ขอพรเรื่องงาน ราชการ เชียงใหม่

ขอพรในการสอบรับราชการที่ไหนดีครับ

คือ ก่อนอื่นผมก็อ่านหนังสือเป็นประจำทุกวันนะครับ
แต่ถ้าพรจะขอพรด้วยควรไปข้อที่ไหนดีครับ ที่เน้นเรื่องงานราชการ

ปล.การขอพรก่อนสอบ ควรขอใกล้วันสอบที่สุดใช่ไหมครับ เช่น ก่อนหน้า1-3วัน

ขอบคุณครับ

0

ขอพรเรื่องงาน ราชการ เชียงใหม่

คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้

ความคิดเห็นที่ 2

ไหว้หลวงพ่อโสธร พระแม่อุมา พระสีวลี ฤาษีตาไฟ  
เท่าที่เคยไปกราบขอมานะคะ แล้วก็ไปล้างห้องน้ำ9วัด ทั้งนี้ทั้งนั้นก็อยู่ที่การตั้งใจอ่านหนังสือมาค่ะ ถ้าทำข้อสอบได้ซักวันความฝันที่อยากรับราชการจะเป็นจริงค่ะ เป็นกำลังใจให้นะคะ ข้างต้นที่เรากล่าวมาทั้งหมด คือเราทำค่ะ เป็นความเชื่อส่วนบุคคลนะคะ แต่ตอนนี้ก็รับราชการมาหลายปีแล้วค่ะ

0

ขอพรเรื่องงาน ราชการ เชียงใหม่

คุณสามารถแสดงความคิดเห็นกับกระทู้นี้ได้ด้วยการเข้าสู่ระบบ

กระทู้ที่คุณอาจสนใจ

สายมูต้องมา! ขอพรองค์พระพิฆเนศศักดิ์สิทธิ์ "วัดป่าแดด" เชียงใหม่

เผยแพร่: 20 ต.ค. 2564 15:16   ปรับปรุง: 20 ต.ค. 2564 15:16   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


วัดงามๆ จังหวัดเชียงใหม่นั้นมีมากมายทั้งในเมืองและนอกเมือง แต่วัดที่เป็นกระแสดังในหมู่ “สายมู” มาได้สักพักในตอนนี้ ต้องยกให้ “วัดป่าแดด” ต.ป่าแดด อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ที่หลายๆ คนนิยมมาทำพิธีขอพรจากองค์พระพิฆเนศที่วัดป่าแดด และต่างก็สมหวังกันไปหลายราย

สำหรับประวัติของวัดป่าแดด ข้อมูลจากเว็บไซต์ www.at-chiangmai.com กล่าวว่าแต่เดิมวัดป่าแดดมีชื่อว่าวัดดอนแก้ว เนื่องจากมีสภาพพื้นที่เป็นเนินสูงและมีต้นพิกุล (ต้นดอกแก้ว) ขึ้นอยู่เต็มไปหมด และจากคำบอกเล่าต่อๆ กันมา เมื่อสมัยที่พญามังรายสถาปนาเวียงกุมกามเป็นเมืองหลวงแห่งแรกของล้านนาในบริเวณที่ราบลุ่ม ริมแม่น้ำปิง (สายเดิม) ทำให้สถานที่ตั้งของวัดดอนแก้วในอดีตใช้เป็นอุโบสถสำหรับให้นักโทษประหารหรือเชลยศึกได้ฟังเทศน์ฟังธรรมเป็นครั้งสุดท้าย ก่อนที่จะถูกประหาร โดยจะอาราธนาพระมหาเถระจากวัดในเวียงกุมกามราชธานีพายเรือข้ามฝั่งแม่น้ำปิงมาเทศน์โปรด


เมื่อเวลาผ่านไปหลายร้อยปี อุโบสถหลังเดิมผุพังลงจนไม่เหลือ วัดดอนแก้วถูกสร้างขึ้นใหม่อีกครั้งใน พ.ศ.2345 จวบจนมาถึงปัจจุบันชื่อวัดดอนแก้วได้เปลี่ยนมาเป็นวัดป่าแดดเนื่องจากบริเวณวัดเป็นป่าทึบ ในยามเย็นจะมีฝูงนกแสด หรือนกแสก ร้องเสียงดังไปทั่ว จนชาวบ้านเรียกขานว่าเป็นป่านกแสด และเรียกเพี้ยนกันต่อมากลายเป็นชื่อวัดป่าแดดจนบัดนี้

ปัจจุบัน ท่านพระครูปลัดนันทวัฒน์ (พระอาจารย์พยุงศักดิ์ ธีรธมฺโม) หรือครูบาคัมภีรธรรม เป็นเจ้าอาวาสวัดป่าแดด ท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ พระวิปัสสนาจารย์ของเมืองเชียงใหม่ที่มีชื่อเสียงรูปหนึ่ง นอกจากท่านจะปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานจนมีสานุศิษย์มากมายแล้ว ท่านยังเป็นที่เจริญศรัทธาเลื่องลือในเลขยันต์วัตถุมงคลสายล้านนา เทียน ตะกรุดที่สืบมาจากครูบาอาจารย์ แผ่นยันต์ล้านนาที่ท่านจารด้วยมือทุกแผ่น ตะกรุดมหาหวาน ที่เหล่าศิลปินดาราในวงการบันเทิงต่างเเสวงหาไว้ครอบครอง นอกจากนี้ เหรียญพระพิคเณศวร์ เหรียญครูบาศรีวิชัย พระพุทธสิหิงค์ลอยองค์ ท้าวเวสสุวรรณ รุ่น 1 รุ่น 1 ตะกรุดสาริกาคู่ และเเมลงภู่คำ ต่อเงิน ต่อทอง ก็เป็นเครื่องรางของมงคลเป็นที่ต้องการของลูกศิษย์ลูกหาที่นิยมชมชอบในสายมูเตลู


นอกจากเครื่องรางของขลังต่างๆ แล้ว คนที่มาเยือนวัดป่าแดดต่างก็ต้องการที่จะมาขอพรกับ "องค์พระพิฆเนศ" เทพเจ้าแห่งความสำเร็จ ผู้ขจัดอุปสรรคปัญหาทั้งหลาย โดยพระพิฆเนศของวัดป่าแดดแห่งนี้ก็เป็นที่เลื่องลือว่ามีพลังศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนัก

ใครที่เพิ่งเคยมาครั้งแรกแล้วกลัวจะไหว้ไม่ถูกก็ไม่ต้องกังวล เพราะทางวัดได้เตรียมเอกสารขั้นตอนการไหว้ขอพรให้สัมฤทธิ์ผล พร้อมทั้งของไหว้ต่างๆ ไว้พร้อม โดยเริ่มจากขึ้นไปสักการะ "หลวงพ่อตาหวาน" พระประธานในวิหารหลวงลายคำ อายุกว่า 200 ปี เมื่อกราบพระประธานแล้ว อย่าลืมชมความงามด้านในวิหารที่ภายในเป็นโถงโล่งไม่มีเสา และมีภาพจิตรกรรมฝาผนังเป็นภาพของพระพุทธรูปสำคัญต่างๆ ในล้านนา อาทิ พระแก้วดอนเต้า จ.ลำปาง พระเจ้าทองทิพย์ จ.น่าน โดยวาดและติดด้วยทองคำเปลวอย่างงดงาม


จากนั้นลงมารับเครื่องพลีกรรม (ชุดขอพร) ไปจุดธูป และเทน้ำมันลงในตะเกียงแห่งชีวิตที่หน้าหอมหาเทพบูรพาจารย์ หรือวิหารพระพิฆเนศ ซึ่งเป็นอาคารปูนยกพื้นสูงสถาปัตยกรรมล้านนา ภายในทาสีแดงชาดทั้งหมด เป็นที่ประดิษฐานพระพิฆเนศนามว่า "อุตรศรีคณปติ" แปลว่า ผู้ประทานความสำเร็จในทางทิศเหนือ ซึ่งสร้างจากโลหะสัมฤทธิ์รมดำ มีสี่พระกร ทรงวัชระ บ่วง งา และถ้วยขนม ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของพระวิหารหลวง

ก่อนจะนำเครื่องพลีกรรมนั้นขึ้นไปด้านบนหอ ขึ้นไปกล่าวคำบูชาและอธิษฐานขอพรหน้าศิวลึงค์ เสร็จแล้วนำเครื่องพลีกรรมนั้นไปวางหน้าแท่นพิธีหน้าองค์พระพิฆเนศ แล้วสั่นกระดิ่งดังๆ 9 ครั้ง


แล้วจึงเข้าไปขอพรโดยกระซิบที่หูหนู บริวารและพาหนะที่คอยรับใช้องค์พระพิฆเนศ หากกระซิบหูซ้ายให้ปิดหูขวา กระซิบหูขวาให้ปิดหูซ้าย เมื่ออธิษฐานเสร็จแล้วตักน้ำมนต์ศักดิ์สิทธิ์เทลงบนศิวลึงค์ แล้วเอาฝ่ามือรองรับน้ำมนต์มาลูบศีรษะ

จากนั้นลงมาจากหอมหาเทพบูรพาจารย์ ลงมาลอดท้ององค์พระพิฆเนศ หรือเดินวนลอดใต้หอมหาเทพฯ โดยอ้อมมาทางด้านหลังนั่นเอง บริเวณใต้หอมหาเทพฯ จะเป็นบ่อน้ำทิพย์ ซึ่งเป็นบ่อน้ำเก่าแก่ของวัด เราจะเดินวนตามลูกศร 3 รอบด้วยกัน


ขั้นตอนยังไม่จบเพียงเท่านี้ แต่ต้องไปปิดท้ายด้วยการขึ้นไปโอบเสาไม้สักทองหลวงบนหอพระเพชรกรรมฐาน หรือหอกรรมฐานสำหรับปฏิบัติธรรม เป็นหอไม้สักทองทั้งหลังที่นำเข้ามาจากพม่า ขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการก่อสร้าง เมื่อมาถึงแล้วกราบพระประธาน จากนั้นเข้าไปโอบเสาไม้สักทองหลวงที่อยู่ข้างพระประธานทั้งต้นซ้ายและต้นขวา (เสาเอก-เสาโท) รับพลังมงคล และปิดท้ายด้วยการสั่นระฆัง 3 ครั้ง ก็เป็นอันเสร็จสิ้นพิธีขอพรใดๆ ให้สัมฤทธิ์ผลตามใจปรารถนา


ผู้ที่มาเยือนวัดป่าแดด แม้ไม่ได้ตั้งใจมาบนบานขอพรใดๆ แต่หากได้มาชมวัดงามๆ และได้มากราบองค์พระพิฆเนศ ก็คุ้มค่าไม่น้อยเลยทีเดียว โดยนอกจากวิหารหลวงลายคำและหอมหาเทพบูรพาจารย์แล้ว ก็ยังมีพระเจดีย์ที่ตั้งอยู่ด้านหลังพระวิหาร มีฐานสี่เหลี่ยมยกสูงและซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปปางสมาธิทั้งสี่ด้าน นอกจากนี้ยังมีเจดีย์ขนาดเล็ก 8 องค์ ประดับอยู่บนฐานเจดีย์ องค์เจดีย์นั้นเป็นทรงระฆังสีทอง ส่วนยอดประดับด้วยฉัตรเจ็ดชั้น

นอกจากนั้นยังมีหอไตรอยู่ทางทิศตะวันออกของวิหารพระพิฆเนศ ติดกับกำแพงด้านหน้าของวัด เป็นอาคารปูนสองชั้นหน้าบันเป็นลายไม้ประดับด้วยกระจกสี


#################

วัดป่าแดด
ตั้งอยู่ที่ 70 หมู่ 13 ตำบลป่าแดด อำเภอเมืองเชียงใหม่ สอบถามรายละเอียดโทร. 0 5344 7319 หรือสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับการท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่ได้ที่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานเชียงใหม่ โทร.0 5324 8604

#################

สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ อีเมล์ หรือ ชมคลิปต่าง ๆ ได้ที่ Youtube :Travel MGR และ Instagram : @travelfoodonline และ TikTok : @travelfoodonline