องค์ประกอบ ของ Digital Business

Digital Business Model โมเดลการทำธุรกิจในยุคดิจิทัล!

276

SHARES

ShareTweet

เมื่อต้องเผชิญกับ Digital Disruption ควบคู่กับการพัฒนาของเทคโนโลยีที่ทำให้ธุรกิจดำเนินการต่างไปจากเดิม จึงทำให้เกิดโมเดลที่เรียกว่า Digital Business Model คือการเพิ่มมูลค่าของธุรกิจโดยการใช้ดิจิทัลเข้ามาเสริมเพื่อรับมือกับคู่แข่งที่เพิ่มขึ้นในปัจจุบัน

จะเห็นได้ว่าธุรกิจปัจจุบันนี้จะทำควบคู่กับแพลตฟอร์มออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นการขายสินค้าผ่านโซเชียลมีเดียหรือการใช้ E-Commerce เป็นตัวช่วยในการขายที่ทำให้สะดวกสบายมากขึ้นสำหรับลูกค้า และยังสามารถ Record data โดยการจดจำพฤติกรรมของผู้บริโภค เพื่อนำไปคาดการณ์ยอดขายในอนาคต​ (Sales forecast) อีกทั้งยังพัฒนาแพลตฟอร์มให้ใช้งานง่าย เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อีกด้วย

องค์ประกอบ ของ Digital Business

Digital Business Model แบ่งออกเป็นประเภทต่าง ๆ ดังนี้

1. Freemium
การที่แพลตฟอร์มเปิดให้ใช้บริการโดยมีเงื่อนไขบางประการ อย่างเช่น มีข้อจำกัดในการใช้ฟังก์ชันในแอปพลิเคชัน โดยสามารถซื้อบริการเสริมหากต้องการใช้ฟังก์ชันนั้น ๆ ตัวอย่างเช่น Youtube โดยปกติแล้วผู้ใช้บริการสามารถเข้าถึงแพลตฟอร์มได้ฟรี แต่หากต้องการข้ามโฆษณาก็สามารถจ่ายเพิ่มเพื่ออัพเกรดเป็นพรีเมียมได้เช่นกัน

2. Subscription
ระบบสมัครสมาชิกที่มาแทนการซื้อขาย นั่นหมายความว่าหากเราต้องการเข้าถึงแพลตฟอร์มนั้น ๆ จะต้องสมัครสมาชิกเสียก่อน ตัวอย่างเช่น Netflix บริการสตรีมมิ่งที่นำเสนอความบันเทิง หากต้องการเข้าถึงแพลตฟอร์มนี้จะต้องสมัครสมาชิกก่อน โดยมีการคิดค่าบริการตามแพ็คเกจ

3. Peer-To-Peer, two-sided marketplace
แพลตฟอร์มที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการเชื่อมต่อผู้ขายและผู้ซื้อโดยมีตัวกลางเป็นสินค้าหรือการบริการไม่ว่าจะเป็นการเช่าหรือซื้อก็ตาม ตัวอย่างเช่น Airbnb แพลตฟอร์มที่ให้บริการเช่าสถานที่โดยไม่มีสถานที่เป็นของตัวเองเลยเพราะเป็นตัวกลางที่ให้ผู้ให้เช่ามาลงสถานที่และเปิดบริการให้ผู้เช่ามาเลือกจองสถานที่นั่นเอง

4. E-Commerce
ผู้ให้บริการที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการขายสินค้าเสมือนกับการขายสินค้าผ่านคนกลางทั่วไปที่ย้ายมาวางไว้บนแพลตฟอร์มออนไลน์ เช่น Lazada, Shopee, Amazon นั่นเอง

5. On-demand
เป็นการบริการที่นำระบบเข้ามาใช้เพื่อประหยัดเวลามากขึ้นและสามารถใช้บริการได้เมื่อต้องการ ตัวอย่างเช่น Netflix บริการเช่าหนังที่สามารถเข้าชมเมื่อไหร่ก็ได้ที่ต้องการ หรือ Grab Food ที่ให้บริการสั่งอาหารมาส่งตามสถานที่เพื่อประหยัดเวลาในการไปต่อคิวซื้อเอง

6. Ad-Supported
เว็บไซต์ที่ให้เข้าถึงได้ฟรีไม่ว่าจะเป็น content, article โดยบริษัทเหล่านี้จะอยู่ได้ด้วยการขายโฆษณา ตัวอย่างเช่น Google ที่สามารถใช้เสิร์ชหาข้อมูลฟรี แต่หากสังเกตดี ๆ จะเห็นได้ว่ามีโฆษณาแฝงอยู่ในหน้าเว็บไซต์นั้น นั่นจึงเป็นแหล่งที่มารายได้ของ Google นั่นเอง

7. Open Source
โมเดลนี้ทำให้สามารถเข้าถึงซอฟต์แวร์ได้ฟรี และสามารถเข้ามาแก้ไข ดัดแปลงได้ ตัวอย่างเช่น Red Hat เปิดให้บริการซอฟต์แวร์ที่อนุญาตให้บุคคลภายนอกเข้ามาแก้ไข หรือเผยแพร่ต่อได้ และใช้ได้ฟรี โดยมีรายได้จากค่าสมัครสมาชิก (Premium Subscription) และการฝึกอบรม

ในทางกลับกันหากทุกแพลตฟอร์มใช้โมเดลเดียวกันจะทำให้คู่แข่งในตลาดยิ่งสูงขึ้น ทั้งนี้แบรนด์จึงต้องสร้างเอกลักษณ์และมีจุดยืนที่แตกต่างจากแบรนด์อื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นการบริการที่ดีกว่าเพื่อสร้าง Customer Experience หรือการสร้าง Customer Relationship ในระยะยาวนั่นเอง

ที่มา
https://innolytics-innovation.com/digital-business-model/
https://www.kreezalid.com/blog/78489-peer-to-peer-marketplace
https://fourweekmba.com/digital-business-models/



#digitalmarketingdigital marketing

Digital Business ไม่ใช่เรื่องของเทคโนโลยีแต่เป็นการสร้างโมเดลธุรกิจบนพื้นฐานของการเชื่อมโยงโลกดิจิตอลกับโลกจริงเข้าด้วยกัน

Digital business จะเริ่มต้นจากการเชื่อมโยงองค์ประกอบต่างๆภายในธุรกิจเข้าด้วยกันไม่ว่าจะเป็นลูกค้า พาร์ตเนอร์ ซัพพลายเออร์ สินค้าและบริการ หรือแม้แต่อุปกรณ์ต่างๆ การเชื่อมโยงก่อให้เกิดการหลอมรวมระหว่างโลกดิจิตอลและโลกความเป็นจริง (digital-physical convergence) เข้าด้วยกันโดยไม่มีการแบ่งแยก

ผลผลิตจากการที่ทุกสิ่งทุกอย่างถูกเชื่อมโยงเข้าหากันคือ “ข้อมูล” ซึ่งนำไปใช้ในการวิเคราะห์พฤติกรรมลูกค้ารวมถึงนำไปใช้พัฒนาระบบอัจฉริยะอย่างปัญญาประดิษฐ์และนำไปสู่การมอบคุณค่าและประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้นให้กับลูกค้าผ่านการปฏิสัมพันธ์ด้วยรูปแบบต่างๆ

เทคโนโลยีดิจิตอลเป็นตัวผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใน 3 องค์ประกอบของ digital business คือ

  1. Integration — การเชื่อมโยง
  2. Intelligence — ข้อมูลและการประมวลผล
  3. Interaction — วิธีการปฏิสัมพันธ์

ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นเข้าไปผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภคและส่งผลต่อโมเดลธุรกิจในอนาคต โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

Integration — การเชื่อมโยง

ปัจจัยสำคัญของการทำ digital business คือการเชื่อมโยงทุกสิ่งทุกอย่างเข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นผู้คน สิ่งของ หรือธุรกิจ เกิดเครือข่ายผู้บริโภค เครือข่ายพาร์ตเนอร์ ธุรกิจสามารถสื่อสารไปยังผู้บริโภคได้โดยตรง ผู้บริโภคให้ feedback เกี่ยวกับสินค้าบน social media เครือข่ายอุปกรณ์ที่ส่งสัญญาณไปยังผู้บริโภคหรือธุรกิจ การใช้ระบบร่วมกันระหว่างบริษัทและพาร์ตเนอร์ ทำให้ทุกฝ่ายได้รับข้อมูลที่ถูกต้องและรวดเร็ว เป็นต้น

การเชื่อมโยงไม่ใช่เรื่องของเทคโนโลยี ไม่ใช่เรื่องของการสร้างโครงสร้างพื้นฐานหรือการลงทุนด้านระบบไอทีที่ทันสมัย สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงเครื่องมือเพื่อให้บรรลุเป้าหมายเท่านั้น

บางครั้งการเชื่อมโยงมักถูกใช้ในบริบทของดิจิตอลมาร์เก็ตติ้ง เช่น การทำโฆษณาบน search engine ของ Google การสร้างแอพพลิเคชั่นบนมือถือ การทำโปรโมทและโฆษณาบน Facebook หรือ การทำ Line@

สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงช่องทางการติดต่อกับลูกค้าเท่านั้น

การคำนึงถึงช่องทางดิจิตอลเพื่อให้เข้าถึงผู้บริโภคที่อยู่กับหน้าจอมือถือมากกว่าหน้าจอทีวีเป็นแค่เพียงการเปลี่ยนช่องทางการแสดงผลโฆษณาเพื่อให้สอดคล้องกับพฤติกรรมผู้บริโภคที่ใช้เวลาอยู่กับสมาร์ทโฟนหลายๆชั่วโมงต่อวัน

ทุกสิ่งทุกอย่างจะถูกเชื่อมโยงอย่างมีประสิทธิภาพนั้นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงเพิ่มเติมคือให้ทุกคนมีส่วนร่วม (engagement) ในโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีที่สร้างขึ้น

หลายองค์กรสร้างแอพพลิเคชั่นบนมือถือแต่ไม่มีคนโหลดมาใช้งาน สร้างแฟนเพจบน Facebook แต่ไม่มีการสร้างคอนเทนท์ที่ดี ช่องทางเหล่านี้จึงไม่สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงในธุรกิจได้

ดังนั้น ธุรกิจจำเป็นต้องตั้งเป้าหมาย วัตถุประสงค์ในการทำ digital business ว่าต้องการให้ใครหรือสิ่งไหนเข้ามาอยู่ในระบบบ้าง วัตถุประสงค์ของแต่ละธุรกิจจะแตกต่างกันไปตามแต่รูปแบบธุรกิจ ธรรมชาติของสินค้าและบริการ และเป้าหมายในการส่งมอบคุณค่า

Intelligence — ข้อมูลและการประมวลผล

Intelligence หรือ ระบบอัจฉริยะพัฒนาขึ้นมาจากองค์ประกอบ 2 ส่วน คือ ข้อมูลกับการประมวลผล

ข้อมูล (data)

การเชื่อมโยงบนโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีดิจิตอลทำให้เกิด “ข้อมูล” ซึ่งเป็นคุณค่าที่ธุรกิจแบบดั้งเดิมไม่มี ธุรกิจจะได้รับข้อมูลในทุกๆกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นคำติชม ข้อมูลลูกค้า ข้อมูลการซื้อขาย และข้อมูลพฤติกรรมผู้บริโภค ซึ่งแตกต่างจากการปฏิสัมพันธ์ในอดีตที่เกิดขึ้นและจบไป โดยที่ธุรกิจไม่สามารถคาดการณ์รายได้ ออกโปรโมชั่นที่สอดคล้องกับลูกค้าแต่ละราย หรือ ปรับปรุงคุณภาพสินค้าและบริการได้อย่างในปัจจุบัน

ข้อมูลในโลกดิจิตอลมีปริมาณมหาศาล เทคโนโลยีหลักที่อยู่เบื้องหลังในการเก็บข้อมูลเหล่านี้ คือ พัฒนาการของเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายความเร็วสูงและระบบคลาวด์ เทคโนโลยีสื่อสารไร้สายความเร็วสูงไม่ว่าจะเป็น 4G ที่เราใช้งานอยู่ หรือ 5G เทคโนโลยีสื่อสารความเร็วสูงในอนาคตอันใกล้ ช่วยให้ผู้บริโภครับชมคอนเทนท์หรือใช้งานแอพพลิเคชั่นต่างๆได้อย่างรวดเร็วบนสมาร์ทโฟนและธุรกิจสามารถนำเสนอนวัตกรรมใหม่ๆแก่ผู้บริโภคได้

ในขณะที่ระบบคลาวด์จะทำให้ผู้บริโภคเข้าถึงข้อมูลจากที่ไหน เวลาไหนก็ได้ โดยที่ข้อมูลปริมาณมหาศาลจะถูกจัดเก็บอย่างมีประสิทธิภาพบนโครงสร้างพื้นฐานที่กระจายอยู่ทั่วโลก โดยระบบคลาวด์ที่ได้รับความนิยมสูงสุด คือ Amazon Web Services (AWS) ซึ่งมีส่วนแบ่งถึง 40% ในตลาดโลก

ข้อมูลถือว่าเป็นปัจจัยด้านกลยุทธ์ที่สำคัญสำหรับองค์กรระดับโลกไม่ว่าจะเป็น Google, Facebook หรือ Alibaba หรือองค์กรในประเทศไทยหลายแห่งก็ได้นำเทคโนโลยีมาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลมากขึ้น

การประมวลผล (processing)

ข้อมูลปริมาณมหาศาลที่ถูกจัดเก็บนั้นจะไม่มีประโยชน์เลยหากไม่ได้นำข้อมูลเหล่านั้นมาประมวลผลเพื่อหาเบาะแสในการนำเสนอนวัตกรรมใหม่ๆให้แก่ลูกค้า

นักวิทยาศาสตร์ข้อมูลหรือ data scientist อาชีพใหม่ของทศวรรษนี้จึงเป็นที่ต้องการของตลาดเพราะเป็นผู้เชี่ยวชาญในการนำข้อมูลปริมาณมากที่อยู่กระจัดกระจายมาหารูปแบบเกี่ยวกับพฤติกรรมของลูกค้า แนวโน้มของตลาดและปัจจัยอื่นๆเพื่อให้ฝ่ายการตลาดและผู้บริหารได้นำข้อมูลไปใช้ในการวางกลยุทธ์และพัฒนาแผนการตลาดต่อไป

ในขณะเดียวกันเทคโนโลยีก็กำลังก้าวข้ามความต้องการใช้มนุษย์ในการวิเคราะห์ข้อมูล โดยเทคโนโลยี machine learning และ deep learning ที่กำลังเป็นที่จับตามองกำลังถูกพัฒนาอย่างรวดเร็วและเป็นองค์ประกอบในการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ หรือ artificial intelligence (AI) ซึ่งมีความสามารถในการเรียนรู้ วิเคราะห์ ประมวลผลและตอบสนองความต้องการของมนุษย์ในด้านต่างๆในอนาคต

Interaction: การปฏิสัมพันธ์

เมื่อการเชื่อมโยงและการประมวลผลที่เกิดขึ้นบนโครงสร้างพื้นฐานได้มีการออกแบบอย่างมีประสิทธิภาพแล้ว สิ่งที่ธุรกิจต้องคำนึงถึงต่อไปคือรูปแบบในการปฏิสัมพันธ์เพื่อเชื่อมต่อประสบการณ์ดิจิตอลไปยังลูกค้า โดยสามารถทำได้หลากหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับความต้องการของธุรกิจ เช่น

  • จักรกล การใช้งานหุ่นยนต์ในโรงงานอุตสาหกรรมผ่านการประมวลข้อมูลเซ็นเซอร์จากอุปกรณ์ IoT ที่ติดตั้งตามจุดต่างๆ หรือรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติที่ใช้ความสามารถของเซ็นเซอร์รอบคันรถในการเคลื่อนที่ หลบหลีก และจอดรถ
  • ข้อความ ระบบแชทบอต (Chatbot) ที่เชื่อมต่อกับฐานข้อมูลของบริษัทซึ่งช่วยตอบคำถามลูกค้าแทนคอลเซ็นเตอร์ หรือการนำเสนอโปรโมชั่นต่างๆของบัตรเครดิตโดยใช้ข้อมูลพฤติกรรมการใช้จ่ายของลูกค้า
  • เสียง การใช้เสียงในการออกคำสั่งอย่าง Siri บน iPhone หรือลำโพงอัจฉริยะ Amazon Echo ที่ใช้ความสามารถปัญญาประดิษฐ์ Amazon Alexa เชื่อมต่อบริการต่างๆทำให้เราสามารถสั่งงานหรือสั่งซื้อสินค้าด้วยเสียงได้
  • AR (Augmented Reality) เทคโนโลยีที่ผสมผสานระหว่างโลกจริงกับโลกเสมือน (virtual) เข้าด้วยกันซึ่งจะทำให้มองเห็นวัตถุ 3 มิติลอยอยู่เหนือพื้นผิวจริง ตัวอย่างที่หลายๆคนคุ้นเคยคือ Pokemon Go เกมที่สร้างกระแสของ AR ขึ้นมา ผู้ใช้จะมองเห็นตัว Pokemon ในสถานที่ต่างๆรอบตัว เช่น สวนสาธารณะ ภายในบ้าน หรือบนถนน ผ่านสมาร์ทโฟน ซึ่งสร้างประสบการณ์การเล่นเกมแบบใหม่ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน

เทคโนโลยีได้มีวิวัฒนาการขึ้นมาหลายอย่างจากทั่วทุกมุมโลกในปัจจุบัน แต่การแข่งขันยังคงอยู่ในขอบเขตของ 3 องค์ประกอบนี้ โดยเริ่มจาก integration ที่ความก้าวหน้าของอินเตอร์เน็ตและเทคโนโลยีสื่อสารไร้สายทำให้เกิดการเชื่อมโยงผู้คนเข้าด้วยกันและเกิดบริษัทระดับโลกอย่าง Google และ Facebook ขึ้นมา

จากนั้นการแข่งขันได้เริ่มเปลี่ยนมาถึงจุดที่ทุกคนได้ตระหนักถึงภัยคุกคามจากความก้าวหน้าของระบบ intelligence ปัญญาประดิษฐ์ซึ่งกำลังเข้ามาทดแทนความสามารถต่างๆของมนุษย์

ในขณะเดียวกัน interaction ก็กำลังแข่งขันกันอย่างมาก สมาร์ทโฟนที่เป็นอุปกรณ์เชื่อมต่อประสบการณ์ดิจิตอลมาเป็นเวลานานกำลังถูกสั่นคลอนด้วยหลากหลายเทคโนโลยีที่สอดคล้องกับพฤติกรรมของมนุษย์และเป็นธรรมชาติมากกว่า อย่าง เทคโนโลยี AR ที่คาดว่าจะเข้ามาเปลี่ยนวิถีชีวิตผู้คนอีกครั้งแทนที่สมาร์ทโฟน ซึ่งแน่นอนว่าสภาวะการแข่งขันรวมถึงตำแหน่งผู้นำในตลาดอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงอีกครั้งในอนาคต

สุดท้ายสิ่งที่ธุรกิจต้องคำนึงถึงมากที่สุดคือ customer experience หรือประสบการณ์ของลูกค้าซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด

บางธุรกิจอาจจะไม่เหมาะสมที่จะเปลี่ยนตนเองไปอยู่บนโลกออนไลน์ 100% เหมือนอย่าง Facebook หรือ Google เพราะด้วยธรรมชาติของธุรกิจเอง ความสามารถในการแข่งขัน เงินทุน ฯลฯ การคำนึงถึงการส่งมอบประสบการณ์ของลูกค้าที่ดีและแตกต่างโดยใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสม จึงเป็นสิ่งที่องค์กรควรจะคำนึงถึงเป็นอันดับแรก

องค์ประกอบของธุรกิจดิจิทัลมีอะไรบ้าง *

องค์ประกอบของนวัตกรรมธุรกิจดิจิทัล จะต้องมีองค์ประกอบอย่างน้อย 4 ประการ คือ 1. มีความใหม่ 2. มีองค์ความรู้หรือความคิดเปลี่ยนแปลง นวัตกรรม 3. มีประโยชน์ต่อชุมชนหรือสังคมโดยทั่วไป และ 4. มีโอกาสในการพัฒนาต่อได้ผู้ค้นคิดนวัตกรรม

หัวใจสําคัญของ Digital Business มีอะไรบ้าง

SMACI หัวใจสำคัญของ Digital Business.
Social – ฐานข้อมูลขนาดใหญ่ที่สุดในโลกที่เก็บโปรไฟล์ของลูกค้า.
Mobile – ช่องทางการติดต่อสื่อสารและเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตที่ใหญ่ที่สุดในปัจจุบัน.
Analytics – วิเคราะห์ความต้องการและค้นหาความสัมพันธ์ต่างๆ จากฐานข้อมูลโปรไฟล์ลูกค้า.

ธุรกิจดิจิทัล (Digital Business) คืออะไร

ธุรกิจดิจิทัล (Digital business) เป็นธุรกิจที่มุ่งด าเนินการบนระบบดิจิทัลที่มีทรัพยากรทาง กายภาพที่น้อย และยังมุ่งเน้นที่มีความสร้างสรรค์ที่น าเสนอสินค้าหรือบริการในรูปแบบ และบน แพลตฟอร์มที่ตรงใจ หรือความต้องการของลูกค้า และดึงดูดลูกค้าและผู้ให้บริการเข้ามาได้มาก ธุรกิจดิจิทัลมีหลายรูปแบบ หลายประเภทของธุรกิจ มีลักษณะ ...

องค์ประกอบของธุรกิจดิจิทัลประเภทสื่อที่เราเป็นเจ้าของคือข้อใด

Owned Media หรือ สื่อที่แบรนด์เป็นเจ้าของ คือ สื่อที่หน่วยงานธุรกิจสร้างขึ้นเพื่อใช้เผยแพร่เนื้อหาผ่านช่องทางของตัวเอง โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเผยแพร่เนื้อหา อาทิ เว็บไซต์ธุรกิจ, บัญชีโซเชียลมีเดีย, สิ่งพิมพ์ดิจิทัล, อีเมล์ รวมทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ การใช้สื่อ Owned Media จึงเป็นเหมือนสินทรัพย์ทางการตลาดที่แบรนด์เป็น ...