระดูก หากเข้าไปสะสมอยู่แล้ว มันจะยังคงอยู่กับเราไปถึง 20-30 ปีเลยทีเดียว

โดยของเสียทั้งหมดสามารถขับออกจากร่างกายได้ 6 ช่องทาง ได้แก่ ตับ ไต ปอด ลำไส้ใหญ่ ผิวหนัง และระบบน้ำเหลือง โดยอวัยวะหลักที่มีความสำคัญที่สุดคือ ตับ Liver Detoxification เป็นการบวนการที่ต้องการสารอาหารและวิตามินหลากหลายชนิดในปริมาณที่สูงมากน้อยต่างกัน ขึ้นกับปริมาณสารพิษที่เรารับเข้ามา ดังนั้นปริมาณสารพิษจึงเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้คนเราต้องใช้วิตามินบางชนิดสูงกว่าระดับที่แนะนำต่อวันโดยทั่วไป

การที่ฉลากบอกว่า ปลอดภัยในปริมาณน้อย พึงระลึกเสมอว่า เค้าทดลองใช้สารแค่ชนิดเดียว แล้ววัดระดับที่ก่ออาการได้ เพราะในคนปกติรับเข้าก็ขับออกได้ทัน แต่ในชีวิตจริงเรารับสารพิษจากหลายแหล่ง และสะสมมากขึ้นในทุกๆ บางคนร่างกายขับของเสียได้ดีก็ดีไป แต่ในบางคนที่ร่างกายขับของเสียได้ไม่ดีก็ก่อให้เกิดการสะสม คั่งค้าง ทำให้เกิดโรคได้

สารเคมีในชีวิตประจําวัน ยาสีฟัน

ที่พูดมาทั้งหมด หมอไม่ใช่จะให้ไปอยู่ป่าว อยู่ถ้ำ แค่อยากให้ตระหนักรู้ ถึงข้อจำกัดของร่างกายในการขับสารพิษ จะได้สามารถประเมินสารพิษรวม (Body burden) ในแต่ละวันเบื้องต้นได้ด้วยตัวเอง

เพียงเท่านี้ เราก็จะสุขภาพดี สดชื่นทั้งร่างกาย จิตใจแจ่มใส มีความสุขกับปัจจุบัน และมีคุณภาพชีวิตที่ดี อย่างยั่งยืนครับ

น้ำยาล้างเล็บ

ส่วนประกอบที่สำคัญของน้ำยาล้างเล็บคือ อะซีโตน หรือ Acetone โดย อะซีโตนเป็นตัวทำละลายอินทรีย์ ที่ไม่มีสี มีความเป็นพิษต่ำ ระเหยง่าย จึงมักถูกนำมาใช้เป็นตัวทำละลายในอุตสาหกรรมและใช้ในงานด้านเภสัชกรรม โดยอะซีโตนที่มีความเข้มข้นมากกว่า 80% มีฤทธิ์เป็นยาฆ่าเชื้อ (antiseptic) นอกจากนี้ อะซีโตนยังถูกสร้างขึ้นจากขนวนการเมตาโบลิซึมในร่างกาย โดยเป็นหนึ่งใน Ketone bodies ซึ่งพบในเลือด เมื่อผู้ป่วยเกิดภาวะเลือดเป็นกรดจากสารคีโตน (ketoacidosis) จากภาวะเลือดเป็นกรดจากเบาหวาน (diabetic acidosis) หรือภาวะเลือดเป็นกรดจากการอดอาหาร (starvation acidosis) ซึ่งถ้ามีอะซีโตนในเลือดในปริมาณมาก จะสามารถได้กลิ่นอะซีโตนจากลมหายใจของ ผู้ป่วย
แต่เนื่องจากในปัจจุบัน ได้มีการกวดขันเรื่องการใช้ยาเสพติดที่เป็นสารระเหย เช่น กาว ทินเนอร์ แลคเกอร์ มากขึ้น ทำให้วัยรุ่นที่ติดสารระเหยหันมาใช้ยาทาเล็บ และน้ำยาล้างเล็บ ซึ่งมีอะซีโตนเป็นองค์ประกอบหลัก หยดใส่สำลีหรือทามือแล้วสูดดมแทน เนื่องจากยาทาเล็บและน้ำยาล้างเล็บหาซื้อได้ง่ายกว่า และมีความเสี่ยงต่อการถูกจับกุม และดำเนินคดียากกว่าการดมกาว หรือ ทินเนอร์ นอกจากนี้การสูดดมอะซีโตนในความเข้มข้นสูง จะทำให้เกิดอาการทางระบบประสาทและ เกิดการเสพติดได้แช่นเดียวกับสารระเหยทั่วไป
ชื่อสารเคมี : อะซีโตน Acetone
ชื่อพ้อง : 2-Propanone, beta-Ketopropane, Dimethyl ketone, Methyl Ketone, Aceton, Chevron acetone, Dimethylformaldehyde, Dimethylketal, Ketone, dimethyl ketone propane, Pyroacetic acid และ Pyroacetic ethe

สารเคมีที่ใช้ในชีวิตประจําวัน มีอะไรบ้าง

สารเคมีในชีวิตประจำวัน.
สารปรุงแต่งอาหาร.
เครื่องดื่ม.
สารทำความสะอาด.
สารกำจัดแมลง และสารกำจัดศัตรูพืช.
เครื่องสำอาง.

สารเคมีมีความสําคัญในชีวิตประจําวันอย่างไร

ในชีวิตประจําวัน เราจะต้องเกี่ยวข้องกับสารหลายชนิด ซึ่งมีสารเคมีเป็น องค์ประกอบ เราสามารถจําแนกเป็นสารสังเคราะห์และสารธรรมชาติ เช่น สารปรุงรสอาหาร สารแต่งสีอาหาร สารทําความสะอาด สารกําจัด แมลงและสารกําจัดศัตรูพืช เป็นต้น

ยาสีฟัน มีสารเคมีอะไรบ้าง

ส่วนประกอบยาสีฟันที่ทุกคนควรรู้.
1. ฟลูออไรด์ ... .
2. สารขัดฟัน ... .
3. สารรักษาความชื้น ... .
4. สารเพิ่มความข้นหนืด ... .
5. สารทำให้เกิดฟอง ... .
6. สารต้านแบคทีเรีย.

สารทำความสะอาดในชีวิตประจำวันมีอะไรบ้าง

สารทำความสะอาด ประเภทของสารทําความสะอาด แบ่งได้ 2 ประเภท คือ สารที่ได้จากการสังเคราะห์ เช่น น้ำยาล้างจาน, สบู่ก้อน, สบู่เหลว, แชมพูสระผม, ผงซักฟอก, สารทําความสะอาดต่าง ๆ เป็นต้น และสารที่ได้จากธรรมชาติ เช่น น้ำมะกรูด, มะขามเปียก, เกลือ เป็นต้น