ปัญหา ความเครียด ในปัจจุบัน

ท่ามกลางสถานการณ์ COVID-19 ทั้งแพทย์ พยาบาล บุคลากรทางการแพทย์ ผู้ป่วย และทุกคนล้วนมีความเครียดและความกังวลใจ ลองมาดูสักนิดว่า เราจะช่วยกันรับมือ ดูแลจิตใจ และผ่านวิกฤตินี้ไปด้วยกันได้อย่างไร กับการจัดการความเครียดเพื่อรับมือ COVID-19 อย่างถูกวิธีที่จิตแพทย์อยากแนะนำ

 

ความรู้สึกกังวลที่เกิดขึ้นเป็นกลไกธรรมชาติของมนุษย์ในการเผชิญวิกฤติ

ความเครียดเป็นกลไกโดยธรรมชาติที่ช่วยให้มนุษย์เตรียมตัว วางแผน และรับมือกับสถานการณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถ้ามีใครสักคนที่ไม่รู้สึกเครียด ไม่กลัวติดเชื้อ ไม่สนใจว่าจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไร ไม่ฟังการประกาศจากรัฐบาล กลุ่มนี้ถือว่าผิดปกติและอาจนำพาไปสู่ความเสี่ยงมากมายทั้งต่อตนเองและผู้อื่น ดังนั้นการที่รู้สึกเครียด กังวล กลัว ตื่นตระหนกนั้นถูกต้องแล้ว และควรจะเป็นแบบนั้นเพื่อที่ทุกคนจะได้ขวนขวายหาความรู้ หาข้อมูลมาประกอบการตัดสินใจ มีการวางแผน และเตรียมการอย่างถูกวิธี

 

สถานการณ์ COVID-19 คุณมีอาการดังต่อไปนี้หรือไม่ CDC สหรัฐฯ แนะนำให้สังเกตอาการเหล่านี้

  • อารมณ์เปลี่ยนแปลง แปรปรวน
  • กลัว เครียด กังวล
  • เบื่อ เฉยชา
  • หงุดหงิดฉุนเฉียวง่าย
  • นอนไม่หลับหรือหลับไม่สนิท
  • ฝันร้ายต่อเนื่องเรื้อรัง
  • พฤติกรรมการกินผิดปกติ บางรายกินไม่ลง บางรายกินมากผิดปกติ
  • รู้สึกไม่กระปรี้กระเปร่า ไม่สดชื่น เฉื่อยชาลง
  • ลดกิจกรรมลงอย่างชัดเจน เบื่อ ไม่อยากทำอะไร
  • สมาธิจดจ่อไม่ดี หลง ๆ ลืม ๆ ทำงานบกพร่อง
  • สูญเสียการตัดสินใจ
  • บางคนดื่มแอลกอฮอล์หนักขึ้น หรืออาจมีการสูบบุหรี่หรือใช้สารเสพติดมากขึ้น
  • ผู้ป่วยที่มีโรคทางกาย เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคไต โรคหัวใจ ในระยะนี้อาการอาจกำเริบแปรปรวน เช่น ปวดท้อง ปวดหัว ปวดตามตัวหรือมีผื่นขึ้น ตื่นตระหนก ฯลฯ
  • เริ่มรู้สึกท้อแท้หมดหวัง รู้สึกไร้ค่า ไม่อยากมีชีวิตอยู่

 

สิ่งสำคัญคือ คนจำนวนมากไม่ตระหนักว่ามีความผิดปกติด้านอารมณ์ เมื่อไม่รู้ตัวก็ไม่ได้จัดการอย่างถูกต้อง จนอาจส่งผลกระทบกับประสิทธิภาพในการทำงาน สมาธิไม่ดี ทำงานบกพร่องหรืออารมณ์แปรปรวนจนมีปัญหาความสัมพันธ์ ทั้งเรื่องส่วนตัวและกับเพื่อนร่วมงาน ความเครียดสะสมยังอาจนำไปสู่การตัดสินใจผิดพลาดนำชีวิตดิ่งลงได้โดยง่าย

ขณะที่เกือบทั้งหมด เห็นด้วยว่า ความเครียดในสถานที่ทำงานจะส่งผลเชิงลบ ต่อประสิทธิภาพการทำงานและนำไปสู่บรรยากาศการทำงานที่น่าหดหู่มากขึ้น โดยที่ปัญหาต่างๆ เหล่านี้ ส่งผลให้คนไทยเกิดการเจ็บป่วยได้มากขึ้น เช่น พบว่า ในกลุ่มคนที่มีความเครียด มีสัดส่วนป่วยเป็นโรคหัวใจสูงถึง ​20% เมื่อเทียบกับคนทั่วไปที่ไม่ได้เผชิญกับภาวะความเครียด ที่มีโอกาสป่วยเป็นโรคหัวใจได้เพียง 9% เท่านั้น

พร้อมกันนี้ คะแนนสุขภาพและความเป็นอยู่โดยภาพรวมของประเทศไทย ถือว่ามีคะแนนเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วเพียงเล็กน้อย เมื่อพิจารณาจากปัจจัยในด้านสังคม ด้านครอบครัวและด้านการเงิน แต่พบว่า คะแนนในด้านสุขภาพร่างกาย และด้านการงานลดลง โดยเฉพาะความกังวลหลักๆ ของคนไทยคือ การนอนหลับพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ การทานอาหารที่ไม่ค่อยดีต่อสุขภาพ ไม่มีเวลาออกกำลังกาย รวมถึงไม่สามารถหาเวลาไปพบปะเจอเพื่อนฝูงได้ แม้ว่าจะมีเพื่อนที่สามารถพูดคุยด้วยแบบเปิดอกก็ตาม

ปัญหา ความเครียด ในปัจจุบัน

นอกจากนั้นคนไทยยังรู้สึกว่าตนเองไม่มีความมั่นคงด้านการเงิน โดยเฉพาะเรื่องเงินเดือน และเรื่องเกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาลของคนในครอบครัวหากเกิดการเจ็บป่วย แต่สิ่งที่ดีขึ้นคือคนไทยมีภาวะความเครียดในที่ทำงานน้อยกว่าคนในประเทศอื่นๆและมีความสัมพันธ์ที่ดีกับหัวหน้างาน ​

เนื่องจากพบว่า มีคนไทยเกินครึ่งระบุว่านายจ้างให้สวัสดิการเพื่อดูแลสุขภาพ โดยมี 2 ใน 3 ระบุว่า นายจ้างยังให้การสนับสนุนในเรื่องการจัดการความเครียดในที่ทำงาน เมื่อเปรียบเทียบกับ 36% ที่เป็นค่าเฉลี่ยทั่วโลก และยังรู้สึกว่าสวัสดิการเหล่านี้ให้ความสำคัญเฉพาะสุขภาพด้านร่างกายมากกว่าด้านจิตใจ โดยพวกเขาต้องการแนวทางการจัดการความเครียดจากนายจ้างแบบองค์รวมเพื่อส่งเสริมให้มีสุขภาพที่ดีทั้งร่างกายและจิตใจ ซึ่งโดยรวมแล้วคนไทยมีการบริหารจัดการความเครียดของตนเองได้ดีกว่าประเทศอื่นๆ

แซนด์วิชเจนเนอเรชัน กดดันหนักที่สุด

หากพิจารณาผลการศึกษาในรายละเอียด จะพบว่า คนไทยช่วงอายุระหว่าง 35-49 ปี หรือที่เรียกว่า “กลุ่มแซนด์วิชเจนเนอเรชั่น” เพราะเป็นกลุ่มหลักที่ต้องมีหน้าที่ในการดูแลคนรอบตัว และต้องรับมือกับปัญหาในชีวิตทุกๆ ด้าน ทั้งการต้องทำงานหนัก การมีวิถีชีวิตประจำวันที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ

รวมทั้งยังมีปัญหาด้านการเงินมากกว่าช่วงวัยอื่นๆ สอดคล้องกับผลการสำรวจในประเทศอื่นๆ ทั่วโลก ที่พบเช่นเดียวกันว่า กลุ่มคนในช่วงอายุประมาณนี้ คิดว่าตนเองไม่สามารถใช้ชีวิตตามที่ตั้งมาตรฐานไว้ได้ และกังวลเรื่องการวางแผนค่าใช้จ่ายระยะยาว เช่น ค่าที่อยู่อาศัย หรือการวางแผนสำหรับการเกษียณที่มีคุณภาพ โดยที่กลุ่มแซนด์วิชเจนเนอเรชั่นนี้ ​ยังคงเป็นกลุ่มที่มีคะแนนสุขภาพและความเป็นอยู่น้อยที่สุดแทบทุกด้านติดต่อกันมาทุกปี

ปัญหา ความเครียด ในปัจจุบัน

โดยพบว่า ความเครียดของคนรุ่นนี้เกิดจากแรงกดดันจากการที่ต้องดูแลทั้งพ่อแม่และครอบครัวของตนเองให้มีชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดี เนื่องจากการมีชีวิตที่ดีนั้นไม่เพียงแต่ต้องใช้เงินจำนวนมากเท่านั้น แต่ยังต้องมีการจัดสรรเวลาให้กับครอบครัวอย่างเพียงพอรวมไปถึงการมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงอีกด้วย

ซึ่งคนกลุ่มนี้มองว่า ค่อนข้างทำได้ยากมาก เพราะจำเป็นต้องทุ่มทำงานหนักจนไม่มีเวลาพอที่จะไปทำเรื่องอื่นๆ แม้แต่เวลาที่จะให้กับครอบครัว สิ่งเหล่านี้จำเป็นต้องได้รับการวางแผนแก้ไขโดยด่วน เนื่องจากคนรุ่นนี้ถือเป็นคนกลุ่มหลักที่มีทักษะสูงในการทำงานและเป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ

ซิกน่า จัดแคมเปญ รู้เท่าทันความเครียด 

แนวโน้มปัญหาความเครียด ที่มีอัตราการเพิ่มพูนขยายวงกว้างอย่างรวดเร็วมากขึ้นในประเทศไทยนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มวัยทำงาน รวมทั้งผลกระทบจากปัญหาความเครียดสะสมเรื้อรัง ที่กลายเป็นสาเหตุหลักที่มีผลกระทบโดยตรงต่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพและการอยู่ร่วมกันในสังคม คนไทยที่มีความเครียดสะสมก่อให้เกิดผลกระทบของความเครียดที่ส่งต่อร่างกายเช่น การทำให้เกิดโรคนอนไม่หลับ โรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน

คุณธีรวุฒิ สุธนะเสรีพร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซิกน่า ประเทศไทย เปิดเผยว่า ซิกน่า ได้จัดทำแคมเปญ เผยความเครียดที่มีตัวตน (SEE STRESS DIFFERENTLY) สร้างความตระหนักรู้ในตัวตนของความเครียด และผลกระทบที่มาจากความเครียดสะสมเรื้อรัง พร้อมทั้งนำเสนอวิธีการจัดการความเครียดเหล่านั้นได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพสูงสุด ด้วยการจัดทำแบบทดสอบทางออนไลน์เพื่อให้ทุกคนสามารถวัดระดับความเครียดของแต่ละ​บุคคลได้ด้วยตัวเอง ผ่านการทำแบบทดสอบออนไลน์เพื่อวัดระดับความเครียดผ่านเว็บไซต์   https://www.cigna.co.th/mystressplan โดยสามารถเข้าไปทดลองวัดระดับความเครียดของตัวเองได้อย่างต่อเนื่องไปตลอดปี 2019  

ปัญหา ความเครียด ในปัจจุบัน

นอกจากนี้ยังมีการจัดทำโปรแกรมกิจกรรมพิเศษเพื่อเป็นการลดระดับความเครียด โดยมีชื่อที่สามารถจำได้โดยง่ายว่า “PLAN” P (ระยะเวลาในการผ่อนคลาย) L (สถานที่ผ่อนความเครียด) A (กิจกรรมที่เพลิดเพลินทำให้ผ่อนคลายความเครียด) N (คนที่จะร่วมผ่อนคลายความเครียดไปด้วยกัน)

“ไลฟ์สไตล์และการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไป โดยเฉพาะในเมืองหลวงที่ต้องเครียดท้ังการทำงาน การเดินทาง หรือการ Connect กับโลกโซเชียลตลอดเวลาอาจทำให้อาจมีความเครียดได้โดยไม่รู้ตัว รวมทั้งปัญหารอบด้านทั้งเรื่องสุขภาพ การงาน การเงิน ทำให้คนไทยป่วยบ่อยขึ้น ทั้งโรคจากความเครียดอย่างโรคหัวใจ มะเร็ง หรือจากพฤติกรรมในการใช้ชีวิตที่เร่งรีบ เช่น โรคกระเพราะ กรดไหลย้อน ออฟฟิศซินโดรม และเพิ่มความเครียดมากขึ้น แต่หากรู้เท่าทันและสามารถจัดการได้ ​ก็จะช่วยให้สามารถบาลานซ์การใช้ชีวิตและดูแลสุขภาพได้มากขึ้น”

Photo Credit : NUMBER 24 – Authorized Shutterstock Partner in Thailand


แชร์ :

      

2019 Cigna 360 Well-Being SurveycignaCigna ThailandSandwitch Generationความเครียดบมจ.ซิกน่า ประกันภัยปัญหาความเครียดผลกระทบจากความเครียดแซนด์วิชเจนเนอเรชันแบบสำรวจคะแนนสุขภาพและความเป็นอยู่แบบ 360°