ประเมินภาวะขาดออกซิเจน มีกี่ระดับ

ภาวะพร่องออกซิเจน (HYPOXIA)

ภาวะพร่องออกซิเจน หมายถึง ภาวะที่ร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย เป็นสาเหตุให้การทำงานของร่างกายและสมองบกพร่อง

ชนิดของภาวะพร่องออกซิเจน

แบ่งตามสาเหตุได้เป็น ๔ ชนิด คือ

๑. ภาวะพร่องออกซิเจนซึ่งร่างกายได้รับออกซิเจนน้อย (Hypoxic Hypoxia) เป็นภาวะพร่องออกซิเจนที่พบได้บ่อยที่สุดเกิดขึ้นเนื่องจาก

๑.๑ ความกดดันของออกซิเจนในถุงลมปอดลดลง มักเกิดขึ้นจากการขึ้นไปอยู่ในที่สูง ซึ่งความกดบรรยากาศลดลง ทำให้ความกดดันย่อยของออกซิเจนลดลงด้วย จึงอาจเรียกภาวะพร่องออกซิเจนแบบนี้ว่า ภาวะพร่องออกซิเจนจากระยะสูง (Altitude Hypoxia) นอกจากนี้แล้วอาจเกิดจากการกลั้นหายใจ โรคหอบหืด อากาศที่หายใจมีก๊าซอื่นปะปน เป็นต้น

๑.๒ พื้นที่ซึ่งใช้ในการแลกเปลี่ยนก๊าซระหว่างปอดกับกระแสโลหิตลดลง เช่น ปอดบวม ปอดแฟบ มีลมในช่องปอด จมน้ำ เป็นต้น

๑.๓ ออกซิเจนไม่สามารถซึมผ่านจากถุงลมปอดไปสู่กระแสโลหิตได้สะดวก เช่น ปอดบวม จมน้ำ โรคเยื่อไฮยาลีน เป็นต้น

๒. ภาวะพร่องออกซิเจนซึ่งมีสาเหตุจากเลือด (Hypemic Hypoxia)

เป็นภาวะพร่องออกซิเจน ที่เกิดจากความบกพร่องในการนำพาออกซิเจนไปสู่เซลล์ต่างๆ ของร่างกาย เช่น จำนวนเม็ดเลือดแดงในกระแสโลหิตลดลงจากโรคโลหิตจาง หรือการเสียเลือด ภาวะผิดปกติของสารเฮโมโกลบิน (Hemoglobin) ทำให้เม็ดเลือดแดงไม่สามารถจับออกซิเจนได้ตามปกติ ตลอดจนการที่ร่างกายได้รับยาหรือสารพิษบางอย่าง ที่ทำให้สารเฮโมโกลบิน หรือเม็ดเลือดแดง เกิดความบกพร่องในการจับออกซิเจน เช่น ยากลุ่มซัลฟานิลาไมด์ (Sulfanilamides) สารไซยาไนด์ (Cyanide) หรือก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (Carbon Monoxide) เป็นต้น

๓. ภาวะพร่องออกซิเจนซึ่งมีสาเหตุจากการคั่งของกระแสโลหิต (Stagnant Hypoxia)

เป็นภาวะพร่องออกซิเจน ที่เกิดขึ้นจากความบกพร่องในการไหลเวียนของกระแสโลหิต เช่น การลดลงของปริมาณแรงดันเลือดจากหัวใจ เนื่องจากโรคหัวใจล้มเหลว หรือภาวะเลือดคั่งอยู่ที่ร่างกายส่วนล่างเนื่องจากแรง G เป็นต้น

๔. ภาวะพร่องออกซิเจนซึ่งมีสาเหตุจากภาวะเป็นพิษของเซลล์ (Histotoxic Hypoxia)

เป็นภาวะพร่องออกซิเจน ซึ่งเกิดขึ้นจากการที่เซลล์ต่างๆ ของร่างกายไม่สามารถนำเอาออกซิเจนไปใช้ได้เนื่องจากได้รับสารพิษ เช่น แอลกอฮอล์ ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ สารไซยาไนด์ เป็นต้น

อาการของภาวะพร่องออกซิเจน

ภาวะพร่องออกซิเจนนับว่า เป็นอันตรายอย่างยิ่ง เนื่องจากมักจะเกิดอาการขึ้นในลักษณะค่อยเป็นค่อยไป โดยไม่รู้สึกตัว (Insidious onset) จนหมดสติไปในที่สุด โดยทั่วไปแล้ว มีอาการ และอาการแสดง ดังนี้

อาการ (Subjective symptoms)

เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นโดยตนเองรู้สึกได้เช่น มึนงง วิงเวียน ปวดศีรษะ คลื่นไส้ ร้อนๆ หนาวๆ วูบวาบตามตัว มือเท้าชา ตาพร่ามัว ลานสายตาแคบลง เคลิ้มฝันเป็นสุข (euphoria) ไม่รู้สึกวิตกกังวลใดๆ เป็นต้น อาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นกับแต่ละคน และแต่ละวัน อาจจะแตกต่างกันไป ซึ่งตัวเองอาจสังเกต และจดจำไว้ เป็นสัญญาณเตือนให้ทราบว่า กำลังเกิดภาวะพร่องออกซิเจนขึ้นแล้ว

อาการแสดง (Objective signs)

เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น โดยผู้อื่นสามารถสังเกตเห็นหรือตรวจพบได้ เช่น หายใจเร็วและลึกขึ้น (air hunger) เขียวคล้ำ (cyanosis) สับสน (confusion) การทำงานของกล้ามเนื้อไม่ประสานกัน (muscle incoordination) หรือหมดสติในที่สุด

ระยะเวลาครองสติ (Time of Useful Consiousess)

คือ ระยะเวลาตั้งแต่ร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ ทำให้เกิดอาการของภาวะพร่องออกซิเจนขึ้น จนกระทั่งหมดประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ซึ่งขณะนั้นอาจจะยังไม่ถึงกับหมดสติก็ได้ ระยะเวลาดังกล่าวขึ้นอยู่กับระยะสูง ที่ทำการบิน ซึ่งมีค่าเฉลี่ยตามตารางแสดงระยะเวลาครองสติที่ระยะสูงต่างๆ

ประเมินภาวะขาดออกซิเจน มีกี่ระดับ

ตารางแสดงระยะเวลาครองสติที่ระยะสูงต่างๆ

Share:

Hypoxemia หรือภาวะพร่องออกซิเจนในเลือด เป็นภาวะที่ร่างกายมีระดับออกซิเจนในเลือดต่ำกว่าปกติจนร่างกายไม่สามารถทำงานได้ และผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม เพราะหากปล่อยทิ้งไว้อาจเป็นอันตรายถึงชีวิต 

นอกจากนี้ ภาวะ Hypoxemia ยังมีความคล้ายคลึงกับภาวะ Hypoxia หรือภาวะเนื้อเยื่อพร่องออกซิเจนที่ผู้ป่วยจะมีเลือดในเนื้อเยื่อน้อยกว่าปกติ ในบางครั้งผู้ป่วยอาจมีอาการของทั้ง 2 ภาวะนี้เกิดขึ้นในเวลาเดียวกันได้ แพทย์จึงจะเลือกวิธีการรักษาตามสาเหตุและอาการของผู้ป่วยเป็นหลัก

ประเมินภาวะขาดออกซิเจน มีกี่ระดับ

อาการของ Hypoxemia

ผู้ที่ป่วยด้วยภาวะ Hypoxemia มักจะมีอาการหายใจไม่อิ่มหรือหายใจเป็นเสียงหวีด ปวดศีรษะ หัวใจเต้นเร็ว ไอ รู้สึกสับสนหรือมึนงง เล็บ ริมฝีปากหรือผิวเป็นสีม่วงคล้ำ

อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยควรไปพบแพทย์หากมีอาการหายใจไม่อิ่มหลังออกแรงเพียงเล็กน้อยหรือขณะพักผ่อน อาการหายใจไม่อิ่มรุนแรงขึ้นเมื่อออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมที่ต้องใช้แรง หรือมีอาการของภาวะหยุดหายใจขณะหลับอย่างการสะดุ้งตื่นกลางดึกเพราะหายใจไม่อิ่มหรือรู้สึกเหมือนสำลัก

ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการหายใจไม่อิ่มร่วมกับอาการไอ หัวใจเต้นเร็ว หรือมีอาการเหล่านี้ระหว่างเดินทางไปยังพื้นที่สูง ควรนำตัวผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด เนื่องจากเป็นภาวะที่ปอดทำงานผิดปกติและอาจเป็นอาการของภาวะ High Altitude Pulmonary Edema (HAPE) ที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

สาเหตุของ Hypoxemia

ตามปกติแล้วเลือดจะทำหน้าที่ลำเลียงออกซิเจนเข้าสู่เซลล์ของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย เพื่อให้อวัยวะเหล่านั้นสามารถทำงานได้ตามปกติ หากปริมาณออกซิเจนในเลือดมีน้อยกว่าปกติจะทำให้เกิด Hypoxemia ตามมา โดยอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น

  • อากาศที่หายใจเข้าไปมีออกซิเจนไม่เพียงพอ เช่น เมื่อเดินทางขึ้นที่สูงหรือปีนเขา ทำให้ออกซิเจนลดลง เป็นต้น
  • ปอดทำงานผิดปกติ อาทิ ผู้ที่ป่วยด้วยโรคปอดอักเสบ โรคหืด โรคถุงลมโป่งพอง (Emphysema) หรือภาวะปอดรั่ว (Pneumothorax)
  • เป็นผลมาจากภาวะหรือโรคอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อการลำเลียงออกซิเจนเข้าสู่กระแสเลือด เช่น ภาวะโลหิตจาง ภาวะทางเดินหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน หรือโรคหัวใจ เป็นต้น
  • เป็นผลจากการใช้ยาชนิดต่าง ๆ อย่างยาเสพติดหรือยาชา
  • การป่วยด้วยโรคโควิด-19 (COVID-19)

การวินิจฉัย Hypoxemia

แพทย์จะวินิจฉัย Hypoxemia ด้วยการตรวจร่างกายเพื่อฟังเสียงการทำงานของปอดและหัวใจ ตรวจดูริมฝีปาก นิ้วหรือผิวว่าเป็นสีม่วงคล้ำหรือไม่ ซึ่งเป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงระดับออกซิเจนในเลือดต่ำ รวมทั้งตรวจการทำงานของอวัยวะที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ

นอกจากนี้ แพทย์อาจวัดระดับออกซิเจนในเลือดด้วยวิธีอื่นเพิ่มเติมเพื่อยืนยันผลการวินิจฉัย เช่น การวัดความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด (Pulse Oximetry) ด้วยการหนีบอุปกรณ์พิเศษไว้ที่ปลายนิ้ว การตรวจวิเคราะห์ก๊าซในเลือดแดง (Arterial Blood Gas Test) ด้วยการนำตัวอย่างเลือดจากหลอดเลือดแดงไปวัดระดับออกซิเจนในเลือด หรือการเป่าลมหายใจเข้าเครื่องที่เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ที่ช่วยในการวิเคราะห์ เป็นต้น

การรักษา Hypoxemia

การรักษาภาวะ Hypoxemia จะเน้นไปที่การเพิ่มระดับออกซิเจนในเลือดของผู้ป่วยให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ และรักษาตามสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการเป็นหลัก ในกรณีที่สงสัยว่าอาการป่วยเกิดจากปอดทำงานผิดปกติ แพทย์อาจรักษาภาวะหรือโรคที่เป็นสาเหตุของ Hypoxemia ด้วยการใช้ยาพ่นเพื่อให้ยาเข้าสู่ปอดได้โดยตรง

สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง แพทย์อาจใช้การบำบัดด้วยออกซิเจน (Oxygen Therapy) โดยผู้ป่วยจะได้รับออกซิเจนผ่านทางท่อขนาดเล็กหรือหน้ากากช่วยหายใจ ซึ่งปริมาณและสถานที่ในการรับออกซิเจนเสริมจะแตกต่างกันออกไปในแต่ละคน

ภาวะแทรกซ้อนของ Hypoxemia

Hypoxemia ส่งผลต่อการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย เนื่องจากการไม่ได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ โดยอาจทำให้เกิดอาการตัวเขียว (Cyanosis) ทำให้ผิวของผู้ป่วยเปลี่ยนเป็นสีเขียวคล้ำหรือม่วง โดยเฉพาะบริเวณริมฝีปาก มือ เล็บหรือเท้า มีเหงื่อออกมาก หายใจเป็นเสียงหวีด

นอกจากนี้ ยังอาจเกิดภาวะเนื้อเยื่อพร่องออกซิเจน (Hypoxia) เนื่องจากร่างกายไม่สามารถลำเลียงออกซิเจนไปยังอวัยวะต่าง ๆ ได้อย่างเพียงพอ ซึ่งหากผู้ป่วยมีภาวะดังกล่าวติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจทำให้ถึงแก่ชีวิตได้ เนื่องจากหัวใจและสมองมีเลือดไปหล่อเลี้ยงไม่เพียงพอ

การป้องกัน Hypoxemia

การลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะ Hypoxemia ทำได้โดยการเลิกสูบบุหรี่ และรับการฉีดวัคซีนที่ช่วยป้องกันภาวะปอดติดเชื้อ เช่น วัคซีนโควิด-19 วัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบ และวัคซีนไข้หวัดใหญ่

นอกจากนี้ ควรดูแลสุขภาพตนเองให้แข็งแรงด้วยการดื่มน้ำให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เลิกสูบบุหรี่ ฝึกหายใจเข้าออกลึก ๆ อย่างถูกวิธี และออกกำลังกายด้วยกิจกรรมที่ไม่หนักจนเกินไป อย่างการเดินหรือการเล่นโยคะ ซึ่งอาจช่วยเพิ่มระดับออกซิเจนในเลือดและลดความเสี่ยงที่เกิดภาวะ Hypoxemia