ความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการเคมี ppt

ในการทดลองหรือการปฏิบัติงานในห้องทดลองทางเคมี ผู้ผฏิบัติงานจำเป็นต้องรู้ข้อควรปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ ทั้งนี้เพื่อเป็นการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุที่อาจเป็นอันตรายต่อร่างกายผู้ทดลองหรือผู้อื่น และความเสียหายต่อทรัพย์สินอื่น ๆ

ข้อควรปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ แบ่งเป็น 3 ด้าน คือ

1. ด้านกายภาพ

  • ผู้ทดลองต้องรู้แผนผังอาคาร แผนผังห้องปฏิบัติการ ทางเข้า ทางออก ทางหนีไฟ
  • ผู้ทดลองต้องรู้ตำแหน่งอ่างล้างหน้า ตำแหน่งเครื่องดับเพลิง จุดทิ้งกากสารเคมี 

2. ด้านการแต่งกาย

  • ผู้ทดลองต้องสวมเสื้อคลุมปฏิบัติการ หรือเสื้อกาวน์
  • ผู้ทดลองต้องสวมรองเท้าหุ้มปลายเท้า ห้ามสวมรองเท้าแตะ
  • ผู้ทดลองต้องสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันให้เรียบร้อย เช่น หน้ากาก ถุงมือ แว่นนิรมัย งดใช้คอนแทคเลนส์ ขณะทำการทดลอง
  • ผู้ทดลองควรสวมใส่เสื้อผ้ารุ่มร่าม และรวบผมให้รัดกุม
  • ผู้ทดลองควรควรหลีกเลี่ยงการใช้เครื่องสำอางขณะอยู่ในห้องปฏิบัติการ

3. ด้านการปฏิบัติการ

  • ผู้ทดลองต้องทำการทดลองด้วยความระมัดระวัง ไม่ประมาทเลินเล่อหรือหยอกล้อกัน
  • ผู้ทดลองต้องไม่ทำการทดลองใดๆ นอกเหนือไปจากการทดลองที่มีไว้ในคู่มือปฏิบัติการ หรือที่ได้รับมอบหมายจากอาจารย์ผู้ควบคุมเท่านั้น
  • ในการทดลองที่เกี่ยวข้องกับสารที่มีกลิ่นรุนแรงหรือเป็นแก๊สพิษให้ทำการทดลองในตู้ดูดไอสารเท่านั้น (ขั้นตอนการทดลองจะระบุในคู่มือ ผู้ควบคุมจะแจ้งเตือน)
  • ห้ามสูบบุหรี่ ในห้องปฏิบัติการ
  • ห้ามรับประทานอาหารและเครื่องดื่ม ในห้องปฏิบัติการ
  • ห้ามชิมสารใดๆ และหลีกเลี่ยงการดมสารเคมีโดยไม่จำเป็น
  • ห้ามทิ้งเศษไม้ขีดไฟ กระดาษกรอง กระดาษลิตมัส ลงในอ่างล้าง ให้ทิ้งลงในถังขยะเท่านั้น
  • ห้ามนำอาหารหรือเครื่องดืมไปแช่ในตู้เย็นแช่สารเคมี
  • หากมีสารเคมีหกต้องรีบทำความสะอาดทันทีด้วยวิธีที่เหมาะสม
  • กรดหรือด่างหรือสารเคมีที่เป็นอันตรายหกรดผิวหนังหรือเสื้อผ้าให้รีบล้างด้วยน้ำทันที
  • ทิ้งสารเคมีอันตรายในถังเก็บสารเคมี (อาจารย์ผู้ควบคุมจะแจ้งให้ทราบ)
  • หากผู้ทดลองเกิดอุบัติเหตุในขณะทำการทดลองไม่ว่าจะเล็กน้อย เช่นเศษแก้วบาด ขวดสารแตกหรือไฟใหม้ ต้องรายงานอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นทุกครั้งต่ออาจารย์ผู้ควบคุม (แบบฟอร์มรายงานอุบัติเหตุ)
  • เมื่อเกิดไฟไหม้ในห้องปฏิบัติการ ผู้ทำการทดลองต้องประเมินว่าจะสามารถระงับไฟได้ไม่ แต่ถ้าไม่สามารถทำได้ให้รีบออกจากห้องทันที
  • เมื่อมีการถ่ายเทสารออกมา  ต้องมีฉากติดชื่อสารไว้ด้วยเสมอ
  • ไม่เทสารเคมีที่เหลือลงในขวดสารเดิม  เนื่องจากเกิดปนเปื้อน
  • ล้างอุปกรณ์  เครื่องมือ  และความสะอาดพื้นที่หรือบริเวณที่ทดลอง ปิดน้ำ ปิดแก๊ส ปิดไฟเมื่อทำการทดลองเสร็จ
  • กากสารเคมีที่เกิดจากการทดลอง  ต้องแยกประเภท  และรวบรวมใส่ขวดพร้อมติดฉากชื่อกลุ่มสาร เพื่อสะดวกในการนำไปกำจัดต่อไป
  • เมื่อทำงานเกี่ยวกับสารเคมีเสร็จแล้ว ต้องล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่และน้ำ