เรียก เงินเดือน ที่ใหม่ Pantip

จ๊อบส์ดีบี (JobsDB) เว็บไซต์งานชั้นนำที่มีเครือข่ายที่แข็งแกร่งในหลาย ประเทศทั้ง ฮ่องกง อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และประเทศไทย แนะนำการคิดเงินเดือนที่จะเรียกให้เหมาะสม แบบที่คนสัมภาษณ์งานไม่ตกใจ สามารถจ่ายได้ พร้อมรับเราเข้าทำงาน และสามารถตอบได้ถึงเหตุผลของการขอเงินเดือนในอัตราที่ต้องการได้อย่างมั่นใจ

Show

สูตรคำนวณเงินเดือนที่ควรเรียก

โดยปกติแล้วคนนิยมเรียกเงินเดือนขึ้นเป็นเปอร์เซ็นต์ ประมาณ 10-20% ของเงินเดือนเก่า อย่างไรก็ตามควรดูฐานเงินเดือนเก่าของเรา และปัจจัยอื่น ๆ ประกอบด้วย เช่น ถ้าเงินเดือนสูงหลักแสน จะขึ้นทีละ 20%-30% ก็อาจมากไป ทางที่ดีควรเริ่มจากการคิดเงินเดือนให้เป็นระบบ ตามสูตรคำนวณดังนี้

  • อั้ม พัชราภา เปิดใจครั้งแรก สาเหตุเลิก ไฮโซพก จบไม่สวย ยุติติดต่อ
  • เปิด 5 อันดับแบงก์ไทยอู้ฟู่ กวาดกำไรปี’65 รวมกันกว่า 1.9 แสนล้าน
  • ตาลุก คลิปเผยนาที กวางมูสถอดเขาทิ้ง หาดูยากมาก เหมือนถูกหวย

นำเงินเดือนปัจจุบันมาคูณด้วย 12 และหากมีเงินโบนัสประจำให้นำมารวมด้วย เช่น เงินเดือน 18,000 มีโบนัสประจำ 2 เดือน จะเป็น 18,000 x 14 = 252,000 บาท ซึ่งจะเท่ากับเงินเดือนทั้งปีของเรา

แต่ถ้าหากมีโบนัสที่จ่ายเป็นครั้งคราว เช่น เงินพิเศษที่ได้ตอนจบโปรเจค หรือเบี้ยเลี้ยงพิเศษอื่น ๆ เช่น แต๊ะเอียช่วงตรุษจีน หรือเงินอื่น ๆ ที่จ่ายไม่เท่ากันแต่ละครั้ง ก็ให้นำมารวมกัน แล้วหารจำนวนปีที่เราทำงานอยู่เพื่อหาค่าเฉลี่ย เช่น ทำงานมาแล้ว 3 ปี มีโบนัสพิเศษตามนี้ 10,000+20,000+20,000 = 50,000 / 3 = 16,667

แล้วเอาเงินจำนวนนี้มารวมกับเงินเดือนทั้งปีจากนั้นหารด้วย 12 เดือน 252,000 + 16,667 = 268,667 / 12 = 22,388 นี่คือเงินเดือนขั้นต่ำที่เราควรได้รับหากย้ายงานใหม่ จากนั้นเอามาบวกด้วยปัจจัยที่มีผลต่อค่าใช้จ่ายในงานใหม่ที่เราบอกไปแล้วข้างบนดู เช่น ค่าเดินทางเพิ่มขึ้นเดือนละ 1,000 บาท ค่าภาษีสังคมประมาณเดือนละ 1,500 บาท จะเป็น 22,388+1,000+1,500 = 24,888 บาท ก็จะได้เป็นเงินเดือนที่เราควรเรียก

พิจารณาองค์ประกอบอื่นด้วย

เงินเดือนที่เพิ่มขึ้นอาจไม่ครอบคลุมค่าใช้จ่ายที่อาจมีเพิ่มมากขึ้นเมื่อย้ายไปทำงานที่ใหม่ และความท้าทายที่มากขึ้นอาจทำให้ไม่สามารถสร้างสมดุลระหว่างชีวิตส่วนตัวและชีวิตทำงาน ดังนั้น ควรพิจารณาองค์ประกอบด้านอื่น ดังนี้

1. อัตราเงินเดือนของตำแหน่งงานนั้น ๆ

ศึกษาอัตราเงินเดือนตำแหน่งที่กำลังไปสมัครว่าอยู่ที่เท่าไหร่ในท้องตลาด อาจลองหาจากอินเตอร์เน็ต หรือเว็บไซต์หางาน หรือถามคนรู้จักที่ทำงานตำแหน่งนี้ เพื่อที่จะได้ประเมินเงินเดือนเบื้องต้นถูก

2. ประเมินค่าใช้จ่ายที่ทำงานใหม่

Advertisement

ลองคิดคำนวณค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นหากต้องย้ายไปทำงานที่ใหม่ เช่น ค่าเดินทาง ค่าที่พัก ค่ากินค่าอยู่

บริษัทที่อยู่ในย่านธุรกิจมักมีค่าอาหารแพงกว่าบริษัทย่านชานเมือง หรือแม้แต่ค่าภาษีสังคมที่เราจะต้องจ่าย เช่น เพื่อนร่วมงานในบริษัทใหม่อาจจะมีแนวโน้มที่ชอบใช้จ่าย เพราะบริษัทมีฐานเงินเดือนสูงที่สามารถรองรับไลฟ์สไตล์ได้

ลองคำนวณค่าใช้จ่ายเหล่านี้ออกมาเป็นรายเดือน เพราะค่าเดินทาง ค่าที่อยู่ และค่าอาหาร จัดว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่เป็น fix cost ที่มีผลโดยตรงต่อการคิดคำนวณการขึ้นเงินเดือน

3. สวัสดิการ

นอกจากเงินเดือนแล้ว สวัสดิการก็เป็นส่วนสำคัญที่ควรเอามาพิจารณาควบคู่กัน เพราะบริษัทที่มีสวัสดิการดี เช่น ค่ารักษาพยาบาล จะช่วยแบ่งเบาภาระได้มาก เพราะบางครั้งเกิดเหตุให้ต้องเข้าโรงพยาบาล อาจจะมีค่าใช้จ่ายสูงมาก

บางบริษัทเลือกที่จะจ่ายเงินเดือนสูง แต่มีสวัสดิการน้อย ดังนั้นลองคิดเฉลี่ยค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ก่อน แล้วมาดูว่าเงินเดือนที่จะได้รับเหมาะสมหรือไม่ บางทีการย้ายไปอยู่บริษัทที่ไม่ได้ขึ้นเงินเดือนมาก แต่มีสวัสดิการที่ดีกว่าอาจจะตอบโจทย์เรามากกว่าก็ได้

4. ค่าทักษะและประสบการณ์

การทำงานมาระยะเวลาหนึ่งย่อมทำให้คนมีทักษะ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ที่มากขึ้น ดังนั้น ความสามารถส่วนนี้เป็นสิ่งที่จะเอาไปต่อรองขอขึ้นเงินเดือนขึ้นได้ อาจจะเป็นวุฒิปริญญา ใบประกาศในการฝึกอบรบหลักสูตรต่าง ๆ หรือเป็นผลที่เราเคยทำ สิ่งเหล่านี้ล้วนสะท้อนคุณค่าและความสามารถได้เป็นอย่างดี แต่ควรเรียกเงินเพิ่มแต่พอดี พร้อมแสดงให้เจ้านายใหม่เห็นว่าเงินเดือนที่เรียกไปเหมาะสมกับความสามารถของเรา

5. ลักษณะงานใหม่ และความท้าทาย

ควรพิจารณาเนื้องานใหม่ที่จะย้ายไปเทียบกับอัตราเงินเดือนด้วย ถ้างานใหม่มีความท้าทายมากขึ้น และมีความเสี่ยงในการทำงาน หรือต้องใช้ความทุ่มเทในการทำงานสูง จนอาจจะกินเวลาในชีวิตมากกว่างานเก่ามาก ดังนั้น ควรนำส่วนนี้มาคิดถึงความคุ้มค่ากับเงินเดือนที่จะเรียก

อย่างไรก็ตาม ความท้าทายหรือความยากในงานใหม่ อาจเป็นโอกาสสำคัญที่จะทำให้ได้พัฒนาอย่างก้าวกระโดด เป็นโอกาสในการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ดังนั้นจึงควรคิดปัจจัยนี้อย่างรอบคอบ

เรื่องเงินเดือนเป็นสิ่งสำคัญที่เรามองข้ามไม่ได้เลยถ้ากำลังจะหางาน ซึ่งหลายคนก็มักจะเกิดปัญหาไม่รู้ว่าต้องใส่จำนวนเงินเดือนเพิ่มเท่าไหร่ถึงจะเหมาะสมกับประสบการณ์ หรือเด็กจบใหม่เองก็ไม่รู้ว่าถ้าตัวเองยังไม่มีประสบการณ์ ควรต้องเรียกเงินเดือนเท่าไหร่ถึงไม่ถูกมองว่าขอสูงเกินไป ดังนั้นวันนี้ JobThai ก็เลยจะมาบอกวิธีเรียกเงินเดือนที่สมเหตุสมผลเพื่อเป็นแนวทางสำหรับคนทำงานทุกกลุ่ม

ก่อนจะถึงการใส่จำนวนเงินเดือนที่อยากได้ เราต้องกลับมาคิดก่อนว่าเงินเดือนที่จะขอคุ้มค่าไหม? ดังนั้นเราก็ต้องเอาต้นทุนต่าง ๆ ที่เรามักจะชอบลืมไปมาคิดคำนวณด้วยว่าหากเรารับงานนี้ด้วยจำนวนเงินเดือนเท่านี้ เราจะเสียโอกาส หรือได้โอกาสอะไรเพิ่มมา ลองดูกันเลยว่ามีเรื่องอะไรที่เราต้องเอามาประกอบการพิจารณาบ้าง

1. ค่าเดินทาง ค่าที่พัก ค่าอาหาร

การย้ายงานแต่ละที่อาจจะมีค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันเปลี่ยนแปลงไป เช่น ค่าเดินทาง ค่าที่พัก หรือค่าอาหารที่ บางที่ให้เงินเดือนเพิ่มขึ้นก็จริง แต่ออฟฟิศอยู่ในเมือง ต้องเดินทางหลายต่อเพราะบ้านอยู่ชานเมือง จะซื้อกาแฟแต่ละทีก็แก้วละเป็นร้อย หรือบางที่ให้เงินเดือนเพิ่มขึ้นนิดหน่อย แต่ให้พนักงานทำงานแบบ Work from Home ซึ่งก็ประหยัดค่าน้ำมันไปได้หลายพัน ดังนั้นลองคิดคำนวณค่าใช้จ่ายที่ทำงานคร่าว ๆ ต่อเดือนแล้วทดไว้ในใจก่อน

2. สวัสดิการต่าง ๆ

ดูว่าบริษัทใหม่มีสวัสดิการอะไรให้บ้าง เช่น วันหยุด ค่าล่วงเวลา ค่าโทรศัพท์ ค่าอาหาร เบี้ยขยัน รวมถึงพวกค่ารักษาพยาบาลก็สำคัญมาก ยิ่งถ้าได้ประกันกลุ่มที่จ่ายค่ารักษาได้อย่างครอบคลุม เมื่อเจ็บป่วยเราไม่ต้องควักเงินในกระเป๋าจ่ายก็อาจจะช่วยลดภาระของเราในอนาคตได้ ซึ่งคนทำงานส่วนใหญ่มักจะชอบเลือกไม่ได้ระหว่างเงินเดือนเยอะแต่ไม่มีสวัสดิการอะไรเลย กับเงินเดือนตามเรททั่วไปแต่สวัสดิการแน่น ดังนั้นเอามาคิดคำนวณให้ดีว่าสวัสดิการที่ทำงานใหม่คุ้มแค่ไหนกับเงินเดือนที่เราได้ และสวัสดิการพวกนั้นเป็นสวัสดิการที่เราต้องการรึเปล่า

3. โบนัส

พิจารณาว่ามีโอกาสที่จะได้โบนัสมากขึ้นไหม หรือมีการันตีโบนัส (Fixed Bonus) ให้กี่เดือน เอามาคำนวณรวมกับเงินเดือนแล้ว เฉลี่ยเราจะมีรายได้ต่อเดือนเท่าไหร่ และเราโอเคกับตัวเลขนั้นไหม แต่บางคนก็ชอบโฟกัสกับโบนัสมากเกินไป จนยอมลดเงินเดือนตัวเองเพื่อโบนัสที่เยอะขึ้น สิ่งที่อยากบอกคือโบนัสไม่ใช่เงินเดือนที่เราจะได้อย่างแน่นอนทุกเดือน แต่มันเป็นเงินที่เราจะได้ตามผลประกอบการของบริษัท ถ้าผลประกอบการไม่ดี เขาจะจ่าย หรือไม่จ่ายก็ได้ หรือบางบริษัทมีการันตีโบนัสให้ก็จริง แต่พอเจอสถานการณ์ที่คาดไม่ถึงอย่างเช่นโควิด-19 เข้าไป ขอลดเงินเดือนแทนก็มี ดังนั้นเอาโบนัสมาคิดด้วยได้ แต่ก็ต้องอย่าลืมนึกถึงความไม่แน่นอนของมันด้วย

4. เวลา

หลายคนอาจจะคิดถึงแค่เวลาในขณะที่ทำงาน แต่ความเป็นจริงแล้ว “เวลา” ที่เราเสียไปมันมากกว่านั้น และมันมีค่า บางคนใช้เวลาเดินทางไปที่ทำงานหลายต่อ ใช้เวลา 3-4 ชั่วโมงต่อวันในการเดินทาง กว่าจะถึงที่ทำงานก็เหนื่อย หมดเรี่ยวแรงจะทำงาน ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงาน กว่าจะกลับมาถึงบ้านก็ไม่อยากจะทำอะไรต่อแล้ว บางบริษัทให้วันหยุดแค่วันเดียว หรือให้ทำงานหนักเกิน 8 ชั่วโมง Work-Life Balance ของเราก็เสีย ไม่มีเวลาทำในสิ่งที่อยากทำ ดังนั้นต้องอย่าลืมคิดถึงเวลาที่เราต้องเสียไปกับงานงานนี้ด้วยเพราะเวลาที่เสียไปเหล่านั้นก็มีผลต่อสุขภาพกายและจิตใจเราด้วยเช่นกัน

5. สิ่งที่จะได้จากการทำงานที่นี่

ข้อนี้สำคัญมากเราต้องมองไปถึงสิ่งที่จะได้รับกลับมาจากที่นี่ซึ่งอาจจะจับต้องไม่ได้ด้วย ลองจินตนาการดูว่าถ้าเราได้ทำงานที่นี่ เราจะมีโอกาสได้พัฒนาความรู้และทักษะอะไรใหม่ ๆ ไหม? สามารถต่อยอดไปถึงเป้าหมายในอนาคตเราได้รึเปล่า? มีเวทีให้เราได้โชว์ของไหม? รวมถึงมีที่ให้เราเติบโตรึเปล่า? โดยเฉพาะเด็กจบใหม่ ที่ยังไม่มีประสบการณ์ให้สามารถเรียกเงินเดือนได้ตามที่ต้องการ เราอาจจะต้องยอมคิดถึงจำนวนเงินให้น้อยลงเพื่อแลกกับประสบการณ์และทักษะที่เราจะได้เรียนรู้

การที่เราย้ายงานก็เหมือนกับการเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิตใหม่ไปด้วย และมีความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น เช่น ย้ายไปแล้วงานไม่เป็นอย่างที่คิด  หัวหน้าไม่ใช่แบบที่คาดหวัง เพื่อนร่วมงานไม่โอเค ดังนั้นการเรียกเงินเดือนเพิ่มก็ต้องประเมินความเสี่ยงด้วย และเมื่อคิดต้นทุนคร่าว ๆ แล้วก็มาถึงจำนวนเงินเดือนที่ต้องใส่ ต้องบอกก่อนว่าการใส่เงินเดือนมีผลต่อการได้งานหรือไม่ได้งานของเราสูงมาก โดย HR จะมีการพิจารณาเงินเดือนของแต่ละกลุ่มคนทำงานไม่เหมือนกัน ดังนั้นมาดูดีกว่ามีกลุ่มไหนบ้าง และแต่ละกลุ่มควรพิจารณาเรียกเงินเท่าไหร่ถึงจะไม่ถูกมองว่าขอสูงเกินไป

เรียกเงินเดือนตามโครงสร้างเงินเดือนในตลาดงาน หรือตามโครงสร้างบริษัท

กลุ่มนักศึกษาจบใหม่เป็นกลุ่มคนทำงานที่ใหม่มากกับการเรียกเงินเดือน เพราะถ้าเรียกมากไปบริษัทก็ไม่เลือก หรือเรียกน้อยไป เขาก็อาจจะข้องใจเรื่องความสามารถ ดังนั้นอย่างแรกที่เด็กจบใหม่ต้องดู คือ เรทโครงสร้างเงินเดือนในตลาดงานสำหรับเด็กจบใหม่ อาจเสิร์ชจหาข้อมูลตำแหน่งที่เราสนใจในเว็บไซต์หางานต่าง ๆ เช็กดูว่าตำแหน่งนี้สำหรับเด็กจบใหม่ บริษัทต่าง ๆ เขามีช่วงเงินเดือนที่ประมาณเท่าไหร่ ลองดูหลาย ๆ บริษัทแล้วเอามาอ้างอิงเงินเดือนที่จะขอ รวมถึงอาจจะลองหาข้อมูลและขอคำแนะนำจากคนในสายงานนั้นทาง Community ต่าง ๆ แต่แนะนำว่าต้องเช็กให้ดีว่าข้อมูลนั้นอัปเดตไหม เพราะหลังจากเกิดโควิด-19 หลายสาขาอาชีพมีเรทโครงสร้างเงินเดือนที่เปลี่ยนไป บางที่อาจจะลดลงหรือบางที่อาจจะเพิ่มขึ้น อย่างเช่นงานที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่เป็นที่ต้องการมากขึ้นก็อาจจะมีเรทที่สูงขึ้นกว่าเดิม

เด็กจบใหม่น้อยคนที่จะได้เงินเดือนตามที่คาดหวัง เพราะอำนาจการต่อรองเงินเดือนเราน้อย เราไม่มีประสบการณ์ที่เป็นตัวการันตีว่าเราจะสร้างคุณค่าอะไรให้บริษัทได้บ้าง ดังนั้นถ้าเป็นเด็กจบใหม่ที่ยังไม่มีประสบการณ์ อย่าเพิ่งเอาปัจจัยเงินเดือนเป็นที่ตั้ง ถ้าเราไม่รู้จะใส่เงินเดือนเท่าไหร่ ก็ให้เขียนไปว่า “ตามโครงสร้างบริษัท” ก็ได้ อย่าไปกลัวว่าเขาจะให้เงินเดือนเราน้อย เพราะส่วนใหญ่แต่ละบริษัทก็จะมีรูปแบบการคิดคำนวณที่เหมาะสมในแต่ละตำแหน่งอยู่แล้ว และให้มองว่าเป้าหมายหลัก ๆ ของเราในการทำงานนี้คือการเข้าไปกอบโกยประสบการณ์และความรู้ในการทำงาน ไม่แน่ถ้าได้เข้าไปทำแล้วเราทำงานออกมาได้ดี เขาอาจจะขึ้นเงินเดือนเป็นกรณีพิเศษให้ก็ได้ 

ประเมินจากข้อมูลของบริษัท และผลประกอบการ

เราต้องศึกษาข้อมูลของบริษัทนั้น ๆ ก่อนว่าเขาเป็นบริษัทขนาดใหญ่ ขนาดกลาง หรือ บริษัทสตาร์ทอัพ ซึ่งถ้าเป็นบริษัทขนาดใหญ่ เราสามารถเรียกเงินเดือนตามเรทโครงสร้างเงินเดือนในตลาด หรือบอกว่าตามโครงสร้างบริษัทก็ได้ เพราะบริษัทขนาดใหญ่หลายแห่งมักจะมีโครงสร้างเงินเดือนที่ชัดเจน ถ้าเป็นบริษัทไซส์กลาง ๆ ที่ยืดหยุ่นกว่า เราอาจจะต่อรองเงินเดือนได้สะดวกกว่า หรือถ้าเป็นบริษัทสตาร์อัพหรือบริษัทขนาดที่ไม่ใหญ่มาก ก็อาจจะต้องศึกษาบริษัทนั้นให้ละเอียดหน่อย บางแห่งที่ดูเหมือนจะมีพนักงานน้อย ดูเป็นบริษัทขนาดเล็ก ก็ไม่หมายความว่าเขาจะไม่มีศักยภาพในการจ่ายเงินเดือนพนักงานสูง ๆ บางครั้งบริษัทเองก็อาจจะใช้เงินเดือนมาเป็นสิ่งสร้างแรงจูงใจและดึงดูดคนมาร่วมงาน เพราะเขายังไม่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักเหมือนบริษัทขนาดใหญ่

รวมถึงหลายคนไม่รู้ว่าเราสามารถดูผลประกอบการของบริษัทได้โดยเข้าไปเช็กที่เว็บไซต์ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สามารถไปเช็กถึงผลประกอบการของบริษัทนั้น ๆ ว่าดีไหม เพิ่มขึ้นกี่เปอร์เซน แล้วนำมาเป็นตัวคำนวณคิดเงินเดือนที่จะขอได้

อยากเรียกได้สูงก็ต้องเอาความสามารถเข้าช่วย

การที่เราไม่มีประสบการณ์ไปการันตีความสามารถ เราก็ต้องเอาทักษะที่มีไปการันตีกับเขาแทน เราต้องเป็นเด็กจบใหม่ที่มีความโดดเด่น และมีทักษะที่สามารถไปต่อรองตัวเลขเงินเดือนได้ เช่น ทักษะภาษาที่สาม หรือความรู้ด้านเทคโนโลยีที่มีประโยชน์ต่อการทำงาน การรับเด็กจบใหม่ที่ไม่มีประสบการณ์เป็นเรื่องที่อาจจะค่อนข้างเสี่ยงต่อบริษัท เพราะเขาไม่มีตัวการันตีอะไรเลยว่าเราจะสามารถทำงานตามที่ได้รับมอบหมายได้ไหม ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของเราที่ต้องพยายามขายความสามารถให้เขาตัดสินใจให้เงินเดือนตามที่เราขอ

แต่สำหรับเด็กจบใหม่อีกสิ่งที่อยากจะแนะนำคืออย่าไปคาดหวังกับเงินเดือนมาก เพราะมันก็เป็นแค่เงินเดือนแรกของเรา เรายังมีชีวิตการทำงานอีกหลายปี อย่าไปคาดหวังว่าเราจะได้เงินเดือนเท่าไหร่ แต่ให้คาดหวังว่าเราจะได้ประสบการณ์อะไรจากบริษัทดีกว่า

เรียกตามเรทเพิ่มเงินเดือนในตลาด แต่ไม่ควรเกินช่วงเงินเดือนในประกาศงาน

คนกลุ่มนี้จะสามารถเรียกเงินเดือนเพิ่มได้ประมาณ 15-30% ขึ้นอยู่กับหน้าที่ความรับผิดชอบ และตำแหน่งงาน เช่น เงินเดือนที่เก่า 30,000 ขอเพิ่ม 20% = 36,000  ซึ่งเปอร์เซ็นที่เราขอเพิ่มจะต้องเป็นเงินเดือนหรือ Fixed Cash ที่เราต้องได้ทุกเดือน ไม่รวมค่าอื่น ๆ เช่น ค่าคอมมิชชั่น ค่ารถ ค่าตำแหน่ง แต่ไม่ได้หมายความว่าเราจะเรียกมากกว่า 30% ไม่ได้ อย่างที่บอกว่าถ้าเรามีศักยภาพพอให้เขาอยากได้ ถึงเขาจ่ายเงินเดือนตามที่เราขอไม่ได้ เขาก็อาจจะคิดคำนวณโดยการจะเอาค่าอื่น ๆ มารวมและเสนอเงินเดือนรวมที่น่าสนใจมาให้เราก็ได้

รวมถึงอีกเทคนิคนึงที่อยากแนะนำคือเวลาเราจะเรียกเงินเดือนเพิ่ม ให้ลองศึกษาช่วงเรทเงินเดือนในประกาศงานที่รีเควสประสบการณ์ตามที่เรามี เช่น ตำแหน่ง Digital Marketing ประสบการณ์ 3-5 ปี เรทเงินเดือน 20,000-40,000 ซึ่งสิ่งที่ควรระวังคือเรทเงินที่เขาใส่มาส่วนใหญ่แล้วจะเป็น Maximum แล้ว ดังนั้นถ้าเราขอไปเกิน 40,000 ก็มีโอกาสน้อยที่จะได้ รวมถึงอาจยังถูกมองด้วยว่าเราเรียกเงินแบบไม่ทำการบ้านมา

คนที่ไม่เคยย้ายงาน หรือทำตำแหน่งที่ตลาดต้องการ อาจเรียกได้สูงกว่าปกติ

คนที่ไม่เคยย้ายงานเลย เงินเดือนของคนกลุ่มนี้อาจจะต่ำกว่าตลาด เพราะการปรับขึ้นเงินเดือนแต่ละปีของพนักงานที่บริษัทให้อาจไม่สูงเท่ากรณีเปลี่ยนงาน ดังนั้นถ้าคนกลุ่มนี้เปลี่ยนงาน ก็จะสามารถขอเงินเดือนได้สูงกว่าเรทเพิ่มเงินเดือนปกติ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าทุกคนจะได้ตามที่ขอเสมอไป เพราะทุกอย่างก็ขึ้นอยู่กับศักยภาพเหมือนกัน

ถ้าตำเเหน่งที่เราทำเป็นที่ต้องการในตลาด หรือเรียกง่าย ๆ คือมีบุคคลากรที่ทำตำแหน่งนี้น้อย กลุ่มนี้จะเรียกเงินเพิ่มได้สูงกว่าปกติเช่นกัน เพราะแน่นอนว่าถ้าเราเป็นคนที่ทุกคนต้องการ บริษัทก็คงอยากได้ตัวเรา และกลัวใครมาเสนอเงินเดือนที่เท่ากันหรือมากกว่าให้เรา

ในกรณีที่เราเพิ่งย้ายงานใหม่ไม่ถึงปี แล้วจะย้ายงานอีก บางคนสงสัยว่าตัวเองสามารถขอเพิ่มขึ้นจากเดิมอีกได้ไหม?

เราแนะนำว่าอาจจะขอเพิ่มไม่เกิน 15% ในกรณีที่ทำได้ประมาณหนึ่งปี แต่ถ้าทำงานได้ไม่กี่เดือนก็ไม่ควรที่จะขอเพิ่ม เพราะถ้าเราย้ายมาทำที่ใหม่ได้ไม่ถึงปี บริษัทจะมองว่าเรายังไม่มีผลงานอะไรที่เห็นชัด ๆ เขาจะคิดว่าเงินเดือนที่ใหม่ที่เราได้ยังไม่สะท้อนคุณค่าของเรามากพอ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วคนที่อยู่ในกลุ่มเพิ่งเปลี่ยนงานมาไม่นานจะได้เงินเดือนล่าสุดที่เคยได้ หรือถ้าโชคดีหน่อยก็อาจจะได้เพิ่มตามศักยภาพที่เขาเห็น

ยิ่งว่างงานนานเท่าไหร่ ยิ่งมีผลต่อเงินเดือนมากเท่านั้น

คนที่เคยมีประสบการณ์ทำงาน แต่ตอนนี้ว่างงาน บางบริษัทอาจจะมองว่าเรามีเครดิตน้อยกว่าผู้สมัครที่มีประสบการณ์และยังทำงานอยู่ เพราะการว่างงานของเราจะทำให้เขาสงสัยว่าทำไมถึงปล่อยให้ตัวเองว่างงานนานขนาดนี้ หรือทำไมยังหางานไม่ได้สักที และมองว่าบางทีการว่างงานนาน ๆ มีผลต่อศักยภาพการทำงานที่อาจจะลดลง

หลายคนอาจจะสงสัยว่าแล้วเท่าไหร่ถึงเรียกว่านาน? ถ้าเราว่างงานไม่เกินหนึ่งปียังถือว่าไม่นานมาก โอกาสจะได้เงินเพิ่มก็มีอยู่ แต่คงคาดหวังเรทเพิ่มเงินเดือน 15-30% เหมือนกลุ่มที่มีประสบการณ์และมีงานทำอยู่ไม่ได้ เพราะช่วงที่เราว่างงานเราอาจไม่ได้มีการเรียนรู้ทักษะการทำงานใหม่ ๆ หรือไม่มีผลงานที่โชว์ศักยภาพในการทำงานของตัวเองได้เหมือนคนที่ทำงานอยู่ กรณีนี้เราอาจจะขอเพิ่มสัก 5-10 % ยกตัวอย่างเช่น เงินเดือนที่เก่า 25,000 ขอเพิ่ม 10% = 27,500 แต่ถ้าเรามั่นใจว่าถึงจะว่างงานไปนาน แต่ก็ไม่ได้ส่งผลต่อศักยภาพในการทำงาน หรือมีการลงเรียนคอร์สพัฒนาทักษะต่าง ๆ อยู่เสมอ ก็สามารถที่จะเรียกเพิ่มได้ตามเรททั่วไป

ในกรณีที่หายไปมากกว่า 1 ปีถือว่าเป็นการว่างงานที่ค่อนข้างนาน อาจจะถูกเพ่งเล็งว่าศักยภาพภาพในการทำงานต้องลดลงแน่ ๆ บริษัทจะเกิดข้อสงสัยว่าถ้าเรากลับมาทำงานอีกครั้งหลังจากห่างหายไปนาน เราจะยังทำได้ดีเหมือนเดิมไหม? ดังนั้นก็ต้องยอมรับว่าเงินเดือนอาจจะขอเพิ่มตามที่เราคาดหวังไม่ได้ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วคนที่ว่างงานนาน ๆ เงินเดือนจะลดลง หรือเท่าเดิม หรือถ้าเพิ่มก็อาจจะเพิ่มขึ้นนิดหน่อย แต่อย่าไปเครียดเข้าไปพิสูจน์ตัวเองเอาว่าเรามีศักยภาพดีเหมือนเดิม เพราะไม่แน่ว่าถ้าเขาเห็นถึงศักยภาพเรา เขาอาจจะขึ้นเงินเดือนให้อีกก็ได้

เรียกเงินเพิ่มยาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับทักษะและประสบการณ์ว่าต่อยอดได้ไหม

สำหรับกลุ่มคนที่อยากย้ายสายงาน ต้องอย่าลืมว่าเราเลือกสมัครงานที่ไม่ตรงสายที่เรียนมา หรือไม่เคยทำในสายนั้นมาก่อน เพราะฉะนั้นประสบการณ์การทำงานในสายนี้ของเราเป็นศูนย์ ถึงแม้จะเคยทำงานมาก่อน แต่ทักษะความรู้ที่มีก็อาจจะไม่สามารถเอามาใช้ได้ทั้งหมด หากรับเข้ามาทำงานบริษัทอาจต้องมีการสอนงานให้เพิ่มเติม ดังนั้นส่วนมากคนกลุ่มนี้ควรจะเรียกเดือนเท่ากับเงินเดือนเดิม แต่ก็เป็นได้สูงที่จะได้ต่ำกว่าเงินเดือนจริง ๆ ที่เคยได้

การขอเงินเดือนเพิ่มเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยาก แต่หากคุณคิดว่าทักษะและประสบการณ์จากที่เก่ามีประโยชน์กับงานนี้ ก็สามารถต่อรองเงินเดือนเพิ่มได้ ซึ่งก็ต้องพยายามแสดงให้เขาเห็นให้ได้ว่าทักษะและประสบการณ์ของเราจากงานเก่ามีประโยชน์กับงานและบริษัทอย่างไรบ้าง

เปลี่ยนมาทำสายงานที่ชอบ แต่เงินเดือนน้อยลง ควรทำไหม?

น้อยคนที่จะรู้ตัวเองว่าจริง ๆ แล้วชอบทำงานอะไร บางคนทำงานมาเป็นสิบปี แต่ยังตอบตัวเองไม่ได้เลยว่าสรุปแล้วเราชอบทำงานอะไรกันแน่ การเปลี่ยนสายงานจึงเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้ ไม่อยากให้รีบกังวลเรื่องเงินเดือนว่าจะลดลง หรือกลัวว่าเราจะทำงานนั้นไม่ได้ ให้ลองดูก่อนว่างานสายนั้นเราชอบมันจริง ๆ ใช่ไหม ถ้าคำตอบคือชอบ ก็ไปดูว่ามีโอกาสที่จะได้เงินเดือนน้อยกว่าเงินเดือนล่าสุดขนาดไหน? ขนาดที่เราไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้เลยไหม? ถ้าน้อยแต่ยังดำรงชีวิตได้ แค่ไม่มีเงินเหลือเก็บมากเท่าเดิม ก็ลองคิดดูว่าเราสามารถทำฟรีแลนซ์งานอื่นเพิ่มไปด้วยได้ไหม เพราะสุดท้ายแล้วก็อยากให้เลือกงานที่ตัวเองรัก เพราะมันจะทำให้เราทำได้แบบไม่เหนื่อย หรือถึงจะเหนื่อยบ้างแต่ก็ยังอยากที่จะตื่นไปทำมัน แล้วบางทีผลลัพธ์ในการทำสิ่งที่ชอบ อาจจะสร้างเงินให้เรามากขึ้นเองในอนาคต

เชื่อว่ามีหลายคนที่ชอบเอาเงินเดือนตัวเองไปเปรียบเทียบกับคนอื่น ยิ่งบางคนทำตำแหน่งเดียวกัน แต่เพื่อนได้เงินเดือนมากกว่า ก็เกิดอาการจิตตกไปเลย ดังนั้นสิ่งที่อยากแนะนำคือให้นึกถึงข้อดีเข้าไว้ เช่น มันเป็นเรื่องดีที่เราจะได้มาพิจารณาตัวเองว่าเราต้องพัฒนาจุดไหน แต่ถ้าเรามองแล้วว่าตัวเองได้ต่ำกว่าความสามารถจริง ๆ ก็ถือเป็นโอกาสที่จะได้หางานใหม่ที่เหมาะสมกับความสามารถเรา รวมถึงต้องอย่าลืมด้วยว่าแต่ละสายอาชีพ หรือแต่ละบริษัทมีฐานเงินเดือนไม่เท่ากัน เราจะเอาไปเปรียบกันไม่ได้ เพราะเราไม่รู้เบื้องลึกเบื้องหลังว่าสายอาชีพ หรือบริษัทที่ได้เงินเดือนเยอะ ๆ เขาทำงานหนักกันแค่ไหน

ไม่ว่าเราจะเป็นคนที่ทำงานอยู่และอยากเปลี่ยนงาน ว่างงานมานานแล้ว อยากเปลี่ยนสายงาน หรือเป็นเด็กจบใหม่ สุดท้ายแล้วการเรียกเงินเดือนก็ไม่ได้มีสูตรที่ตายตัวเสมอไป จะเรียกเพิ่มขึ้นเท่าไหร่ก็ไม่ผิด มันขึ้นอยู่กับตัวเราด้วยว่ามีศักยภาพมากแค่ไหน เราทำให้บริษัทเห็นคุณค่าของเราได้ไหม รวมถึงขึ้นอยู่กับความสุขและความพอใจของเราด้วย อย่างไรก็ตามถึงเงินเดือนจะเป็นปัจจัยสำคัญ แต่ก็ไม่ได้สำคัญที่สุดซะทีเดียว อยากให้ดูอย่างอื่นควบคู่ไปด้วย เช่น คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ทักษะและประสบการ์ณที่จะได้ หรือโอกาสเติบโตในหน้าที่การงาน