โปรแกรมเกี่ยวกับการนำเสนอข้อมูล 5 โปรแกรม

โปรแกรมนำเสนอข้อมูล

แนะ นำโปรแกรม

โปรแกรม นำเสนองานที่ศึกษาในบทนี้จะใช้โปรแกรม Microsoft PowerPoint ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ใช้งานได้ง่าย และสะดวกในการใช้งานมาก โปรแกรมนี้จึงเป็นโปรแกรมที่นิยมใช้กันแพร่หลาย Microsoft PowerPoint เป็นโปรแกรมหนึ่งในชุดของโปรแกรม Microsoft Office 2003 มีคุณสมบัติหลายอย่างได้รับการพัฒนาให้มีขีดความสามารถมากขึ้น ใช้ในการนำเสนอข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ ผู้ใช้สามารถสร้างงานในการนำเสนอได้หลากหลายรูปแบบ โดยสามารถนำข้อความ รูปภาพ ตาราง แผนภูมิต่าง ๆ ตลอดจนภาพเคลื่อนไหวและเสียง มาประกอบเข้าด้วยกันเป็นลักษณะสื่อประสมเพื่อสร้างเป็นงานนำเสนอต่อผู้อื่น ได้อย่างสวยงามและน่าตื่นตาตื่นใจ

การ เข้าสู่โปรแกรม

โปรแกรมเกี่ยวกับการนำเสนอข้อมูล 5 โปรแกรม

1. คลิกที่ปุ่ม Start

2. เลือกเมนู Program

3. เลือกเมนู Microsoft Office

(บางเครื่องอาจไม่มีเมนูนี้)

4. คลิกที่ Microsoft PowerPoint

ส่วน ประกอบของหน้าจอ

1. แถบหัวเรื่อง (Titlebar) คือแถบที่ใช้แสดงชื่อโปรแกรมและชื่อไฟล์ที่เปิดอยู่ในขณะนั้น

2. เมนู (Menubar) คือแถบที่ใช้เก็บรวบรวมคำสั่งทั้งหมดที่ใช้ในโปรแกรม

3. แถบเครื่องมือ (Toolbar) คือแถบที่ใช้เก็บปุ่มคำสั่งที่ต้องการเรียกใช้งานบ่อย ๆ

4. แท็บภาพนิ่ง (Slide Tab) คือพื้นที่ที่ใช้แสดงรูปสไลด์แบบเล็ก ๆ เพื่อให้ผู้ใช้เห็นภาพโดยรวม

5. แท็บเค้าร่าง (Outline Tab) คือแท็บที่ใช้แสดงเค้าโครงข้อความที่อยู่ในแต่ละสไลด์

6. พื้นที่แสดงสไลด์ (Slide Area) คือพื้นที่สำหรับการตกแต่งสไลด์ เช่น พิมพ์ข้อความ,วาดรูป

7. หน้าต่างบันทึกย่อ (Note Pane) คือพื้นที่ส่วนที่ใช้ในการพิมพ์บันทึกย่อเพื่ออธิบายเพิ่มเติม

8. มุมมองสไลด์ (Slide View) คือพื้นที่ที่ใช้ในการมองสไลด์ในมุมมองแบบต่าง ๆ

9. บานหน้าต่างงาน (Task Pane) ส่วนที่ใช้แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับรูปแบบในการสร้างสไลด์

วิธี สร้างงานนำเสนอ

การ สร้างงานนำเสนอสามารถสร้างได้ 3 วิธีด้วยกันดังนี้คือ

1. สร้างงานจากงานนำเสนอเปล่า (Blank)

2. สร้างงานจากแม่แบบออกแบบ (Template)

3. สร้างงานจากตัวช่วยสร้างเนื้อหาอัตโนมัติ (AutoContent Wizard)

การ สร้างงานนำเสนอเปล่า

1. คลิกที่คำสั่ง งานนำเสนอเปล่า จากบานหน้าต่างงานนำเสนอใหม่

2. จะปรากฏ เค้าโครงภาพนิ่ง ให้ทำการคลิกเลือกแบบ เค้าโครงภาพนิ่ง

3. ทำการคลิกเพื่อพิมพ์ข้อความหรือแทรกรูปต่าง ๆ ลงในพื้นที่แสดงสไลด์

4. เมื่อต้องการสร้างภาพนิ่งสไลด์เพิ่มเติม ให้คลิกที่เครื่องมือสร้างภาพนิ่งแล้ว

ปฏิบัติตามข้อ 3 จะกระทำกี่สไลด์ก็ได้จนกระทั่งครบเนื้อหาที่ต้องการใช้งาน

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ โปรแกรมนำเสนอ

ความหมายของการนำเสนอข้อมูล

   การ นำเสนอข้อมูล หมายถึง การสื่อสารเพื่อเสนอข้อมูล ความรู้ ความคิดเห็น หรือ ความต้องการไปสู่ผู้รับสาร โดยใช้เทคนิคหรือวิธีการต่างๆ อันจะทำให้บรรลุผลสำเร็จตามจุดมุ่งหมายของการนำเสนอ

ความสำคัญของการนำเสนอ

ใน ปัจจุบันนี้การนำเสนอเข้ามามีบทบาทสำคัญในองค์กรทางธุรกิจ ทางการเมือง ทางการศึกษา หรือแม้แต่หน่วยงานของรัฐทุกแห่ง ก็ต้องอาศัยวิธีการนำเสนอเพื่อสื่อสารข้อมูล เสนอความเห็น เสนอขออนุมัติ หรือเสนอข้อสรุปผลการดำเนินงานต่างๆ ผู้มีหน้าที่เกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์ การแนะนำเพื่อการเยี่ยมชม การฝึกอบรม การประชุม หรือผู้ที่เป็นหัวหน้างานทุกระดับจะต้องรู้จักวิธีการนำเสนอ เพื่อนำไปใช้ให้เหมาะสมกับงานต่างๆ และเพื่อผลสำเร็จของการพัฒนางานของตน หรือขององค์กรและหน่วยงานต่างๆ กล่าวโดยสรุป การนำเสนอมีความสำคัญ ต่อการปฏิบัติงานทุกประเภท เพราะช่วยในการตัดสินใจในการดำเนินงาน ใช้ในการพัฒนางาน ตลอดจนเผยแพร่ความก้าวหน้าของงานต่อผู้บังคับบัญชา และบุคคลผู้ที่สนใจ

จุดมุ่งหมายในการนำเสนอ

1. เพื่อ ให้ผู้รับสารรับทราบความคิดเห็นหรือความต้องการ เช่น ในการประชุมคณะ กรรมการต่างๆ ประธานในที่ประชุมจะต้องชี้แจงวาระการประชุมให้ที่ประชุมรับทราบ ที่มักเรียกกันว่าเรื่องที่ประธานจะแจ้งให้ทราบ

2. เพื่อ ให้ผู้รับสารพิจารณาเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น ในการประชุมคณะกรรมการแต่ละครั้งคณะกรรมการฝ่ายต่างๆ จะต้องชี้แจงข้อมูลหรือแสดงความคิดเห็นให้ที่ประชุมรับได้ทราบ เพื่อประกอบการพิจารณาวินิจฉัยหรือลงมติที่ประชุม

3. เพื่อ ให้ผู้รับสารได้รับความรู้จากข้อมูลที่นำเสนอ เช่น ในการฝึกอบรมหรือการสัมมนา วิทยากรหรือผู้เชี่ยวชาญจะต้องนำเสนอข้อมูลที่เป็นข้อความรู้ และข้อเท็จจริงต่างๆ ให้แก่ผู้เข้าฝึกอบรม หรือใช้ ในการบรรยายสรุปผลการดำเนินงานต่างๆ เพื่อให้ผู้มาเยี่ยมชมกิจการ หรือผู้บังคับบัญชาที่เดินทาง มาตรวจเยี่ยมได้รับทราบ

4. เพื่อ ให้ผู้รับสารเกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง เช่น การชี้แจงระเบียบหรือวิธีการปฏิบัติต่าง ๆ ให้แก่ผู้เกี่ยวข้องเข้าใจ โดยเฉพาะเมื่อมีการออกระเบียบใหม่หรือเปลี่ยนแนวทางในการปฏิบัติ ก็จำเป็นต้องชี้แจงเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันและปฏิบัติได้อย่างถูก ต้อง

ประเภทของการนำเสนอ

1. การ นำเสนอเฉพาะกลุ่ม เป็นการนำเสนอข้อมูลต่าง ๆ ต่อผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องหรือผู้ที่ได้รับเชิญให้เข้าร่วมรับทราบข้อมูล ในการนำเสนอ

2. การ นำเสนอทั่วไปในที่สาธารณะ เป็นการนำเสนอข้อมูลต่าง ๆ ที่เปิดโอกาสให้บุคคลทั่วไปเข้าร่วมฟังการนำเสนอได้ มีการเปิดโอกาสให้ผู้ฟัง ได้ซักถามเพิ่มเติมหรือแสดงความคิดเห็นได้อีกด้วย

ลักษณะของข้อมูลที่นำเสนอ

ใน การนำเสนอแต่ละครั้งนั้น สามารถนำข้อมูลที่มีลักษณะแตกต่างกันมาร่วม นำเสนอด้วยกันได้ ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ของผู้นำเสนอ ข้อมูลที่จะนำเสนอแบ่งออกตามลักษณะของข้อมูล ได้แก่

1. ข้อ เท็จจริง หมายถึงข้อความที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ เรื่องราวที่เป็นมาหรือเป็นอยู่ตามความจริง หรือสามารถตรวจสอบให้เป็นที่ประจักษ์ได้ว่าเป็นความจริง อาจเป็นความรู้ที่ได้จากการทดสอบหรือทดลองทางวิทยาศาสตร์ก็ได้ สามารถนำมาใช้เป็นหลักฐาน ข้ออ้างอิงสำหรับกล่าวอ้างถึงในการพิสูจน์สิ่งใดสิ่งหนึ่งได้

2. ข้อ คิดเห็น เป็นความเห็นอันเกิดจากประเด็นหรือเรื่องราวที่ชวนให้คิด อาจเป็นความรู้สึก ความเชื่อถือหรือแนวคิดที่ผู้นำเสนอมีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ความเห็นของแต่ละคนอาจแตกต่างกันได้ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพื้นฐานและประสบการณ์ ของแต่ละบุคคล ข้อคิดเห็นต่างจากข้อเท็จจริง คือ ข้อเท็จจริงเป็นเรื่องจริงที่ยอมรับกันโดยทั่วไป แต่ข้อคิดเห็นอาจมีทั้งผู้เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับผู้ฟังเป็นผู้ตัดสินใจว่าข้อคิดเห็นนั้น ๆ น่ารับฟังหรือไม่ สมเหตุสมผลเพียงใด ข้อคิดเห็นมีลักษณะต่าง ๆ กัน

2.1. ข้อ คิดเห็นเชิงเหตุผล เป็นข้อคิดเห็นที่อ้างถึงเหตุผล อ้างถึงข้อเปรียบเทียบที่ เชื่อถือได้ และความมีเหตุผลต่อกัน โดยชี้ให้ผู้รับฟังเห็นว่า ควรทำอย่างนั้นเพราะเหตุเช่นนี้ แต่ถ้าไม่ทำอย่างที่กล่าวก็จะมีผลตามมาอย่างไรบ้าง โดยทั้งหมดนี้เป็นเหตุผลของผู้แสดง ความคิดเห็นเท่านั้น

แนะนำโปรแกรม

โปรแกรมนำเสนองานที่ศึกษาในบทนี้จะใช้โปรแกรม Microsoft PowerPoint ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ใช้งานได้ง่าย และสะดวกในการใช้งานมาก โปรแกรมนี้จึงเป็นโปรแกรมที่นิยมใช้กันแพร่หลาย Microsoft PowerPoint เป็นโปรแกรมหนึ่งในชุดของโปรแกรม Microsoft Office 2003 มีคุณสมบัติหลายอย่างได้รับการพัฒนาให้มีขีดความสามารถมากขึ้น ใช้ในการนำเสนอข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ ผู้ใช้สามารถสร้างงานในการนำเสนอได้หลากหลายรูปแบบ โดยสามารถนำข้อความ รูปภาพ ตาราง แผนภูมิต่าง ๆ ตลอดจนภาพเคลื่อนไหวและเสียง มาประกอบเข้าด้วยกันเป็นลักษณะสื่อประสมเพื่อสร้างเป็นงานนำเสนอต่อผู้อื่น ได้อย่างสวยงามและน่าตื่นตาตื่นใจ

โปรแกรมที่ใช้ในการนำเสนอ

  ในปัจจุบันโปรแกรมที่ใช้ในการนำเสนอ มีให้เลือกใช้งานกันหลายโปรแกรม ส่วนช่องทางการนำเสนอผลงานมี 2 ช่องทาง คือ แบบออฟไลน์ (offline) โดยรวมใช้โปรแกรม PowerPoint นำเสนองานหรือโปรแกรมสร้างสื่อ CAI เป็นต้น และช่องทางแบบออนไลน์ (online) คือใช้เว็บไซต์ในการนำเสนองานดังตัวอย่างโปรแกรมต่อไปนี้

 1.Microsoft PowerPoint (ไมโครซอฟต์เพาเวอร์พอยต์)เป็นสุดยอดโปรแกรมนำเสนอข้อมูล(พรีเซนเตชั่น) ที่มีผู้ใช้มากเพราะใช้งานได้ง่ายที่สุด

โปรแกรมเกี่ยวกับการนำเสนอข้อมูล 5 โปรแกรม

2.Macromedia Authorware เป็นโปรแกรมลักษณะ multimedia ที่ใช้สร้างบทเรียน CAI เพื่อช่วยในการเรียนการสอน

โปรแกรมเกี่ยวกับการนำเสนอข้อมูล 5 โปรแกรม

3.Swish 2.0 หรือ Swish 3D เป็นโปรแกรม Multimediaที่ใช้สร้างไฟล์ .swf หรือ Flash ในการนำเสนอผลงาน SPECIAL Effect เกี่ยวกับภาพและตัวหนังสือ

โปรแกรมเกี่ยวกับการนำเสนอข้อมูล 5 โปรแกรม

4.Adobe Acrobat เป็นโปรแกรมที่รองรับการใช้งานเอกสารที่เป็นไฟล์ PDF เพื่อใช้งานทางด้านเว็บไซต์

โปรแกรมเกี่ยวกับการนำเสนอข้อมูล 5 โปรแกรม

5.Facebook เฟสบุ๊ค คือ บริการหนึ่งบนอินเทอร์เน็ต สามารถเขียนบทความ แชทคุยกันแบบสดๆ เล่นเกมส์และกิจกรรมอื่นๆ เป็นที่นิยมกันอย่างมาก

โปรแกรมเกี่ยวกับการนำเสนอข้อมูล 5 โปรแกรม

6.Twitter.com ทวิตเตอร์เป็นเว็บไซต์ให้บริการบล็อก (Blog) เกี่ยวกับบทความ

โปรแกรมเกี่ยวกับการนำเสนอข้อมูล 5 โปรแกรม

7.Wordpress.com เป็นโปรแกรมสำหรับทำบล็อก เป็นที่นิยมของบล็อกเกอร์ทั่วโลก รวมทั้งคนไทย

โปรแกรมเกี่ยวกับการนำเสนอข้อมูล 5 โปรแกรม

8.Blogger.com & Blogspot.com Blog มาจากคำว่า Webblog: ''Webblog'' หมายถึงเว็บไซต์ที่เจ้าของเว็บสามารถบันทึก บทความ รูปภาพ วีดีโอ ของตนเอง

        ลงบนเว็บไซต์ได้ทันที

โปรแกรมเกี่ยวกับการนำเสนอข้อมูล 5 โปรแกรม

9.Hi5.com (ไฮไฟว์) เป็นเว็บไซต์ Social Network สามารถสร้างประวัติส่วนตัวแล้วแสดงบนโลกออนไลน์

โปรแกรมเกี่ยวกับการนำเสนอข้อมูล 5 โปรแกรม

10.Slide.com เป็นเว็บไซต์ที่ฝากรูปเพื่อที่จะนำมาทำภาพสไลด์โชว์หน้าเว็บแบบง่ายๆ

โปรแกรมเกี่ยวกับการนำเสนอข้อมูล 5 โปรแกรม

หลักการออกแบบงานที่จะนำเสนอ

   หลักการสร้างสื่อนำเสนอที่ดีทีประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญ  ได้แก่

      1.ความเรียบง่าย : จัดทำสไลด์ให้ดูเรียบง่ายที่สุดเท่าที่ทำได้ เช่น ใช้สีอ่อนเป็นพื้นหลัง เพื่อเวลาอ่านจะไม่รบกวนสายตา

      2.มีความคงตัว: เป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการนำเสนอสไลด์ซึ่งเป็นเนื้อหาในเรื่องเดียวกัน คือ ต้องมีความคงตัวในการออกแบบสไลด์

      3.ใช้ความสมดุล: การออกแบบส่วนประกอบของสไลด์ให้มีลักษณะสมดุลมีแบบแผน หรือ สมดุลไม่มีแบบแผนก็ได้

      4.มีแนวคิดเดียวในสไลด์แต่ละแผ่น: ข้อความและสภาพที่บรรจุในสไลด์แผ่นหนึ่งๆ ต้องเป็นเนื้อหาแต่ละแนวคิดเท่านั้น

      5.สร้างความกลมกลืน: ใช้แบบอักษรและภาพกราฟิกให้เหมาะสมกับลักษณะของเนื้อหาใช้แบบอักษรอ่านง่าย แล้ใช้สีที่ดูแล้วสบายตา

      6.แบบอักษร: ไม่ใช้อักษรมากกว่า 2 แบบในสไลด์เรื่องหนึ่ง โดยใช้แบบหนึ่งเป็นหัวข้อ และอีกแบบหนึ่งเป็นเนื้อหา

      7.เนื้อหา และจุดนำข้อความ: ข้อความในสไลด์ควรเป็นเฉพาะหัวข้อ หรือเนื้อหาสำคัญเท่านั้นและควรนำเสนอเป็นแต่ละย่อหน้า โดยอาจมีจุด        นำข้อความอยู่ข้างหน้าเพื่อแสดงให้ทราบถึงเนื้อหาแต่ละประเด็น 

      8.เลือกใช้กราฟิกอย่างระมัดระวัง: การใช้กราฟิกอย่างเหมาะสมจะสามารถเพิ่มการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิผล


      9.ความคมชัดของภาพ :  เนื่องจากความคมชัดของจอมอนิเตอร์มีเพียง 72-96 DPI เท่านั้นภาพกราฟิกที่นำเสอประกอบในเนื้อหาจึงไม่จำเป็นต้องใช้ภาพที่มีความคมชัดสูงมาก ควรใช้ภาพในรูปแบบ JPG ที่มีความคมชัดปานกลาง และขนาดไม่ใหญ่นัก ประมาณ 20-50 KB ควรทำการลดขนาดภาพก่อนเพื่อไม่ให้เปลืองเนื้อที่ในการเก็บบันทึก

การเตรียมงานก่อนการนำเสนอ

  การนำเสนองานที่ดีควรทำเป็นขั้นตอน เริ่มจากการวางโครงร่างความคิด ต่อไปจัดทำรายละเอียดเนื้อหาและจัดทำเป็นสไลด์ ซึ่งจะทำให้ไปได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งมี  ขั้นตอนดังนี้

   1.การวางโครงร่าง ศึกษากลุ่มผู้ฟังว่ามีลักษณะอย่างไร ต้องมีความเข้าใจข้อมูลที่ต้องการนำเสนออย่างชัดเจนเพื่อจะได้ผลลัพธ์ตรงเป้าหมาย

   2.จัดทำรายละเอียดเนื้อหา กำหนดหัวข้อต่างๆ โดยเน้นกลุ่มผู้ชมเป็นหลักว่าสไลด์ควรมีเนื้อหาหรือรูปแบบการจัดวางอย่างไร หรือควรนำเสนอแบบใด เช่น ใส่ภาพ ใส่สี และแนวการนำเสนอ

   3.การใส่ข้อความ ภาพ กราฟในสไลด์ การนำสิ่งต่างๆ ที่ต้องการนำเสนอมาใส่ลงในสไลด์แต่ละแผ่น

   4.การปรับแต่งสไลด์ให้สวยงาม การปรับแต่งตัวอักษร สีที่ใช้กับสไลด์และรูปแบบที่แสดงเพื่อดูสวยงามและน่าติดตาม

   5.เพิ่มความน่าสนใจในการนำเสนอ   การใส่เทคนิคการเปลี่ยนแผ่นสไลด์ การเคลื่อนไหวของตัวอักษรมาใช้เพิ่มความน่าสนใจและใช้คอมพิวเตอร์ในการนำเสนอสไลด์

   6.เตรียมการนำเสนอจริง   ต้องซ้อมการพูดให้เข้ากับแผ่นสไลด์ด้วยการจับเวลา เพื่อจะได้ทราบว่าการบรรยายใช้เวลาอย่างเหมาะสมหรือไม่

   7.เตรียมเอกสารประกอบการบรรยาย   คือการพิมพ์เอกสารประกอบการบรรยาย การจัดทำเอกสารแจกผู้เข้าฟังเพื่อไม่ให้ผู้ฟังเสียเวลาในการจดบันทึก ให้ใช้เวลาฟังสิ่งที่บรรยายแทน