การเพิ่มชื่อใน ทะเบียนบ้าน ท.ร. 13

การเพิ่มชื่อเข้าทะเบียนบ้านเล่มเหลืองสำหรับชาวต่างชาติ

การเพิ่มชื่อใน ทะเบียนบ้าน ท.ร. 13

Table of Contents

การเพิ่มชื่อเข้าทะเบียนบ้านเล่มเหลืองสำหรับชาวต่างชาติ “ท.ร.13 มีอะไรต้องรู้บ้าง และต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง”

ปกติแล้วคนไทยจะคุ้นเคยกับทะเบียนบ้านเล่มสีน้ำเงิน หรือท.ร.14 แต่รู้หรือไม่ว่ายังมีทะเบียนบ้านอีกแบบ คือท.ร.13 หรือที่เป็นเล่มสีเหลืองด้วย ซึ่งความแตกต่างคือเล่มสีน้ำเงินนั้นสำหรับผู้มีสัญชาติไทย ส่วนเล่มสีเหลืองสำหรับชาวต่างชาติ บทความนี้จะรวบรวมถึงความสำคัญของทะเบียนบ้านเล่มเหลือง 

ประโยน์ของทะเบียนบ้านเล่มเหลือง

ทะเบียนบ้านเล่มเหลืองหรือท.ร.13 มีไว้ทำไม แน่นอนว่าเอกสารนี้มีประโยชน์มากมาย คุ้มกับการเสียเวลาดำเนินการแน่นอน ชาวต่างชาติที่มีชื่อในทะเบียนบ้านไทยจะได้สิทธิในการทำนิติกรรมในประเทศไทย เช่น ทำใบขับขี่ ทำเอกสารสัญญาต่างๆ ยื่นขอ PR หรือขอสัญชาติ และใช้ยืนยันถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย นอกจากนั้นยังช่วยในการทำเอกสารบัตรประจำตัวชาวต่างชาติหรือบัตรชมพูได้อย่างง่ายดายอีกด้วย

ชาวต่างชาติที่จะขอท.ร.13 ต้องมีคุณสมบัติอะไรบ้าง?

ถึงแม้จะเป็นชาวต่างชาติที่เข้าประเทศมาแบบถูกกฎหมาย แต่อาจจะไม่ใช่ทุกคนที่จะขอท.ร.13 ได้ เพราะคุณสมบัติที่กำหนดไว้ มี 2 กรณีหลักๆดังต่อไปนี้

1. กรณีสมรสกับผู้มีสัญชาติไทย

2. กรณีซื้ออสังหาริมทรัพย์และมีชื่อตนเองเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์

กรณีนอกเหนือจากสองข้อนี้ หากต้องการยื่นขอทะเบียนบ้านเล่มเหลืองหรือ ท.ร.13 ทางเจ้าบ้านจะต้องแสดงความจำนงมาดำเนินการกับทางเขตหรืออำเภอ และจะต้องผ่านการสัมภาษณ์กับเจ้าหน้าที่ถึงเหตุผลจำเป็นในการขอเอกสารนี้ กรณีที่เจ้าของบ้านหรือเจ้าบ้านต้องการขอเอกสารนี้ให้กับชาวต่างชาติที่เป็นผู้เช่าหรือเป็นเพื่อนหรือคู่ค้าทางธุรกิจก็สามารถทำได้เช่นกัน โดยสามารถติดต่อเขตหรืออำเภอที่มีทะเบียนบ้านอยู่เพื่อขอรายละเอียดและลิสต์ของเอกสารที่จำเป็นต้องใช้ได้เลย 

เอกสารที่ต้องเตรียมสำหรับการขอท.ร.13

1. สำหรับชาวต่างชาติที่สมรสกับผู้มีสัญชาติไทย ให้ทั้งเจ้าบ้านและชาวต่างชาติเตรียมเอกสารดังต่อไปนี้

  • หนังสือเดินทางฉบับจริง
  • สำเนาหนังสือเดินทางที่รับรองโดยสถานทูตและแปลเป็นภาษาไทยและรับรองโดยสถานกงสุลไทย
  • ใบอนุญาตทำงานในประเทศไทย (กรณีทำงานในประเทศไทย)
  • ทะเบียนสมรส
  • สูติบัตรบุตร (กรณีมีบุตร)
  • รูปถ่าย 1.5 นิ้วจำนวน 2 รูป
  • บัตรประชาชนตัวจริงของเจ้าบ้าน
  • บัตรประชาชนตัวจริงของคู่สมรส
  • ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านเล่มจริง
  • สำเนาทะเบียนบ้าน (เตรียมมาเผื่อ)

**คู่สมรสชาวไทยต้องอยู่ในทะเบียนบ้านเดียวกันเท่านั้น

**นอกจากนี้ต้องมีพยาน 2 คน และอย่าลืมให้พยานเตรียมบัตรประชาชนให้เรียบร้อย (กรณีสมรส พยาน 2 คนสามารถเป็นเจ้าบ้านและคู่สมรส)

2. สำหรับชาวต่างชาติที่ซื้ออสังหาริมทรัพย์และมีชื่อตนเองเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ ให้เตรียมเอกสารดังต่อไปนี้

  • หนังสือเดินทางฉบับจริง
  • สำเนาหนังสือเดินทางที่รับรองโดยสถานทูตและแปลเป็นภาษาไทยและรับรองโดยสถานกงสุลไทย
  • ใบอนุญาตทำงานในประเทศไทย (กรณีทำงานในประเทศไทย)
  • ท.ร.14 ฉบับภาษาไทย
  • สัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์พร้อมเอกสารยืนยันการถือกรรมสิทธิ์
  • รูปถ่าย 1.5 นิ้วจำนวน 2 รูป

**นอกจากนี้ต้องมีพยาน 2 คน และอย่าลืมให้พยานเตรียมบัตรประชาชนให้เรียบร้อย
หมายเหตุ เอกสารการยื่นขอทะเบียนบ้านเล่มเหลืองจะมีความแตกต่างไปในแต่ละเขตและอำเภอ บางอำเภออาจจะเรียกขอเอกสารเพิ่มเติม จึงแนะนำให้โทรสอบถามกับทางสำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอที่ต้องการไปเพิ่มชื่อเข้าทะเบียนบ้านก่อนเดินทางไปยื่นเอกสาร

ขั้นตอนการยื่นขอท.ร.13

ทะเบียนบ้านในเขตกรุงเทพมหานครให้ติดต่อที่สำนักงานเขต ส่วนทะเบียนบ้านในต่างจังหวัดใหัติดต่อที่ว่าการอำเภอ โดยควรโทรสอบถามถึงเอกสารที่ต้องใช้ก่อนเสมอ เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา

ขั้นตอนการดำเนินการ

  1.  นำเอกสารทั้งหมดไปยื่นต่อเจ้าหน้าที่
  2.  เจ้าหน้าที่ตรวจความเรียบร้อยสมบูรณ์ของเอกสาร จากนั้นจะนัดวันสัมภาษณ์แก่เจ้าบ้าน ชาวต่างชาติที่ต้องการใส่ชื่อเป็นผู้อาศัย และพยาน (หรือบางเขตก็จะทำการสัมภาษณ์ในวันเดียวกันเลยหากเตรียมเอกสารและพยานบุคคลมาพร้อม)
  3. เมื่อสัมภาษณ์เสร็จแล้ว หากเอกสารถูกต้องและไม่มีปัญหาอะไร เจ้าหน้าที่จะแจ้งระยะเวลาการออกทะเบียนบ้านเล่มเหลือง และจะนัดวันให้ไปรับเล่มทร.13 หรืออาจมีการขอเบอร์ติดต่อไว้ เพื่อแจ้งให้มารับเล่ม

การดำเนินการทั้งหมดจะใช้เวลาอย่างน้อย 7 วันทำการ แล้วแต่เขตพื้นที่ที่ดำเนินการ แน่นอนว่าในเขตกรุงเทพมหานครจะใช้เวลาน้อยกว่า เนื่องจากเจ้าหน้าที่มีความคุ้นเคยในการทำเอกสารนี้ ส่วนการดำเนินเรื่องในอำเภอต่างจังหวัด อาจใช้เวลาดำเนินการนาน 2-4 สัปดาห์ 

  • การเพิ่มชื่อใน ทะเบียนบ้าน ท.ร. 13
DetailsDetails

หลักเกณฑ์

การเพิ่มชื่อและรายการบุคคลเข้าในทะเบียนบ้านมีหลายกรณี ได้แก่                  

    1. กรณีตกสำรวจตรวจสอบทะเบียนราษฎรเมื่อปี พ.ศ. 2499 (จะต้องเป็นผู้เกิดก่อนวันที่ 1 มิถุนายน 2499)
    2. กรณีเพิ่มชื่อตามเอกสารทะเบียนราษฎรแบบเดิมที่ยังไม่มีเลขประจำตัวประชาชน ได้แก่ สูติบัตร ใบแจ้งการย้าย ที่อยู่ และทะเบียนบ้าน
    3. กรณีคนสัญชาติไทยที่เดินทางกลับจากต่างประเทศ หรือเกิดในต่างประเทศแล้วเดินทางกลับเข้ามา ในประเทศไทย ทั้งที่มีหลักฐานแสดงว่าเป็นคนไทยและไม่มีหลักฐาน
    4. กรณีอ้างว่าเป็นคนไทยแต่ไม่มีหลักฐานเอกสารมาแสดง
    5. กรณีเด็กอนาถาซึ่งอยู่ในความอุปการะของบุคคล หน่วยงานเอกชน หรือหน่วยงานของรัฐ
    6. กรณีบุคคลที่ลงรายการในทะเบียนบ้านว่า "ตาย" หรือ "จำหน่าย" มาขอเพิ่มชื่อ
    7. กรณีคนต่างด้าวที่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว
    8. กรณีคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย
    9. กรณีที่ไม่มีสัญชาติไทยแต่ต่อมาได้รับสัญชาติไทย
    10. กรณีคนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักรไทย โดยได้รับการผ่อนผันเป็นกรณีพิเศษหรือไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง รวมทั้งผู้เกิดในราชอาณาจักรไทย ซึ่งไม่ได้สัญชาติไทย

ผู้มีหน้าที่แจ้ง
    ได้แก่ เจ้าบ้าน หรือผู้ขอเพิ่มชื่อ บิดา หรือมารดา กรณีผู้ขอเพิ่มชื่อเป็นผู้เยาว์ หรือผู้อุปการะ เลี้ยงดู กรณีเด็กอนาถา

สถานที่ยื่นคำร้อง
    ได้แก่ สำนักทะเบียนอำเภอ หรือสำนักทะเบียนท้องถิ่นที่ผู้ขอเพิ่มชื่อมีภูมิลำเนาอยู่ใน ปัจจุบันเว้นแต่
    1. กรณีเพิ่มชื่อตามสูติบัตรแบบเดิม ให้ยื่นคำร้องที่สำนักทะเบียนที่ออกสูติบัตรฉบับนั้น
    2. กรณีเพิ่มชื่อตามแบบใบแจ้งการย้ายที่อยู่ให้ยื่นคำร้องที่สำนักทะเบียนที่ประสงค์จะขอเพิ่มชื่อ
    3. กรณีเพิ่มชื่อตามทะเบียนบ้านแบบเดิม ให้ยื่นคำร้องที่สำนักทะเบียนที่เคยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ครั้งสุดท้าย
    4. กรณีเพิ่มชื่อของผู้ที่ลงรายการจำหน่ายหรือตายไว้แล้ว ให้ยื่นคำร้องที่สำนักทะเบียนที่ผู้นั้นเคยมีชื่อ ในทะเบียนบ้าน ก่อนถูกจำหน่ายรายการ

เอกสารที่ใช้ในการติดต่อ
เอกสารที่ใช้ในการติดต่อ แบ่งเป็น 2 กรณี

กรณีมีหลักฐานมาแสดง
    1. บัตรประจำตัวเจ้าบ้านหรือผู้แจ้ง
    2. สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
    3. รูปถ่ายผู้ขอเพิ่มชื่อ 1 รูป (กรณีผู้ขอเพิ่มชื่ออายุเกิน 7 ปี)
    4. ทะเบียนบ้านหรือสำเนาทะเบียนบ้านฉบับปีพ.ศ. 2499 , พ.ศ. 2515 หรือ พ.ศ. 2526
    5. ใบสูติบัตร (แบบเดิมซึ่งไม่มีเลขประจำตัวประชาชน)
    6. ใบแจ้งการย้ายที่อยู่ (แบบเดิมจึงไม่มีเลขประจำตัวประชาชน)

กรณีไม่มีหลักฐานมาแสดง
    1. บัตรประจำตัวเจ้าบ้านหรือผู้แจ้ง
    2. สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
    3. รูปถ่ายของผู้ขอเพิ่มชื่อ 1 รูป (กรณีผู้ขอเพิ่มชื่ออายุเกิน 7 ปี)
    4. บัตรประจำตัวบิดา มารดา (ถ้ามี)
    5. บัตรประจำตัวพยานบุคคลที่ให้การรับรอง
    6. เอกสารประกอบ เช่น หลักฐานการศึกษา (ถ้ามี) ส.ด.9 (ถ้ามี)

ขั้นตอนในการติดต่อ
    * 1. การยื่นเอกสารและหลักฐาน
    - กรณีมีหลักฐานมาแสดงให้ยื่นต่อนายทะเบียนท้องที่ที่ผู้ร้องขอเพิ่มชื่อปรากฎรายการในเอกสารนั้น ๆ
    - กรณีไม่มีหลักฐานมาแสดงให้ยื่นต่อนายทะเบียนท้องที่ที่ผู้ร้องอาศัยอยู่ในปัจจุบัน
    * 2. นายทะเบียนตรวจสอบหลักฐาน
    * 3. ตรวจสอบรายการในฐานข้อมูลการทะเบียนราษฎร
    * 4. สอบสวนพยานบุคคลที่ให้การรับรอง
    * 5. บันทึกข้อมูลเกี่ยวกับตัวบุคคลที่ขอเพิ่มชื่อ ผู้แจ้ง และพยานบุคคลที่ให้การรับรองและให้บุคคลดังกล่าวลงลายมือชื่อ หรือพิมพ์ลายนิ้วมือ  ตามแบบ ท.ร.25
    * 6. รวบรวมหลักฐานเสนอผู้มีอำนาจอนุมัติในการเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน
    * 7. คืนหลักฐานให้ผู้แจ้ง