สมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่2 นโยบายของไทย

สมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่2 นโยบายของไทย

สมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่2 นโยบายของไทย

เศรษฐกิจไทยตกต่ำแค่ไหนในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2

เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง อย่างเป็นทางการในปี 1945 ประเทศไทยในฐานะที่ก่อนหน้านี้เป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่น เปิดประเทศให้ญี่ปุ่นเข้ามาใช้พื้นที่เป็นฐานทัพ จึงถูกนับรวมเป็นประเทศที่แพ้สงครามด้วย แม้ว่ารัฐบาลไทยในภายหลังจะประกาศว่า การประกาศสงครามกับสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรเป็นโมฆะ และรัฐบาลยินดีร่วมมือกับสหประชาชาติในการสถาปนาเสถียรภาพโลกใหม่ ยกเลิกกติกาสัมพันธไมตรีกับญี่ปุ่น อย่างไรก็ดี ไทยยังไม่สามารถยกเลิกสถานะสงครามกับสหราชอาณาจักรได้โดยง่าย

นำไปสู่การเจรจาและข้อตกลงเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2489 ข้อตกลงนี้ระบุว่าสถานะสงครามระหว่างประเทศไทย สหราชอาณาจักร และอินเดีย นั้นเป็นอันสิ้นสุดลง แต่จุดสำคัญคือ ไทยต้องรับผิดชอบ โดยมีพันธะผูกพันต่าง ๆ ที่ต้องดำเนินการตามความต้องการของสหราชอาณาจักร ได้แก่

1. การรับผิดชอบคืนทรัพย์สิน สิทธิประโยชน์ทุกชนิดของฝ่ายสหราชอาณาจักรในประเทศไทยและอาณาเขตที่เข้าครอบครองในระหว่างสงคราม
2. การชดใช้ค่าทดแทนส่วนที่วินาศเสียหาย
3. การใช้คืนเงินกู้และเงินบำนาญที่ค้างจ่ายพร้อมทั้งดอกเบี้ย
4. การส่งข้าวสารโดยไม่คิดมูลค่าเป็นจำนวน 1 ล้าน 5 แสนตัน เป็นต้น

ดังนั้น แม้ว่าสงครามจะสิ้นสุดลงแล้ว และภาระค่าใช้จ่ายทางการทหารของญี่ปุ่นก็หมดสิ้นไป แต่ประเทศไทยยังคงมีภาระใหม่ดังที่กล่าวข้างต้นขึ้นมาแทนที่ อีกทั้งยังต้องฟื้นฟูบูรณะประเทศภายหลังสงครามให้กลับสู่ภาวะปกติ ผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมจากสงครามโลกครั้งที่ 2 มีมากมาย ได้แก่ การเสียชีวิตของทหารและพลเรือน โรงงานอุตสาหกรรมและบ้านเรือนถูกทำลายไป การขาดแคลนสิ่งจำเป็นในชีวิตประจำวัน ความอดอยากหิวโหย การเกิดปัญหาเงินเฟ้อ และการว่างงานในเวลาต่อมา

ทางด้านเศรษฐกิจโดยเฉพาะ มีผลกระทบ ดังนี้

1. เกิดผลกระทบต่อผู้บริโภค ผู้ผลิต คนงาน ผู้มีเงินเดือนประจำ
2. ระดับราคาสินค้าสูงเกินไป ทำให้ประชาชนไม่สามารถจะหาซื้อสินค้าที่ต้องการได้
3. สินค้าออกมีราคาสูง และอาจไม่เป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศได้

การฟื้นฟูภาวะเศรษฐกิจหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ในทางสากลประเทศต่าง ๆ มีการใช้นโยบาย การบังคับให้ออม ทำให้ทุนเพิ่มขึ้น มีการปรับปรุงมูลค่าของเงินตราใหม่ เพื่อแก้ไขการขาดแคลนดุลการชำระเงินของประเทศ และมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายจากการแสวงหาอาณานิคม หรือการล่าเมืองขึ้นมาเป็นการแสวงหามิตรประเทศ โดยการให้ความช่วยเหลือทางการเงิน เพื่อฟื้นฟูระบบเศรษฐกิจตลอดจนการพัฒนาในด้านต่าง ๆ การโอนกิจการของเอกชนมาเป็นของรัฐในหลาย ๆ ประเทศ การศึกษาค้นคว้าทางวิทยาการ เทคโนโลยีและสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ อีกทั้งนายทุนเชื้อสายจีนเข้ามามีบทบาทในระบบเศรษฐกิจไทยเป็นอย่างมาก แทนที่นายทุนฝรั่ง ส่วนหนึ่งมาจากยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เพราะสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้ทำให้ ทุนยุโรปที่เคยมีอิทธิพลสูงในวงธุรกิจการเงินต้องปิดกิจการไปจึงเกิดช่องว่างในธุรกิจ

การประกอบกิจการธนาคารพาณิชย์ไทยในระยะแรก ภายหลังสงครามเลิกใหม่ ๆ ยังมิได้เข้าไปมีบทบาทเกี่ยวข้องกับระบบเศรษฐกิจเท่าไรนัก กิจกรรมหลักมักได้แก่การให้บริการแก่ธุรกิจการค้าระหว่างประเทศเป็นสำคัญ โดยเฉพาะด้านการส่งออกและนำเข้า นอกจากนั้นกิจการส่วนใหญ่ของธนาคารยังมุ่งไปในทางช่วยเหลือ ‘กลุ่มการค้า’ ในวงแคบ ๆ ภายในประเทศและต่างประเทศที่มีเครือข่ายการค้าด้วยกันอยู่แล้ว

มาตรการและการปรับตัวเหล่านี้ได้นำประเทศไทยเคลื่อนตัวออกจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำอย่างช้า ๆ แต่ก็ใช้เวลานานมาก เพราะในสมัยรัชกาลที่เจ็ดก็ยังมีภาวะข้าวยากหมากแพง ไหนจะการปฎิรูปทางการเมือง ดังนั้นการกู้คืนสถานะทางเศรษฐกิจของไทยหลังสงครามโลกนั้นเป็นข้อท้าทายทั้งต่อฝั่งการเมือง ราชสำนัก และประชาชนไปในเวลาเดียวกัน

ลงทุนศาสตร์ – Investerest

ติดตามบทความดีดีกดที่นี่เลย FACEBOOK , OFFICIAL LINE และ WEBSITE

พิเศษ! เข้ากลุ่มเรียนหุ้นออนไลน์ฟรีกับลงทุนศาสตร์แบบไม่มีเงื่อนไขได้ที่ : เรียนหุ้นฟรีกับลงทุนศาสตร์

อ้างอิง

ศิลปวัฒนธรรม, จุดเปลี่ยนหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สู้ยุคนายทุนจีนมีอิทธิพลในภาคการเงินไทยแทนฝรั่ง, 13 กรกฎาคม 2564, อ้างอิงจาก https://www.silpa-mag.com/history/article_4445
ศูนย์การเรียนรู้ ธนาคารแห่งประเทศไทย, เงินเฟ้อและการแก้ปัญหาช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2, อ้างอิงจาก https://www.botlc.or.th/item/archive_collection/00000134667
บ้านจอมยุทธ, สภาพเศรษฐกิจและสังคมในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2, อ้างอิงจาก https://www.baanjomyut.com/library_2/history_of_economic_doctrines/11.html

อัพเดทล่าสุดเมื่อ : 26 กุมภาพันธ์ 2022

บทความที่เกี่ยวข้อง

เกี่ยวกับผู้เขียน

ผมเขียนบทความเกี่ยวกับการลงทุนตั้งแต่เบื้องต้น เหมาะสำหรับผู้ลงทุนหรือผู้ที่มีความสนใจที่จะลงทุนที่รักหรือมีทีท่าว่าจะรักในศาสตร์ของการลงทุนเหมือนกัน