เทคนิคการแพทย์ จุฬา ใช้คะแนนอะไรบ้าง 65

คณะ/สาขาเทคนิคการแพทย์ คือสาขาที่เรียนเกี่ยวกับการตรวจวินิจฉัยโรค โดยใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ในการวินิจฉัยและส่งผลให้กับคุณหมอเพื่อวางแผนการรักษาต่อไป จะใช้เวลาเรียนทั้งหมด 4 ปี มีทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ ครอบคลุมเนื้อหาในสายวิทยาศาสตร์สุขภาพ เช่น แบคทีเรีย ไวรัส ระบบภูมิคุ้มกัน  ธนาคารเลือด ซึ่งสาขานี้จะมีกล้องจุลทรรศน์เป็นของประจำกายเลยค่ะ  เพราะใช้สำหรับส่องสิ่งที่มองไม่เห็นต่างๆ

คณะหรือสาขาเทคนิคการแพทย์ มีสาขาอะไรบ้างที่น่าสนใจ

เทคนิคการแพทย์ มีหลายสถาบันที่ใช้ชื่อว่าคณะเทคนิคการแพทย์ ซึ่งเป็นการแยกสาขาวิชานี้ออกมา เช่น ม.มหิดล ม.เชียงใหม่  ม.สงขลานครินทร์ แต่อีกหลายที่ สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์ จะอยู่ในคณะสหเวชศาสตร์ ดังนั้นหากมองว่าหลักสูตรนี้เป็น “สาขาวิชา” ก็จะไม่มีสาขาหรือแขนงย่อยค่ะ แต่ถ้ามองเป็น “คณะ” จะมีสาขาวิชาที่จัดรวมกลุ่มอยู่ในคณะเดียวกันคือ

  • สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์
  • สาขาวิชากายภาพบำบัด
  • สาขาวิชารังสีเทคนิค
  • สาขาวิชาโภชนาการและการกำหนดอาหาร
  • สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และการออกกำลังกาย
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก
  • สาขาวิชากิจกรรมบำบัด
  • สาขาวิชาชีวเวชศาสตร์
  • สาขาวิชาทัศนมาตรศาสตร์

ประมาณค่าธรรมเนียมการศึกษา

  • ม.ธรรมศาสตร์ 16,000 บาท / ภาคการศึกษา
  • จุฬาฯ 21,000 บาท / ภาคการศึกษา
  • ม.พะเยา 28,000 บาท / ภาคการศึกษา
  • ม.นเรศวร 22,000 บาท / ภาคการศึกษา
  • ม.เชียงใหม่ 20,000 บาท / ภาคการศึกษา

คะแนนที่ใช้ในการสมัคร (รอบแอดมิชชัน)

  • GPAX : 20%
  • O-NET : 30%
  • GAT : 20%
  • PAT2 (วิทยาศาสตร์) : 30%

ข้อควรรู้

  1. สำหรับการสอบเข้าคณะเทคนิคการแพทย์ คะแนน PAT 2 ถือว่าเป็นคะแนนที่สำคัญมาก ถ้าอยากสอบติด เกณฑ์ Admission 2 ใน 10 มหาวิทยาลัยข้างต้น ควรจะได้คะแนน PAT 2 มากกว่า 120 คะแนนขั้นไป ในขณะที่ GAT ต้องได้่คะแนนมากกว่า 210 คะแนนขึ้นไป
  2. เป็นสาขาวิชาที่มีคณะเป็นของตัวเอง แล้วก็เป็นสาขาวิชาที่สังกัดอยู่ในหลายคณะ เช่น คณะสหเวชศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  3. แต่ละมหาวิทยาลัยมักจะกำหนดคุณสมบัติผู้สมัครไว้ว่าจะต้องเป็นผู้ที่จบแผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ หรือมีเรียนกลุ่มสาระวิชาวิทยาศาสตร์ไม่น้อยกว่า 22 หน่วยกิต และกลุ่มสาระวิชาคณิตศาสตร์ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต ทั้งเกณฑ์ Admission 1  และ Admission 2 เลย ยกเว้นแต่ม.นเรศวรไม่ได้กำหนด
  4. เป็นคณะที่ห้ามบุคคลที่มีภาวะตาบอดสีขั้นรุนแรงเข้าเรียน โดยจะต้องผ่านการทดสอบ Farnsworthd 15 hue test ซึ่งจะต้องไม่มีเส้นตัดขวาง มากกว่า หรือเท่ากับ 10 เส้น
  5. หลักสูตรนี้ ใช้ระยะเวลาเรียน 4 ปี แล้วเมื่อเรียนจบจากคณะ หรือสาขาวิชานี้ จะได้รับวุฒิการศึกษา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคนิคการแพทย์) และจะต้องสอบใบประกอบวิชาชีพก่อนจะไปทำงานด้วย

มหาวิทยาลัยที่เปิดสอน

  • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • มหาวิทยาลัยรังสิต
  • มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
  • มหาวิทยาลัยสงขลาครินทร์
  • มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น
  • มหาวิทยาลัยมหิดล
  • มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • มหาวิทยาลัยบูรพา
  • มหาวิทยาลัยนเรศวร ฯลฯ

จบแล้วทำงานอะไรได้บ้าง

  • นักเทคนิคการแพทย์
  • นักวิจัย
  • นักรังสีเทคนิค
  • นักทัศนมาตรศาสตร์
  • เซลล์ขายอุปกรณ์ทางการแพทย์
  • เจ้าหน้าที่วิทยาศาสตร์สุขภาพและความงาม
  • อาชีวอนามัยและความปลอดภัย
  • เจ้าหน้าที่วิทยาศาสตร์สุขภาพ
  • ครู/อาจารย์ ฯลฯ

อ้างอิงข้อมูลจาก : www.u-review.in.th, www.tcaster.net

และ ขอบคุณข้อมูล  https://campus.campus-star.com/ และ https://www.dek-d.com/

Author: tmtyai

คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งจัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2534 เป็นคณะสหเวชศาสตร์แห่งแรกของประเทศไทย การถือกำเนิดของคณะสหเวชศาสตร์ เป็นผลสืบเนื่องมาจากการพัฒนาการของหลักสูตรเทคนิคการแพทย์ในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตบัณฑิต ในสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่จำเป็นต่อการทำงานของทีมแพทย์สู่สังคม ได้แก่ นักเทคนิคการแพทย์ และนักกายภาพบำบัด ปัจจุบันได้มีการขยายสาขาวิชา ครอบคลุมการผลิตนักกำหนดอาหารในระดับปริญญาตรีแห่งแรกของประเทศไทย ปัจจุบันคณะฯ จัดการเรียนการสอนระดับปริญญาตรี 4 สาขา ได้แก่ สาขาเทคนิคการแพทย์, สาขากายภาพบำบัด, สาขาโภชนาการและการกำหนดอาหาร และสาขารังสีเทคนิค

วันนี้พี่จะแนะนำให้น้องๆ รู้จักกับสาขาเทคนิคการแพทย์ ซึ่งสาขานี่เป็นสาขาที่เรียนเกี่ยวกับการวิเคราะห์สิ่งส่งตรวจจำพวกสารคัดหลั่งต่างๆ ที่มาจากร่างกายของเรา เช่น เลือด ปัสสาวะ น้ำไขข้อ ไขสันหลัง เป็นต้น โดยมีวิชาเรียนหลักๆ ก็คือ เริ่มแรกก็จะเรียนในวิชาสายวิทยาศาสตร์พื้นฐานทั่วไป (ฟิสิกส์, เคมี และชีววิทยา) พอเริ่มปีสูงขึ้นน้องๆ ก็จะได้เรียนวิชาที่มันยากขึ้น อย่างพวกรายวิชา Hematology ที่เรียนเกี่ยวกับเลือด องค์ประกอบต่างๆ ของเลือด การเจาะเลือด  ตรวจเลือด แปลผลเลือด โรคที่เกี่ยวข้อง ซึ่งถือว่าเป็นวิชาที่สำคัญของสาขานี้เลยก็ว่าได้, วิชา Body Fluid Analysis เรียนเกี่ยวกับสารคัดหลั่งต่างๆ ที่ออกมาจากร่างกาย, วิชาClinical Chemistry วิชานี้คือวิชาเคมีคลินิก น้องๆ จะได้เรียนเกี่ยวกับการตรวจวัดสารต่างๆ ในร่างกายโดยใช้วิธีทางเคมี เช่น คอเลสเตอรอล น้ำตาลในเลือด ฯลฯ โดยที่น้องๆ จะต้องลงมือตรวจเอง และประมวลผลเอง, วิชา Immunology วิชานี้เรียนเกี่ยวกับสารภูมิต้านทานที่ไม่เคยเห็นมาก่อน ซึ่งถือว่าเป็นวิชานี้เป็นประโยชน์มากๆ สำหรับสาขานี้เพราะในปัจจุบันการวินิจฉัยโรคต่างๆ จำเป็นต้องอาศัยหลักการพื้นฐานต่างๆ มาจากวิชานี้ทั้งสิ้น และวิชา Blood Bank วิชานี้จะเป็นวิชาที่เพิ่มพูนความรู้ทางด้านหมู่เลือดให้น้องๆ จะได้รู้ว่าหมู่เลือดของคนเราไม่ได้มีแค่ A B O และ RH เป็นต้นค่ะ

ทั้งหมดทั้งมวลข้างต้นก็เพื่อให้น้องๆ มีความรู้ที่หลากหลายนอกเหนือความรู้ในศาสตร์ของตนเอง สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการทำงานได้หลากหลาย และตอบสนองต่อความต้องการของสังคมมากขึ้น อีกทั้งทางคณะฯ ยังเปิดโอกาสให้นิสิตสามารถลงทะเบียนเรียนกลุ่มวิชาโทที่เปิดสอนในคณะสหเวชศาสตร์ หรือกลุ่มวิชาโทข้ามสาขาในต่างคณะตามความสามารถและความสนใจของนิสิตเองด้วบ

1. นักเทคนิคการแพทย์
2. นักวิจัย
3. อาจารย์หรือนักวิชาการ
4. นักนิติวิทยาศาสตร์
5. นักธุรกิจประกอบการห้องปฏิบัติการทางการแพทย์เอกชน
6. พนักงานขายเครื่องมือและอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์
7. ผู้เชี่ยวชาญผลิตภัณฑ์ (product specialist)

เทคนิคการแพทย์ 65 ใช้คะแนนอะไร

คะแนนที่ใช้ในการสมัคร (รอบแอดมิชชัน) GPAX : 20% O-NET : 30% GAT : 20% PAT2 (วิทยาศาสตร์) : 30%

จุฬา ใช้คะแนนอะไรบ้าง 66

ทุกสาขาใช้สัดส่วนคะแนนเดียววกันคือ GPAX 20% + O-NET 30% + GAT 10% + PAT1 10% + PAT2 30% และคะแนน O-NET ไทย สังคม อังกฤษ คณิต วิทย์ ทุกวิชาต้องได้คะแนนอย่างน้อย 30 คะแนน เนื่องจากคณิตวิทยาศาสตร์เปิดรับหลายสาขามาก พี่จะแบ่งคณะออกตามเป้าคะแนนที่จะต้องทำให้น้องดูเป็นกลุ่มย่อย ๆ นะคะ เริ่มที่กลุ่มแรกเลย

รังสีเทคนิค จุฬา ใช้คะแนนอะไรบ้าง 65

GPAX ไม่ต่ำกว่า 2.75 + คะแนนวิชาสามัญ (อังกฤษ, คณิต 1, ฟิสิกส์, เคมี, ชีววิทยา) + GAT + PAT 1 + PAT 2.

เทคนิคการแพทย์ มี มหา ลัย ไหน บ้าง 65

มหาวิทยาลัยที่เปิดสอนคณะสหเวชศาสตร์/เทคนิคการแพทย์.
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ม.ขอนแก่น.
ม.เชียงใหม่.
ม.ธรรมศาสตร์.
ม.นเรศวร.
ม.มหิดล.
ม.บูรพา.
ม.พะเยา.