กาพย เห เร เจ าฟ าธรรมธ เบศ ม เร อไร

กาพย์เห่เรือ

กาพย เห เร เจ าฟ าธรรมธ เบศ ม เร อไร

ผู้แต่ง เจ้าฟ้าธรรมธิเบศรไชยเชษฐ์สุริยวงศ์ (เจ้าฟ้ากุ้ง) พระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย

รูปแบบ

แต่งเป็น กาพย์ห่อโคลง มีโคลงสี่สุภาพนำ 1 บท เรียกว่าเกริ่นเห่ และตามด้วยกาพย์ยานี 11 พรรณนาเนื้อความโดยไม่จำกัดจำนวนบท

จุดประสงค์ในการนิพนธ์

คือ ใช้เห่เรือเล่นในคราวเสด็จฯ โดยทางชลมารคเพื่อไปนมัสการพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี การเห่เรือ นอกจากจะเป็นที่สำราญพระราชอิริยาบถแล้ว ยังเป็นการให้จังหวะแก่ฝีพายด้วย

เนื้อเรื่องย่อ

กล่าวถึงขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ซึ่งประกอบด้วยเรือพระที่นั่งกิ่ง และเรือที่มีโขนเรือเป็นรูปสัตว์ต่าง ๆ คือ เรือ ครุฑยุดนาค เรือไกรสรมุข เรือสมรรถชัย เรือสุวรรณหงษ์ เรือชัย เรือคชสีห์ เรือม้า เรือสิงห์ เรือนาคา (วาสุกรี) เรือมังกร เรือเลียงผา เรืออินทรี เห่ ชมปลา กล่าวพรรณนาชมปลาต่าง ๆ มี ปลานวลจันทร์ คางเบือน ตะเพียน กระแห แก้มช้ำ ปลาทุก น้ำเงิน ปลากราย หางไก่ ปลาสร้อย เนื้ออ่อน ปลาเสือ แมลงภู่ หวีเกศ ชะแวง ชะวาด ปลาแปบ เห่ ชมไม้ เมื่อเรือแล่นเลียบชายฝั่ง ชมไม้ที่เห็นตามชายฝั่ง ซึ่งมี นางแย้ม จำปา ประยงค์ พุดจีบ พิกุล สุกรม สายหยุด พุทธชาด บุนนาค เต็ง แต้ว แก้ว กาหลง มะลิวัลย์ ลำดวน เห่ชมนก เมื่อใกล้พลบค่ำเห็นนกบินกลับรัง ก็ชมนกต่าง ๆ มี นกยูง สร้อยทอง สาลิกา นางนวล แก้ว ไก่ฟ้า แขกเต้า ดุเหว่า โนรี สัตวา และจบลงด้วยบทเห่ครวญ เป็นการคร่ำครวญ คิดถึงนางที่เป็นที่รักในยามค่ำคืน

การดำเนินเรื่อง

ดำเนินเรื่องได้สัมพันธ์กับเวลาใน 1 วัน คือ เช้าชมกระบวนเรือ สายชมปลา บ่ายชมไม้ เย็นชมนก กลางคืนเป็นบทครวญสวาท

การพรรณนาความ ตอนชมปลา ชมไม้ ชมนก มีการพรรณนาพาดพิงไปถึงหญิงที่รัก เข้าทำนองเดียวกับนิราศ

ประเพณีการเห่เรือ มีมาแต่โบราณ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ เห่เรือหลวง และเห่เรือเล่น เห่เรือหลวงเป็นการเห่เรือในราชพิธี ส่วนเห่เรือเล่น ใช้เห่ในเวลาเล่นเรือเที่ยวเตร่ กาพย์เห่เรือเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร เดิมเป็นเห่เรือเล่น ต่อมาในรัชกาลที่ 4 ใช้เป็นบทเห่เรือหลวง

ตำนานการเห่เรือ

สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานว่าการเห่เรือของไทยน่าจะได้แบบมาจากอินเดีย แต่ของอินเดียใช้เป็นมนตร์ในตำราไสยศาสตร์ บูชาพระราม ของไทยใช้การเห่เรือบอกจังหวะฝีพายให้พายพร้อมกันเป็นการผ่อนแรงและให้ความเพลิดเพลิน

ลำนำการเห่เรือ มี 3 ลำนำ คือ 1. ช้าละวะเห่ มาจาก ช้าแลว่าเห่ เป็นการเห่ทำนองช้า ใช้เห่เมื่อเรือเริ่มออกจากท่าและเมื่อพายเรือตามกระแสน้ำ 2. มูลเห่ เป็นการเห่ทำนองเร็ว ๆ ใช้เห่หลังจากช้าละวะเห่แล้ว ประมาณ 2-3 บท และใช้เห่เรือตอนเรือทวนน้ำ 3. สวะเห่ ใช้เห่เมื่อเรือจะเทียบท่า

คุณค่าที่ได้รับ คุณค่าทางด้านวรรณศิลป์ 1. รูปแบบสอดคล้องกับเนื้อหา 2. ดีเด่นทางด้านการพรรณนาให้เห็นภาพ และให้อารมณ์ความรู้สึกดี 3. ศิลปะการแต่งดี มีกลวิธีพรรณนาโดยใช้การอุปมา การเล่นคำ การใช้คำที่แนะให้เห็นภาพ คำที่นำให้นึกถึงเสียง คำที่แสดงอารมณ์ต่าง ๆ ได้ดี คุณค่าทางด้านสังคม 1. สะท้อนภาพชีวิตของคนไทยในปลายกรุงศรีอยุธยาที่ใช้การสัญจรทางน้ำเป็นสำคัญ เนื่องจากประเทศไทยมีแม่น้ำลำคลองมาก 2. ให้ความรู้เกี่ยวกับขบวนพยุหยาตราทางชลมารค และประเพณีการเห่เรือ 3. สะท้อนให้เห็นขนบธรรมเนียมประเพณี ต่านิยม และความเชื่อของคนไทย เช่น ค่านิยมเกี่ยวกับความงามของสตรีว่าจะต้องงามพร้อมทั้งรูปทรง มารยาท ยิ้มแย้มแจ่มใส และพูดจาไพเราะ ความเชื่อเรื่องเวรกรรมตามหลักพระพุทธศาสนา เป็นต้น

ตัวอย่าง การเห่เรือ

ตัวอย่าง การอ่านทำนองเสนาะ

กาพย เห เร เจ าฟ าธรรมธ เบศ ม เร อไร
เนื้อเรื่องสมบูรณ์

บทเห่ชมเรือกระบวน

สรุป

พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศเสด็จพระราชดำเนินโดยทางชลมารคได้ประทับบนเรือต้นในการเดินทางภาพของเรือกิ่งนั้นดูแพรวพราวภาพการพายเรือนั้นก็ดูอ่อนไหว

งดงามอย่างพร้อมเพรียงกัน ขบวนเรือนั้นแน่นเป็นแถวเป็นแนวประกอบด้วยเรือที่หัวเรือเป็นรูป สัตว์หลายๆชนิดมองเห็นธงเด่นสะพรั่งมาแต่ไกลการเดินขบวนเรือทำให้เกิดเป็น คลื่นน้ำระลอก เรือครุฑซึ่งบนเรือนั้นมีพลทหารกำลังพายเรืออย่างเป็นจังหวะพร้อมกับเปล่งเสียงโห่ร้อง เรือสรมุขลอยมาเปรียบสวยงามดั่งพิมานบนสวรรค์ที่กำลังเคลื่อนที่ผ่านหมู่เมฆ เรือสรมุขตกแต่งไปด้วยม่านสีทอง หลังคาสีแดงมีลวดลายมังกรประดับอยู่ เรือสมรรถชัยซึ่งกำลังแล่นมาเทียบเคียงกับเรือสรมุขนั้นประกอบไปด้วยกาบแก้ว ขนาดใหญ่มีการเกิดแสงแวววับสะท้อนกับแม่น้ำมีความงดงามมากเหมือนดั่งว่า กำลังร่อนลงจากสวรรค์ฟากฟ้าลงสู่พื้นดิน เรือสุวรรรณหงส์มีพู่ห้อยอย่างสวยงามล่องลอยอยู่บนสายน้ำเปรียบดั่งหงส์ที่เป็นพาหนะของพระพรหมเตือนตาให้ชม เรือชัยนั้นแล่นด้วยความรวดเร็วเหมือนดั่งลม มีเสียงเส้าที่คอยให้จังหวะท้ายเรือให้แล่นไปเคียงคู่กันไปกับเรือพระที่นั่งลำอื่นๆ เรือคชสีห์ที่กำลังแล่นไปนั้นดูแล้วชวนขบขันส่วนเรือราชสีห์ที่แล่นมาเคียงกันนั้นดูมั่นคงแข็งแรง เรือม้านั้นกำลังมุ่งหน้าไปข้างหน้าซึ่งเรือม้าทีลักษณะที่สูงโปร่งเหมือนกับม้าทรงของพระพาย เรือสิงห์ดูเหมือนกับว่ากำลังจะกระโจนลงสู่แม่น้ำและมีความลำพองใจนั้นก็แล่นป็นแถวตามๆกันมา เรือนาคนั้นมองดูเหมือนกับมีชีวิตแล้วชวนขบขันกำลังจะถูกเรือมังกรแล่นตามมาทัน เรือเลียงผานั้นทำท่าเหมือนกับกำลังจะกระโจนลงแม่น้ำ ส่วนเรืออินทรีก็มีปีกที่เหมือนกับกำลังจะลอยไปในอากาศ เสียงดนตรีนั้นดังลั่นมีเสียงก้องมาจากแตรงอน เสียงพลทหารโห่ร้องอย่างครึกครื้นทำให้เกิดความความรื่นเริงในหมู่พลทหาร การเคลื่อนขบวนออกจากนั้นดูเข้มแข็งเป็นภาพที่ทำให้ชื่นอกชื่นใจมองดูเหมือนฝูงปลาที่มีมากมายในสายน้ำ

มีชนิดของเรือทั้งหมด ดังนี้

1.เรือสมรรถไชย 2.เรือไกรสรมุข

3.เรือสุวรรณหงส์ 4.เรือเรือชัย

5.เรือครุฑยุดนาค 6.เรือนาคา

7.เรือม้า 8.เรือวาสุกรี

9.เรือคชสีห์ 10.เรือราชสีห์

11.เรือมังกร 12.เรือเลียงผา

13.เรือนกอินทรี

บทเห่ชมปลา

สรุป

พันธุ์ปลาชนิดต่างๆว่ายวนเวียนอยู่ในสายน้ำทำให้มีจิตใจเศร้าหมอง ปลาทั้งหลายยังรู้ว่าไม่มีใจที่จะว่ายน้ำอยู่ในสายน้ำ

พระจันทร์ส่องแสงสว่างมีความงามราวกับเนื้อตัวของปลาซึ่งมีความงามราวกับเนื้อ ตัวของปลาซึ่งมีคางไม่โค้งมนเหมือนกับใบหน้ารูปร่างหน้าตาของผู้ชาย เปรียบดังทองไม่เหมือนกับน้องที่ห่มผ้าสไบ ปลากระแหซึ่งมีรูปร่างคล้ายปลาตะเพียนทอง ดั่งปลาที่ว่ายจากกันไปอย่างเหมาะสม ปลานั้นแก้มช้ำเหมือนมีคนมาจับต้องคล้ายกับว่า ปลาอันอมทุกข์ไว้มาก เหมือนกับการจากลาไปจากคนรัก สีน้ำเงิน เปรียบเสมือนสีขาวผ่องเป็นมันวาวของปลาไม่เหมือนความงามของหญิงสาว งามราวกับมีเนื้อตัวสองสี ปลากรายว่ายเวียนไปเคียงคู่กันแต่นางกลับตีจากพี่ไป เห็นปลาแล้วรู้สึกเศร้าใจ ปลาหางไก่ซึ่งเป็นปลาทะเลชนิดหนึ่ง แหวกว่ายอยู่ในน้ำ ปลาชนิดนี้ไม่มีหงอน คิดเพลงยาว รูปเอวอร มีผมประบ่าเอี่ยมอร ปลาสร้อยล่องลอยว่ายวนอยู่ในแม่น้ำเหมือนปลาสร้อยในวัยในเด็ก ไม่เห็นมีความโศกเศร้าในจิตใจ ปลาเนื้ออ่อนนั้นอ่อนแต่ชื่อ เนื้อน้องหรือจะอ่อนไปทั้งกาย ใครจับต้องก็ไม่นึกอายและช้ำใจปลาเสือตาแหลมกว่าปลาทั้งหลายเปรียบเสมือนดวงตา ซึ่งดูแหลมคม มีหอยแมลงภู่เวียนว่ายน่าชื่นชม คิดความต่างๆในยามเหมาะสม เจ้าที่มีหน้าที่สระสางเส้นผมต่างสละสลวยมีกลิ่นหอม ว่ายวนไปตามแนวฝั่งน้ำและมักจะมีปลาชะวาดว่ายปนอยู่ด้วยเหมือนกับพี่มาดูแลน้องอย่างทะนุถนอม พันธุ์ปลาต่างๆแหวกว่ายมาในแหล่งน้ำ เปรียบดังหญิงงามที่มาหาพี่จะรู้สึกดีใจ

บทแห่ชมปลา มีชนิดของปลา ได้แก่

1.ปลาแก้มช้ำ 2.ปลาน้ำเงิน

3.ปลากราย 4.ปลาหางไก่

5.ปลาสร้อย 6.ปลาเนื้ออ่อน

7.ปลาเสือ 8.ปลาหวีเกศ

9.ปลาแปบ 10.ปลาชะวาด

11.ปลาชะแวง 12.ปลานวลจันทร์

13.ปลาคางเบือน 14.ปลากระแห

15.ปลาตะเพียน 16.ปลาเคล้าดำ

17.ปลาทุก

บทเห่ชมไม้

สรุป

กระบวนเรือของเจ้าฟ้ากุ้งที่แล่นอยู่ในแม่น้ำต่างก็พากันชื่นชมพรรณไม้ที่กำลังพากันบานชูช่อและส่งกลิ่นหอมมาจากชายตลิ่ง

ทั้งดอกนางแย้มที่บานแย้มเกสรออกมาพอพระองค์เห็นดังนั้นก็คิดถึงนางผู้เป็นที่รักยิ้มออกมาอย่างร่าเริงดอกจำปาที่ขึ้นอยู่หนาแน่นคลี่กลีบสีเหลืองอร่ามออกมาเมื่อพระองค์เห็นก็นึกถึงนางผู้เป็นที่รักที่มีผิวสีเหลืองนวลดอกประยงค์ที่ห้อยกันเป็นพวงดูแล้วก็เหมือนอุบะที่ห้อยพวงมาลัยที่นางทำแขวนไว้ให้ผู้ชายชื่นชมดอกพุดจีบกลีบบานก็มีดอกพิกุลและต้นสุกรมขึ้นแซมที่ดอกต่างส่งกลิ่นหอมเหมือนกับกลิ่นเนื้อของนางที่เคยอยู่ด้วยติดตามมา ดอกสาวหยุดกับดอกพุทธชาดที่บานอยู่เกลื่อนกลาดเต็มตลิ่งเมื่อพระองค์เห็นก็นึกถึงนางผู้เป็นที่รักที่เคยอยู่ด้วยกันร้อยมาลัยวางไว้ให้ที่ข้างหมอน ดอกพิกุลกับดอกบุนนาคที่บานส่งกลิ่นหอมหวาน ซาบซ่านเหมือนกับคำหวานที่นางผู้เป็นที่รักใช้อ้อนเวลาพูดด้วยต้นเต็งต้นแต้วต้นแก้วและดอกกาหลงต่างพากันบานส่งกลิ่นหอมอยู่ โดยไม่รู้หาย คล้ายกับกลิ่นเสื้อผ้าของนางผู้เป็นที่รักดอกมะลิวัลย์ดอกจิกดอกจวงพันกันเป็นพวงส่งกลิ่นหอมโชยมาชื่นใจยิ่งนักเมื่อได้กลิ่นก็ทำให้พระองค์คิดถึงนางผู้เป็นที่รักดอกลำดวนก็มีกลิ่นหอมตลบอบอวลเมื่อพระองค์ได้กลิ่นก็ทำให้มีความรู้สึกคิดถึงนางผู้เป็นที่รักอย่างเศร้าใจกลิ่นดอกรำเพยก็โชยมาเรื่อยๆทำให้คิดถึงเมื่อครั้งเคยเชยชมนางผู้เป็นที่รักอยู่ทุกวันไม่มีห่างเมื่อนั่งชมเหล่าดอกไม้ที่สวยงามหลากหลายพรรณก็ทำให้คิดไปว่าถ้าหากนางผู้เป็นที่รักมาด้วยก็คงจะอ้อนให้พระองค์นั้นชี้ให้ดูดอกไม้เหล่านั้นเหล่านี้เป็นแน่

พรรณนาถึงดอกไม้ ได้แก่

1.ดอกนางแย้ม 2.ดอกจำปา

3.ดอกประยงค์ 4.ดอกพุดจีบ

5.ดอกพิกุล 6.ดอกสุกรม

7.ดอกสายหยุด 8.ดอกพุทธชาด

9.ดอกบุนนาค 10.ดอกเต็ง

11.ดอกแต้ว 12.ดอกแก้ว

13.ดอกกาหลง 14.ดอกมะลิวัลย์

15.ดอกลำดวน

บทเห่ชมนก

สรุป

พระ อาทิตย์กำลังจะตกดิน เวลาจะใกล้ค่ำพี่ก็คิดถึงแต่หน้าน้อง นกบินสูงเฉียงไปทั้งฝูงแต่มีอยู่ตัวหนึ่งต้องพลัดจากคู่เหมือนกับพี่ที่ ต้องอยู่คนเดียว

เห็นนกยูงแพนขนอยู่ก็นึกถึงน้องตอนท่าเคลื่อนไหวที่มีลีลาเหมือนกับไม้เถา ชนิดหนึ่งที่กำลังเยื้องกราย นกสาลิกามาตามคู่ชมกันเหมือนกับนางงามแต่พี่นี้ก็คิดกังวลถึงน้องแล้วเศร้า ใจ นกนางนวลงามผุดผ่องแต่หน้านั้นงามผุดผ่องเหมือนกับหน้าน้องที่งามผุดผ่อง เหมือนกับนางฟ้าที่หน้าผุดผ่องเป็นยองใย นกแก้วเสียงแจ่มแจ้วอยู่บนต้นไม้เคียงคู่กันเหมือนกับพี่นั้นประคองและรับ ขวัญน้องต้องมือเบา ไก่ฟ้ามาตัวเดียวเดินท่องเยวอยู่ตามเขาเ หมือนพี่พรากจากน้องที่เป็นที่รักพี่นั้นก็รู้สึกเปล่าเปลี่ยวใจคิดถึงน้อง นกแขกเต้าอยู่กันเป็นคู่อยู่บนต้นไม้ไซ้ปีกไซ้หางให้กัน พี่นั้นก็คิดถึงตอนที่พี่นั้นได้กอดน้องแบบแนบชิดเป็นเวลานาน นกดุเหว่าก็ร้องกันเสียงหวานสนั่นก้องไพเราะกังวานปานเสียงน้องที่พูดกับพี่ นกโนรีสีปานชาดนั้นมีลวดลายที่สวยงามแต่ก็สวยไม่เท่าน้องที่ห่มตาด(ชื่อผ้า ชนิดหนึ่ง ทอด้วยไหมควบกับเงินแล่งหรือทองแล่ง)ที่สวยงามมาหาพี่ นกสัตวาน่าเอ็นดูคอยหาคู่อยู่ทุกเวลาเหมือนพี่นั้นที่ต้องจากน้องมา พี่ก็คิดถึงน้องจึงเศร้าเสียใจ นกปักษีนั้นมีหลายพรรณ ต่างก็ชมกันขันเสียงในป่า พิ่ยิ่งฟังก็รู้สึกวังเวงใจด้วยความหลายหลากมากภาษาที่ทำให้พี่นั้นเศร้าใจ

ได้พูดถึงชนิดของนกได้แก่

1. นกยูง นกขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ขนงามเป็นสีเลื่อม ขนเป็นแวว 2. สร้อยทอง มีขนทั่วตัวสีดำเหลือบเขียวและม่วงเงาๆ ยกเว้นที่โคนขนปีกด้านล่างมีแถบสีขาว นัยน์ตาสีน้ำตาลปากสีแดงส้ม มีเหนียงขนาดเล็กสีเหลืองแดงสดที่ด้านข้างของใบหน้าใต้ตา และมีเหนียงขนาดใหญ่สีเหลืองสดเช่นเดียวกันคลุมทั่วท้ายทอย 3. สาลิกา นกจำพวกนกเอี้ยง หัวสีดำ ตัวสีน้ำตาลแกมดำ หนังของตาเหลืองจัด 4. นางนวล ชื่อนกกินปลาชนิดหนึ่ง อยู่ตามชายหาด 5. แก้ว ชื่อนกขนเขียว ปากแดงและงุ้ม มีหลายชนิด 6. ไก่ฟ้า เป็นนกสีสวยงามชอบอยู่เป็นฝูงอย่างไก่บ้าน ตัวขนาดไก่แจ้ บินเก่งมาก 7. แขกเต้า เป็นนกในตระกูลนกแก้ว แต่ตัวเล็กกว่า 8. ดุเหว่า ตัวสีดำ เล็กกว่ากาเล็กน้อย ร้องไพเราะ มักจะเรียกกันว่า กาเหว่า 9. โนรี เป็นนกจำพวกนกแก้ว โดยมากมีขนเป็นสีแดงล้วน บางชนิดมีสีอื่นแซม เรียกเบญจพรรณ 10. สัตวา เป็นนกจำพวกนกแก้ว ตัวโต สีเขียวเกือบเป็นสีคราม

บทเห่ครวญ

สรุป

เสียงหัวเราะนี้เป็นของใคร เสียงน้องของพี่หรือใคร พี่ไม่รู้ เสียงหัวเราะของน้องเหมือนตามพี่มาเสียงของนางอันเป็นที่รักนั้นเพราะจนหาคนอื่นเทียบไม่ได้

เสียงหัวเราะนี้เสียงแก้วใจพี่หรือเสียงใคร เสียงหัวเราะเสียงของนางผู้เป็น ยอดรักเหมือนพี่ตามมา ลมแผ่ว ๆ ช่วยพัดกลิ่นหอมของน้องเรื่อยมาจนถึงจมูก เหลือบมองเห็นเหมือนเจ้ามาพอมอง หากลับไม่เห็น ตีสองเสียงฆ้องดังบอกเวลา ทุก คืนพี่อยู่ตัวคนเดียว มีเสียงปี่บรรเลงเหมือนเสียงของน้องหญิงที่พี่คิด ถึง ยามตีสามใกล้เช้าจนไก่ขัน เมื่อหลับไปพี่กลับฝันเห็นน้องติดตาอยู่ ในฝันของพี่ เวลาเช้าจนถึงเย็นพี่นี้ไม่วายเศร้าหมอง อดกินของรสอร่อย เพราะอิ่มไปด้วยความทุกข์อิ่มไปด้วยน้ำตา อิ่มความเศร้าโศกน้ำตานองหน้า เวร กรรมตามมาทันแล้ว พี่จึงต้องจากเจ้าที่พี่รัก คิดแล้วก็แค้นใจนัก ที่ต้องจากน้องมาเป็นทุกข์เศร้าเสียดายยิ่งนัก นางเปรียบเป็นดั่งภาพวาด งามทั้งมารยาท รอยยิ้มรวมทั้งคำพูดของน้อง ไม่มีชายใดที่จะมาตรอมใจเหมือนพี่ ที่เฝ้าแต่คิดถึงน้อง

พี่เฝ้าแต่ทนทุกข์ตั้งแต่เช้าถึงเย็น ทุกวันคืนเหมือนตกนรกทั้งเป็น ผู้ชาย คนไหนถ้าได้จากหญิงอันเป็นที่รักก็ต้องทุกข์เหมือนพี่ จากกันแค่วัน เดียว แต่ทุกข์เหมือนจากกันนานนับปี