การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของมนุษย์

การพัฒนาตนเป็น กระบวนการของ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตัวเราเอง ให้ไปสู่ภาวะที่ ดีกว่าและ เป็นที่ต้องการ มากกว่า แต่กระบวนการ ดังกล่าว ไม่ใช่เรื่องง่ายทั้งนี้เพราะพฤติกรรมมนุษย์นั้นซับซ้อน มีองค์ประกอบ และปัจจัย เกี่ยวเนื่องจำนวนมาก ด้วยเหตุนี้ จึงมีความจำเป็น ที่ผู้ศึกษา จะต้องทำความรู้จักสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นเพื่อที่จะได้จัดการ ให้มีอิทธิพล เชิงบวก หรือหลีกเลี่ยง หากมีอิทธิพลเชิงลบต่อ การพัฒนาตนเอง การศึกษาปัจจัยพื้นฐานของพฤติกรรม จะช่วยให้เข้าใจ พฤติกรรมมนุษย์ ได้ดียิ่งขึ้น

ปัจจัยพื้นฐานของพฤติกรรม ประกอบด้วย

  • ปัจจัยพื้นฐานด้านชีวภาพ
    1. พันธุกรรม
    2. การทำงานของระบบในร่างกาย
    3. ระบบต่อมไร้ท่อ (Endocrine System)
    4. ระบบกล้ามเนื้อ (Muscular System)

การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของมนุษย์

พฤติกรรมมนุษย์

ความหมายของพฤติกรรมมนุษย์
พฤติกรรม (Behavior) คือ กริยาอาการที่แสดงออกหรือปฏิกิริยาโต้ตอบเมื่อเผชิญกับสิ่งเร้า (Stimulus) หรือสถานการณ์ต่าง ๆ อาการแสดงออกต่าง ๆ เหล่านั้น อาจเป็นการเคลื่อนไหวที่สังเกตได้หรือวัดได้ เช่น การเดิน การพูด การเขียน การคิด การเต้นของหัวใจ เป็นต้น ส่วนสิ่งเร้าที่มากระทบแล้วก่อให้เกิดพฤติกรรมก็อาจจะเป็นสิ่งเร้าภายใน (Internal Stimulus) และสิ่งเร้าภายนอก (External Stimulus)

สิ่งเร้าภายใน ได้แก่ สิ่งเร้าที่เกิดจากความต้องการทางกายภาพ เช่น ความหิว ความกระหาย สิ่งเร้าภายในนี้จะมีอิทธิพลสูงสุดในการกระตุ้นเด็กให้แสดงพฤติกรรม และเมื่อเด็กเหล่านี้โตขึ้นในสังคม สิ่งเร้าใจภายในจะลดความสำคัญลง สิ่งเร้าภายนอกทางสังคมที่เด็กได้รับรู้ในสังคมจะมีอิทธิพลมากกว่าในการกำหนดว่าบุคคลควรจะแสดงพฤติกรรมอย่างใดต่อผู้อื่น

สิ่งเร้าภายนอก ได้แก่ สิ่งกระตุ้นต่าง ๆ สิ่งแวดล้อมทางสังคมที่สามารถสัมผัสได้ด้วยประสาททั้ง ๕ คือ หู ตา คอ จมูก การสัมผัส
สิ่งเร้าที่มีอิทธิพลที่จะจูงใจให้บุคคลแสดงพฤติกรรม ได้แก่ สิ่งเร้าที่ทำให้บุคคล เกิดความพึงพอใจที่เรียกว่า การเสริมแรง (Reinforcement) ซึ่งแบ่งออกได้เป็น ๒ ชนิด คือ การเสริมแรงทางบวก (Positive Reinforcement) คือ สิ่งเร้าที่พอใจทำให้บุคคลมีการแสดงพฤติกรรมเพิ่มขึ้น เช่น คำชมเชย การยอมรับของเพื่อน ส่วนการเสริมแรงทางลบ (Negative Reinforcement) คือ สิ่งเร้าที่ไม่พอใจหรือไม่พึงปรารถนานำมาใช้เพื่อลดพฤติกรรมที่ไม่พึงปรารถนาให้น้อยลง เช่น การลงโทษเด็กเมื่อลักขโมย การปรับเงินเมื่อผู้ขับขี่ยานพาหนะไม่ปฏิบัติตามกฎจราจร เป็นต้น

มนุษย์โดยทั่วไปจะพึงพอใจกับการได้รับการเสริมแรงทางบวกมากกว่าการเสริมแรงทางลบ
วิธีการเสริมแรงทางบวก กระทำได้ดังนี้
๑. การให้อาหาร น้ำ เครื่องยังชีพ เป็นต้น
๒. การให้แรงเสริมทางสังคม เช่น การยอมรับ การยกย่อง การชมเชย ฯลฯ
๓. การให้รางวัล คะแนน แต้ม ดาว เป็นต้น
๔. การให้ข้อมูลย้อนกลับ ( Information Feedback ) เช่น การรับแจ้งว่าพฤติกรรมที่กระทำนั้น ๆ เหมาะสม
๕. การใช้พฤติกรรมที่ชอบกระทำมากที่สุดมาเสริมแรงพฤติกรรมที่ชอบกระทำน้อยที่สุดเป็นการวางเงื่อนไข เช่น เมื่อทำการบ้านเสร็จแล้วจึงอนุญาตให้ดูทีวี เป็นต้น

องค์ประกอบพื้นฐานของพฤติกรรม

ปัจจัยพื้นฐานด้านชีวภาพ
ปัจจัยพื้นฐานด้านจิตวิทยา
ปัจจัยพื้นฐานด้านสังคมวิทยา

  • แรงจูงใจ (Motivation)
  • การรับรู้ (Perception)
  • การเรียนรู้
  • เจตคติและความคิดรวบยอด ( Attitude and Concept )
  • การตัดสินใจ (Decision Making)

ที่มา http://www.novabizz.com/NovaAce/Behavior/


การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของมนุษย์

เปิดอ่าน 142,611 ครั้ง

การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของมนุษย์

เปิดอ่าน 20,609 ครั้ง

การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของมนุษย์

เปิดอ่าน 35,291 ครั้ง

การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของมนุษย์

เปิดอ่าน 51,608 ครั้ง

การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของมนุษย์

เปิดอ่าน 142,989 ครั้ง

การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของมนุษย์

เปิดอ่าน 287,735 ครั้ง

การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของมนุษย์

เปิดอ่าน 78,429 ครั้ง

การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของมนุษย์

เปิดอ่าน 94,652 ครั้ง

การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของมนุษย์

เปิดอ่าน 16,837 ครั้ง

การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของมนุษย์

เปิดอ่าน 78,736 ครั้ง

การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของมนุษย์

เปิดอ่าน 186,677 ครั้ง

การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของมนุษย์

เปิดอ่าน 62,965 ครั้ง

การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของมนุษย์

เปิดอ่าน 30,872 ครั้ง

การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของมนุษย์

เปิดอ่าน 37,911 ครั้ง

การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของมนุษย์

เปิดอ่าน 136,520 ครั้ง

เมื่อพูดถึงการเรียนรู้ หลายคนมักจะนึกถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในโรงเรียน ซึ่งความจริงแล้วการเรียนรู้เกิดขึ้นได้ทุกสภาพการณ์ เมื่อพิจารณาจากความหมายของการเรียนรู้ที่นักจิตวิทยากำหนดไว้อาจกล่าวได้ว่าการเรียนรู้เกิดขึ้น ได้ตลอดเวลาตราบใดที่คนเรายังมีกฏิสัมพันธ์กับสังคมสูง นักจิตวิทยากำหนดความหมายของการเรียนรู้ไว้ได้ดังนี้

การเรียนรู้ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม หรือศักยภาพของพฤติกรรม ที่ค่อนข้างถาวร อันเกิดจากประสบการณ์ หรือการฝึกฝน (Kimbie,1961)

จากความหมายของการเรียนรู้ดังกล่าว สิ่งที่เราทำความเข้าใจให้ตรงกันก่อน คือ พฤติกรรม (Behavior) พฤติกรรมในที่นี้จะหมายถึงสิ่งที่บุคคลกระทำหรือแสดงออก ที่สามารถสังเกตเห็นได้หรือวัดได้ตรงกันพฤติกรรมสามารถแบ่งออกได้เป็นสองประเภทใหญ่ๆด้วยกันคือ พฤติกรรมภายนอก (Overt Behavior ) ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่สามารถสังเกตเห็นได้โดยตรง และพฤติกรรมภายใน (Covert Behavior) เป็นพฤติกรรมที่ไม่สามารถสังเกตได้โดยตรง ถือว่าเป็นพฤติกรรมส่วนบุคคล (Private Behavior) ซึ่งได้แก่ ความคิด ความรู้สึก ความรู้ ทัศนคติ ค่านิยม และการตอบสนองตอบทางสรีระ (การเต้นของชีพจร ความดัน โลหิต การเปลี่ยนแปลงคลื่นสมอง เป็นต้น)

การเรียนรู้ของคนเราเกิดขึ้นได้อย่างไร

การเรียนรู้ของคนเราอาจกล่าวได้ว่าเกิดขึ้นได้สองทางด้วยกัน คือ

  1. การเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง
  2. กาเรียนรู้จากประสบการณ์ทางอ้อม
  3. การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของมนุษย์
    ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบการกระทำ ( Operant Conditioning)

                ทฤษฎีนี้มีความเชื่อว่า พฤติกรรมของคนเรานั้นเกิดขึ้นและเปลี่ยนแปลงเป็นผลมา

    จากการที่คนเรามีปฎิสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อม โดยทีสภาพแวดล้อมมีปัจจัยอยู่ 2 ตัว ที่มีผลต่อพฤติกรรม ซึ่งได้แก่เงื่อนไขนั้น ( Antecedents) และผลกรรม ( Consequences)

    เงื่อนไขนำ คือเหตุการณ์หรือสภาพการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนการพฤติกรรม เป็นปัจจัยที่บอกให้คนเรารู้

    ว่า เราควรทำหรือไม่ควรทำพฤติกรรมที่เราต้องการจะทำหรือไม่ เช่น สัญญาไฟแดง บอกให้เรารู้ว่าเราควรจะหยุดรถแม้ว่าเราต้องการที่จะขับรถต่อไปก็ตาม หรือการที่เราเห็นคุณแม่อารมณ์ดี ก็จะเป็นสัญญาให้รู้ว่าถ้าจะขอเงินพิเศษ คุณแม่ก็คงจะให้เป็นต้น

    ผลกรรม คือเหตุการณ์หรือสภาพการณ์ที่เกิดขึ้นหลังการเกิดพฤติกรรม มีผลทำให้พฤติกรรมนั้นมี

    โอกาสที่จะเกิดขึ้นบ่อย สม่ำเสมอ หรือลดลง ยุติลง ในการอธิบายถึงกระบวนการเรียนรู้นั้น Skinner แบ่งออกเป็น 3 ประเภทด้วยกันคือ

    1. ตัวเสริมแรงทางบวก ( Positive Reinforcer) คือผลกรรมที่ตามหลังพฤติกรรม แล้วทำให้พฤติ

    กรรมนั้น เกิดบ่อยครั้งขึ้น หรือเกิดขึ้นสม่ำเสมอ กระบวนการที่ใช้ให้ผลกรรมแล้วทำให้พฤติกรรมเกิดบ่อยครั้งขึ้นนั้นเรียกว่า การเสริมแรงทางบวก ( Positive Reinforcenent) เช่นการที่คนเราทำงานแล้ว ได้เงินเดือน เงินเดือนก็เป็นตัวเสริมแรงทางบวกให้คนเราทำงานบ่อยครั้ง หรือการที่แต่งตัวให้ดูดีแล้วได้รับคำชมว่าแต่งตัวเป็น ก็ทำให้เราแต่งตัวดีทุกครั้งที่ออกงาน คำชมก็จัดได้ว่าเป็นตัวเสริมแรงทางบวกต่อพฤติกรรมการแต่งตัวดีของเราเป็นต้น

    1. ตัวลงโทษ ( Punisher) คือผลกรรมที่ตามหลังพฤติกรรม แล้วทำให้พฤติกรรมนั้น ลดลงหรือ

    ยุติลง กระบวรการที่ให้ผลกรรมแล้วทำให้พฤติกรรมลดลงหรือยุตินั้นเรียกว่า การลงโทษ ( Punishment) เช่นการที่เราขับรถเร็วว่าที่กฎหมายกำหนดแล้วถูกตำรวจจับ ปรับเงินไป 500 บาท ทำให้เราไม่ขับรถเร็วอีกเลย การถูกปรับเงิน ก็จัดได้ว่าเป็นการลงโทษพฤติกรรมการขับรถเร็วของเรานั้นเอง

    1. การหยุดยั้ง ( Extinction) คือการยุติการให้การเสริมแรง ต่อพฤติกรรมที่เคยได้รับการเสริมแรง

    กระบวนการดังกล่าวจะส่งผลทำให้พฤติกรรมนั้น ลดลงหรือยุติลงในเวลาต่อมา แต่ก่อนที่จะลดลง อาจเกิดมีการระเบิดของพฤติกรรมขึ้นได้ เช่น การที่เด็กไปที่ศูนย์การค้ากับแม่และขอให้แม่ซื้อของให้ แม่ก็ซื้อให้แทบทุกครั้ง (แม่ให้การเสริมแรงทางบวกต่อพฤติกรรมการขอให้แม่ซื้อของให้) วันหนึ่งแม่ตัดสินใจไม่ซื้อให้เนื่องจากเห็นว่าไม่เหมาะสม แสดงว่าแม่กำลังใช้การหยุดยั้ง ผลจากการใช้การหยุดยั้งจะพบว่า เด็กจะขอด้วยเสียงอันดังขึ้น และอาจระเบิดถึงขั้นดิ้นกับพื้นได้ ซึ่งเราเห็นเหตุการณ์นี้ได้บ่อยๆในศูนย์การค้า แสดงว่าเด็กถูกการหยุดยั้งนั่นเอง