คำนวณ น้ำหนัก ตามเกณฑ์ อายุ

คุณแม่ควรติดตามการขึ้นของน้ำหนักตัวลูกตามช่วงวัย เพราะภาวะโภชนาการนั้นส่งผลต่อพัฒนาการทุกด้านของลูกน้อย  ลูกรักของคุณตกเกณฑ์หรือไม่อย่างไร ตามนี้เลยค่ะ

  • เด็กอายุ 0 ถึง 3 เดือน น้ำหนักควรขึ้น2 6 ถึง 31 กรัม ต่อวัน
  • เด็กอายุ 3 ถึง 6 เดือน น้ำหนักควรขึ้น 17 ถึง 18 กรัมต่อวัน
  • เด็กอายุ 9 ถึง 12 เดือน   น้ำหนักควรขึ้น 12 ถึง 13 กรัมต่อวัน
  • เด็กอายุ 1 ถึง 3 ปี น้ำหนักควรขึ้น 7 ถึง 9 กรัมต่อวัน

กราฟน้ำหนักเทียบกับอายุเด็กหญิง 0- 2 ปี 

คำนวณ น้ำหนัก ตามเกณฑ์ อายุ

กราฟน้ำหนักเทียบกับอายุ เด็กชาย 0 – 2 ปี

 

คำนวณ น้ำหนัก ตามเกณฑ์ อายุ

กราฟน้ำหนักเทียบกับอายุเด็กหญิง 2 – 7 ปี 

คำนวณ น้ำหนัก ตามเกณฑ์ อายุ

กราฟน้ำหนักเทียบกับอายุเด็กชาย 2 – 7  ปี

 

คำนวณ น้ำหนัก ตามเกณฑ์ อายุ

น้ำหนักตกเกณฑ์พบมากในเด็กวัย 3 – 6 ปี เพราะเด็กวัยยนี้เริ่มมีสังคม มีเพื่อน ไปโรงเรียน ติดเล่น ห่วงเล่น เลือกเป็นเลือกทาน มีนิสัยชอบเขี่ย เมื่อเทียบการเจริญเติบโตแล้วพบว่าลูกตกเกณฑ์ ไม่ใช่เรื่องน่าตกใจ แต่อย่าเพิกเฉยควรเพิ่มสารอาหารที่จำเป็นต่อลูกในแต่ละมื้อให้ลูกได้รับตรบถ้วน จัดเมนูอาหารให้หลากหลาย แปลกใหม่ เพื่อกระตุ้นความอยากอาหารกับเจ้าตัวเเสบ เรื่องนี้อยู่ที่คุณแม่แล้วค่ะว่าจะรับมือกับเรื่องนี้ได้อยู่หมัดหรือไม่

หากคุณพ่อคุณแม่อยากรู้ว่า ลูกของเรา อายุ ณ ตอนนี้มีน้ำหนักกับส่วนสูงเท่านี้ ลูกมีร่างกายหรือภาวะโภชนาการที่สมส่วนหรือไม่ อ้วน หรือผอมเกินไปหรือเปล่า สามารถตรวจเช็กได้จาก โปรแกรมคำนวณภาวะโภชนาการ นี้ได้เลยค่ะ

เช็กเลย! ลูกสมส่วนตามเกณฑ์หรือไม่? ด้วย โปรแกรมคำนวณภาวะโภชนาการ

โภชนาการสำหรับเด็ก   

โภชนาการเป็นสิ่งสำคัญในลูกน้อยมาก โภชนาการที่เหมาะสมเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยเสริมพัฒนาการของลูก เพราะหากมีสิ่งใดมาทำให้การเจริญเติบโตต้องชะงักไป จะเป็นผลเสียต่อลูกน้อยเป็นอย่างมาก อาจทำให้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพด้อยไปได้ เพราะการให้อาหารที่ไม่เหมาะสมหรือไม่ครบทั้ง 5 หมู่ จะทำให้การเจริญเติบโตหยุดชะงัก มีระดับสติปัญญาไม่ดีเท่าที่ควร และเจ็บป่วยบ่อย ลูกจึงควรได้รับพลังงานและสารอาหารอย่างเพียงพอกับความต้องการของร่างกายตั้งแต่เด็กๆ

ยิ่งลูกในวัยอนุบาล มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วทั้งร่างกายและสมอง โดยเฉพาะพัฒนาการทางสมองในช่วง 3 ขวบปีแรก การให้เด็กได้รับอาหารที่เหมาะสม มีคุณค่าทางโภชนาการที่ครบถ้วนเพียงพอ จึงเป็นการวางรากฐานชีวิตที่ดีสำหรับเด็กทั้งปัจจุบันและอนาคต

คำนวณ น้ำหนัก ตามเกณฑ์ อายุ

ปัจจัยในการเจริญเติบโตของลูกน้อย

การเติบโตของลูกน้อยมีปัจจัยหลายด้าน ทั้งด้านพันธุกรรม ฮอร์โมน ภาวะโภชนาการ โรคทางกาย และสภาพแวดล้อมการเลี้ยงดู ซึ่งคุณพ่อคุณแม่สามารถตรวจสอบการเจริญเติบโตของลูกน้อยได้โดยวัดความยาวหรือส่วนสูง น้ำหนัก และวัดเส้นรอบศีรษะ ร่วมกับการดูขนาดของกระหม่อม ขนาดเส้นรอบอกและการขึ้นของฟัน

และสำหรับลูก ๆ แล้วโภชนาการดีที่ดี ควรต้องมีอายุ ส่วนสูง น้ำหนักที่สมดุลและอยู่ในระดับปกติของกราฟวัดการเจริญเติบโต รวมไปถึงคุณพ่อคุณแม่ต้องคอยเฝ้าสังเกตความร่าเริง สดใส ภาวะไม่เจ็บป่วยบ่อย หรือการทุเลาจากภาวะป่วยทั่วไปเช่นอาการหวัด หรือภาวะท้องเสีย การเสริมความเจริญเติบโตด้วยอาหารทำให้เด็กด้วยอาหารให้เพียงพอ

ซึ่งการให้อาหารเกินความต้องการของร่างกายไม่เป็นผลดี หรือการให้ดื่มนมเกินปริมาณจะทำให้เกิดภาวะอ้วน ผลไม้รสหวานจัดก็ส่งผลให้เกิดภาวะอ้วน ดังนั้นลูก ๆ ควรได้รับอาหารที่คุณพ่อคุณแม่จัดให้อย่างเพียงพอและมีคุณภาพ จึงเรียกได้ว่าเป็นสุขโภชนาการ

ทั้งนี้การที่คุณพ่อคุณแม่ต้องการทราบภาวะโภชนาการในตัวลูกน้อยว่าอยู่ในเกณฑ์อะไร สมส่วน หรือ อ้วน ผอม เกินไป ก็สามารถเช็กเองได้จากการนำน้ำหนักและส่วนสูงสูงของลูกมาเปิดเทียบกับตารางภาวะทางโภชนาการ (จากสมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก ที่ได้ตอนฝากครรภ์ เล่มสีชมพู) แต่อาจทำให้เสียเวลา ทาง Amarin Baby & Kids จึงขอแนะนำโปรแกรมคำนวณภาวะโภชนาการ จากมหาวิทยาลัยมหิดล ที่เพียงกรอกข้อมูลครบเรียบร้อย โปรแกรมก็จะแสดงข้อมูลของลูกน้อยออกมาให้เห็นอย่างชัดเจน

ท่านทราบดีแล้วว่า เด็กที่กำลังโตจำเป็นต้องได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนสมบูรณ์ รวมถึงวิตามินและเกลือแร่ แต่แล้วอะไรที่เป็นสารอาหารหลักที่เด็กต้องการ และท่านจะสามารถหาได้จากที่ใด อย่าเพิ่งตกใจ มันไม่ได้ซับซ้อน อย่างที่ท่านคิด เพียงให้มีการเตรียมการทำเล็กน้อย ท่านก็จะทราบว่าจะต้องทำอะไรเพื่อช่วยส่งเสริมให้เด็กมี การเจริญเติบโตและมีพัฒนาการที่ดี สงสัยหรือไม่ว่าจะเริ่มต้นจากตรงไหน ลองตรวจสอบก่อนว่าลูกมีน้ำหนักและ ส่วนสูงตามเกณฑ์หรือไม่ด้วยโปรแกรมตรวจเช็คกันเลย

คำนวณ น้ำหนัก ตามเกณฑ์ อายุ

ลูกมีน้ำหนักและส่วนสูง
ตามเกณฑ์หรือไม่

อาหารสูตรครบถ้วนเพื่อลูกน้อยเติบโตอย่างสมวัย

คำนวณ น้ำหนัก ตามเกณฑ์ อายุ

คำนวณ น้ำหนัก ตามเกณฑ์ อายุ

คำนวณ น้ำหนัก ตามเกณฑ์ อายุ