ค่าส่งเสริมการขายใช้ vat ได้ไหม

วันที่เอกสาร

4 พฤษภาคม 2547

เลขที่หนังสือ

กค 0706(กม.07)/451-x

ข้อกฎหมาย

มาตรา 65, มาตรา 79(1), มาตรา 79/3(1)

ข้อหารือ

กรณีบริษัทฯ มีนโยบายส่งเสริมการขายเป็นการทั่วไปโดยยกเว้นการเรียกเก็บค่าบริการต่าง ๆ
เช่น ค่าบริการติดตั้งเลขหมายโทรศัพท์ ค่าโอน ค่าย้าย ค่าบริการเลขหมาย หรือค่าบริการอื่น ๆ ที่มี
ลักษณะทำนองเดียวกันรวมถึงการลด แลก แจก แถมฟรีบริการ เช่น บัตรโทรศัพท์ เพื่อจูงใจและ
ส่งเสริมให้ลูกค้ามาใช้บริการของบริษัทฯ เพิ่มมากขึ้น บริษัทฯ จึงหารือว่า
1. กรณีบริษัทฯ ไม่เรียกเก็บค่าบริการต่าง ๆ ข้างต้นรวมทั้งการลด แลก แจก แถม
เนื่องจากการส่งเสริมการขาย บริษัทฯ ต้องนำมูลค่าของค่าบริการดังกล่าวมารวมคำนวณเป็นมูลค่าของ
ฐานภาษีและนำมารวมคำนวณเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล หรือไม่
2. กรณีบริษัทฯ ไม่เรียกเก็บค่าบริการตาม 1.1 บริษัทฯ จะต้องระบุมูลค่าของค่าบริการที่
ยกเว้นไม่เรียกเก็บไว้ในใบกำกับภาษี หรือไม่
3. กรณีบริษัทฯ แจกสินค้าที่ซื้อมาหรือผลิตขึ้นเองหรือแจกบริการ (บัตรโทรศัพท์)เนื่องในพิธี
หรือตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณี เช่น งานประเพณีประจำจังหวัด งานวันเด็ก วันครบรอบ
จัดตั้งบริษัทฯ การแนะนำบริการใหม่หรือเปิดสำนักงานแห่งใหม่โดยมูลค่าของสินค้าหรือบริการที่แจก
ไม่เกินสมควร บริษัทฯ ต้องนำมูลค่าของสินค้าหรือบริการที่แจกดังกล่าวมารวมคำนวณเป็นมูลค่าของ
ฐานภาษี และนำมารวมคำนวณเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล หรือไม่

แนววินิจฉัย

กรณีบริษัทฯ ประกอบกิจการให้บริการโทรศัพท์แก่ประชาชนทั่วไป และบริษัทฯ ได้จัดรายการ
เพื่อส่งเสริมการขายเป็นการทั่วไปโดยยกเว้นการเรียกเก็บค่าบริการต่าง ๆ รวมทั้งมีการลด แลก แจก
แถมฟรี เพื่อจูงใจและส่งเสริมให้ลูกค้ามาใช้บริการของบริษัทฯ เพิ่มมากขึ้น รายการส่งเสริมการขาย
ต่าง ๆ ที่บริษัทฯ จัดขึ้น สามารถพิจารณาภาระภาษีได้ดังนี้
ภาษีมูลค่าเพิ่ม
1. กรณีบริษัทฯ ยกเว้นไม่เรียกเก็บค่าบริการบางส่วนหรือให้ส่วนลดในขณะ
ขายสินค้าหรือให้บริการเป็นการทั่วไป ค่าบริการที่ยกเว้นไม่เรียกเก็บบางส่วนหรือส่วนลดค่าบริการนี้ไม่
ถือเป็นมูลค่าของฐานภาษีในการคำนวณเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการให้บริการโทรศัพท์ ตามมาตรา
79(1) แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทฯ ต้องจัดทำใบกำกับภาษีซึ่งระบุส่วนลดดังกล่าวไว้ให้เห็นชัดแจ้งใน
ใบกำกับภาษีและคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มจากมูลค่าของสินค้าหรือบริการหลังจากหักส่วนลดดังกล่าวแล้ว ทั้งนี้
ตามมาตรา 79(1) แห่งประมวลรัษฎากร เทียบเคียงได้ตามข้อ 14 ของคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.
86/2542 ฯ ลงวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2542
2. กรณีบริษัทฯ ยกเว้นไม่เรียกเก็บค่าบริการต่าง ๆ ทั้งจำนวนให้แก่ลูกค้าถือเป็นการ
ให้บริการโดยไม่มีค่าตอบแทน หากกรณีเป็นการกระทำโดยไม่มีเหตุอันสมควรบริษัทฯต้องนำมูลค่าของ
ฐานภาษีที่ถือตามราคาตลาดของราคาค่าบริการในวันที่ความรับผิดในการเสียภาษีเกิดขึ้นตามมาตรา
79/3(1) แห่งประมวลรัษฎากร ไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่มโดยความรับผิดในการเสีย
ภาษีมูลค่าเพิ่มจะเกิดขึ้นเมื่อได้มีการใช้บริการนั้น ทั้งนี้ ตามมาตรา 78/1(1)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร
3. กรณีบริษัทฯ แจกหรือแถมบัตรโทรศัพท์ หากเป็นการแจกหรือแถมบริการไปพร้อมกับ
การขายสินค้าหรือการให้บริการของบริษัท และมูลค่าของบริการที่แถมไม่เกินมูลค่าของสินค้าที่ขายหรือ
มูลค่าของค่าบริการปกติ กรณีดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นการให้บริการโดยไม่มีค่าตอบแทนโดย
มีเหตุอันสมควร บริษัทฯ ไม่ต้องนำมูลค่าของบัตรโทรศัพท์ซึ่งเป็นของแถมมารวมเป็นมูลค่าของฐานภาษี
สำหรับการขายสินค้าหรือการให้บริการตามมาตรา 79/3(1) แห่งประมวลรัษฎากร และบริษัทฯ ต้อง
จัดทำใบกำกับภาษีโดยระบุชนิดและประเภทของบริการไว้ในใบกำกับภาษีฉบับเดียวกับการขายสินค้าหรือ
การให้บริการปกติของบริษัทฯ ด้วย แต่ไม่ต้องนำมูลค่าของบริการที่แจกหรือแถมมารวมคำนวณเป็นมูลค่า
ของฐานภาษี เทียบเคียงข้อ 13 ของคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.86/2542 ฯ ลงวันที่ 19 กรกฎาคม
พ.ศ. 2542
4. กรณีบริษัทฯ ได้แจกสินค้าตัวอย่างเนื่องในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย บริษัทฯ
ไม่ต้องนำมูลค่าสินค้าตัวอย่างมารวมคำนวณเป็นมูลค่าของฐานภาษี ทั้งนี้ ตามมาตรา 79(4) แห่ง
ประมวลรัษฎากร ประกอบกับข้อ 2(7) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่
40)ฯ ลงวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2535
5. กรณีการแจกสินค้าหรือให้ของขวัญเนื่องในพิธีหรือตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณี
เฉพาะมูลค่าของสินค้าที่เป็นปฏิทิน สมุดบันทึกประจำวัน (Diary) หรือสินค้าที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน
หรือของขวัญของชำร่วยที่มีชื่อบริษัทฯ ปรากฏอยู่ โดยของขวัญหรือของชำร่วยดังกล่าวต้องเป็นสิ่งของที่พึง
ให้กันตามประเพณีทางธุรกิจทั่วไป และต้องมีราคาหรือมูลค่าไม่เกินสมควร บริษัทฯ ไม่ต้องนำมารวม
คำนวณเป็นมูลค่าของฐานภาษี ทั้งนี้ ตามมาตรา 79(4) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับข้อ 2(6)ของ
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 40)ฯ ลงวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ.2535
ภาษีเงินได้นิติบุคคล
1. กรณีบริษัทฯ โอนทรัพย์สินหรือให้บริการโดยไม่มีค่าตอบแทนหรือค่าบริการ หรือมี
ค่าตอบแทน ค่าบริการต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีเหตุอันสมควร บริษัทฯ ต้องนำค่าตอบแทน ค่าบริการ
ตามราคาตลาดในวันที่โอนหรือให้บริการดังกล่าวไปรวมคำนวณเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
ตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร ทั้งนี้ ตามมาตรา 65 ทวิ (4) แห่งประมวลรัษฎากร
2. กรณีการให้ส่วนลดในขณะขายสินค้าหรือให้บริการ บริษัทฯ ไม่ต้องนำส่วนลดดังกล่าว
มารวมคำนวณเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากรแต่อย่างใด
กรณีการให้ส่วนลดภายหลังการขายสินค้าหรือให้บริการ หากการให้ส่วนลดดังกล่าวเป็นการให้กับบุคคล
โดยทั่ว ๆ ไป เพื่อสนับสนุนหรือส่งเสริมการขายหรือการให้บริการส่วนลดดังกล่าวถือเป็นรายจ่ายเพื่อหา
กำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะ รายจ่ายดังกล่าวไม่ถือเป็นรายจ่ายต้องห้ามในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อ
เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 65 ตรี (3) และ (13) แห่งประมวลรัษฎากร

กรมสรรพากรแก้ไขล่าสุด

29 มีนาคม 2560

ค่า ส่งเสริม การ ขาย เสีย ภาษีมูลค่าเพิ่ม ไหม

การแจกหรือให้สินค้าเป็นของรางวัลไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มนั้นมีเงื่อนไขดังนี้ ต้องเป็นการแจกให้ผู้รับบริการในแต่ละวัน มูลค่าของสินค้าที่แจกหรือให้เป็นรางวัลต้องมีมูลค่าไม่เกินมูลค่าของสินค้าที่ขายหรือมูลค่าของการให้บริการ

ค่าใช้จ่ายส่งเสริมการขาย มีอะไรบ้าง

บัญชี ภาษี ค่าส่งเสริมการขาย.
เงินอุดหนุน เงินสนับสนุน.
เงินช่วยเหลือ.
เงินส่วนลด หรือ.
เงินอื่นใดในลักษณะทำนองเดียวกันที่.

ค่าส่งเสริมการขายหักค่าใช้จ่ายได้ไหม

ภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย กรณีได้รับค่าส่งเสริมการขาย เป็นใบลดหนี้ คือ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล จ่ายรางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใด ๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขาย โดยจ่ายในลักษณะใบลดหนี้ เพื่อลดยอดมูลค่าลูกหนี้ ผู้จ่ายเงินมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามวันที่ที่ออกใบลดหนี้นั้น

ค่ารีเบท มี VAT ไหม

การค้า (Rebate)ซึ่งคำนวณจากยอดซื้อขายตลอดทั้งปี และคิดส่วนลดกันในสิ้นเดือนธันวาคม 2543. บริษัทฯ จึงหารือว่า 1. การคิดส่วนลดพิเศษนี้ถือเป็นส่วนลดทางการค้าซึ่งไม่มีการคิดภาษีมูลค่าเพิ่ม