แผนที่แสดงจุดเสี่ยงภัยแผ่นดินไหว

แผนที่แสดงจุดเสี่ยงภัยแผ่นดินไหว

กรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 75/10 ถ.พระรามที่6 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กทม. 10400

เบอร์โทร: 02-621-9500

ติดต่อผู้ดูแลเว็บไซต์ :

ติดต่อสารบรรณ :

  • แผนผังเว็บไซต์

รวม Link ที่น่าสนใจ

แผนที่แสดงจุดเสี่ยงภัยแผ่นดินไหว

แผนที่แสดงจุดเสี่ยงภัยแผ่นดินไหว

แผนที่แสดงจุดเสี่ยงภัยแผ่นดินไหว

แผนที่แสดงจุดเสี่ยงภัยแผ่นดินไหว

แผนที่แสดงจุดเสี่ยงภัยแผ่นดินไหว

แผนที่แสดงจุดเสี่ยงภัยแผ่นดินไหว

แผนที่แสดงจุดเสี่ยงภัยแผ่นดินไหว

หน้าหลัก

องค์กรของเรา

  • ประวัติความเป็นมา
  • วิสัยทัศน์
  • คณะผู้บริหาร
  • ผู้บริหาร (ในอดีต)
  • โครงสร้าง
  • ยุทธศาสตร์กรมทรัพยากรธรณี
  • แผนปฏิบัติราชการ
  • แผนและงบประมาณ
  • รายงานประจำปี
  • แผนดิจิทัลกรมทรัพยากรธรณี
  • แผนปฏิบัติการด้านการวิจัยกรมทรัพยากรธรณี
  • การรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ
  • แผนบริหารความเสี่ยงกรมทรัพยากรธรณี

ข้อมูลวิชาการ

  • ด้านธรณีวิทยา
  • ด้านแร่
  • ด้านเทคโนโลยีธรณี
  • ด้านธรณีพิบัติภัย
  • ด้านแหล่งไดโนเสาร์และซากดึกดำบรรพ์
  • การนำเสนอผลงานวิชาการผ่านการประชุมออนไลน์

ข้อมูลบริการ

  • ห้องสมุดกรมทรัพยากรธรณี
  • พิพิธภัณฑ์ธรณีวิทยา
  • บริการด้านแผนที่
  • วิเคราะห์ตรวจสอบหินแร่และรัตนชาติหรืออัญมณี
  • คู่มือประชาชน

ติดต่อเรา

  • แผนที่แสดงที่ตั้งหน่วยงาน
  • หน่วยงานส่วนกลาง
  • สำนักงานเขตภูมิภาค

นโยบายเว็บไซต์ | นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล | นโยบายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยเว็บไซต์

© สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์โดย กรมทรัพยากรธรณี

จำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ : 8,403,219 คน | จำนวนผู้เยี่ยมชมปี 2565 : 288,943 คน

แผนที่แสดงจุดเสี่ยงภัยแผ่นดินไหว
แผนที่แสดงจุดเสี่ยงภัยแผ่นดินไหว

แผนที่แสดงจุดเสี่ยงภัยแผ่นดินไหว

          แผ่นดินไหวเป็นภัยธรรมชาติที่ไม่สามารถทำนายการเกิดล่วงหน้าได้ในทางวิทยาศาสตร์ ดังนั้นจึงยากที่จะสื่อสารกับคนทั่วไปได้อย่างชัดเจน สิ่งที่ทำได้คือการบอกว่าบริเวณไหนมีความเสี่ยง ให้ประชาชนมีการเตรียมพร้อมที่ดีเมื่อต้องอยู่ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงนั้น

แผ่นดินไหวไม่ใช่เรื่องไกลตัวคนไทย

แผนที่แสดงจุดเสี่ยงภัยแผ่นดินไหว
แผ่นดินไหวที่เชียงราย ปี 2557

หลายคนยังเข้าใจว่าแผ่นดินไหวเป็นเรื่องไกลตัวของคนไทย แต่บางทีอาจต้องเปลี่ยนความคิดใหม่ เนื่องจากหลายปีที่ผ่านมา ภัยพิบัติรูปแบบนี้เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าโดยมีจุดศูนย์กลางที่เกิดทั้งในประเทศไทย หรือ ประเทศเพื่อนบ้าน เช่น เมียนมาร์ ลาว เวียดนาม ส่งแรงสั่นสะเทือนเบาบ้าง แรงบ้าง ครอบคลุมพื้นที่ทางภาคเหนือ บางส่วนของภาคอีสาน ภาคกลาง และภาคตะวันตก รวมถึงอาคารสูงบางแห่งของเมืองหลวง ร้ายแรงที่สุดคงจะเป็นในปี พ.ศ.2557 ณ อำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย ก่อให้เกิดแรงสั่นสะเทือนที่สามารถรับรู้ได้ถึง 7 จังหวัด

ผศ.ดร.ธีรพันธ์ อรธรรมรัตน์ หัวหน้าโครงการวิจัย “โครงการปรับปรุงแผนที่ความเสี่ยงแผ่นดินไหวในประเทศไทยแบบบูรณาการข้อมูล” ระบุว่า แม้ประเทศไทยไม่ได้ตั้งอยู่ใกล้ขอบแผ่นเปลือกโลก แต่จริงๆ แล้วเรามี “รอยเลื่อนมีพลัง” อยู่เป็นจำนวนมาก แผ่นดินไหวจึงมีโอกาสเกิดขึ้นได้ โดยบริเวณที่มีความเสี่ยงส่วนใหญ่อยู่ภาคเหนือกับตะวันตก

แผนที่แสดงจุดเสี่ยงภัยแผ่นดินไหว
รอยเลื่อนมีพลังในประเทศไทย

ตามข้อมูลของกรมทรัพยากรธรณี รอยเลื่อนมีพลังที่พาดผ่านประเทศไทย ได้แก่ รอยเลื่อนแม่จัน (ผ่านเชียงราย เชียงใหม่) รอยเลื่อนแม่อิง (ผ่านเชียงราย) รอยเลื่อนแม่ฮ่องสอน (ผ่านแม่ฮ่องสอน ตาก) รอยเลื่อนเมย (ผ่านตาก กำแพงเพชร) รอยเลื่อนแม่ทา (ผ่านเชียงใหม่ ลำพูน เชียงราย) รอยเลื่อนเถิน (ผ่านลำปาง แพร่) รอยเลื่อนพะเยา (ผ่านพะเยา เชียงราย ลำปาง) รอยเลื่อนปัว (ผ่านน่าน) รอยเลื่อนอุตรดิตถ์ (ผ่านอุตรดิตถ์) รอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ (ผ่านกาญจนบุรี) รอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ (ผ่านกาญจนบุรี สุพรรณบุรี อุทัยธานี ตาก) รอยเลื่อนระนอง (ผ่านระนอง ชุมพร ประจวบคีรีขันธ์ พังงา) รอยเลื่อนคลองมะรุ่ย (ผ่านสุราษฎร์ธานี กระบี่ พังงา) รอยเลื่อนเพชรบูรณ์ (ผ่านเพชรบูรณ์) รอยเลื่อนแม่ลาว (ผ่านเชียงราย) และรอยเลื่อนเวียงแห (ผ่านเชียงใหม่)

ภาคเหนือกับภาคตะวันตกมีรอยเลื่อนที่มีพลังเยอะ แผ่นดินไหวจึงเกิดขึ้นได้บ่อยกว่า แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าบริเวณที่ไม่เคยเจอแผ่นดินไหวจะเกิดแผ่นดินไหวขึ้นไม่ได้

รอยเลื่อนที่รอเวลาปลดปล่อยพลังงาน

การศึกษาเกี่ยวกับเรื่องภัยแผ่นดินไหวในประเทศไทยยังมีไม่มากนัก มันจึงยากที่จะบอกได้ว่ารอยเลื่อนไหนสามารถทำให้เกิดแผ่นดินไหวระดับ 6 Magnitude หรือมากกว่านั้นได้ (หากเกิดที่ความลึกตื้นๆ ในบริเวณที่มีชุมชนอยู่จะทำให้เกิดความเสียหายได้สูง)

แผนที่แสดงจุดเสี่ยงภัยแผ่นดินไหว
รอยเลื่อนแม่จัน

ผศ.ดร.ธีรพันธ์ กล่าวว่า “ช่วง 10 ปีที่ผ่านมาเกิดแผ่นดินไหวบ่อย บริเวณจังหวัดเชียงรายใกล้ๆ เมืองเชียงแสนซึ่งเป็นเมืองโบราณ โดยตำแหน่งอยู่ใกล้ “รอยเลื่อนแม่จัน” มาก ซึ่งในอดีตเชื่อว่ารอยเลื่อนนี้ทำให้โยนกนครล่ม หมายความว่ารอยเลื่อนแม่จันเป็น “Seismic gap คือบริเวณที่เราเชื่อว่าแผ่นดินไหวจะเกิดขึ้นได้ในอีกอนาคตและจะเกิดแผ่นดินไหวขนาด 6.5 หรือมากกว่านั้น หลักฐานและข้อมูลเหล่านี้ชี้ให้เห็นว่ารอยเลื่อนบริเวณนี้การสะสมพลังงานอยู่ เพียงแต่รอบการเกิดยังไม่ถึงรอบของมัน แต่มันจะเกิดขึ้น นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมคนไทยจึงต้องตื่นตัวกับแผ่นดินไหวขนาดใหญ่”

จากงานวิจัยสู่แผนที่ความเสี่ยงแผ่นดินไหว

หลายประเทศมีการใช้แผนที่ความเสี่ยงแผ่นดินไหว อย่างเช่น สหรัฐอเมริกา หรือ ประเทศในยุโรป ซึ่งการทำแผนที่ความเสี่ยงแผ่นดินไหวที่ดีต้องมีการใช้ความรู้จากนักวิชาการหรืออาจารย์ที่มีความสามารถหลายศาสตร์มาช่วยกัน เพราะความรู้ด้านธรณีวิทยาอย่างเดียวไม่ตอบโจทย์ได้ครบทุกมิติ

ในย่านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นย่านเดียวที่ยังไม่ได้มีการพัฒนาการลดความเสี่ยงของแผ่นดินไหวโดยใช้ฐานข้อมูลของ Global Earthquake Model (GEM) และ ซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นมา ดังนั้นการเรียนรู้จากฐานข้อมูลที่ได้มีการพัฒนาและซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นมาจากโครงการ GEM จึงเป็นโอกาสอันดีที่จะทำให้การดำเนินการจัดทำแผนที่ความเสี่ยงของแผ่นดินไหวในประเทศไทยนั้นมีการจัดการอย่างเป็นระบบมากขึ้น

“โครงการปรับปรุงแผนที่ความเสี่ยงแผ่นดินไหวในประเทศไทยแบบบูรณาการข้อมูล” มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับประเทศใกล้เคียง อย่างเช่น เมียนมาร์และเวียดนาม เนื่องจากรอยเลื่อนหลายๆ รอย ในประเทศเหล่านี้มีตำแหน่งอยู่ใกล้ประเทศไทยซึ่งอาจจะทำให้เกิดผลกระทบขึ้นได้ในอนาคต การแลกเปลี่ยนข้อมูลและการดำเนินการร่วมกันจึงจะทำให้การจัดการภัยแผ่นดินไหวของประเทศไทยในภาพรวมนั้นดีขึ้น

โดยงานวิจัยมีการศึกษาซอฟต์แวร์ที่พัฒนาจากโครงการ GEM เพื่อทำการประเมินความเสี่ยงและรวบรวมข้อมูลที่พัฒนาจากโครงการ GEM เพื่อนำมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับประเทศไทย และทำการจัดประชุมผู้เชี่ยวชาญจากประเทศเมียนมาร์และเวียดนาม เพื่อทำการแลกเปลี่ยนข้อมูลรอยเลื่อนและแผ่นดินไหวซึ่งอาจผลส่งผลกระทบต่อประเทศไทย

ทั้งนี้ คณะวิจัยได้คำนวณความรุนแรงแผ่นดินไหวจากแบบจำลองแผ่นดินไหวเพื่อจัดทำเป็นแผนที่ความเสี่ยงแผ่นดินไหว ซึ่งประกอบด้วยแผนที่ที่แสดงพารามิเตอร์แผ่นดินไหวที่คาดการณ์การเกิดแผ่นดินไหว โดยภาคเหนือยังคงเป็นพื้นที่เสี่ยงสูงที่จะได้รับผลกระทบจากภัยแผ่นดินไหว

ผศ.ดร.ธีรพันธ์ กล่าวว่า “ทีมวิจัยทำงานร่วมกับกรมโยธาธิการและผังเมือง แผ่นดินไหวที่เชียงรายเมื่อปี พ.ศ.2557 ทีมวิจัยได้ลงไปเก็บข้อมูลความเสียหายของอาคาร ซึ่งเราพบว่า อาคารบ้านเรือนที่ได้รับความเสียหายจำนวนมากเป็นอาคารที่วิศวกรไม่ได้เข้าไปยุ่งเลย ชาวบ้านสร้างกันเอง คำจำกัดความอาคารเหล่านี้ก็คือ สร้างเร็ว สร้างง่าย สร้างถูก เพราะฉะนั้นเวลาเกิดแผ่นดินไหวที่ระดับความแรงไม่ควรเกิดความเสียหาย แต่อาคารพวกนี้จะเกิดความเสียหายเป็นประจำ”

แผนที่แสดงจุดเสี่ยงภัยแผ่นดินไหว
สภาพอาคารบ้านเรือนที่เสียหายจากแผ่นดินไหวที่เชียงราย เมื่อปี 2557

ปัจจุบัน ภาครัฐมีมาตรฐานการออกแบบอาคารต้านแผ่นดินไหวอยู่แล้ว เพียงแต่บังคับใช้กับอาคารสาธารณะ หรืออาคารที่มีความสูงมากกว่า 15 เมตรเท่านั้น ทั้งนี้ความเสี่ยงแผ่นดินไหวของพื้นที่ย่อยอาจแตกต่างกัน จำเป็นต้องมีการจัดทำแผนที่ความเสี่ยงภัยแบบแบ่งเขตย่อยของแต่ละเมือง หากประเทศไทยมีแผนที่ความเสี่ยงแผ่นดินไหวที่มีประสิทธิภาพ จะสามารถประยุกต์ใช้กับการออกแบบอาคารได้ในทุกพื้นที่ของประเทศไทย ซึ่งหากอยู่ในพื้นที่เสี่ยงโดยเฉพาะภาคเหนือหรือภาคตะวันตก และต้องการสร้างอาคารใหม่ ก็สร้างตามมาตรฐานเพื่อสร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินที่มากยิ่งขึ้น

แม้นานๆ ครั้งแผ่นดินไหวจะส่งผลกระทบและความเสียหายอย่างหนักในประเทศไทย แต่หากในหลายพื้นที่สามารถรับรู้ได้ถึงแรงสั่นสะเทือนเกือบทุกๆ ครั้งที่เกิดขึ้น อาจต้องย้อนมาตั้งคำถามกับตัวเองว่า ถึงเวลาแล้วหรือไม่ที่คนไทยจะต้องตื่นตัวและเตรียมรับมือกับความรุนแรงของแผ่นดินไหวในอนาคต

เรียบเรียงและอ้างอิงข้อมูลจาก

โครงการวิจัย

“โครงการปรับปรุงแผนที่ความเสี่ยงแผ่นดินไหวในประเทศไทยแบบบูรณาการข้อมูล”

หัวหน้าโครงการ

ผศ.ดร.ธีรพันธ์ อรธรรมรัตน์

ภาควิชาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

สนับสนุนการวิจัยโดย

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)